ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
๓. มหากัปปินเถรคาถา
คาถาสุภาษิตของพระมหากัปปินเถระ
[๓๗๒] ผู้ใดพิจารณาเห็นแจ้งหรือแสวงหาประโยชน์ ย่อมพิจารณาเห็นกิจ ทั้งสอง คือ ที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ อันยังไม่มาถึง ได้ก่อนอมิตรหรือศัตรูของผู้นั้น ซึ่งคอยแสวงหาช่องอยู่ไม่ทันเห็น ผู้นั้น เรียกว่า ผู้มีปัญญา ผู้ใดเจริญอานาปาณสติให้บริบูรณ์ด้วยดีแล้ว อบรมแล้วโดยลำดับ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อม ยังโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์เพ็ญออกจากกลีบเมฆฉะนั้น จิตของเราผ่องใสแล้วหนอ อบรมดีแล้ว หาประมาณมิได้ เป็น จิตประคองไว้แล้วเป็นนิตย์ ย่อมยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสว บุคคล ผู้มีปัญญาถึงจะสิ้นทรัพย์ ก็ยังมีชีวิตอยู่เป็นได้แน่แท้ ส่วนบุคคล ผู้ไม่มีปัญญาถึงจะมีทรัพย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้ ปัญญาเป็นเครื่องตัดสินสิ่ง ที่ตนฟังมาแล้ว เป็นเครื่องเจริญชื่อเสียงและความสรรเสริญ นรชน ในโลกนี้ ผู้ประกอบด้วยปัญญา แม้ในเวลาที่ตนตกทุกข์ ก็ ย่อมได้รับความสุข ธรรมนี้มิใช่มีในวันนี้ ไม่ใช่น่าอัศจรรย์ และไม่ใช่เคยมีมาแล้ว แต่ดูเหมือนเป็นของที่ไม่เคยมีในโลก ซึ่ง เป็นที่เกิดที่ตาย เมื่อสัตว์เกิดมาแล้ว ก็มีความเป็นอยู่กับความ ตายแน่แท้ สัตว์ที่เกิดมาแล้วๆ ในโลกนี้ ย่อมตายไปทั้งนั้น เพราะสัตว์ทั้งหลายมีอย่างนี้เป็นธรรมดา ชีวิตอันใดเป็นประโยชน์ แก่บุรุษเหล่าอื่น ชีวิตอันนั้นย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ตายไปแล้ว อันการร้องไห้ถึงผู้ที่ตายไปแล้ว ย่อมไม่ทำให้เกิดผล ไม่ทำให้ เกิดความสรรเสริญ สมณะและพราหมณ์ไม่สรรเสริญเลย การ ร้องไห้ย่อมเบียดเบียนจักษุและร่างกาย ทำให้เสื่อมวรรณะ กำลัง และความคิด ชนทั้งหลายผู้เป็นข้าศึกย่อมมีจิตยินดี ส่วนชน ผู้เป็นมิตรก็พลอยเป็นทุกข์ไปด้วย เพราะฉะนั้น บุคคลพึงปรารถนา ท่านผู้เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต ให้อยู่ในสกุลของตน เพราะ กิจทุกอย่างจะสำเร็จได้ ด้วยกำลังปัญญาของท่านที่เป็นนักปราชญ์ และเป็นพหูสูตเท่านั้น เหมือนบุคคลข้ามแม่น้ำอันเต็มฝั่ง ด้วยเรือ ฉะนั้น.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๖๙๖๕-๖๙๙๓ หน้าที่ ๒๙๙-๓๐๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=26&A=6965&Z=6993&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=26&siri=372              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=372              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [372] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=26&item=372&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=33&A=4553              The Pali Tipitaka in Roman :- [372] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=26&item=372&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=33&A=4553              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_26              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/thag10.3/en/sujato

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :