ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธรรมสังคณีปกรณ์
๑๐. มหันตรทุกะ
๑. สารัมมณทุกะ
[๑๑๙๑] สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่ารับรู้อารมณ์ได้ [๑๑๙๒] สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ เป็นไฉน รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ารับรู้อารมณ์ ไม่ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๐๓}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ มหันตรทุกะ

๒. จิตตทุกะ
[๑๑๙๓] สภาวธรรมที่เป็นจิต เป็นไฉน จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นจิต [๑๑๙๔] สภาวธรรมที่ไม่เป็นจิต เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นจิต
๓. เจตสิกทุกะ
[๑๑๙๕] สภาวธรรมที่เป็นเจตสิก เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นเจตสิก [๑๑๙๖] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิก เป็นไฉน จิต รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ไม่เป็นเจตสิก
๔. จิตตสัมปยุตตทุกะ
[๑๑๙๗] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิต เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าสัมปยุต ด้วยจิต [๑๑๙๘] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิต เป็นไฉน รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจาก จิต จิตไม่พึงกล่าวว่าสัมปยุตด้วยจิต หรือวิปปยุตจากจิต
๕. จิตตสังสัฏฐทุกะ
[๑๑๙๙] สภาวธรรมที่ระคนกับจิต เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าระคนกับจิต [๑๒๐๐] สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิต เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๐๔}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ มหันตรทุกะ

รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ระคน กับจิต จิตไม่พึงกล่าวว่า ระคนกับจิต หรือไม่ระคนกับจิต
๖. จิตตสมุฏฐานทุกะ
[๑๒๐๑] สภาวธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ หรือรูปแม้ อื่นใดที่เกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน ได้แก่ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาสธาตุ อาโปธาตุ ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป อุปจยรูป สันตติรูป และกวฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า มีจิตเป็นสมุฏฐาน [๑๒๐๒] สภาวธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน จิต รูปที่เหลือ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่มีจิต เป็นสมุฏฐาน
๗. จิตตสหภูทุกะ
[๑๒๐๓] สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเกิดพร้อมกับจิต [๑๒๐๔] สภาวธรรมที่ไม่เกิดพร้อมกับจิต เป็นไฉน จิต รูปที่เหลือ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เกิด พร้อมกับจิต
๘. จิตตานุปริวัตติทุกะ
[๑๒๐๕] สภาวธรรมที่เป็นไปตามจิต เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่าเป็นไปตามจิต [๑๒๐๖] สภาวธรรมที่ไม่เป็นไปตามจิต เป็นไฉน จิต รูปที่เหลือ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นไป ตามจิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๐๕}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ มหันตรทุกะ

๙. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานทุกะ
[๑๒๐๗] สภาวธรรมที่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าระคนกับจิต และมีจิตเป็นสมุฏฐาน [๑๒๐๘] สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน จิต รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ระคน กับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน
๑๐. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูทุกะ
[๑๒๐๙] สภาวธรรมที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าระคนกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต [๑๒๑๐] สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต เป็นไฉน จิต รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ระคน กับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดพร้อมกับจิต
๑๑. จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติทุกะ
[๑๒๑๑] สภาวธรรมที่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าระคนกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต [๑๒๑๒] สภาวธรรมที่ไม่ระคนกับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต เป็นไฉน จิต รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่ระคน กับจิตมีจิตเป็นสมุฏฐานและเป็นไปตามจิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๐๖}

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]

ทุกนิกเขปะ มหันตรทุกะ

๑๒. อัชฌัตติกทุกะ
[๑๒๑๓] สภาวธรรมที่เป็นภายใน เป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นภายใน [๑๒๑๔] สภาวธรรมที่เป็นภายนอก เป็นไฉน รูปายตนะ ฯลฯ ธัมมายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นภายนอก
๑๓. อุปาทาทุกะ
[๑๒๑๕] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทายรูป เป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอุปาทายรูป [๑๒๑๖] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอุปาทายรูป เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ มหาภูตรูป ๔ และธาตุที่ ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นอุปาทายรูป
๑๔. อุปาทินนทุกะ
[๑๒๑๗] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ เป็นไฉน วิบากแห่งสภาวธรรมที่เป็นกุศล และอกุศล ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็น กามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และรูป อันกรรมปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ ยึดถือ [๑๒๑๘] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นไฉน สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ซึ่งเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นกามาวจร รูปาวจร และอรูปาวจร ได้แก่ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมที่เป็น กิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล และไม่เป็นวิบากแห่งกรรม รูปอันกรรมไม่ปรุงแต่ง มรรค ผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่ากรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
มหันตรทุกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๔ หน้า : ๓๐๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๔ หน้าที่ ๓๐๓-๓๐๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka3/m_siri.php?B=34&siri=61              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=34&A=6742&Z=6822                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=766              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=34&item=766&items=14              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=34&item=766&items=14                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu34              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/ds2.3.2/en/caf_rhysdavids#pts-vp-en318



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :