ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
๗. ธนปาลเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของธนปาลเปรต
พวกพ่อค้าถามเปรตตนหนึ่งว่า [๑๐๔] ท่านเปลือยกาย มีรูปร่างน่าเกลียด ซูบผอม สะพรั่งไปด้วย เส้นเอ็น เห็นกระดูกซี่โครง แน่ะเพื่อนยาก ท่านเป็นใครหนอ? เปรตนั้นตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าเป็นเปรต ทุกข์ยาก เกิดอยู่ใน ยมโลก ได้ทำกรรมอันลามกไว้ จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก. พวกพ่อค้าถามว่า ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจ หรือ เพราะวิบากแห่งอะไร ท่านจึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก? เปรตนั้นตอบว่า มีพระนครของพระเจ้าทสันนราช ปรากฏนามว่า เอรกัจฉะ เมื่อก่อน ข้าพเจ้าเป็นเศรษฐีอยู่ในนครนั้น ประชาชนเรียกข้าพเจ้าว่า ธนปาล- เศรษฐี ข้าพเจ้ามีเงิน ๘๐ เล่มเกวียน ทองคำ แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์ ก็มีมากมายเหลือที่จะนับ แม้ข้าพเจ้าจะมีทรัพย์มากมายถึงเพียงนั้น ก็ไม่ รักที่จะให้ทาน ปิดประตูแล้วจึงบริโภคอาหารด้วยคิดว่า พวกยาจก อย่าได้เห็นเรา ข้าพเจ้าไม่มีศรัทธา เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น ได้ด่า ว่าพวกยาจก และห้ามปรามมหาชนผู้ให้ทานทำบุญ เป็นต้น ด้วยคำว่า ผลแห่งทานไม่มี ผลแห่งการสำรวม จักไม่มีแต่ที่ไหน ได้ทำลายสระน้ำ บ่อน้ำที่เขาขุดไว้ สวนดอกไม้ สวนผลไม้ ศาลาน้ำ และสะพานใน ที่เดินลำบาก ที่เขาปลูกสร้างให้พินาศ ข้าพเจ้านั้นไม่ได้ทำความดีไว้เลย ทำแต่ความชั่วไว้ จุติจากชาตินั้นแล้ว บังเกิดในปิตติวิสัย เพรียบพร้อม ไปด้วยความหิวกระหายตลอด ๕๕ ปี ตั้งแต่ตายแล้ว ข้าพเจ้ายังไม่ได้ กินข้าวและน้ำเลยแม้แต่น้อย การสงวนทรัพย์ คือ ไม่ให้แก่ใครๆ เป็นความพินาศของสัตว์ทั้งหลาย ความฉิบหายก็คือการสงวนทรัพย์ ได้ ยินว่าเปรตทั้งหลายรู้ว่า การสงวนทรัพย์คือการไม่ให้แก่ใครๆ เป็น ความพินาศ เมื่อก่อนข้าพเจ้าสงวนทรัพย์ไว้ เมื่อทรัพย์มีอยู่เป็นอันมาก ไม่ให้ทาน เมื่อไทยธรรมมีอยู่ ไม่ทำที่พึ่งแก่ตน ข้าพเจ้าได้รับผลแห่ง กรรมของตนจึงเดือดร้อนในภายหลัง พ้นจาก ๔ เดือนไปแล้ว ข้าพเจ้า จักตาย จักไปตกนรกอันเผ็ดร้อนสาหัส มี ๔ เหลี่ยม ๔ ประตู จำแนก เป็นห้องๆ ล้อมด้วยกำแพงเหล็ก พร้อมด้วยแผ่นเหล็ก พื้นของนรก นั้น ล้วนแล้วด้วยทองแดงลุกเป็นเปลวเพลิง ประกอบด้วยความร้อน แผ่ไปตลอดร้อยโยชน์โดยรอบ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ ข้าพเจ้าจักต้องเสวย ทุกขเวทนาในนรกนั้นตลอดกาลนาน ก็การเสวยทุกขเวทนาเช่นนี้ เป็น ผลแห่งกรรมอันชั่ว เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเศร้าโศกที่จะไปเกิดในนรก อันเร่าร้อนนั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอเตือนท่านทั้งหลาย ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลายผู้มาประชุมกันในที่นี้ พวกท่านอย่าได้ ทำบาปกรรมในที่ไหนๆ คือ ในที่แจ้งหรือในที่ลับ ถ้าพวกท่านจักกระทำ หรือกระทำบาปกรรมนั้นไว้ แม้พวกท่านจะเหาะหนีไปอยู่ที่ไหน ก็ย่อม ไม่พ้นไปจากทุกข์ ขอท่านทั้งหลายจงเลี้ยงมารดา จงเลี้ยงบิดา ประพฤติ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล เป็นผู้เกื้อกูลแก่สมณะและพราหมณ์ ท่าน ทั้งหลายจักไปสวรรค์ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ บุคคลจะอยู่ในอากาศใน ท่ามกลางมหาสมุทร หรือเข้าไปสู่ช่องภูเขา พึงพ้นจากบาปกรรมไม่มี หรือบุคคลอยู่ในส่วนแห่งภาคพื้นใด พึงพ้นจากบาปกรรม ส่วนแห่งภาค พื้นนั้นไม่มี.
จบ ธนปาลเปตวัตถุที่ ๗

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๓๕๖๘-๓๖๑๔ หน้าที่ ๑๔๖-๑๔๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=26&A=3568&Z=3614&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=26&siri=104              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=104              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [104] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=26&item=104&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=31&A=2393              The Pali Tipitaka in Roman :- [104] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=26&item=104&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=31&A=2393              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_26

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :