ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
๕. สุภากัมมารธีตาเถรีคาถา
คาถาสุภาษิตของนางสุภากัมมารธีตาเถรี
[๔๗๑] เมื่อก่อนเรายังเป็นสาว นุ่งห่มผ้าสะอาด ได้ฟังธรรมในสำนักพระศาสดา การตรัสรู้อริยสัจจึงได้มีแก่เราผู้ไม่ประมาท เพราะเหตุนั้น เราจึงละความ ยินดีอันแรงกล้าในกามทั้งปวง เห็นภัยในกายของตน (อุปาทานขันธ์ ๕) จึงปรารถนานิพพานเครื่องออกจากกิเลส เราละหมู่ญาติ ทาส กรรมกร บ้าน ไร่นาเป็นอันมาก อันเป็นเครื่องรื่นเริงบันเทิงใจ และทรัพย์สมบัติ ไม่น้อย ออกบวช ก็การที่เราออกบวชในพระสัทธรรมอันพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ทรงประกาศดีแล้วด้วยศรัทธาอย่างนี้ จะกลับมาสู่กามทั้ง หลายอันเราตัดได้แล้วนั้น ไม่สมควรเลย เพราะเราปรารถนาความเป็น ผู้ไม่มีห่วงใย ผู้ใดละทองคำและเงินแล้ว ยังกลับมารับทองคำและเงิน นั้นอีก ไฉนผู้นั้นจะพึงเงยหน้า ในระหว่างบัณฑิตทั้งหลายได้เล่า เพราะ เงินหรือทองคำ ย่อมไม่มีเพื่อความสงบใจแม้แก่บุคคลนั้น เงินและ ทองคำนั้น เป็นของไม่สมควรแก่สมณะ ไม่เป็นอริยทรัพย์ แท้จริง ทองคำและเงินนี้ เป็นเหตุให้เกิดความโลภ นำมาซึ่งความมัวเมา ให้ เกิดความลุ่มหลง เป็นเครื่องให้กำหนัดพัวพัน มีความระแวง มีความ คับแค้นเป็นอันมาก และไม่มีความยั่งยืนมั่นคง ก็คนทั้งหลายผู้ยินดี ในทรัพย์นั้น ชื่อว่าเป็นผู้ประมาท มีใจเศร้าหมอง ต่างผิดใจต่อกันและ กัน กระทำความบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันเป็นอันมาก การฆ่ากัน การถูกจองจำ การถูกลงโทษมีการตัดมือและเท้าเป็นต้น ความเสื่อมเสีย ความเศร้าโศกร่ำไร ความฉิบหายวอดวายเป็นอันมาก ย่อมปรากฏ แก่ บุคคลผู้ติดเนื่องอยู่ในกามทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเป็นญาติของเรา แต่ เหตุไฉนจึงมาทำเป็นเหมือนศัตรู ชักชวนเราในกามทั้งหลายเล่า ท่าน ทั้งหลายจงรู้เถิดว่า เรามีปกติเห็นภัยในกามทั้งหลายบวชแล้ว อาสวะ ทั้งหลาย ย่อมไม่สิ้นไปเพราะเงินและทอง กามทั้งหลาย เป็นศัตรู เป็นผู้ฆ่า เป็นข้าศึก เป็นดุจลูกศรและเครื่องจองจำ ท่านทั้งหลายเป็น ญาติของเรา แต่เหตุไฉนจึงมาทำเป็นเหมือนศัตรูชักชวนเรา ในกามทั้ง หลายเล่า ท่านทั้งหลายจงรู้เถิดว่า เราบวชแล้ว มีศีรษะโล้น ครองผ้า สังฆาฏิ ก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้นอันจักต้องยืนรับ การเที่ยวแสวงหา และผ้าบังสุกุล สมควรแก่เรา เพราะเป็นเครื่องอาศัยของบรรพชิต กามทั้งหลายทั้งที่เป็นของทิพย์ทั้งที่เป็นของมนุษย์ อันท่านผู้แสวงหาคุณ อันยิ่งใหญ่มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นคายเสียแล้ว ท่านเหล่านั้นมีใจน้อมไป แล้วในสถานที่อันปลอดโปร่ง ได้บรรลุความสุขอันไม่หวั่นไหว เราอย่า ได้สมาคมด้วยกามทั้งหลาย อันไม่มีที่ต้านทานเลย เพราะกามทั้งหลาย เป็นเหมือนข้าศึก เป็นดุจเพชฌฆาต อุปมาด้วยกองไฟ เป็นทุกข์ กามนี้เป็นของไม่บริสุทธิ์ มีภัย เป็นไปกับด้วยความคับแค้น เป็น เสี้ยนหนาม เป็นเหตุให้กำหนัด ไม่เรียบร้อย มีกังวลมาก เป็นทาง แห่งความลุ่มหลงใหญ่ เป็นเหตุให้ขัดข้อง และเป็นของน่ากลัวพิลึก เปรียบด้วยหัวงูเห่า ปุถุชนผู้โง่เขลามืดมนเหล่าใด ย่อมเพลิดเพลินต่อ กามเหล่านั้น ปุถุชนเหล่านั้นเป็นอันมาก ข้องอยู่แล้วด้วยเครื่องข้อง คือกาม ก็ไม่รู้สึกในโลก ย่อมไม่รู้จักความสิ้นสุดแห่งความเกิดและ ความตาย มนุษย์เป็นอันมากแลพากันดำเนินไปตามทางเป็นที่ไปสู่ทุคติ นำโรคมาให้แก่ตน ล้วนแต่มีกามเป็นเหตุให้เกิดข้าศึกศัตรู เดือดร้อน นำมาซึ่งความเศร้าหมอง เป็นเหยื่อในโลก เป็นเครื่องจองจำ เกี่ยว เนื่องด้วยความตาย กามทั้งหลายเป็นเหตุ ให้บ้า ให้บ่นเพ้อ ให้จิต มัวเมา เป็นของอันมารดักไว้เพื่อความพินาศ ของหมู่สัตว์เร็วพลัน กามทั้งหลายมีโทษหาที่สุดไม่ได้ มีทุกข์มาก มีพิษมาก มีความพอใจ น้อย เป็นบ่อเกิดแห่งการรบราฆ่าฟันกัน เป็นเหตุให้ธรรมฝ่ายขาวเหือด แห้งไป เราละความพินาศอันมีกามเป็นเหตุเช่นนั้นแล้ว จักไม่กลับมา บริโภคกามนั้นอีก เพราะว่าจำเดิมแต่บวชแล้ว เรายินดีอย่างยิ่ง ใน นิพพานทุกเมื่อ เราหวังความเยือกเย็น จึงทำสงครามต่อกามทั้งหลาย เป็นผู้ไม่ประมาท ยินดีแล้วในนิพพานเป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ เราจะ เดินไปตามอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อันเป็นทางไม่มี ความเศร้าโศก ปราศจากธุลี ปลอดโปร่ง เป็นทางตรง เป็นทางที่ท่าน ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวงดำเนินข้ามห้วงน้ำใหญ่ไปแล้ว. พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงพระเถรีผู้บรรลุอรหัตในวันที่ ๘ แต่วันบวชแล้วนั่งเข้าฌาน อยู่ที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง แก่ภิกษุณีทั้งหลาย เมื่อจะทรงสรรเสริญจึงตรัสพระคาถา ๓ พระคาถา ความว่า ท่านทั้งหลายจงดูนางสุภา ผู้เป็นธิดาแห่งนายช่างทอง ผู้ตั้งอยู่ในธรรมนี้ เธอได้บรรลุธรรมอันไม่หวั่นไหวแล้ว เพ่งฌาน อยู่โคนต้นไม้ วันนี้เป็น วันที่ ๘ นางสุภาบวชแล้ว เป็นผู้มีศรัทธางามด้วยการบรรลุสัทธรรม เป็นผู้อันพระอุบลวรรณาเถรีแนะนำแล้ว บรรลุวิชชา ๓ เป็นผู้ละมัจจุมาร พระสุภาภิกษุณีเป็นไทยแก่ตัวเอง ไม่เป็นหนี้ มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว พรากจากเครื่องเกาะเกี่ยวทั้งปวง ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ ท้าวสักกะ ผู้ใหญ่กว่าเหล่าสัตว์พร้อมด้วยหมู่เทวดา พากันลงมาไหว้ พระสุภา- กัมมารธีตาเถรีนั้นด้วยฤทธิ์.
จบ วีสตินิบาต

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๙๘๖๐-๙๙๒๖ หน้าที่ ๔๒๗-๔๓๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=26&A=9860&Z=9926&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=26&siri=471              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=471              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [471] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=26&item=471&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=34&A=6401              The Pali Tipitaka in Roman :- [471] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=26&item=471&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=34&A=6401              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_26              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://accesstoinsight.org/ati/tipitaka/kn/thig/thig.13.05.than.html https://suttacentral.net/thig13.5/en/sujato https://suttacentral.net/thig13.5/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :