ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
โกณฑัญญพุทธวงศ์ที่ ๒
ว่าด้วยพระประวัติพระโกณฑัญญะพุทธเจ้า
[๓] สมัยต่อมาจากพระพุทธทีปังกร พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า โกณฑัญญะ เป็นนายกของโลก ทรงพระเดชไม่มีที่สุด มีพระยศ นับมิได้ ประมาณไม่ได้ ยากที่จะรู้ พระองค์มีขันติเปรียบด้วยถนน มีศีลเปรียบด้วยสาคร มีสมาธิเปรียบด้วยเขาสุเมรุ มีญาณเปรียบ ด้วยอากาศ ทรงประกาศอินทรีย์ พละ โพชฌงค์ มรรคและอริยสัจ ในกาลทุกเมื่อ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ เมื่อพระพุทธ- โกณฑัญญะ ผู้เป็นนายกของโลกทรงประกาศธรรมจักรธรรมาภิสมัย ครั้งที่ ๑ ได้มีแก่มนุษย์และเทวดาแสนโกฏิ ต่อแต่นั้นเมื่อทรง แสดงพระธรรมเทศนาในสมาคมมนุษย์และเทวดา ธรรมาภิสมัยครั้ง ที่ ๒ ได้มีแก่มนุษย์และเทวดาเก้าหมื่นโกฏิ ในเมื่อทรงแสดงธรรม ย่ำยีพวกเดียรถีย์ ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่เทวดาและมนุษย์ แปดหมื่นโกฏิ พระพุทธโกณฑัญญะผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง ทรงประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ปราศจากมลทิน มีจิตสงบคงที่ ๓ ครั้ง การประชุมครั้งที่ ๑ มีพระสาวกแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ พันโกฏิ ครั้งที่ ๓ เก้าสิบโกฏิ สมัยนั้นเราเป็นพระมหากษัตริย์พระนามว่า วิชิตาวี เป็นใหญ่ในแผ่นดิน โดยมีสมุทรสาครเป็นขอบเขต เรา นิมนต์พระสงฆ์สาวกผู้ปราศจากมลทิน ผู้แสวงหาคุณใหญ่ พร้อม ด้วยพระศาสดาผู้เป็นนาถะชั้นเลิศของโลก ให้ฉันภัตตาหารอย่างดี แม้พระพุทธโกณฑัญญะผู้เป็นนายกของโลกพระองค์นั้น ก็ทรง พยากรณ์ว่าผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ... ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสอย่าง ยิ่ง เราเมื่อจะยังประโยชน์นั้นให้สำเร็จ ได้ถวายราชสมบัติอันใหญ่ หลวงแก่พระพิชิตมาร ครั้นแล้วก็ออกบวชในสำนักของพระองค์ เราได้เล่าเรียนพระสูตรพระวินัย อันเป็นนวังคสัตถุศาสน์ทั้งปวง แล้ว ทำพระศาสนาของพระพิชิตมารให้งดงาม เราเป็นผู้ไม่ประมาท ในคำสั่งสอนของพระองค์ทั้งเวลานั่ง ยืน และ เดิน ถึงความสำเร็จ ในอภิญญาแล้วได้ไปยังพรหมโลก พระนครชื่อ รัมมวดี พระมหา- กษัตริย์ พระนามว่า สุนันทะ พระนางสุชาดา เป็นพระชนกชนนี ของพระพุทธโกณฑัญญะ ผู้แสวงหาคุณใหญ่หลวงพระองค์ประทับ อยู่ ณ ท่ามกลางเรือนสองหมื่นปี ทรงมีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาทชื่อ รุจิ สุรุจิ และสุภะ ทรงมีพระสนมนารีกำนัลใน สามแสน ล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสีพระนามว่า รุจิเทวี พระราชโอรสพระนามว่าชีวิตเสน พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยรถราชยาน ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือนเต็ม พระพุทธโกณฑัญญมหาวีรเจ้าผู้อุดมกว่าสัตว์อันพรหมทูล อาราธนาแล้วทรงประกาศพระธรรมจักรแก่เทวดาและมนุษย์ในป่า มหาวัน พระองค์ทรงมีพระภัททเถระและพระสุภัททเถระเป็นอัคร- สาวก มีพระเถระนามว่า อนุรุทธะเป็นอุปัฏฐาก มีพระติสสาเถรี และพระอุปติสสาเถรีเป็นอัครสาวิกา มีไม้สาละต้นงามเป็นไม้โพธิ์ ตรัสรู้ โสณอุบาสกและอุปโสณอุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก นันทา อุบาสิกา และสิริมาอุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา พระมหามุนี พระองค์นั้น สูง ๘๘ ศอก ทรงงามดั่งพระจันทร์ และเหมือน พระอาทิตย์ในเวลาเที่ยง ในขณะนั้น สัตว์ทั้งหลายอายุแสนปี พระองค์ทรงดำรงพระชนมายุอยู่เท่านั้น ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้น วัฏสงสารได้มากมาย พื้นเมทนีงามวิจิตรไปด้วยพระขีณาสพผู้ ปราศจากมลทิน พระองค์ย่อมงามด้วยพระขีณาสพเหมือนท้องฟ้า ย่อมงามด้วยหมู่ดาว ฉะนั้น พระมหานาคแม้เหล่านั้นมีคุณอัน ประมาณไม่ได้ นับไม่ถ้วน ยากที่จะรู้ได้ ท่านผู้ทรงยศเหล่านั้น นิพพานแล้วเหมือนแสงสายฟ้าตก พระพิชิตมารมีพระฤทธิ์ไม่มีที่ เปรียบ มีสมาธิอันพระญาณอบรมทุกอย่างหายไปหมดสิ้น สังขาร ทั้งปวงว่างเปล่าหนอ พระโกณฑัญญพุทธเจ้าผู้ทรงศิริเสด็จนิพพาน ที่นันทาราม พระเจดีย์ของพระองค์สูง ๗ โยชน์ เขาสร้างไว้ที่ นันทารามนั้น.
จบโกณฑัญญพุทธวงศ์ที่ ๒

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๗๒๖๔-๗๓๑๙ หน้าที่ ๓๑๑-๓๑๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=33&A=7264&Z=7319&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=33&siri=194              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=183              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [183] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=33&item=183&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=51&A=4317              The Pali Tipitaka in Roman :- [183] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=33&item=183&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=51&A=4317              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_33

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :