ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
จุนทสูตร
[๑๖๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ส่วนมะม่วงของนาย จุนทกัมมารบุตร ใกล้เมืองปาวา ครั้งนั้นแล นายจุนทกัมมารบุตรเข้าไปเฝ้าพระ ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะนายจุนทกัมมารบุตรว่า ดูกรจุนทะ ท่านชอบ ใจความสะอาดของใครหนอ นายจุนทกัมมารบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ เจริญ พราหมณ์ชาวปัจฉาภูมิ ผู้ถือเต้าน้ำ สวมพวงมาลัยสาหร่าย บำเรอไฟ ลงน้ำเป็นวัตร ย่อมบัญญัติความสะอาดไว้ ข้าพระองค์ชอบใจความสะอาดของ พราหมณ์พวกนั้น ฯ พ. ดูกรจุนทะ ก็พวกพราหมณ์ชาวปัจฉาภูมิ ผู้ถือเต้าน้ำ สวมพวงมาลัย สาหร่าย บำเรอไฟ ลงน้ำเป็นวัตร ย่อมบัญญัติความสะอาดไว้อย่างไรเล่า ฯ จ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส พวกพราหมณ์ชาว ปัจฉาภูมิ ผู้ถือเต้าน้ำ สวมพวงมาลัยสาหร่าย บำเรอไฟ ลงน้ำเป็นวัตร ย่อมชักชวน สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า มาเถิด บุรุษผู้เจริญ ท่านลุกขึ้นจากที่นอนแต่เช้าตรู่ พึงจับต้องแผ่นดิน ถ้าไม่จับต้องแผ่นดิน พึงจับต้องโคมัยสด ถ้าไม่จับต้องโคมัยสด พึงจับต้องหญ้าเขียวสด ถ้าไม่จับต้องหญ้าเขียวสด พึงบำเรอไฟ ถ้าไม่บำเรอไฟ พึงประนมอัญชลีนอบน้อมพระอาทิตย์ ถ้าไม่ประนมอัญชลีนอบน้อมพระอาทิตย์ พึงลงน้ำ ๓ ครั้ง ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ ชาวปัจฉาภูมิผู้ถือเต้าน้ำ สวมพวงมาลัยสาหร่าย บำเรอไฟ ลงน้ำเป็นวัตร ย่อมบัญญัติความสะอาดอย่างนี้แล ข้าพระองค์ชอบใจความสะอาดของพราหมณ์ พวกนั้น ฯ พ. ดูกรจุนทะ พวกพราหมณ์ชาวปัจฉาภูมิ ผู้ถือเต้าน้ำ สวมพวงมาลัย สาหร่าย บำเรอไฟ ลงน้ำเป็นวัตร ย่อมบัญญัติความสะอาดโดยประการอื่น ส่วนความสะอาดในวินัยของพระอริยะ ย่อมมีโดยประการอื่น ฯ จ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความสะอาดในวินัยของพระอริยะย่อมมี อย่างไรเล่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ความสะอาดในวินัย ของพระอริยะมีอยู่ด้วยประการใด ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระ องค์ด้วยประการนั้นเถิด ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรจุนทะ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว นายจุนทกัมมารบุตรทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ ตรัสว่า ดูกรจุนทะ ความไม่สะอาดทางกายมี ๓ อย่าง ความไม่สะอาดทางวาจา มี ๔ อย่าง ความไม่สะอาดทางใจมี ๓ อย่าง ฯ ดูกรจุนทะ ก็ความไม่สะอาดทางกายมี ๓ อย่าง อย่างไรเล่า ดูกรจุนทะ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปรกติฆ่าสัตว์ หยาบช้า มีมือชุ่มด้วยโลหิต ตั้งอยู่ ในการฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต ๑ เป็นผู้ถือเอาสิ่งของที่เขา ไม่ได้ให้ คือ ถือเอาวัตถุอันเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของ บุคคลอื่น ซึ่งอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้ ด้วยจิตเป็นขโมย ๑ เป็น ผู้ประพฤติผิดในกาม คือ เป็นผู้ถึงความประพฤติล่วงในสตรีที่มารดารักษา บิดา รักษา พี่ชายน้องชายรักษา พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา ธรรมรักษา สตรีมี สามี ผู้มีอาชญาโดยรอบ โดยที่สุดแม้สตรีผู้ที่บุรุษคล้องแล้วด้วยพวงมาลัย ๑ ดูกรจุนทะ ความไม่สะอาดทางกายมี ๓ อย่าง อย่างนี้แล ฯ ดูกรจุนทะ ความไม่สะอาดทางวาจามี ๔ อย่าง อย่างไรเล่า ดูกรจุนทะ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปรกติพูดเท็จ คือ เขาอยู่ในสภา ในบริษัท ใน ท่ามกลางญาติ ในท่ามกลางเสนา หรือในท่ามกลางราชสกุล ถูกผู้อื่นนำไปเป็น พยานซักถามว่า มาเถิดบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้สิ่งใดจงพูดสิ่งนั้น ดังนี้ บุคคลนั้น เมื่อไม่รู้กล่าวว่ารู้ หรือเมื่อรู้กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อไม่เห็นกล่าวว่าเห็น หรือเมื่อเห็น กล่าวว่าไม่เห็น ดังนี้ เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งรู้ เพราะเหตุแห่งตน เพราะเหตุแห่งผู้ อื่น หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อย ด้วยประการดังนี้ ๑ เป็นผู้พูด ส่อเสียด คือ ฟังข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังข้างโน้น แล้วมาบอกข้างนี้เพื่อทำลายคนหมู่โน้น ยุยงคนทั้งหลายผู้สามัคคีกันให้แตกกัน หรือส่งเสริมชนทั้งหลายผู้แตกกันแล้ว ชอบความแยกกัน ยินดีความแยกกัน เพลิดเพลินในความแยกกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้แยกกัน ๑ เป็นผู้พูดคำหยาบ คือ กล่าววาจาที่หยาบคายกล้าแข็ง ทำให้ผู้อื่นข้องใจ เดือดร้อนแก่ผู้อื่น ใกล้ต่อ ความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ ๑ เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือ กล่าวไม่ถูกกาล กล่าวไม่จริง กล่าวไม่อิงอรรถ ไม่อิงธรรม ไม่อิงวินัย กล่าววาจาไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้าง ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลไม่ควร ๑ ดูกรจุนทะ ความไม่สะอาดทางวาจามี ๔ อย่าง อย่างนี้แล ฯ ดูกรจุนทะ ความไม่สะอาดทางใจมี ๓ อย่าง อย่างไรเล่า ดูกรจุนทะ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้อยากได้ของผู้อื่น คือ อยากได้วัตถุเป็นอุปกรณ์แก่ ทรัพย์เป็นเครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่นว่า ไฉนหนอ วัตถุเป็นอุปกรณ์แก่ ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นพึงเป็นของเรา ดังนี้ ๑ เป็นผู้มีจิตปองร้าย คือ มี ความดำริในใจอันชั่วร้ายว่า สัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูกทำลาย จงขาดสูญ จง พินาศ หรืออย่าได้เป็นแล้ว ดังนี้ ๑ เป็นผู้มีความเห็นผิด คือ มีความเห็นวิปริต ว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลวิบาก แห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดา ไม่มี สัตว์ผู้เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ผู้ปฏิบัติ ชอบผู้ทำโลกนี้และโลกหน้า ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้วสอนผู้อื่น ให้รู้ตาม ย่อมไม่มีในโลก ดังนี้ ๑ ดูกรจุนทะ ความไม่สะอาดทางใจมี ๓ อย่าง อย่างนี้แล ฯ ดูกรจุนทะ อกุศลกรรมบถมี ๑๐ ประการนี้แล ดูกรจุนทะ บุคคลผู้ ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ เมื่อลุกขึ้นจากที่นอนแต่เช้าตรู่ ถึง แม้จับต้องแผ่นดิน ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้ไม่จับต้องแผ่นดิน ก็เป็น ผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้จับต้องโคมัยสด ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง ถึง แม้ไม่จับต้องโคมัยสด ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้จับต้องหญ้าอันเขียว สด ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้ไม่จับต้องหญ้าอันเขียวสด ก็เป็นผู้ไม่ สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้จะบำเรอไฟ ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้จะ บำเรอไฟ ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้เป็นผู้ประนมอัญชลีนอบน้อมพระ อาทิตย์ ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้จะเป็นผู้ไม่ประนมอัญชลีนอบน้อม พระอาทิตย์ ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้จะลงน้ำ ๓ ครั้งทั้งเวลาเย็นเวลา เช้า ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้จะไม่ลงน้ำ ๓ ครั้งทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ก็เป็นผู้ไม่สะอาดอยู่นั่นเอง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ เป็นความไม่สะอาดด้วย เป็นตัวกระทำไม่สะอาดด้วย ดูกรจุนทะ ก็ เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ นรกจึงปรากฏ กำเนิดดิรัจฉานจึงปรากฏ เปรตวิสัยจึงปรากฏ หรือว่าทุคติอย่างใดอย่างหนึ่งแม้อื่น จึงมี ฯ ดูกรจุนทะ ความสะอาดทางกายมี ๓ อย่าง ความสะอาดทางวาจามี ๔ อย่าง ความสะอาดทางใจมี ๓ อย่าง ฯ ดูกรจุนทะ ความสะอาดทางกายมี ๓ อย่าง อย่างไรเล่า ดูกรจุนทะ บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วาง ศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ ทั้งปวงอยู่ ๑ ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ไม่ถือเอาวัตถุเป็น อุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่น ซึ่งอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้ ด้วยจิตเป็นขโมย ๑ ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการ ประพฤติผิดในกาม ไม่ถึงความประพฤติล่วงในสตรีที่มารดารักษา บิดารักษา พี่ชายน้องชายรักษา พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา ธรรมรักษา มีสามี มีอาชญา โดยรอบ โดยที่สุดแม้สตรีที่บุรุษคล้องแล้วด้วยพวงมาลัย ๑ ดูกรจุนทะ ความ สะอาดทางกายมี ๓ อย่าง อย่างนี้แล ฯ ดูกรจุนทะ ความสะอาดทางวาจามี ๔ อย่าง อย่างไรเล่า ดูกรจุนทะ บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ อยู่ในสภา ใน บริษัท ในท่ามกลางญาติ ในท่ามกลางเสนา หรือในท่ามกลางราชสกุล ถูกผู้ อื่นนำไปเป็นพยานซักถามว่า มาเถิด บุรุษผู้เจริญ ท่านรู้สิ่งใดจงพูดสิ่งนั้น บุรุษ นั้นเมื่อไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้ หรือเมื่อรู้ก็บอกว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็บอกว่าไม่เห็น หรือเมื่อ เห็นก็บอกว่าเห็น ไม่เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งรู้ เพราะเหตุแห่งตน เพราะเหตุแห่งผู้อื่น บ้าง หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อย ๑ ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำ ส่อเสียด ฟังข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้น แล้วไม่มาบอกข้างนี้เพื่อทำลายคนหมู่โน้น สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริม คนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าววาจาที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน ๑ ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าววาจาที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ ๑ ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาด จากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาล อันควร ๑ ดูกรจุนทะ ความสะอาดทางวาจามี ๔ อย่าง อย่างนี้แล ฯ ดูกรจุนทะ ความสะอาดทางใจมี ๓ อย่าง อย่างไรเล่า ดูกรจุนทะ บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่อยากได้ของผู้อื่น คือ ไม่อยากได้วัตถุเป็นอุปกรณ์แก่ ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่นว่า ไฉนหนอ วัตถุที่เป็นเครื่องอุปกรณ์ แก่ทรัพย์เครื่องปลื้ม แห่งผู้อื่นของบุคคลอื่นพึงเป็นของเรา ดังนี้ ๑ ไม่มีจิตปองร้าย คือ ไม่มีความดำริในใจอันชั่วร้ายว่า สัตว์เหล่านี้จงเป็น ผู้ไม่มีเวร ไม่มีความมุ่งร้ายกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิดดังนี้ ๑ มี ความเห็นชอบ คือ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ทานที่บุคคลให้แล้วมีผล การเซ่น สรวงมีผล การบูชามีผล ผลวิบากของกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ผู้เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไป ชอบ ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตน เองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม มีอยู่ ดังนี้ ๑ ดูกรจุนทะ ความสะอาดทางใจมี ๓ อย่าง อย่างนี้แล ฯ ดูกรจุนทะ กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้แล ดูกรจุนทะ บุคคลผู้ประ กอบด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ ลุกขึ้นจากที่นอนแต่เช้าตรู่ ถึงแม้จับต้อง แผ่นดิน ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้ไม่จับต้องแผ่นดิน ก็เป็นผู้สะอาดอยู่ นั่นเอง ถึงแม้จับต้องโคมัยสด ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้ไม่จับต้อง โคมัยสด ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้จับต้องหญ้าอันเขียวสด ก็เป็นผู้ สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้ไม่จับต้องหญ้าอันเขียวสด ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้บำเรอไฟ ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้ไม่บำเรอไฟ ก็เป็นผู้สะอาดอยู่ นั่นเอง ถึงแม้ประนมอัญชลีนอบน้อมพระอาทิตย์ ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้ไม่ประนมอัญชลีนอบน้อมพระอาทิตย์ ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้ ลงน้ำ ๓ ครั้งทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง ถึงแม้ไม่ลงน้ำ ๓ ครั้งทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า ก็เป็นผู้สะอาดอยู่นั่นเอง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้เป็นความสะอาดด้วย เป็นตัวทำให้สะอาดด้วย ดูกร จุนทะ ก็เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ เทวดาทั้ง หลายย่อมปรากฏ มนุษย์ทั้งหลายย่อมปรากฏ หรือว่าสุคติอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้อื่นจึงมี ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนั้นแล้ว นายจุนทะกัมมารบุตรได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
ชาณุสโสณีสูตร
[๑๖๖] ครั้งนั้นแล ชาณุสโสณีพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ท่านโคดมผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าได้นามว่าเป็นพราหมณ์ ย่อมให้ทาน ย่อมทำความเชื่อว่า ทานนี้ต้อง สำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้ว ขอญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วจงบริโภค ทานนี้ ท่านโคดมผู้เจริญ ทานนั้นย่อมสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วหรือ ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วเหล่านั้นย่อมได้บริโภคทานนั้นหรือ พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ทานนั้นย่อมสำเร็จในฐานะแล ย่อมไม่สำเร็จในอฐานะ ฯ ชา. ท่านโคดมผู้เจริญ ฐานะเป็นไฉน อฐานะเป็นไฉน ฯ พ. ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มีความ อยากได้ของผู้อื่น มีจิตปองร้าย มีความเห็นผิด บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึง นรก เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในนรกนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรกนั้น ด้วยอาหารของ สัตว์นรก ดูกรพราหมณ์ ฐานะอันเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้ แล เป็นอฐานะ ฯ ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็น ผิด บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนั้น ย่อมตั้งอยู่ในกำเนิด สัตว์ดิรัจฉานนั้น ด้วยอาหารของสัตว์ผู้เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ดูกรพราหมณ์ แม้ฐานะอันเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล ก็เป็นอฐานะ ฯ ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการพูดส่อเสียด จากการพูดคำหยาบ จากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความอยากได้ของผู้อื่น มีจิตไม่ปอง ร้าย มีความเห็นชอบ บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวก มนุษย์ เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพในมนุษย์โลกนั้น ย่อมตั้งอยู่ในมนุษย์นั้นด้วยอาหารของ มนุษย์ ดูกรพราหมณ์ แม้ฐานะอันเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่ นี้แล ก็เป็นอฐานะ ฯ ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นชอบ บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในเทวโลกนั้น ย่อมตั้งอยู่ในเทวโลกนั้น ด้วยอาหารของ เทวดา ดูกรพราหมณ์ แม้ฐานะเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล ก็เป็นอฐานะ ฯ ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็น ผิด บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงเปรตวิสัย เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในเปรต วิสัยนั้น ด้วยอาหารของสัตว์ผู้เกิดในเปรตวิสัย หรือว่ามิตร อำมาตย์หรือญาติ สาโลหิตของเขา ย่อมเพิ่มให้ซึ่งปัตติทานมัยจากมนุษย์โลกนี้ เขาเลี้ยงอัตภาพอยู่ ในเปรตวิสัยนั้น ย่อมตั้งอยู่ในเปรตวิสัยนั้น ด้วยปัตติทานมัยนั้น ดูกรพราหมณ์ ฐานะอันเป็นที่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล เป็นฐานะ ฯ ชา. ท่านโคดมผู้เจริญ ก็ถ้าญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วนั้น ไม่เข้าถึง ฐานะนั้น ใครเล่าจะบริโภคทานนั้น ฯ พ. ดูกรพราหมณ์ ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วแม้เหล่าอื่นของทายกนั้น ที่เข้าถึงฐานะนั้นมีอยู่ ญาติสาโลหิตเหล่านั้นย่อมบริโภคทานนั้น ฯ ชา. ท่านโคดมผู้เจริญ ก็ถ้าญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วนั้น ไม่เข้าถึง ฐานะนั้น และญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วแม้เหล่าอื่นของทายกนั้น ก็ไม่เข้าถึง ฐานะนั้น ใครเล่าจะบริโภคทานนั้น ฯ พ. ดูกรพราหมณ์ ฐานะที่จะพึงว่างจากญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยกาลช้านานเช่นนี้ มิใช่ฐานะมิใช่โอกาสที่จะมีได้ อีกประการหนึ่ง แม้ทายก ก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล ฯ ชา. ท่านโคดมผู้เจริญ ย่อมตรัสกำหนดแม้ในอฐานะหรือ ฯ พ. ดูกรพราหมณ์ เรากล่าวกำหนดแม้ในอฐานะ ดูกรพราหมณ์ บุคคล บางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ... มีความเห็นผิด บุคคลนั้นย่อมให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่ สมณพราหมณ์ บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของช้าง เขาย่อม ได้ข้าว น้ำ มาลาและเครื่องอลังการต่างๆ ในกำเนิดช้างนั้น ดูกรพราหมณ์ ข้อที่บุคคลเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ... มีความเห็นผิด ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็น สหายของช้างด้วยกรรมนั้น และข้อที่ผู้นั้นเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ยาน มาลา ของ หอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณพราหมณ์ ผู้นั้น ย่อมได้ข้าว น้ำ มาลาและเครื่องอลังการต่างๆ ในกำเนิดช้างนั้นด้วย กรรมนั้น ฯ ดูกรพราหมณ์ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ... มีความ เห็นผิด บุคคลนั้นย่อมให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณพราหมณ์ ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความ เป็นสหายของม้า ... ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของโค ... ย่อมเข้าถึงความเป็น สหายของสุนัข เขาย่อมได้ข้าว น้ำ มาลาและเครื่องอลังการต่างๆ ในกำเนิด สุนัขนั้น ดูกรพราหมณ์ ข้อที่บุคคลเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ... มีความเห็นผิด บุคคลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสุนัข ด้วยกรรมนั้น และข้อที่ผู้นั้น เป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และ เครื่องประทีป แก่สมณพราหมณ์ ผู้นั้นย่อมได้ข้าว น้ำ มาลาและเครื่องอลังการ ต่างๆ ในกำเนิดสุนัขนั้น ด้วยกรรมนั้น ฯ ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการพูดส่อเสียด จากการพูดคำหยาบ จากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความอยากได้ของผู้อื่น มีจิตไม่ ปองร้าย มีความเห็นชอบ ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบ ไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณพราหมณ์ บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกมนุษย์ เขาย่อมได้เบญจกามคุณอันเป็นของ มนุษย์ในมนุษย์โลกนั้น ดูกรพราหมณ์ ข้อที่บุคคลเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความอยากได้ของผู้อื่น มีจิตไม่ปองร้าย มีความเห็นชอบ ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของมนุษย์ ด้วยกรรมนั้น และข้อที่ผู้นั้นเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่อง ประทีป แก่สมณพราหมณ์ บุคคลนั้นย่อมได้เบญจกามคุณอันเป็นของมนุษย์ใน มนุษย์โลกนั้น ด้วยกรรมนั้น ฯ ดูกรพราหมณ์ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่า สัตว์ ฯลฯ มีความเห็นชอบ บุคคลนั้นย่อมให้ข้าว น้ำ ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณพราหมณ์ บุคคลนั้นเมื่อ ตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา เขาย่อมได้เบญจกามคุณ อันเป็น ทิพย์ในเทวโลกนั้น ดูกรพราหมณ์ ข้อที่บุคคลเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นชอบ ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดา ด้วยกรรมนั้น และข้อที่ผู้นั้นเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่อง ลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณพราหมณ์ บุคคลนั้นย่อมได้ เบญจกามคุณอันเป็นทิพย์ในเทวโลกนั้น ด้วยกรรมนั้น ดูกรพราหมณ์ แม้ทายก ก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล ฯ ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีแล้ว ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ ข้อที่แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผลนี้ เป็นของควรเพื่อให้ทานโดยแท้ เป็นของ ควรเพื่อกระทำศรัทธาโดยแท้ ฯ พ. ดูกรพราหมณ์ ข้อนี้เป็นอย่างนี้ๆ ดูกรพราหมณ์ แม้ทายกก็เป็นผู้ ไม่ไร้ผล ฯ ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบชาณุสโสณีวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
สุนทรวรรคที่ ๓
สาธุอสาธุสูตร
[๑๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดีแก่เธอทั้ง หลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มี พระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งที่ไม่ดีเป็นไฉน การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ ความอยากได้ของผู้อื่น ความปองร้าย ความเห็นผิด นี้เรียกว่าสิ่งที่ไม่ดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งที่ดีเป็นไฉน การงดเว้นจากการ ฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการพูด ส่อเสียด จากการพูดคำหยาบ จากการพูดเพ้อเจ้อ ความไม่อยากได้ของผู้อื่น ความไม่ปองร้าย ความเห็นชอบ นี้เรียกว่าเป็นสิ่งที่ดี ฯ
จบสูตรที่ ๑
อริยานริยธรรมสูตร
[๑๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอริยธรรม และอนริยธรรม แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ อนริยธรรมเป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่าอนริยธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อริยธรรมเป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความ เห็นชอบ นี้เรียกว่าอริยธรรม ฯ
จบสูตรที่ ๒
กุสลากุสลสูตร
[๑๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกุศลธรรมและ อกุศลธรรม แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อกุศล ธรรมเป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่าอกุศลธรรม ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็กุศลธรรมเป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่ากุศลธรรม ฯ
จบสูตรที่ ๓
อัตถานัตถสูตร
[๑๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งที่เป็นประโยชน์ และสิ่งที่ ไม่เป็นประโยชน์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่าสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งเป็นประโยชน์เป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่าสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฯ
จบสูตรที่ ๔
ธรรมาธรรมสูตร
[๑๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมและอธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาค แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธรรมเป็นไฉน การ ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่าอธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรม เป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่าธรรม ฯ
จบสูตรที่ ๕
สาสวานาสวสูตร
[๑๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่มีอาสวะ และธรรม ที่ไม่มีอาสวะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ธรรมที่มีอาสวะเป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิดนี้เรียกว่า ธรรมที่มีอาสวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่มีอาสวะเป็นไฉน การงดเว้นจาก การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่าธรรมที่ไม่มีอาสวะ ฯ
จบสูตรที่ ๖
สาวัชชานวัชชสูตร
[๑๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่มีโทษและธรรมที่ไม่มี โทษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรม ที่มีโทษเป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่าธรรมที่มีโทษ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่มีโทษเป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความ เห็นชอบ นี้เรียกว่าธรรมที่ไม่มีโทษ ฯ
จบสูตรที่ ๗
ตปนิยาตปนิยธรรมสูตร
[๑๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความ เดือดร้อน และธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน แก่เธอทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเดือด ร้อนเป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่าธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง ความเดือดร้อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อนเป็น ไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่าธรรมอันไม่เป็น ที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ฯ
จบสูตรที่ ๘
อาจยคามยาปจยคามิธรรมสูตร
[๑๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส และธรรมอันไม่เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระ ภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเป็นไปในเพื่อสั่งสมกิเลส เป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่าธรรมอันเป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลสเป็นไฉน การงดเว้นจาก การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่าธรรมอันไม่เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส ฯ
จบสูตรที่ ๙
ทุกขุนทรยสุขุนทรยธรรมสูตร
[๑๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่มีทุกข์เป็นกำไรและ ธรรมที่มีสุขเป็นกำไรแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจัก กล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่มีทุกข์เป็นกำไรเป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่าธรรมที่มีทุกข์เป็นกำไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่มีสุขเป็นกำไรเป็น ไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่าธรรมที่มีสุข เป็นกำไร ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
ทุกขวิปากสุขวิปากธรรมสูตร
[๑๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันมีทุกข์เป็นวิบากและ ธรรมอันมีสุขเป็นวิบากแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจัก กล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันมีทุกข์เป็นวิบากเป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็น ผิด นี้เรียกว่าเป็นธรรมอันมีทุกข์เป็นวิบาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันมีสุข เป็นวิบากเป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่า ธรรมอันมีสุขเป็นวิบาก ฯ
จบสูตรที่ ๑๑
จบสุนทรวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
เสฏฐวรรคที่ ๔
อริยมรรคานริยมรรคสูตร
[๑๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นอริยมรรคและธรรม ที่ไม่ใช่อริยมรรคแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่ใช่อริยมรรคเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่าธรรมที่ไม่ใช่อริยมรรค ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่เป็น อริยมรรคเป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่า ธรรมที่เป็นอริยมรรค ฯ
จบสูตรที่ ๑
กัณหมรรคสุกกมรรคสูตร
[๑๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่เป็นมรรคาดำและธรรม ที่เป็นมรรคาขาวแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ธรรมที่เป็นมรรคาดำเป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้ เรียกว่าธรรมที่เป็นมรรคาดำ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่เป็นมรรคาขาวเป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่าธรรมที่เป็น มรรคาขาว ฯ
จบสูตรที่ ๒
สัทธรรมาสัทธรรมสูตร
[๑๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัทธรรมและอสัทธรรมแก่เธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระ ผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสัทธรรมเป็น ไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เราเรียกว่าอสัทธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธรรมเป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เราเรียก ว่าสัทธรรม ฯ
จบสูตรที่ ๓
สัปปุริสธรรมาสัปปุริสธรรมสูตร
[๑๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัปปุริสธรรมและอสัปปุริส- *ธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ อสัปปุริสธรรมเป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่าอสัปปุริส- *ธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัปปุริสธรรมเป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่าสัปปุริสธรรม ฯ
จบสูตรที่ ๔
อุปปาเทตัพพานุปาเทตัพพธรรมสูตร
[๑๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรให้เกิดขึ้นและธรรม ที่ไม่ควรให้เกิดขึ้นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่ควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่าธรรมที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรให้เกิดขึ้นเป็น ไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่าธรรมที่ควรให้ เกิดขึ้น ฯ
จบสูตรที่ ๕
อาเสวิตัพพานาเสวิตัพพธรรมสูตร
[๑๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรเสพและธรรมที่ไม่ ควรเสพแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่เสพเป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่าธรรมที่ ไม่ควรเสพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเสพเป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่า สัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่าธรรมที่ควรเสพ ฯ
จบสูตรที่ ๖
ภาเวตัพพาภาเวตัพพธรรมสูตร
[๑๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรให้เจริญและธรรมที่ไม่ ควรให้เจริญแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่ควรให้เจริญเป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่าธรรมที่ไม่ควรให้เจริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรให้เจริญเป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่าธรรมที่ควรให้เจริญ ฯ
จบสูตรที่ ๗
พหุลีกาตัพพาพหุลีกาตัพพธรรมสูตร
[๑๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรทำให้มาก และ ธรรมที่ไม่ควรทำให้มาก แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เรา จักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่ควรทำให้มากเป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความ เห็นผิด นี้เรียกว่าธรรมที่ไม่ควรทำให้มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้ มากเป็นไฉน การเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่าธรรมที่ควร ทำให้มาก ฯ
จบสูตรที่ ๘
อนุสสริตัพพานนุสสริตัพพธรรมสูตร
[๑๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรระลึกและธรรมที่ไม่ ควรระลึกแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่ควรระลึกเป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่าธรรม ที่ไม่ควรระลึก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรระลึกเป็นไฉน การงดเว้นจากการ ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่าธรรมที่ควรระลึก ฯ
จบสูตรที่ ๙
สัจฉิกาตัพพาสัจฉิกาตัพพธรรมสูตร
[๑๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรทำให้แจ้งและธรรม ที่ไม่ควรทำให้แจ้งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน การฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นผิด นี้เรียกว่าธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งเป็น ไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความเห็นชอบ นี้เรียกว่าธรรมที่ควร ทำให้แจ้ง ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบเสฏฐวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------
เสวิตัพพาเสวิตัพพวรรคที่ ๕
[๑๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ไม่ควรเสพ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียด ๑ พูดหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อ ๑ มีความอยากได้ของผู้อื่น ๑ มีจิตปองร้าย ๑ มีความเห็นผิด ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ไม่ควรเสพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ควรเสพ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลเป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ จากการลักทรัพย์ ๑ จากการประพฤติ ผิดในกาม ๑ จากการพูดเท็จ ๑ จากการพูดส่อเสียด ๑ จากการพูดคำหยาบ ๑ จากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑ มีจิตไม่คิดปองร้าย ๑ มีความเห็น ชอบ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ควรเสพ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ไม่ควรคบ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ควรคบ ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ไม่ควร เข้าไปนั่งใกล้ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ควรเข้าไปนั่งใกล้ ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ ควรบูชา ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็น ผู้ควรบูชา ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ ควรสรรเสริญ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรสรรเสริญ ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ ควรเคารพ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรเคารพ ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ ควรยำเกรง ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรยำเกรง ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ ควรให้ยินดี ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรให้ยินดี ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมไม่ บริสุทธิ์ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อม บริสุทธิ์ ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมครอบงำ มานะไม่ได้ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมครอบงำมานะได้ ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมไม่ เจริญด้วยปัญญา ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมเจริญด้วยปัญญา ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อม ประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลเป็นผู้ ฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียด ๑ พูด คำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อ ๑ มีความอยากได้ของผู้อื่น ๑ มีจิตคิดปองร้าย ๑ มี ความเห็นผิด ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมประสพสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมประสพบุญเป็นอันมาก ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลเป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ จากการลักทรัพย์ ๑ จากการประพฤติผิด ในกาม ๑ จากการพูดเท็จ ๑ จากการพูดส่อเสียด ๑ จากการพูดคำหยาบ ๑ จากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑ มีจิตไม่คิดปองร้าย ๑ มีความเห็น ชอบ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อม ประสพบุญเป็นอันมาก ฯ
จบเสวิตัพพาเสวิตัพพวรรคที่ ๕
จบจตุตถปัณณาสก์ที่ ๔
-----------------------------------------------------
ปัญจมปัณณาสก์ที่ ๕
ปฐมวรรคที่ ๑
ยถาภตสูตร
[๑๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ธรรม ๑๐ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนฆ่าสัตว์ หยาบช้า มีมือชุ่มด้วยโลหิต ตั้งอยู่ในการฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์ที่มีชีวิต ทั้งปวง ๑ เป็นคนลักทรัพย์ ถือเอาวัตถุเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่ง ผู้อื่นของบุคคลอื่น ซึ่งอยู่ในบ้านหรือในป่าที่เจ้าของมิได้ให้ ด้วยจิตเป็นขโมย ๑ เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม คือ เป็นผู้ถึงความประพฤติล่วงในสตรีที่มารดารักษา บิดารักษา พี่ชายน้องชายรักษา พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา ธรรม รักษา ผู้มีสามี ผู้มีอาชญาโดยรอบ โดยที่สุดแม้สตรีผู้ที่บุรุษคล้องแล้วด้วย พวงมาลัย ๑ เป็นผู้พูดเท็จ คือ เขาอยู่ในสภา ในบริษัท ในท่ามกลางญาติ ใน ท่ามกลางเสนา หรือในท่ามกลางราชสกุล ถูกผู้อื่นนำไปเป็นพยานซักถามว่า มา เถิดบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้สิ่งใดจงพูดสิ่งนั้น ดังนี้ บุคคลผู้นั้นเมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่ารู้ หรือเมื่อรู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าเห็น หรือเมื่อเห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งรู้ เพราะเหตุแห่งตนบ้าง เพราะเหตุแห่งผู้อื่นบ้าง เพราะเหตุ เห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ด้วยประการดังนี้ ๑ เป็นผู้พูดส่อเสียด คือ ฟังข้าง นี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังข้างโน้นมาบอกข้างนี้ เพื่อทำลาย คนหมู่โน้น ยุยงคนทั้งหลายผู้สามัคคีกันให้แตกกัน หรือส่งเสริมคนผู้แตกกันแล้ว ชอบความแยกกัน ยินดีความแยกกัน เพลิดเพลินในความแยกกัน กล่าวแต่คำ ที่ทำให้แยกกัน ๑ เป็นผู้พูดคำหยาบ คือกล่าววาจาหยาบช้า กล้าแข็งเดือดร้อนผู้อื่น เสียดสีผู้อื่น ใกล้ต่อความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ ๑ เป็นพูดเพ้อเจ้อ คือ กล่าวไม่ถูกกาล กล่าวไม่จริง กล่าวไม่อิงอรรถ กล่าวไม่อิงธรรม กล่าวไม่อิง วินัย กล่าววาจาที่ไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ โดยกาลอันไม่ควร ๑ เป็นผู้อยากได้ของผู้อื่น คือ อยากได้วัตถุเป็น อุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่น ของบุคคลอื่นว่า ไฉนหนอ วัตถุเป็น อุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่นพึงเป็นของเรา ดังนี้ ๑ เป็น ผู้มีจิตคิดปองร้าย คือ มีความดำริในใจอันชั่วร้ายว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จง ถูกทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศ หรืออย่าได้เป็นแล้ว ดังนี้ ๑ เป็นผู้มีความ เห็นผิด คือ มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล การ บูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดย ชอบ ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และปรโลกให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ย่อมไม่มีในโลก ดังนี้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของ ที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ถูก เชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่นำมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ละการลักทรัพย์ งดเว้น จากการลักทรัพย์ ไม่ถือเอาวัตถุเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของ บุคคลอื่น ซึ่งอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้ด้วยจิตเป็นขโมย ๑ ละการ ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม คือไม่ถึงความประพฤติล่วง ในสตรีที่มารดารักษา บิดารักษา พี่ชายน้องชายรักษา พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติ รักษา ธรรมรักษา มีสามี มีอาชญาโดยรอบโดยที่สุดแม้สตรีที่บุรุษคล้องแล้ว ด้วยพวงมาลัย ๑ ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ อยู่ในสภา ในบริษัท ในท่ามกลางญาติ ในท่ามกลางเสนา หรือในท่ามกลางราชสกุล ถูกผู้อื่นนำ ไปเป็นพยานซักถามว่า มาเถิดบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้สิ่งใดจงพูดสิ่งนั้น บุคคลนั้น เมื่อไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้ หรือเมื่อรู้ก็บอกว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็บอกว่าไม่เห็น หรือ เมื่อเห็นก็บอกว่าเห็น ไม่เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งรู้ เพราะเหตุแห่งตนบ้าง เพราะเหตุ ของผู้อื่นบ้าง หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ด้วยประการฉะนี้ ๑ ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด คือ ฟังข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้เพื่อทำลายคนหมู่โน้น สมานคนที่แตกร้าวกันบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันบ้าง ชอบคนผู้พร้อม เพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าววาจาที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน ด้วยประการฉะนี้ ๑ ละคำหยาบ เว้นขาดจาก คำหยาบ กล่าววาจาที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ ๑ ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลอันควร ๑ ไม่อยากได้ ของผู้อื่น คือ ไม่อยากได้วัตถุเป็นเครื่องอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจของผู้ อื่นว่า ไฉนหนอ วัตถุที่เป็นเครื่องอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของ บุคคลอื่นพึงเป็นของเรา ดังนี้ ๑ เป็นผู้ไม่มีจิตคิดปองร้าย คือ ไม่มีความดำริ ในใจอันชั่วร้ายว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความมุ่งร้ายกัน ไม่มี ทุกข์ มีสุขรักษาตนเถิด ดังนี้ ๑ เป็นผู้มีความเห็นชอบ คือ มีความเห็นไม่ วิปริตว่า ทานที่บุคคลให้แล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล การบูชามีผล ผลวิบาก แห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ ทั้งหลายผู้เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำ โลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม มีอยู่ ดังนี้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เชิญมาประดิษฐานไว้ ฯ
จบสูตรที่ ๑
มาตุคามสูตร
[๑๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ธรรม ๑๐ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็น ผู้มีความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ นี้แล เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ถูก เชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาด จากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามผู้ ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เชิญมาประดิษฐานไว้ ฯ
จบสูตรที่ ๒
อุปาสิกาสูตรที่ ๑
[๑๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ธรรม ๑๐ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นผู้ มีความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้ แล เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ ถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้น ขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกา ผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เชิญมาประดิษฐานไว้ ฯ
จบสูตรที่ ๓
อุปาสิกาสูตรที่ ๒
[๑๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่แกล้วกล้าอยู่ครองเรือน ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นผู้มีความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่แกล้วกล้าอยู่ครองเรือน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการเป็นผู้ แกล้วกล้าอยู่ครองเรือน ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกา บางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นผู้ แกล้วกล้าอยู่ครองเรือน ฯ
จบสูตรที่ ๔
ธรรมปริยายสูตร
[๑๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายอันเป็นเหตุแห่งความ กระเสือกกระสนแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมปริยายอันเป็นเหตุแห่งความกระเสือกกระสนเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของๆ ตน เป็นผู้รับผลของกรรม เป็นผู้มีกรรม เป็นกำเนิด มีกรรมเป็นพวกพ้อง มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำกรรมใดไว้ เป็น กรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ หยาบช้า มีมือ ชุ่มด้วยโลหิต ตั้งอยู่ในการฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์ที่มีชีวิต ทั้งปวง บุคคลนั้นย่อมกระเสือกกระสนด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ กายกรรม ของเขาคด วจีกรรมของเขาก็คด มโนกรรมของเขาคด คติของเขาก็คด อุบัติของเขาก็คด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ นรกอันมีทุกข์โดยส่วนเดียว หรือกำเนิดดิรัจฉานอันมีปรกติกระเสือกกระสน ของบุคคลผู้มีคติคด ผู้มีอุบัติอันคด ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กำเนิดดิรัจฉานมีปรกติกระเสือกกระสนนั้นเป็นไฉน คือ งู แมงป่อง ตะขาบ พังพอน แมว หนู นกเค้าแมว หรือสัตว์ทั้งหลาย ผู้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเหล่าใดเหล่าหนึ่ง แม้อื่นๆ ที่เห็นมนุษย์แล้วย่อม กระเสือกกระสน ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอุบัติของสัตว์ย่อมมีเพราะกรรมอันมีแล้ว ด้วยประการดังนี้แล คือ เขาย่อมอุบัติด้วยกรรมที่เขาทำ ผัสสะอันเป็นวิบาก ย่อมถูกต้องเขาผู้อุบัติแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้รับผลของกรรม ด้วยประการฉะนี้ ฯ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ลักทรัพย์ ... เป็นผู้ประพฤติผิด ในกาม ... เป็นผู้พูดเท็จ ... เป็นผู้พูดส่อเสียด ... เป็นผู้พูดคำหยาบ ... เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ ... เป็นผู้อยากได้ของผู้อื่น ... เป็นผู้คิดปองร้าย ... เป็น ผู้มีความเห็นผิด คือมีความเห็นวิปริตว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวง ไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลก หน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนิน ไปโดยชอบ ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ดังนี้ บุคคลนั้นย่อมกระเสือก กระสนด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ กายกรรมของเขาคด วจีกรรมของเขาก็คด มโนกรรมของเขาก็คด คติของเขาก็คด การอุบัติของเขาก็คด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ นรกอันมีทุกข์โดยส่วนเดียว หรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานอันมีปรกติกระเสือกกระสน ของบุคคลผู้มีคติอันคด ผู้มีการอุบัติอันคด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานอันมีปรกติกระเสือก กระสนนั้นเป็นไฉน คือ งู แมงป่อง ตะขาบ พังพอน แมว หนู นกเค้าแมว หรือสัตว์ทั้งหลายผู้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเหล่าใดเหล่าหนึ่ง แม้อื่นๆ ที่เห็น มนุษย์แล้วย่อมกระเสือกกระสน ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอุบัติของสัตว์ย่อมมี เพราะกรรมอันมีแล้วด้วยประการดังนี้แล คือ เขาย่อมอุบัติด้วยกรรมที่เขาทำ ผัสสะอันเป็นวิบากย่อมถูกต้องเขาผู้อุบัติแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นผู้รับผลของกรรม ด้วยประการฉะนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็นของๆ ตน เป็นผู้ รับผลของกรรม เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นพวกพ้อง มีกรรมเป็นที่พึ่ง อาศัย ทำกรรมอันใดไว้ เป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผล ของกรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ บุคคลนั้นย่อมไม่กระเสือก กระสนด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ กายกรรมของเขาตรง วจีกรรมของเขาก็ตรง มโนกรรมของเขาก็ตรง คติของเขาก็ตรง การอุบัติของเขาก็ตรง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ของบุคคลผู้มีคติอันตรง ผู้มีการ อุบัติอันตรง คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีสุขโดยส่วนเดียว หรือสกุลที่สูงๆ คือสกุล- *กษัตริย์มหาศาล สกุลพราหมณ์มหาศาล หรือ สกุลคฤหบดีมหาศาล อันมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีเงินทองมาก มีเครื่องอุปกรณ์แห่งทรัพย์เครื่อง ปลื้มใจมาก มีทรัพย์และข้าวเปลือกมาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอุบัติของสัตว์ ย่อมมีเพราะกรรมอันมีแล้ว ด้วยประการดังนี้แล คือ สัตว์นั้นย่อมอุบัติด้วยกรรม ที่ตนทำไว้ ผัสสะอันเป็นวิบากทั้งหลายย่อมถูกต้องเขาผู้อุบัติแล้ว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลของกรรม ด้วยประการฉะนี้ ฯ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ... ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ... ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ ... ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ... ละ คำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ ... ละการพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากการพูด เพ้อเจ้อ ... เป็นผู้ไม่อยากได้ของผู้อื่น ... เป็นผู้มีจิตไม่คิดปองร้าย ... เป็น ผู้มีความเห็นชอบ คือ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ทานที่ให้แล้วมีผล การเซ่นสรวง มีผล การบูชามีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ทั้งหลายผู้เป็นอุปปาติกะมีอยู่ สมณพราหมณ์ผู้ดำเนิน ไปโดยชอบ ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม มีอยู่ในโลก ดังนี้ บุคคลนั้น ย่อมไม่ กระเสือกกระสนด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ กายกรรมของเขาตรง วจีกรรม ของเขาก็ตรง มโนกรรมของเขาก็ตรง คติของเขาก็ตรง การอุบัติของเขาก็ตรง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ของบุคคลผู้มี คติตรง ผู้มีการอุบัติตรง คือ สัตว์ทั้งหลายผู้มีสุขโดยส่วนเดียว หรือสกุลที่สูงๆ คือสกุลกษัตริย์มหาศาล สกุลพราหมณ์มหาศาล หรือสกุลคฤหบดีมหาศาล อันมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีเงินทองมาก มีเครื่องอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ มาก การอุบัติของสัตว์ย่อมมีเพราะกรรมอันมีแล้วด้วยประการดังนี้แล คือ เขา ย่อมอุบัติด้วยกรรมที่ตนทำไว้ ผัสสะอันเป็นวิบากทั้งหลายย่อมถูกต้องเขาผู้อุบัติ แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้รับผลของกรรม ด้วย ประการฉะนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของๆ ตนเป็นผู้รับผล ของกรรม เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นพวกพ้อง มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ทำกรรมอันใดไว้ เป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมปริยายอันเป็นเหตุแห่งกระเสือกกระสนเป็นดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑
กรรมสูตรที่ ๑
[๑๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดแห่ง กรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นแล อันสัตว์ผู้ทำพึงได้เสวยในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรมเวทนียะ) ในอัตภาพถัดไป (อุปปัชชเวทนียะ) หรือในอัตภาพต่อๆ ไป (อปราปรเวทนียะ) ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่สุดทุกข์ แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ในข้อนั้น ความวิบัติอันเป็นโทษแห่ง การงานทางกาย ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์ เป็นวิบาก ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง มีความตั้งใจ เป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ความวิบัติอันเป็นโทษแห่ง การงานทางใจ ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์ เป็นวิบาก ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นแห่งโทษการงานทางกาย ๓ อย่าง มี ความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ผู้หยาบช้า มีมือชุ่มด้วยโลหิต ตั้งอยู่ ในการฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิตทั้งปวง ๑ เป็นผู้ลักทรัพย์ คือถือเอาวัตถุอันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่น ซึ่งอยู่ในบ้าน หรืออยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้ ด้วยจิตเป็นขโมย ๑ เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม คือ เป็นผู้ประพฤติล่วงในสตรีที่มารดารักษา บิดารักษา พี่ชายน้องชายรักษา พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา ธรรมรักษา ผู้มีสามี ผู้มีอาชญาโดยรอบ โดยที่สุดแม้สตรีผู้มีบุรุษคล้องแล้วด้วยพวงมาลัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความ วิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์ เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พูดเท็จ คือ เขาอยู่ในสภา ในบริษัท ในท่ามกลางญาติ ในท่ามกลางเสนา หรือในท่ามกลางแห่งราชสกุล ถูกผู้อื่นนำ ไปเป็นพยานซักถามว่า มาเถิดบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้สิ่งใดจงพูดสิ่งนั้น บุคคลนั้น เมื่อไม่รู้กล่าวว่ารู้ หรือเมื่อรู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าเห็น หรือเมื่อเห็น ก็กล่าวว่าไม่เห็น เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งรู้ เพราะเหตุแห่งผู้อื่นบ้าง เพราะเหตุเห็นแก่ อามิสเล็กน้อยบ้าง ด้วยประการดังนี้ ๑ เป็นผู้พูดส่อเสียด คือ ฟังข้างนี้แล้วไป บอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้ เพื่อทำลาย คนหมู่โน้น ยุยงคนทั้งหลายผู้สามัคคีกันให้แตกกัน หรือส่งเสริมคนทั้งหลาย ผู้แตกกันแล้ว ชอบความแยกกัน ยินดีความแยกกัน เพลิดเพลินในความแยกกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้แยกกัน ๑ เป็นผู้พูดคำหยาบ คือ กล่าววาจาที่หยาบคาย กล้าแข็ง เดือดร้อนผู้อื่น เสียดสีผู้อื่น ใกล้ต่อความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ ๑ เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือ กล่าวไม่ถูกกาล กล่าวไม่จริง กล่าวไม่อิงอรรถ ไม่อิงธรรม ไม่อิงวินัย กล่าววาจาที่ไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์ โดยกาลอันไม่ควร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษ แห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มี ทุกข์เป็นวิบาก อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง มี ความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้อยากได้ของผู้อื่น คือ อยากได้วัตถุอัน เป็นเครื่องอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่นว่า ไฉนหนอวัตถุ อันเป็นเครื่องอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่นพึงเป็นของเรา ดังนี้ ๑ เป็นผู้มีจิตคิดปองร้าย คือ มีความดำริในใจอันชั่วร้ายว่า ขอสัตว์เหล่านี้ จงถูกฆ่า จงถูกทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศ หรืออย่าได้เป็นแล้ว ดังนี้ ๑ เป็น ผู้มีความเห็นผิด คือ มีความเห็นอันวิปริตว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การเซ่น สรวงไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณ- *พราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และปรโลกให้แจ้งชัดด้วย ปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ดังนี้ ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็น อกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทาง วาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล หรือเพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็น โทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแก้วมณี ๔ เหลี่ยมที่บุคคลโยนขึ้น ข้างบน ตกลงมาทางเหลี่ยมใดๆ ก็ย่อมตั้งอยู่ตามเหลี่ยมที่ตั้งลงมานั้นนั่นเอง ฉันใด สัตว์ทั้งหลาย เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะ เหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็น อกุศล เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมี ความตั้งใจเป็นอกุศล หรือเพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดแห่งกรรมที่ สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นแล ย่อมเกิดในปัจจุบัน ในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพต่อๆ ไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่ สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น สมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก สมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง มีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อม มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก สมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง มีความตั้งใจ เป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจ เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล บางคนในโลกนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง ๑ ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ไม่ถือเอาวัตถุเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์ เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่น อันอยู่ในบ้าน หรืออยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ ให้ ด้วยจิตเป็นขโมย ๑ ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการประพฤติผิด ในกาม ไม่ถึงความประพฤติล่วงในสตรีที่มารดารักษา บิดารักษา พี่ชายน้องชาย รักษา พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา ธรรมรักษา มีสามี มีอาชญาโดยรอบ โดยที่สุดแม้สตรีที่บุรุษคล้องแล้วด้วยพวงมาลัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่ง การงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจ เป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เขาอยู่ในสภา ในบริษัท ในท่ามกลางญาติ ในท่ามกลางอำมาตย์ หรือในท่ามกลางราชสกุล ถูกผู้อื่นนำไปเป็นพยานซักถามว่า มาเถิดบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้สิ่งใดจงกล่าวสิ่งนั้น บุคคลนั้นเมื่อไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้ หรือเมื่อรู้ก็บอกว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็บอกว่าไม่เห็น หรือเมื่อเห็นก็บอกว่าเห็น ไม่เป็นผู้พูดเท็จทั้งรู้ เพราะเหตุแห่งตนบ้าง เพราะเหตุ แห่งผู้อื่นบ้าง หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ๑ ละคำส่อเสียด เว้น ขาดจากคำส่อเสียด ไม่ฟังข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือ ฟังข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้สมานคนที่แตกกัน แล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่สามัคคีกันแล้ว ชอบคนที่พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้ พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าววาจาที่ทำให้คนพร้อม เพรียงกัน ๑ ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าววาจาที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ ๑ ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ อิงธรรม อิงวินัย พูดแต่คำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมี ความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจ เป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล บางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่อยากได้ของผู้อื่น ไม่อยากได้วัตถุอันเป็นอุปกรณ์แก่ ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่นว่า ไฉนหนอ วัตถุที่เป็นอุปกรณ์แก่ ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่นพึงเป็นของเรา ดังนี้ ๑ เป็นผู้ไม่มีจิต คิดปองร้าย ไม่มีความดำริในใจอันชั่วร้ายว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มี ความมุ่งร้ายกัน ไม่มีทุกข์ มีสุขรักษาตนเถิด ดังนี้ ๑ เป็นผู้มีความเห็นชอบ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ทานที่ให้แล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล การบูชามีผล ผล วิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มีอยู่ โลกหน้ามีอยู่ มารดามีอยู่ บิดามีอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้เป็นอุปปาติกะมีอยู่ สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตามมีอยู่ในโลก ดังนี้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงาน ทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล หรือ เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแก้วมณี ๔ เหลี่ยม ที่บุคคลโยนขึ้น ข้างบน ตกลงมาทางเหลี่ยมใดๆ ก็ย่อมตั้งอยู่ตามเหลี่ยมที่ตั้งลงมานั้นเอง ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะ เหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล เพราะเหตุ แห่งสมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล หรือเพราะ เหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ฉันนั้น เหมือนกันแล ฯ
จบสูตรที่ ๖
กรรมสูตรที่ ๒
[๑๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดกรรม ที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นแล อันสัตว์ผู้ทำพึงได้เสวยในปัจจุบัน ในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพต่อๆ ไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อม ไม่กล่าวการทำที่สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจ เป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ความวิบัติอันเป็นโทษแห่ง การงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มี ทุกข์เป็นวิบาก ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจ เป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้พูดเท็จ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้อยากได้ของผู้อื่น ฯลฯ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็น อกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทาง วาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล หรือเพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็น โทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดแห่งกรรมที่ สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้น อันสัตว์ผู้ทำพึงได้เสวยในปัจจุบัน ใน อัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพต่อๆ ไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่ กล่าวการทำที่สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้นสมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุข เป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก สมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจ เป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก สมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจ เป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล บางคนในโลกนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจ เป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล บางคนในโลกนี้ ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจ เป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่อยากได้ของผู้อื่น ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมบัติ แห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุข เป็นวิบาก อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล หรือ เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ฯ
จบสูตรที่ ๔
กรรมสูตรที่ ๓
[๑๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดแห่ง กรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นแลอันสัตว์ผู้ทำพึงได้เสวยในปัจจุบัน ในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพต่อๆ ไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นนั่นแล เป็นผู้ปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท ไม่ลุ่มหลง มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วย เมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน โดย นัยนี้ ทั้งทิศเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณ มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ อริยสาวกนั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า ในกาล ก่อนแล จิตของเรานี้เป็นจิตเล็กน้อย เป็นจิตไม่ได้อบรมแล้ว แต่บัดนี้ จิตของ เรานี้ เป็นจิตหาประมาณมิได้ เป็นจิตอบรมดีแล้ว ก็กรรมที่ทำแล้วพอประมาณ อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นย่อมไม่เหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในจิตของเรานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คือหากในเวลายังเป็นเด็ก เด็กนี้พึง เจริญเมตตาเจโตวิมุติไซร้ พึงทำบาปกรรมบ้างหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่ ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็ทุกข์จะพึงถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรมและหรือ ฯ ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยว่าทุกข์จักถูก ต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรมได้แต่ที่ไหน ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมตตาเจโตวิมุตินี้ อันสตรีหรือบุรุษ พึงเจริญ แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้มิได้มีส่วนอันสตรีหรือบุรุษจะพึงพาเอาไปได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้มีอันจะต้องตายเป็นสภาพนี้ เป็นผู้มีจิตเป็นเหตุ สัตว์นั้น ย่อมรู้อย่างนี้ว่าบาปกรรมไรๆ ของเรา อันกรัชกายนี้ทำแล้วในกาลก่อน บาป กรรมนั้นทั้งหมด เป็นกรรมอันเราพึงเสวยในอัตภาพนี้ จักไม่ติดตามไป ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุติ อันภิกษุผู้มีปัญญา ผู้ยังไม่แทงตลอดวิมุติ อันยิ่ง ในธรรมวินัยนี้อบรมแล้ว ด้วยประการอย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นพระอนาคามี ฯ พระอริยสาวกมีจิตประกอบด้วยกรุณา มุทิตา อุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศ หนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกันโดยนัยนี้ ทั้งทิศเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยจิต อันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่ มีความเบียดเบียนอยู่ อริยสาวกนั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า ในกาลก่อนแล จิตของเรานี้ เป็นจิตเล็กน้อย เป็นจิตไม่ได้อบรมแล้ว แต่บัดนี้ จิตของเรานี้ เป็นจิต หาประมาณมิได้ เป็นจิตอบรมดีแล้ว ก็กรรมที่ทำแล้วพอประมาณอย่างใดอย่างหนึ่ง นั้น ย่อมไม่เหลืออยู่ไม่ตั้งอยู่ในจิตของเรานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คือ หากว่าในเวลายังเป็นเด็ก เด็กนี้พึงเจริญ อุเบกขาเจโตวิมุติไซร้ พึงกระทำบาปกรรมบ้างหรือ ฯ ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็ทุกข์จะพึงถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรมและหรือ ฯ ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยว่าทุกข์จัก ถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรมได้แต่ที่ไหน ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาเจโตวิมุตินี้ อันสตรีหรือบุรุษพึงเจริญแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายนี้มิได้มีส่วนอันสตรีหรือบุรุษจะพึงพาเอาไปได้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สัตว์ผู้มีอันจะต้องตายเป็นสภาพนี้ เป็นผู้มีจิตเป็นเหตุ สัตว์นั้นย่อมรู้ อย่างนี้ว่า บาปกรรมไรๆ ของเรา อันกรัชกายนี้ทำแล้วในกาลก่อน บาปกรรม นั้นทั้งหมด อันเราจะพึงเสวยในอัตภาพนี้ จักไม่ติดตามไปดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาเจโตวิมุติ อันภิกษุผู้มีปัญญา ผู้ยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยิ่ง ในธรรมวินัยนี้ เจริญแล้วด้วยประการอย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นพระอนาคามี ฯ
จบสูตรที่ ๙
พราหมณสูตร
[๑๙๗] ครั้งนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไป แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ท่าน พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุแห่งการประพฤติ อธรรมและการประพฤติไม่สม่ำเสมอ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไป ย่อม เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ พร. ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเล่า เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัตว์ บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ พ. ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุแห่งการประพฤติธรรมและประพฤติสม่ำ เสมอ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ พร. ข้าพเจ้ายังมิรู้ทั่วถึงอรรถแห่งภาษิตโดยย่อของท่านพระโคดมผู้เจริญ นี้โดยพิสดาร ขอประทานโอกาส ขอท่านพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงแสดงธรรม โดยประการที่ข้าพระองค์จะพึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งภาษิตโดยย่อของท่านพระโคดมผู้เจริญ นี้โดยพิสดารเถิด ฯ พ. ดูกรพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ฯ พราหมณ์นั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกร พราหมณ์ การประพฤติอธรรมและการประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกายมี ๓ อย่าง การ ประพฤติอธรรมการประพฤติไม่สม่ำเสมอทางวาจามี ๔ อย่าง การประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจมี ๓ อย่าง ฯ ดูกรพราหมณ์ ก็การประพฤติอธรรมและการประพฤติไม่สม่ำเสมอทาง กายมี ๓ อย่าง อย่างไร ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ดูกรพราหมณ์ การประพฤติอธรรมและการประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกายมี ๓ อย่าง อย่างนี้แล ฯ ดูกรพราหมณ์ ก็การประพฤติอธรรมและการประพฤติไม่สม่ำเสมอทาง วาจามี ๔ อย่าง อย่างไรเล่า ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กล่าว เท็จ ฯลฯ ดูกรพราหมณ์ การประพฤติอธรรมและการประพฤติไม่สม่ำเสมอทาง วาจามี ๔ อย่าง อย่างนี้แล ฯ ดูกรพราหมณ์ ก็การประพฤติอธรรมและการประพฤติไม่สม่ำเสมอทาง ใจมี ๓ อย่าง อย่างไรเล่า ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้อยากได้ ของผู้อื่น ฯลฯ ดูกรพราหมณ์ การประพฤติอธรรม และการประพฤติไม่สม่ำ เสมอทางใจมี ๓ อย่าง อย่างนี้แล ฯ ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุแห่งการประพฤติอธรรมและการประพฤติไม่ สม่ำเสมออย่างนี้แล สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ ดูกรพราหมณ์ การประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอทางกายมี ๓ อย่าง การประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอทางวาจามี ๔ อย่าง การ ประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอทางใจมี ๓ อย่าง ฯ ดูกรพราหมณ์ ก็การประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอทางกายมี ๓ อย่าง อย่างไรเล่า ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ดูกรพราหมณ์ การประพฤติธรรมและการประพฤติ สม่ำเสมอทางกายมี ๓ อย่าง อย่างนี้แล ฯ ดูกรพราหมณ์ การประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอทางวาจามี ๔ อย่าง อย่างไรเล่า ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการกล่าวเท็จ เว้นขาดจากการกล่าวเท็จ ฯลฯ ดูกรพราหมณ์ การประพฤติธรรมและการประพฤติ สม่ำเสมอทางวาจามี ๔ อย่าง อย่างนี้แล ฯ ดูกรพราหมณ์ ก็การประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอทางใจมี ๓ อย่าง อย่างไรเล่า ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ฯลฯ ดูกรพราหมณ์ การประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำเสมอทางใจมี ๓ อย่าง อย่างนี้แล ฯ ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุแห่งการประพฤติธรรมและการประพฤติสม่ำ เสมออย่างนี้แล สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ พร. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้ง แต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบปฐมวรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------
ทุติยวรรคที่ ๒
[๑๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ธรรม ๑๐ ประการ เป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อ ๑ อยากได้ของผู้อื่น ๑ มีจิตปองร้าย ๑ มีความเห็นผิด ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการเป็นผู้ถูกเชิญ มาไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๑๐ ประการ เป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ๑ จากการลักทรัพย์ ๑ จากการ ประพฤติผิดในกาม ๑ จากการพูดเท็จ ๑ จากการพูดส่อเสียด ๑ จากการพูด คำหยาบ ๑ จากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑ มีจิตไม่ปองร้าย ๑ มีความเห็นชอบ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ นี้แล ย่อมเป็นผู้ถูกเชิญมาไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ฯ [๑๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ๒๐ ประการ เป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกามด้วย ตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จด้วยตนเอง ๑ ชักชวน ผู้อื่นในการพูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียดด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อด้วย ตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดเพ้อเจ้อ ๑ อยากได้ของผู้อื่นด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการอยากได้ของผู้อื่น ๑ คิดปองร้ายด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่น ในการปองร้าย ๑ มีความเห็นผิดด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเห็นผิด ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกทอดทิ้ง ไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ เป็นผู้ถูก เชิญมาไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ๒๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากฆ่าสัตว์ ๑ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการ ประพฤติผิดในกาม ๑ เว้นขาดจากการพูดเท็จด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการ เว้นจากการพูดเท็จ ๑ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่น ในการเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบด้วยตนเอง ๑ ชักชวน ผู้อื่นในการเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดคำเพ้อเจ้อ ๑ ไม่อยากได้ของผู้อื่นด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑ ไม่คิดปองร้ายด้วยตนเอง ๑ ชักชวน ผู้อื่นในการไม่ปองร้าย ๑ เห็นชอบด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเห็นชอบ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกเชิญ มาไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ฯ [๒๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่นำเขามาทอดทิ้งไว้ ธรรม ๓๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์ ๑ พอใจในการฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการลักทรัพย์ ๑ พอใจในการลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการ ประพฤติผิดในกาม ๑ พอใจในการประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดเท็จ ๑ พอใจการพูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียดด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดส่อเสียด ๑ พอใจในการพูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบด้วย ตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดคำหยาบ ๑ พอใจในการพูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดเพ้อเจ้อ ๑ พอใจในการพูดเพ้อเจ้อ ๑ อยากได้ของผู้อื่นด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการอยากได้ของผู้อื่น ๑ พอใจ ในการอยากได้ของผู้อื่น ๑ มีจิตคิดปองร้ายด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการ ปองร้าย ๑ พอใจในการปองร้าย ๑ มีความเห็นผิดด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่น ในการเห็นผิด ๑ พอใจในความเห็นผิด ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำ มาทอดทิ้งไว้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการเป็นผู้ถูกเชิญ มาไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๓๐ ประการ เป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการ เว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ พอใจในการเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ เว้นขาดจากการ ลักทรัพย์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ พอใจในการ เว้นจากการลักทรัพย์ ๑ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง ๑ ชักชวน ผู้อื่นในการเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑ พอใจในการเว้นจากการประพฤติผิด ในกาม ๑ เว้นขาดจากการพูดเท็จด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการ พูดเท็จ ๑ พอใจในการเว้นจากการพูดเท็จ ๑ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดด้วย ตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ พอใจในการเว้นจากการ พูดส่อเสียด ๑ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้น จากการพูดคำหยาบ ๑ พอใจในการเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ เว้นขาดจากการพูด เพ้อเจ้อด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ พอใจในการ เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ไม่อยากได้ของผู้อื่นด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑ พอใจในการไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑ มีจิตไม่ปองร้ายด้วย ตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการไม่ปองร้าย ๑ พอใจในการไม่ปองร้าย ๑ มีความ เห็นชอบด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเห็นชอบ ๑ พอใจในการเห็นชอบ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกเชิญมา ไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ฯ [๒๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ธรรม ๔๐ ประการ เป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์ ๑ พอใจ ในการฆ่าสัตว์ ๑ กล่าวสรรเสริญการฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวน ผู้อื่นในการลักทรัพย์ ๑ พอใจในการลักทรัพย์ ๑ กล่าวสรรเสริญการลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการประพฤติผิดในกาม ๑ พอใจ ในการประพฤติผิดในกาม ๑ กล่าวสรรเสริญการประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดเท็จ ๑ พอใจในการพูดเท็จ ๑ กล่าว สรรเสริญการพูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียดด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูด- *ส่อเสียด ๑ พอใจในการพูดส่อเสียด ๑ กล่าวสรรเสริญการพูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดคำหยาบ ๑ พอใจในการพูด คำหยาบ ๑ กล่าวสรรเสริญการพูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อด้วยตนเอง ๑ ชักชวน ผู้อื่นในการพูดเพ้อเจ้อ ๑ พอใจในการพูดเพ้อเจ้อ ๑ กล่าวสรรเสริญการพูด เพ้อเจ้อ ๑ อยากได้ของผู้อื่นด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการอยากได้ของผู้อื่น ๑ พอใจในการอยากได้ของผู้อื่น ๑ กล่าวสรรเสริญการอยากได้ของผู้อื่น ๑ มีจิต ปองร้ายด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการปองร้าย ๑ พอใจในการปองร้าย ๑ กล่าวสรรเสริญการปองร้าย ๑ มีความเห็นผิดด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในความ เห็นผิด ๑ พอใจในความเห็นผิด ๑ กล่าวสรรเสริญความเห็นผิด ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ เป็นผู้ถูก เชิญมาไว้ในสวรรค์ ธรรม ๔๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ พอใจในการเว้นจากการ ฆ่าสัตว์ ๑ กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ พอใจในการเว้นจาก การลักทรัพย์ ๑ กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ เว้นขาดจากการ ประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการประพฤติผิดใน กาม ๑ พอใจในการเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑ กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการ ประพฤติผิดในกาม ๑ เว้นขาดจากการพูดเท็จด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการ เว้นจากการพูดเท็จ ๑ พอใจในการเว้นจากการพูดเท็จ ๑ กล่าวสรรเสริญการเว้น จากการพูดเท็จ ๑ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการ เว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ พอใจในการเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ กล่าวสรรเสริญ การเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบด้วยตนเอง ๑ ชักชวน ผู้อื่นในการเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ พอใจในการเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อด้วย ตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ พอใจในการเว้นจากการ พูดเพ้อเจ้อ ๑ กล่าวสรรเสริญการเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑ พอใจในการไม่อยากได้ ของผู้อื่น ๑ กล่าวสรรเสริญการไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑ มีจิตไม่ปองร้ายด้วย ตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการไม่ปองร้าย ๑ พอใจในการไม่ปองร้าย ๑ กล่าว สรรเสริญการไม่ปองร้าย ๑ มีความเห็นชอบด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในความ เห็นชอบ ๑ พอใจในความเห็นชอบ ๑ กล่าวสรรเสริญความเห็นชอบ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกเชิญมา ไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ฯ [๒๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัดถูกทำลาย ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ นี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมบริหาร ตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้น ขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ ย่อมบริหาร ตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ธรรม ๒๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วย ตนเอง ฯลฯ ชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ ย่อมบริหาร ตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ธรรม ๒๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้น ขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ ชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบ ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูก กำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ ย่อมบริหาร ตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ธรรม ๓๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วย ตนเอง ฯลฯ พอใจในความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วย ธรรม ๓๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ ย่อม- *บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ธรรม ๓๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ พอใจในความเห็นชอบ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูก กำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ ย่อมบริหาร ตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ธรรม ๔๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วย ตนเอง ฯลฯ กล่าวสรรเสริญความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ ย่อมบริหาร ตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ธรรม ๔๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้น ขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ กล่าวสรรเสริญความเห็นชอบ ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูก กำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ฯ
จบทุติยวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
ตติยวรรคที่ ๓
[๒๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอุบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้นขาดจาก การฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๒๐ ประการเป็น ไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ ชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิด ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ธรรม ๒๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้นขาดจาก การฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ ชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลก สวรรค์ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๓๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ พอใจในความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ธรรม ๓๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้นขาดจาก การฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ พอใจในความเห็นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๔๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ กล่าวสรรเสริญความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ธรรม ๔๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้นขาดจาก การฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ กล่าวสรรเสริญความเห็นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลก สวรรค์ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ พึงทราบว่า เป็นพาล ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล พึงทราบว่า เป็นพาล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ พึงทราบ ว่าเป็นบัณฑิต ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ พึงทราบว่า เป็นคนพาล ธรรม ๒๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ ชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นคนพาล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต ธรรม ๒๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ด้วยตนเอง ฯลฯ ชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ พึงทราบว่า เป็นพาล ธรรม ๓๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ พอใจในความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ นี้แล พึงทราบว่าเป็นคนพาล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต ธรรม ๓๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ด้วยตนเอง ฯลฯ พอใจในความเห็นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ พึงทราบว่า เป็นพาล ธรรม ๔๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ กล่าวสรรเสริญความเห็นผิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นคนพาล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ พึงทราบว่า เป็นบัณฑิต ธรรม ๔๐ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วย ตนเอง ฯลฯ กล่าวสรรเสริญความเห็นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ฯ
จบตติยวรรคที่ ๓
[๒๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการ อันบุคคลควรเจริญเพื่อ รู้ยิ่งซึ่งราคะ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาหาเร ปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเก อนภิรตสัญญา ๑ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเข อนัตตสัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ อันบุคคลควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ ฯ [๒๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการ อันบุคคลควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา ๑ อนัตตสัญญา ๑ อาหาเร ปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเก อนภิรตสัญญา ๑ อัฏฐิกสัญญา ๑ ปุฬุวก- *สัญญา ๑ วินีลกสัญญา ๑ วิปุพพกสัญญา ๑ วิจฉิททกสัญญา ๑ อุทธุมาตก- *สัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ อันบุคคลควรอบรมเพื่อรู้ยิ่ง ซึ่งราคะ ฯ [๒๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการ อันบุคคลควรเจริญเพื่อ รู้ยิ่งซึ่งราคะ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑ สัมมาญาณะ ๑ สัมมาวิมุติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ อันบุคคลควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ฯ [๒๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการ อันบุคคลควรเจริญเพื่อ ความกำหนดรู้ เพื่อความหมดสิ้นไป เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อคลายไป เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อสละ เพื่อความสลัดออกไปซึ่งราคะ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ ... สัมมาวิมุติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล อันบุคคลควรเจริญเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความหมดสิ้นไป เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อคลายไป เพื่อดับ เพื่อสงบ ระงับ เพื่อสละ เพื่อสลัดออกไปซึ่งราคะ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการ อันบุคคลควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความหมดสิ้นไป เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อสละ เพื่อความสลัดออกไปซึ่ง โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ ... สัมมาวิมุติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล อันบุคคลควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความหมดสิ้น ไป เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อสละ เพื่อความสลัดออกไปซึ่งโทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ฯ
จบปัญจมปัณณาสก์ที่ ๕
จบทสกนิบาต
-----------------------------------------------------
นิสสายวรรคที่ ๑
๑. กิมัตถิยสูตร
[๒๐๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศีลที่เป็น กุศลมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล มีความไม่เดือดร้อนเป็นผล มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความไม่เดือดร้อนมีอะไรเป็นผล มีอะไร เป็นอานิสงส์ ฯ พ. ดูกรอานนท์ ก็ความไม่เดือดร้อนมีความปราโมทย์เป็นผล มีความ ปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความปราโมทย์มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็น อานิสงส์ ฯ พ. ดูกรอานนท์ ความปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปีติมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ พ. ดูกรอานนท์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปัสสัทธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็น อานิสงส์ พ. ดูกรอานนท์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สุขมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ พ. ดูกรอานนท์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ พ. ดูกรอานนท์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล มียถาภูตญาณ- *ทัสนะเป็นอานิสงส์ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ยถาภูตญาณทัสนะมีอะไรเป็นผล มีอะไร เป็นอานิสงส์ ฯ พ. ดูกรอานนท์ ยถาภูตญาณทัสนะมีนิพพิทาเป็นผล มีนิพพิทาเป็น อานิสงส์ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็นิพพิทามีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็น อานิสงส์ ฯ พ. ดูกรอานนท์ นิพพิทามีวิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็วิราคะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ พ. ดูกรอานนท์ วิราคะมีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสนะ เป็นอานิสงส์ ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลมีความไม่เดือดร้อนเป็นผล มีความไม่เดือด ร้อนเป็นอานิสงส์ ความไม่เดือดร้อน มีความปราโมทย์เป็นผล มีความปราโมทย์ เป็นอานิสงส์ ความปราโมทย์ มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสนะเป็น อานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสนะมีนิพพิทาเป็นผล มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์ นิพพิทามี วิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์ วิราคะมีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล มีวิมุตติ- *ญาณทัสนะเป็นอานิสงส์ด้วยประการดังนี้แล ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อม ยังความเป็นพระอรหันต์ให้บริบูรณ์โดยลำดับ ด้วยประการดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑
เจตนาสูตร
[๒๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลไม่ต้องทำด้วย เจตนาว่า ขอความไม่เดือดร้อนจงเกิดขึ้นแก่เราเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ความ ไม่เดือดร้อนเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่มีความเดือดร้อน ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอความปราโมทย์ จงเกิดขึ้นแก่เราเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ความปราโมทย์เกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้ไม่มีความเดือดร้อนนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความปราโมทย์ ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอปีติจงเกิดขึ้นแก่เราเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปีติ เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความปราโมทย์นี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอกายของเราจงสงบเถิด ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กายของบุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติสงบนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีกายสงบแล้ว ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอเราจงเสวย สุขเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีกายสงบแล้วเสวยสุขนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีสุข ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอจิตของเราจงตั้งมั่น เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่จิตของบุคคลผู้มีสุขตั้งมั่นนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอเราจงรู้จงเห็นตามเป็น จริงเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วรู้เห็นตามเป็นจริงนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้รู้เห็นตามเป็นจริง ไม่ต้องทำด้วยเจตนา ว่า ขอเราจงเบื่อหน่ายเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้รู้เห็นตามเป็นจริง เบื่อหน่ายนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เบื่อหน่าย ไม่ต้องทำด้วย เจตนาว่า ขอเราจงคลายกำหนัดเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้เบื่อหน่าย คลายกำหนัดนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีจิตคลายกำหนัดแล้ว ไม่ต้องทำด้วยเจตนาว่า ขอเราจงทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสนะเถิด ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ข้อที่บุคคลคลายกำหนัดแล้วทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสนะนี้ เป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิราคะมีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสนะเป็น อานิสงส์ นิพพิทามีวิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสนะ มีนิพพิทาเป็นผล มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสนะเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็น อานิสงส์ ความปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ความไม่เดือดร้อน มีความปราโมทย์เป็นผล มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ศีลที่เป็นกุศลมีความ ไม่เดือดร้อนเป็นผล มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์ ด้วยประการดังนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมหลั่งไหลไปสู่ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ย่อมยังธรรมทั้งหลายให้บริบูรณ์ เพื่อการถึงฝั่ง (คือนิพพาน) จากสถานอัน มิใช่ฝั่ง (คือสังสารวัฏ) ด้วยประการฉะนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒
อุปนิสาสูตรที่ ๑
[๒๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีลมีศีล วิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปฏิสารไม่มี ความปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มี อวิปฏิสารวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อความปราโมทย์ไม่มี ปีติชื่อว่ามีเหตุอันบุคคล ผู้มีความปราโมทย์วิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิชื่อว่ามีเหตุอันบุคคล ผู้มีปีติวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อปัสสัทธิไม่มี สุขชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีปัสสัทธิ วิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อสุขไม่มี สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีสุขวิบัติขจัด เสียแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสนะ ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มี สัมมาสมาธิวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสนะไม่มี นิพพิทาชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสนะวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อนิพพิทาไม่มี วิราคะชื่อว่า มีเหตุอันบุคคลผู้มีนิพพิทาวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสนะ ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว แม้กะเทาะ ของต้นไม้นั้นย่อมไม่บริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น ก็ย่อมไม่บริบูรณ์ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคล ผู้ทุศีลมีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปฏิสารไม่มี ความปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุอัน บุคคลผู้มีวิปฏิสารวิบัติขจัดเสียแล้ว ฯลฯ วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุอัน บุคคลผู้มีวิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อม เป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่ออวิปฏิสารมีอยู่ ความปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วยอวิปฏิสาร ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อความปราโมทย์มีอยู่ ปีติของ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยความปราโมทย์ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อปีติมีอยู่ ปัสสัทธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปีติ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อปัสสัทธิ มีอยู่ สุขของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยปัสสัทธิ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ สุขมีอยู่ สัมมาสมาธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสุข ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่ นิพพิทาของบุคคลผู้ สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสนะ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อนิพพิทามีอยู่ วิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทา ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อวิราคะ มีอยู่ วิมุตติญาณทัสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุ สมบูรณ์ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้กะเทาะ ของต้นไม้นั้น ก็ย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้นั้น ก็ย่อมบริบูรณ์ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ ด้วยศีล ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่ออวิปฏิสารมีอยู่ ความปราโมทย์ของ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปฏิสาร ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ ฯลฯ วิมุตติ- *ญาณทัสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ ฉันนั้น เหมือนกัน ฯ
จบสูตรที่ ๓
อุปนิสาสูตรที่ ๒
[๒๑๑] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร ภิกษุผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติ ขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปฏิสารไม่มี ความปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มี อวิปฏิสารวิบัติขจัดเสียแล้ว ... เมื่อวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว แม้ กะเทาะของต้นไม้นั้น ย่อมไม่บริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้น ไม้นั้น ก็ย่อมไม่บริบูรณ์ ฉันใด ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปฏิสารชื่อว่ามีเหตุ อันบุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปฏิสารไม่มี ความปราโมทย์ชื่อ ว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีอวิปฏิสารวิบัติขจัดเสียแล้ว ฯลฯ วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่า มีเหตุอันบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อม เป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อวิปฏิสารมีอยู่ ... เมื่อวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณ- *ทัสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ ฯ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้ กะเทาะของต้นไม้นั้น ย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้ นั้น ก็ย่อมบริบูรณ์ ฉันใด ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่ออวิปฏิสารมีอยู่ ความปราโมทย์ ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปฏิสาร ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ ฯลฯ วิมุตติญาณ- *ทัสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ ฉันนั้น เหมือนกัน ฯ
จบสูตรที่ ๔
อุปนิสาสูตรที่ ๓
[๒๑๒] ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อวิปฏิสารไม่มี ความปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีอวิปฏิสารวิบัติขจัด เสียแล้ว ... เมื่อวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีวิราคะ วิบัติขจัดเสียแล้ว ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว แม้ กะเทาะของต้นไม้นั้น ก็ย่อมไม่บริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่น ของ ต้นไม้นั้น ก็ย่อมไม่บริบูรณ์ ฉันใด ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปฏิสารชื่อว่ามี เหตุอันบุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปฏิสารไม่มี ความปราโมทย์ ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีอวิปฏิสารวิบัติขจัดเสียแล้ว ฯลฯ วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามี เหตุอันบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่ออวิปฏิสารมีอยู่ ความปราโมทย์ของบุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปฏิสาร ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ ... เมื่อวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้ กะเทาะของต้นไม้นั้น ก็ย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่น ของต้นไม้ นั้น ก็ย่อมบริบูรณ์ ฉันใด ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่ออวิปฏิสารมีอยู่ ความปราโมทย์ ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปฏิสาร ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ ฯลฯ วิมุตติญาณ- *ทัสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ ฉันนั้น เหมือนกัน ฯ
จบสูตรที่ ๕
พยสนสูตร
[๒๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ติเตียนพระอริยเจ้า ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ที่ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความ ฉิบหาย ๑๑ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ความฉิบหาย ๑๑ อย่างเป็นไฉน คือ ไม่ บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ ๑ เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว ๑ สัทธรรมของภิกษุ นั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว ๑ เป็นผู้เข้าใจว่าได้บรรลุในสัทธรรม ๑ เป็นผู้ไม่ยินดี ประพฤติพรหมจรรย์ ๑ ต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑ บอกลาสิกขา เวียนมาเพื่อหินภาพ ๑ ถูกต้องโรคอย่างหนัก ๑ ย่อมถึงความเป็นบ้า คือ ความ ฟุ้งซ่านแห่งจิต ๑ เป็นผู้หลงใหลทำกาละ ๑ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ติเตียนพระอริยเจ้า ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ที่ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความ ฉิบหาย ๑๑ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๖
สัญญาสูตร
[๒๑๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่- *ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีหรือหนอแล การ ที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็น อารมณ์ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ สำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุ ว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็น อากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะ ว่าเป็น วิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็น อากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะว่า เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลก นี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึง มีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึง แล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พึงมีได้อานนท์ การที่ภิกษุได้สมาธิโดย ประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ที่ตรอง ตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ที่ ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั้นประณีต คือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความ สละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน ดูกรอานนท์ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมี- *ความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโป- *ธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุ เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึง มีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็นอากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึง มีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึง มีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึง มีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็น อารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ สำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรอง ตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค แล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้ว เข้าไป หาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้น ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้หรือหนอแล การ ที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็น- *อารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็น ผู้มีสัญญา ฯ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้ การที่ภิกษุ ได้สมาธิ โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุ เป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึง เป็นผู้มีสัญญา ฯ อา. ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ สา. ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญา อย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตน ไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวง หาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ อา. ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว การที่อรรถ กับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของสาวก เปรียบเทียบ กันได้ เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศ ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ เมื่อกี้นี้ กระผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ทูลถามเนื้อความอันนี้ แม้พระผู้มีพระภาค ก็ทรงพยากรณ์เนื้อความอันนี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ แก่กระผม เหมือนที่ท่านพระสารีบุตรพยากรณ์ ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคย มีมาแล้ว การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของ พระสาวก เปรียบเทียบกันได้ เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๗
มนสิการสูตร
[๒๑๕] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้หรือหนอแล การ ที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงกระทำจักษุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปไว้ในใจ ไม่พึงกระทำหูไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเสียงไว้ในใจ ไม่พึงกระทำจมูกไว้ในใจ ไม่พึงกระทำกลิ่นไว้ในใจ ไม่พึงกระทำลิ้นไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรสไว้ในใจ ไม่ พึงกระทำกายไว้ในใจ ไม่พึงกระทำโผฏฐัพพะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำปฐวีธาตุไว้ ในใจ ไม่พึงกระทำอาโปธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเตโชธาตุไว้ในใจ ไม่พึง กระทำวาโยธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอากาสานัญจายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำ วิญญาณัญจายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอากิญจัญญายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำ เนวสัญญานาสัญญายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำโลกนี้ไว้ในใจ ไม่พึงกระทำ โลกหน้าไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงทำ ไว้ในใจ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ตนไม่พึงกระทำจักษุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปไว้ในใจ ... ไม่พึง กระทำรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่ แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ไว้ในใจ ก็แต่ว่าพึงทำไว้ในใจ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดย ประการที่ตนไม่พึงกระทำจักษุไว้ในใจ ฯลฯ ไม่พึงกระทำรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ไว้ในใจ ก็แต่ว่าพึงทำไว้ในใจ ฯ พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละ คืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน ดูกร อานนท์ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงกระทำจักษุ ไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปไว้ในใจ ไม่พึงกระทำหูไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเสียง ไว้ในใจ ไม่พึงกระทำจมูกไว้ในใจ ไม่พึงกระทำกลิ่นไว้ในใจ ไม่พึงกระทำ ลิ้นไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรสไว้ในใจ ไม่พึงกระทำกายไว้ในใจ ไม่พึงกระทำ โผฏฐัพพะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำปฐวีธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอาโปธาตุไว้ ในใจ ไม่พึงกระทำเตโชธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำวาโยธาตุไว้ในใจ ไม่พึง กระทำอากาสานัญจายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำวิญญาณัญจายตนะไว้ในใจ ไม่ พึงกระทำอากิญจัญญายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเนวสัญญานาสัญญายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำโลกนี้ไว้ในใจ ไม่พึงกระทำโลกหน้าไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรอง ตามแล้วด้วยใจ ไว้ในใจ ก็แต่ว่าพึงกระทำไว้ในใจ ฯ
จบสูตรที่ ๘
อเสขสูตร
[๒๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่อิญชกาวสถาคาร ๑- ใน นาทิกคาม ครั้งนั้นแล ท่านพระสันธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มี พระภาคได้ตรัสกะท่านพระสันธะว่า ดูกรสันธะ เธอจงเพ่งแบบการเพ่งของม้า อาชาไนย อย่าเพ่งแบบการเพ่งของม้ากระจอก ดูกรสันธะ ก็การเพ่งของม้า กระจอกย่อมมีอย่างไร ดูกรสันธะ ธรรมดาม้ากระจอกถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าว เหนียว ย่อมเพ่งว่า ข้าวเหนียวๆ ดังนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะม้ากระจอก ที่เขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียวย่อมไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า วันนี้ สารถีผู้ฝึกม้าจัก ให้เราทำเหตุอะไรหนอแล เราจักทำอะไรตอบแก่เขา ดังนี้ ม้ากระจอกนั้น ถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียว ย่อมเพ่งว่า ข้าวเหนียวๆ ดังนี้ ฉันใด ดูกรสันธะ บุรุษกระจอกบางคนในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล อยู่ที่ป่าก็ดี อยู่ที่โคน ต้นไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างเปล่าก็ดี มีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุมแล้ว ถูกกามราคะ ครอบงำแล้ว และย่อมไม่รู้อุบายเครื่องสลัดกามราคะ ที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็น @๑. โดยมากเป็น คิญชกาวสถาราม ฯ จริงบุรุษกระจอกนั้น ทำกามราคะนั่นแหละในภายในแล้ว ย่อมเพ่ง ย่อมเพ่งต่างๆ ย่อมเพ่งเนืองนิตย์ ย่อมเพ่งฝ่ายต่ำ มีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมแล้ว อันพยาบาท ครอบงำแล้ว ... มีจิตอันถีนมิทธะกลุ้มรุมแล้ว อันถีนมิทธะครอบงำแล้ว ... มีจิตอันอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุมแล้ว อันอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำแล้ว ... มีจิตอัน วิจิกิจฉากลุ้มรุมแล้ว อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้ว และย่อมไม่รู้อุบายเครื่องสลัด วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง บุรุษกระจอกนั้นทำวิจิกิจฉานั่นแหละ ในภายในแล้ว ย่อมเพ่ง ย่อมเพ่งต่างๆ ย่อมเพ่งเนืองนิตย์ ย่อมเพ่งฝ่ายต่ำ บุรุษกระจอกนั้น ย่อมอาศัยปฐวีธาตุเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยอาโปธาตุเพ่งบ้าง ย่อม อาศัยเตโชธาตุเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยวาโยธาตุเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยอากาสานัญจายตนะ เพ่งบ้าง ย่อมอาศัยวิญญาณัญจายตนะเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยอากิญจัญญายตนะเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยโลกนี้เพ่งบ้าง ย่อมอาศัย โลกหน้าเพ่งบ้าง ย่อมอาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้ แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ เพ่งบ้าง ดูกรสันธะ การเพ่งของบุรุษกระจอกย่อมมีด้วยประการอย่างนี้แล ฯ ดูกรสันธะ ก็การเพ่งของม้าอาชาไนยย่อมมีอย่างไร ดูกรสันธะ ธรรมดา ม้าอาชาไนยที่เจริญ ถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าวเหนียว ย่อมไม่เพ่งว่า ข้าวเหนียวๆ ดังนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะม้าอาชาไนยที่เจริญ ถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าว เหนียว ย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า วันนี้ สารถีผู้ฝึกม้าจักให้เราทำเหตุอะไรหนอ แล เราจะกระทำอะไรตอบเขา ดังนี้ ม้าอาชาไนยนั้น ถูกเขาผูกไว้ใกล้รางข้าว เหนียว ย่อมไม่เพ่งว่า ข้าวเหนียวๆ ดังนี้ ดูกรสันธะ ด้วยว่าม้าอาชาไนยที่ เจริญ ย่อมพิจารณาเห็นการถูกปะฏักแทงว่า เหมือนคนเป็นหนี้ครุ่นคิดถึงหนี้ เหมือนคนถูกจองจำมองเห็นการจองจำ เหมือนคนผู้เสื่อมนึกเห็นความเสื่อม เหมือนคนมีโทษเล็งเห็นโทษ ดูกรสันธะ บุรุษอาชาไนยที่เจริญ ก็ฉันนั้นเหมือน กันแล อยู่ที่ป่าก็ดี อยู่ที่โคนต้นไม้ก็ดี หรืออยู่เรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมไม่มีจิต อันกามราคะกลุ้มรุมแล้ว อันกามราคะครอบงำแล้วอยู่ และย่อมรู้ทั่วถึงอุบาย เครื่องสลัดกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ย่อมไม่มีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุม แล้ว ... ย่อมไม่มีจิตอันถีนมิทธะกลุ้มรุมแล้ว ... ย่อมไม่มีจิตอันอุทธัจจกุกกุจจะ กลุ้มรุมแล้ว ... ย่อมไม่มีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมแล้ว อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้ว และย่อมรู้ทั่วถึงอุบายเครื่องสลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว บุรุษอาชาไนยนั้น ย่อมไม่ อาศัยปฐวีธาตุเพ่ง ย่อมไม่อาศัยอาโปธาตุเพ่ง ย่อมไม่อาศัยเตโชธาตุเพ่ง ย่อมไม่ อาศัยวาโยธาตุเพ่ง ย่อมไม่อาศัยอากาสานัญจายตนะเพ่ง ย่อมไม่อาศัยวิญญาณัญ- *จายตนะเพ่ง ย่อมไม่อาศัยอากิญจัญญายตนะเพ่ง ย่อมไม่อาศัยเนวสัญญา- *นาสัญญายตนะเพ่ง ย่อมไม่อาศัยโลกนี้เพ่ง ย่อมไม่อาศัยโลกหน้าเพ่ง ย่อมไม่ อาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่ แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจเพ่ง ก็แต่ว่าย่อมเพ่ง ดูกรสันธะ อนึ่ง เทวดาพร้อมทั้งอินทร์ พรหม มนุษย์ ย่อมนอบน้อมบุรุษอาชาไนยที่เจริญ ผู้เพ่ง แล้วอย่างนี้ แต่ที่ไกลเทียวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษสูงสุด ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อท่าน ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ชัดเหตุนั้นๆ ได้ เพราะอาศัยการเพ่ง ของท่าน เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ท่านพระสันธะได้ทูลถามว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ก็บุรุษอาชาไนยที่เจริญ ผู้เพ่ง ย่อมเพ่งอย่างไร บุรุษอาชาไนย นั้น จึงจะไม่อาศัยปฐวีธาตุเพ่ง ... ไม่อาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจเพ่ง ก็แต่ ว่าย่อมเพ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เทวดาพร้อมทั้งอินทร์ พรหม มนุษย์ ย่อมนอบน้อมบุรุษอาชาไนยที่เจริญ ผู้เพ่ง อย่างไร แต่ที่ไกลเทียวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษสูงสุด ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อท่าน ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ชัดเหตุนั้นๆ ได้ เพราะอาศัยการเพ่ง ของท่าน ฯ พ. ดูกรสันธะ ความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ย่อม เป็นของแจ่มแจ้งแก่บุรุษอาชาไนยที่เจริญในธรรมวินัยนี้ ความสำคัญในอาโปธาตุว่า เป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็น เตโชธาตุเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโย ธาตุเป็นอารมณ์ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็น อากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความสำคัญในวิญญาณัญ- *จายตนะว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความสำคัญใน อากิญจัญญายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความ สำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้ง ความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็น ของแจ่มแจ้ง ความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ย่อมเป็นของ แจ่มแจ้ง ความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมที่ รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ย่อมเป็นของแจ่มแจ้งแก่ บุรุษอาชาไนยที่เจริญในธรรมวินัยนี้ ฯ ดูกรสันธะ บุรุษอาชาไนยที่เจริญ ผู้เพ่งอยู่อย่างนี้แล จึงไม่อาศัยปฐวี ธาตุเพ่ง ไม่อาศัยอาโปธาตุเพ่ง ไม่อาศัยเตโชธาตุเพ่ง ไม่อาศัยวาโยธาตุเพ่ง ไม่อาศัยอากาสานัญจายตนะเพ่ง ไม่อาศัยวิญญาณัญจายตนะเพ่ง ไม่อาศัยอากิญ- *จัญญายตนะเพ่ง ไม่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะเพ่ง ไม่อาศัยโลกนี้เพ่ง ไม่ อาศัยโลกหน้าเพ่ง ไม่อาศัยรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรม ที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจเพ่ง ก็แต่ว่าย่อมเพ่ง ดูกรสันธะ อนึ่ง เทวดาพร้อมทั้งอินทร์ พรหม มนุษย์ ย่อมนอบน้อมบุรุษ อาชาไนยที่เจริญ ผู้เพ่งแล้วอย่างนี้ แต่ที่ไกลเทียวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อท่าน ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุรุษสูงสุด ข้าพเจ้าขอนอบน้อมต่อท่าน ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ชัดเหตุนั้นๆ ได้ เพราะอาศัยการเพ่ง ของท่าน ฯ
จบสูตรที่ ๙
โมรนิวาปนสูตร
[๒๑๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปริพาชการาม อัน เป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง ใกล้พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาค แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมเป็นผู้มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มี พรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ ศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑ สมาธิขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑ ปัญญาขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้มีความสำเร็จ ล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการแม้อื่นอีก ย่อม เป็นผู้มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วง ส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเป็น ไฉน คือ อิทธิปฏิหาริย์ ๑ อาเทสนาปาฏิหาริย์ ๑ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้มีความ สำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุด ล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการแม้อื่นอีก ย่อม เป็นผู้มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วง ส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเป็น ไฉน คือ สัมมาทิฐิ ๑ สัมมาญาณะ ๑ สัมมาวิมุติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความ เกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐ สุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมเป็นผู้มี ความสำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่ สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการ เป็นไฉน คือ วิชชา ๑ จรณะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วง ส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้สนังกุมารพรหมก็ได้กล่าวคาถานี้ไว้ว่า ในหมู่ชนที่ยังรังเกียจกันด้วยโคตร กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐ สุด ท่านผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ประเสริฐสุด กว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คาถานี้นั้น สนังกุมารพรหมร้อยกรองไว้ถูกแล้ว มิใช่ร้อยกรองไว้ผิด กล่าวไว้ชอบแล้ว มิใช่กล่าวไม่ชอบ ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ เราเห็นด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็กล่าว อย่างนี้ว่า ในหมู่ชนที่ยังรังเกียจกันด้วยโคตร กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุด ท่านผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบนิสสายวรรคที่ ๑
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กิมัตถิยสูตร ๒. เจตนาสูตร ๓. อุปนิสาสูตรที่ ๑ ๔. อุปนิสา สูตรที่ ๒ ๕. อุปนิสาสูตรที่ ๓ ๖. พยสนสูตร ๗. สัญญาสูตร ๘. มนสิการ สูตร ๙. อเสขสูตร ๑๐. โมรนิวาปนสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
ทุติยวรรคที่ ๒
มหานามสูตรที่ ๑
[๒๑๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธารามใกล้ พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ก็สมัยนั้นแล ภิกษุเป็นอันมาก กระทำ จีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะได้ทรงทราบ ข่าวว่า ภิกษุเป็นอันมากกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มี พระภาคผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ตรัสทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันทราบข่าวดังนี้ว่า ภิกษุเป็นอันมากกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาค มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้อยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่ต่างๆ จะพึงอยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่ อะไรพระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ มหาบพิตร การที่มหาบพิตรเสด็จเข้า มาหาตถาคตแล้วตรัสถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้อยู่ด้วยธรรมเครื่อง อยู่ต่างๆ จะพึงอยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่อะไร ดังนี้ เป็นการสมควรแก่มหาบพิตร ผู้เป็นกุลบุตร ดูกรมหาบพิตร กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ปรารภความเพียรย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้เกียจคร้านย่อม ไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีสติตั้งมั่นย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีสติหลงลืมย่อมไม่เป็นผู้ บริบูรณ์ ผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ไม่มีจิตตั้งมั่นย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีปัญญาย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีปัญญาทรามย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรทรงตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล้ว พึงทรงเจริญธรรม ๖ ประการ ให้ยิ่งขึ้นไป ดูกรมหาบพิตร ในธรรม ๖ ประการนี้ มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึง พระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษ ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูกรมหาบพิตร สมัยใดอริยสาวก ระลึกถึงตถาคต สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูก โทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมดำเนิน ไปตรง ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภพระตถาคต ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบ ด้วยธรรม ปีติย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้มีความปราโมทย์ กายของอริยสาวก ผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบ อริยสาวกผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข จิตของ อริยสาวกผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกนี้อาตมภาพกล่าวว่า เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ ในหมู่สัตว์ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรมเจริญพุทธานุสสติ ฯ ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดูกรมหาบพิตร สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงพระธรรม สมัยนั้น จิตของอริยสาวก นั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมดำเนินไปตรงเพราะปรารภพระธรรม ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ปีติย่อมเกิดแก่ อริยสาวกผู้มีความปราโมทย์ กายของอริยสาวกผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบ อริยสาวกผู้มีกายสงบย่อมเสวยสุข จิตของอริยสาวกผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ดูกร มหาบพิตร อริยสาวกนี้อาตมภาพกล่าวว่า เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้ ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรมเจริญธรรมานุสสติ ฯ ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ผู้ปฏิบัติตรง ปฏิบัติ เป็นธรรม ปฏิบัติชอบ นี้คือคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี พระภาค เป็นผู้ควรของคำนับ ควรของต้อนรับ ควรของทำบุญ ควรกระทำ อัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดูกรมหาบพิตร สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมดำเนิน ไปตรง ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภพระสงฆ์ ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบ ด้วยธรรม ปีติย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้มีความปราโมทย์ กายของอริยสาวกผู้มีใจ ประกอบด้วยปีติย่อมสงบ อริยสาวกผู้มีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข จิตของอริย- *สาวกผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกนี้อาตมภาพกล่าวว่าเป็นผู้ถึง ความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรมเจริญสังฆานุสสติ ฯ ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงศีลของตนว่า ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย วิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิลูบ คลำไม่ได้ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูกรมหาบพิตร สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศีล สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมดำเนินไปตรง ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกผู้มีจิต ดำเนินไปตรงเพราะปรารภศีล ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความ ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ปีติย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้มีความปราโมทย์ กายของอริยสาวกผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบ อริยสาวกผู้มีกายสงบแล้วย่อม เสวยสุข จิตของอริยสาวกผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกนี้ อาตมภาพกล่าวว่า เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ ไม่มีความพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแส ธรรมเจริญสีลานุสสติ ฯ ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงจาคะของ ตนว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่เรามีจิตปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีแล้วในการสละ ควร แก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน ในหมู่สัตว์ผู้ถูกมลทิน คือ ความตระหนี่กลุ้มรุม ดูกรมหาบพิตร สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงจาคะ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะ กลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมดำเนินไปตรง ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภจาคะ ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ปีติย่อมเกิดแก่ อริยสาวกผู้มีความปราโมทย์ กายของอริยสาวกผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบ อริยสาวกผู้มีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข จิตของอริยสาวกผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ดูกร มหาบพิตร อริยสาวกนี้อาตมภาพกล่าวว่า เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้ ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรมเจริญจาคานุสสติ ฯ ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงเทวดา ทั้งหลายว่า เทวดาชั้นจาตุมหาราชมีอยู่ เทวดาชั้นดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาชั้น ยามามีอยู่ เทวดาชั้นดุสิตมีอยู่ เทวดาชั้นนิมมานรดีมีอยู่ เทวดาชั้นปรนิมมิต สวัสดีมีอยู่ เทวดาชั้นพรหมกายมีอยู่ เทวดาชั้นที่สูงขึ้นไปกว่านั้นมีอยู่ เทวดา เหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้น นั้นๆ แม้เราก็มีศรัทธาเช่นนั้นอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆ แม้เราก็มีศีลเช่นนั้น เทวดา เหล่านั้นประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆ แม้เราก็มีสุตะเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากโลกนี้ แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆ แม้เราก็มีจาคะเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆ แม้เราก็มีปัญญาเช่นนั้น ดูกรมหาบพิตร สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะและปัญญา ของตนและของเทวดาเหล่านั้น สมัยนั้น จิตของ อริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมดำเนินไปตรง ดูกรมหาบพิตร อริยสาวก ผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภเทวดาทั้งหลาย ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ปีติย่อมเกิดแก่ อริยสาวกผู้มีความปราโมทย์ กายของอริยสาวกผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบ อริยสาวกผู้มีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข จิตของอริยสาวกผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ดูกร มหาบพิตร อริยสาวกนี้อาตมภาพกล่าวว่า เป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์ผู้ ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีความพยาบาท เป็นผู้ ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรมเจริญเทวตานุสสติ ดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑
มหานามสูตรที่ ๒
[๒๑๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธารามใกล้ พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ก็สมัยนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ ทรงหายจากประชวร คือหายจากภาวะที่ประชวรไม่นาน ก็สมัยนั้น ภิกษุเป็น อันมากกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีจีวร สำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกโดยกาลล่วงไป ๓ เดือน เจ้าศากยะพระนามว่า มหานามะได้ทรงสดับข่าวว่า ภิกษุเป็นอันมากกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง หนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน ได้ทราบข่าวมาดังนี้ว่า ภิกษุเป็นอันมากกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้อยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่ต่างๆ พึงอยู่ ด้วยธรรมเครื่องอยู่อะไร พระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ มหาบพิตร การที่มหาบพิตรเสด็จเข้า มาหาตถาคตแล้วตรัสถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้อยู่ด้วยธรรมเครื่อง อยู่ต่างๆ พึงอยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่อะไร ดังนี้ เป็นการสมควรแก่มหาบพิตรผู้เป็น กุลบุตร ดูกรมหาบพิตร กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ไม่มีศรัทธา ย่อม ไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ปรารภความเพียรย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้เกียจคร้านย่อมไม่เป็น ผู้บริบูรณ์ ผู้มีสติตั้งมั่นย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีสติหลงลืมย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ไม่มีจิตตั้งมั่นย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีปัญญาย่อม เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีปัญญาทรามย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรทรง ตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล้ว พึงเจริญธรรม ๖ ประการให้ยิ่งขึ้นไป ดูกรมหาบพิตร ในธรรม ๖ ประการนี้ พึงทรงระลึกถึงพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูกรมหาบพิตร สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงพระตถาคต สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริย- *สาวกนั้นย่อมดำเนินไปตรง ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะ ปรารภพระตถาคต ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์ อันประกอบด้วยธรรม ปีติย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้มีความปราโมทย์ กายของอริย- *สาวกผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบ อริยสาวกผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมเสวยสุข จิตของอริยสาวกผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรพึงเสด็จดำเนินเจริญ ก็ได้ พึงประทับยืนเจริญก็ได้ พึงประทับนั่งเจริญก็ได้ พึงบรรทมเจริญก็ได้ พึง ทรงประกอบการงานเจริญก็ได้ พึงประทับบนที่นอนอันเบียดเสียดด้วยพระโอรส และพระธิดาเจริญก็ได้ ซึ่งพุทธานุสสตินี้แล ฯ ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงพระธรรม... ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงพระสงฆ์... ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงศีลของตน... ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงจาคะของตน... ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง มหาบพิตรพึงทรงระลึกถึงเทวดาทั้งหลาย ว่า เทวดาชั้นจาตุมหาราชมีอยู่ เทวดาชั้นดาวดึงส์มีอยู่ ... เทวดาผู้สูงขึ้นไปกว่า นั้นมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิด ในเทวโลกชั้นนั้นๆ แม้เราก็มีศรัทธาเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีล ... สุตะ ... จาคะ ... ปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในเทวโลกชั้นนั้นๆ แม้เราก็มีปัญญาเช่นนั้น ดูกรมหาบพิตร สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ของตนและของเทวดาเหล่านั้น สมัยนั้น จิตของ อริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมดำเนินไปตรง ดูกรมหาบพิตร อริยสาวกผู้มี จิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภเทวดาทั้งหลาย ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ปีติย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้มี ความปราโมทย์ กายของอริยสาวกผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อมสงบ อริยสาวกผู้มี กายสงบย่อมเสวยสุข จิตของอริยสาวกผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ดูกรมหาบพิตร มหาบพิตรพึงเสด็จดำเนินเจริญก็ได้ พึงประทับยืนเจริญก็ได้ พึงประทับนั่งเจริญ ก็ได้ พึงบรรทมเจริญก็ได้ พึงทรงประกอบการงานเจริญก็ได้ พึงประทับบนที่นอน อันเบียดเสียดด้วยพระโอรสและพระธิดาเจริญก็ได้ ซึ่งเทวตานุสสตินี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒
นันทิยสูตร
[๒๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธารามใกล้ พระนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์ จะเข้าจำพรรษา ณ พระนครสาวัตถี เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคมีพระประสงค์จะเข้าจำพรรษา ณ พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะทรงมีพระดำริว่า ไฉนหนอ แม้เราก็พึงเข้าจำพรรษา ณ พระนครสาวัตถี เราจักประกอบการงาน และจักได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคตามกาลอัน สมควร ณ พระนครสาวัตถีนั้น ฯ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงจำพรรษา ณ พระนครสาวัตถี เจ้าศากยะ พระนามว่านันทิยะ ก็เข้าจำพรรษา ณ พระนครสาวัตถี ได้ทรงประกอบการงาน และได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคตามกาลอันสมควร ณ พระนครสาวัตถีนั้น ก็สมัยนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากย่อมกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มี พระภาคผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน เจ้าศากยะพระนาม ว่านันทิยะได้ทรงทราบข่าวว่า ภิกษุเป็นอันมากกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทราบข่าวมาว่า ภิกษุเป็นอันมาก กระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาค ด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีจีวรสำเร็จ แล้ว จักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้อยู่ ด้วยธรรมเครื่องอยู่ต่างๆ พึงอยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่อะไร พระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละๆ บพิตร การที่บพิตรเสด็จมาหาตถาคต แล้วตรัสถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้อยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่ต่างๆ พึงอยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่อะไร ดังนี้ เป็นการสมควรแก่บพิตรผู้เป็นกุลบุตรแล ดูกรบพิตร กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ไม่มีศรัทธาย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีศีลย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ทุศีลย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ปรารภความเพียรย่อมเป็น ผู้บริบูรณ์ ผู้เกียจคร้านย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีสติตั้งมั่นย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มี สติหลงลืมย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีสมาธิย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ไม่มีสมาธิย่อมไม่ เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีปัญญาย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีปัญญาทรามย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ดูกรบพิตร บพิตรทรงตั้งอยู่ในธรรม ๖ ประการนี้แล้ว พึงเข้าไปตั้งสติไว้ภายใน ในธรรม ๕ ประการ ดูกรบพิตร ในธรรม ๕ ประการนี้ บพิตรพึงทรงระลึกถึง พระตถาคตว่า แม้ด้วยเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ... เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูกรบพิตร บพิตรพึงเข้าไปตั้งสติไว้ใน ภายใน ปรารภพระตถาคต ด้วยประการดังนี้แล ฯ อีกประการหนึ่ง บพิตรพึงทรงระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี พระภาคตรัสดีแล้ว ... อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดูกรบพิตร บพิตรพึงเข้าไปตั้ง สติไว้ในภายใน ปรารภพระธรรมด้วยประการดังนี้แล ฯ อีกประการหนึ่ง บพิตรพึงทรงระลึกถึงกัลยาณมิตรทั้งหลายว่า เป็นลาภ ของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่เรามีกัลยาณมิตรผู้เอ็นดู ผู้ใคร่ประโยชน์ ผู้กล่าวสอน ผู้พร่ำสอน ดูกรบพิตร บพิตรพึงเข้าไปตั้งสติไว้ในภายใน ปรารภ กัลยาณมิตรด้วยประการดังนี้แล ฯ อีกประการหนึ่ง บพิตรพึงทรงระลึกถึงจาคะของตนว่า เป็นลาภของเรา หนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่เรามีจิตปราศจากมลทินคือความตระหนี่ มีจาคะ อันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนก ทาน อยู่ครองเรือน ในหมู่สัตว์ผู้ถูกมลทินคือความตระหนี่ กลุ้มรุมแล้ว ดูกรบพิตร บพิตรพึงเข้าไปตั้งสติไว้ในภายใน ปรารภจาคะด้วยประการดังนี้แล ฯ อีกประการหนึ่ง บพิตรพึงทรงระลึกถึงเทวดาทั้งหลายว่าเทวดาเหล่านั้น ได้ก้าวล่วงความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษาแล้ว เข้าถึงกายอันสำเร็จ ด้วยใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่พิจารณาเห็นกิจที่ควรทำของตน หรือการสั่งสมกิจที่ตนทำแล้ว ดูกรบพิตร ภิกษุผู้เป็นอสมยวิมุตย่อมไม่พิจารณา กิจที่ไม่ควรทำของตน หรือการสั่งสมกิจที่ทำแล้ว แม้ฉันใด ดูกรบพิตร เทวดา เหล่าใด ก้าวล่วงซึ่งความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา เข้าถึงกายอัน สำเร็จด้วยใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่พิจารณาเห็นกิจที่ควรทำของ ตน หรือการสั่งสมกิจที่ตนทำแล้ว ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูกรบพิตร บพิตรพึง เข้าไปตั้งสติไว้ในภายใน ปรารภเทวดาทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล ฯ ดูกรบพิตร อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการนี้แล ย่อมละซึ่ง อกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก ย่อมไม่ถือมั่น ดูกรบพิตร หม้อที่คว่ำย่อมไม่กลับ ถูกต้องสิ่งที่คายแล้ว ไฟที่ไหม้ลามไปจากหญ้า ย่อมไหม้ของที่ควรไหม้ ย่อมไม่ กลับมาไหม้สิ่งที่ไหม้แล้ว แม้ฉันใด อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการนี้ ย่อมละอกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก ย่อมไม่ถือมั่น (อกุศลธรรมอันชั่วช้า เหล่านั้น) ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
จบสูตรที่ ๓
สุภูติสูตร
[๒๒๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระสุภูติกับสัทธภิกษุ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสุภูติว่า ดูกรสุภูติ ภิกษุนี้ชื่อไร ท่านพระสุภูติกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้ชื่อว่าสัทธะ เป็นบุตร อุบาสกผู้มีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรสุภูติ ก็สัทธภิกษุนี้เป็นบุตรของอุบาสกผู้มีศรัทธาออกบวชเป็น บรรพชิตด้วยศรัทธา ย่อมเห็นพร้อมในลักษณะของผู้มีศรัทธาทั้งหลายแลหรือ ฯ สุ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาลสมควรทรงแสดงลักษณะของ ผู้มีศรัทธานั้น ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาลสมควรทรงแสดงลักษณะของผู้มี ศรัทธานั้น ขอพระผู้มีพระภาคพึงตรัสลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธาเถิด ข้าพระองค์จักทราบบัดนี้ว่า ภิกษุนี้จะเห็นพร้อมในลักษณะของผู้มีศรัทธาทั้งหลาย หรือไม่ ฯ พ. ดูกรสุภูติ ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ท่าน พระสุภูติทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรสุภูติ ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย ดูกรสุภูติ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสุตะมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ ได้สดับมามาก ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรม ทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ดูกรสุภูติ ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้มีสุตะมาก ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธา ของผู้มีศรัทธา ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ดูกรสุภูติ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธา ของผู้มีศรัทธา ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำให้ เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนีย์โดยเคารพ ดูกรสุภูติ ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนีย์โดยเคารพแม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน ในกรณียกิจทั้งสูงและ ต่ำของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็น อุบายในกรณียกิจนั้น อาจทำ อาจจัดได้ ดูกรสุภูติ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่ เกียจคร้าน ฯลฯ อาจทำ อาจจัดได้ แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มี ศรัทธา ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ใคร่ธรรม กล่าวคำเป็นที่รัก เป็นผู้มีความ ปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง ดูกรสุภูติ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ ธรรม เป็นผู้กล่าวคำอันเป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ใน วินัยอันยิ่ง แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อ ยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศล ธรรม ดูกรสุภูติ ข้อที่ภิกษุปรารภความเพียร ฯลฯ แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่ง ศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ดูกรสุภูติ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่ง ศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติ หนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พัน ชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมาก บ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เราได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่าง นั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น เสวยสุข มีอาหารอย่างนั้น เสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพ นั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้ง อาการ พร้อมทั้งอุทเทส ด้วยประการฉะนี้ ดูกรสุภูติ ข้อที่ภิกษุระลึกถึงชาติก่อน ได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เธอย่อมระลึกถึง ชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทส ด้วยประการฉะนี้ แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของ มนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกาย ทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือการกระทำ ด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เมื่อตายไป จึงต้องเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วน สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วย กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ เมื่อตายไป จึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลัง จุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูกรสุภูติ ข้อที่ภิกษุเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการ ฉะนี้ แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะ มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูกร สุภูติ ข้อที่ภิกษุทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ แม้นี้ ก็เป็น ลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระสุภูติ ได้กราบทูลพระผู้มี- *พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลักษณะศรัทธาของผู้มีศรัทธา ที่พระผู้มีพระภาค ตรัสนี้นั้น มีพร้อมอยู่แก่ภิกษุนี้ และภิกษุนี้ย่อมเห็นพร้อมในลักษณะศรัทธาของ ผู้มีศรัทธาเหล่านี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้เป็นเป็นผู้มีศีล ... สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนี้เป็นผู้มีสุตะมาก ... ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ภิกษุนี้เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ภิกษุนี้เป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำให้เป็น ผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับเอาอนุศาสนีย์โดยเคารพ ภิกษุนี้เป็นผู้ขยันไม่ เกียจคร้านในกรณียกิจทั้งหลายทั้งสูงและต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย เป็น ผู้ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในกรณียกิจนั้น อาจทำ อาจ จัดได้ ภิกษุนี้เป็นผู้ใคร่ในธรรม กล่าวคำอันเป็นที่รัก เป็นผู้มีความปราโมทย์ยิ่ง ในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง ภิกษุนี้เป็นผู้ปรารภความเพียร มีกำลัง มีความ บากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ภิกษุนี้เป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้โดย ไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุข ในปัจจุบัน ภิกษุนี้ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เธอระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อม ทั้งอุทเทส ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุนี้พิจารณาเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ เธอย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วย ประการฉะนี้ ภิกษุนี้ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ลักษณะศรัทธาของผู้มีศรัทธา ที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วนี้ มีพร้อมอยู่ แก่ภิกษุนี้ อนึ่ง ภิกษุนี้จักปรากฏในลักษณะศรัทธาของผู้มีศรัทธาเหล่านี้ พระเจ้าข้า ฯ พ. ดีละๆ สุภูติ ดูกรสุภูติ ถ้าเช่นนั้นเธอพึงอยู่กับสัทธภิกษุนี้เถิด ดูกรสุภูติ อนึ่ง เธอพึงหวังจะมาเยี่ยมเยือนตถาคตในกาลใด ในกาลนั้น เธอ กับสัทธภิกษุนี้พึงเข้ามาเยี่ยมเยือนตถาคตเถิด ฯ
จบสูตรที่ ๔
เมตตาสูตร
[๒๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นโดยลำดับ สั่งสมดีแล้ว ปรารภด้วยดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ ประการ ๑๑ ประการ เป็นไฉน คือ ย่อมหลับเป็นสุข ๑ ย่อมตื่นเป็นสุข ๑ ย่อมไม่ฝันลามก ๑ ย่อม เป็นที่รักแห่งมนุษย์ทั้งหลาย ๑ ย่อมเป็นที่รักแห่งอมนุษย์ทั้งหลาย ๑ เทวดา ทั้งหลายย่อมรักษา ๑ ไฟ ยาพิษหรือศาตราย่อมไม่กล้ำกรายได้ ๑ จิตย่อมตั้ง มั่นโดยรวดเร็ว ๑ สีหน้าย่อมผ่องใส ๑ เป็นผู้ไม่หลงใหลทำกาละ ๑ เมื่อไม่ แทงตลอดคุณอันยิ่ง ย่อมเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจ ยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นโดยลำดับ สั่งสมดีแล้ว ปรารภด้วยดีแล้ว พึงหวัง อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๕
ทสมสูตร
[๒๒๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ เวฬุวคาม ใกล้พระนคร เวสาลี ก็สมัยนั้น ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ เดินทางไปถึงเมืองปาตลีบุตร ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ครั้งนั้นแล ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ เข้าไปหาภิกษุ รูปหนึ่ง ณ กุกกุฏาราม ครั้นแล้วได้ถามภิกษุนั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ท่าน พระอานนท์อยู่ที่ไหน เพราะว่าข้าพเจ้าเป็นผู้ใคร่เพื่อจะพบท่านพระอานนท์ ภิกษุ นั้นตอบว่า ดูกรคฤหบดี ท่านพระอานนท์อยู่ ณ เวฬุวคาม ใกล้พระนครเวสาลี ฯ ครั้งนั้นแล ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ กระทำกรณียกิจนั้นที่เมือง ปาตลีบุตรเสร็จแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ณ เวฬุวคาม ใกล้พระนคร เวสาลี ไหว้ท่านพระอานนท์แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถาม ท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุด พ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่ หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอด เยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ โดยชอบมีอยู่หรือ ฯ ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูกรคฤหบดี ธรรมอย่างเอกอันเป็นที่หลุดพ้น แห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมด สิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยัง ไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แล้วโดย ชอบ มีอยู่ ฯ ท. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้น หรือ เป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดย ลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้โดยชอบ เป็น ไฉน ฯ อา. ดูกรคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล- *ธรรม บรรลุปฐมฌานอันมีตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ภิกษุนั้นย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ปฐมฌานนี้แลถูกปรุงแล้วถูกตบแต่งแล้ว และย่อมรู้ชัดว่า ก็สิ่ง ใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็น ธรรมดา เธอจึงตั้งอยู่ในสมถะและวิปัสสนาธรรมนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่ง อาสวะทั้งหลาย หากว่าไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นอุปปาติก ๑- พรหมเพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ โดยความพอใจ เพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จักปรินิพพานในนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็น ธรรมดา ดูกรคฤหบดี นี้แลคือธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่ หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็น ที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดย ลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้วโดยชอบ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภาย ใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิอยู่ ... ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ ว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขอยู่ ... ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละ ทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสในก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ภิกษุ นั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้จตุตถฌานนี้แล ถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว และ ย่อมรู้ชัดว่า ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา เธอตั้งอยู่ในสมถะและวิปัสสนาธรรมนั้น ย่อม บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากว่าไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ @๑. อนาคามี ฯ ทั้งหลาย ก็จักเป็นอุปปาติกพรหม เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์อันเป็นไปใน ส่วนเบื้องต่ำ ๕ ด้วยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จักปรินิพพานในภพ นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ดูกรคฤหบดี แม้ข้อนี้แลก็เป็นธรรม อย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่ง อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดน เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความ เพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า ตรัสแล้วโดยชอบ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่หนึ่งอยู่ ทิศที่ สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอัน ไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ภิกษุนั้นย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้เมตตาเจโตวิมุตินี้แล ถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว และย่อมรู้ชัดว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความไปดับเป็นธรรมดา เธอตั้งอยู่แล้วในสมถะและวิปัสสนาธรรมนั้น ย่อม บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากว่าเธอไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย ก็จักเป็นอุปปาติกพรหม เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์อันเป็นไปใน ส่วนเบื้องต่ำ ๕ ด้วยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ดูกรคฤหบดี แม้ข้อนี้แลก็เป็นธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจาก โยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธ เจ้าตรัสไว้แล้วโดยชอบ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้มีจิตประกอบด้วยกรุณา ... อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้มีจิตประกอบด้วยมุทิตา ... อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีจิตประกอบด้วยอุเบกขา ย่อมแผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบ ด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้อุเบกขาเจโตวิมุตินี้แล ถูกปรุงแล้ว ถูกตบ แต่งแล้ว และย่อมรู้ชัดว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้น เป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา เธอตั้งอยู่แล้วในสมถะและวิปัสสนา ธรรมนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากว่าเธอไม่บรรลุความ สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จักเป็นอุปปาติกพรหม เพราะความสิ้นไปของ สังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ด้วยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ดูกรคฤหบดี แม้ ข้อนี้แลก็เป็นธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่หมด สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรม เป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันต- *สัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้วโดยชอบ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมบรรลุอากาสานัญจายตนฌานด้วยการบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้อากาสานัญ จายตนสมาบัตินี้แล ถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว และย่อมรู้ชัดว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูก ปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา เธอ ตั้งอยู่แล้วในสมถะและวิปัสสนาธรรมนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย หากว่าเธอไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จักเป็นอุปาติก- *พรหม เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ด้วยความ พอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลก นั้นเป็นธรรมดา ดูกรคฤหบดี แม้ข้อนี้แลก็เป็นธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้น แห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมด สิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อัน พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้ว โดยชอบ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ย่อมบรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ... อีกประการหนึ่ง ภิกษุก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ย่อมบรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยบริกรรมว่า หน่อยหนึ่งไม่มี ดังนี้ ภิกษุนั้น ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า อากิญจัญญายตนสมาบัตินี้แล ถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่ง แล้ว และย่อมรู้ชัดว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็น ของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ภิกษุนั้นตั้งอยู่แล้วในสมถะและวิปัสสนา ธรรมนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากว่าเธอไม่บรรลุความสิ้น ไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จักเป็นอุปปาติกพรหม เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ด้วยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จัก ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ดูกรคฤหบดี แม้ ข้อนี้แลก็เป็นธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึง ความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับ ซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้วโดยชอบ ฯ เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษ แสวงหาแหล่งขุมทรัพย์ขุมเดียว พึงพบแหล่งขุมทรัพย์ ๑๑ ขุมคราวเดียวกัน แม้ฉันใด ข้าพเจ้าเมื่อแสวงหาประตูอมตธรรมประตูเดียว ก็ได้สดับประตู อมตธรรม ๑๑ ประตูคราวเดียวกัน ฉันนั้น เปรียบเหมือนบุรุษมีเรือน ๑๑ ประตู เมื่อเรือนนั้นถูกไฟไหม้ บุรุษพึงอาจเพื่อทำตนให้สวัสดีโดยประตูหนึ่งๆ แม้ฉันใด ข้าพเจ้าจักอาจเพื่อทำตนให้สวัสดีโดยประตูอมตธรรมประตูหนึ่งๆ บรรดาประตูอมตธรรม ๑๑ ประตูเหล่านี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรมดาอัญญเดียรถีย์เหล่านี้จักแสวงหาทรัพย์บูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์ ส่วนข้าพเจ้า จักบูชาท่านพระอานนท์อย่างไรเล่า ลำดับนั้นแล ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่ในนครเวสาลีและเมืองปาตลีบุตรให้ประชุมกันแล้ว อังคาส ภิกษุสงฆ์ให้อิ่มหนำสำราญ ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตน นิมนต์ภิกษุรูปหนึ่งๆ ให้ครองผ้าคู่หนึ่ง นิมนต์ท่านพระอานนท์ให้ครองไตรจีวร และสร้างวิหารราคาห้าร้อยถวายท่านพระอานนท์ ดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๖
โคปาลกสูตร
[๒๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการ เป็นผู้ไม่สามารถจะเลี้ยงฝูงโคให้เจริญแพร่หลาย องค์ ๑๑ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลในโลกนี้ ย่อมไม่รู้จักรูป ๑ ไม่ฉลาดในลักษณะ ๑ ไม่กำจัดไข่ขัง ๑ ไม่ปกปิดแผล ๑ ไม่สุมไฟ ๑ ไม่รู้ท่าน้ำ ๑ ไม่รู้ว่าโค ดื่มน้ำแล้วหรือยัง ๑ ไม่รู้ทาง ๑ ไม่ฉลาดในที่หากิน ๑ รีดนมไม่ให้มีเหลือ ๑ ไม่บูชาโคผู้ทั้งหลายที่เป็นพ่อโคเป็นผู้นำฝูงโคด้วยการบูชาอย่างยิ่ง ๑ ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย นายโคบาลผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่สามารถจะ เลี้ยงฝูงโคให้เจริญแพร่หลาย ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการ ก็เป็นผู้ไม่สามารถจะถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรม ๑๑ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่รู้จักรูป ๑ ไม่ฉลาดในลักษณะ ๑ ไม่กำจัดไข่ขัง ๑ ไม่ปกปิดแผล ๑ ไม่สุมไฟ ๑ ไม่รู้ท่าน้ำ ๑ ไม่รู้ธรรมที่ดื่มแล้ว ๑ ไม่รู้ทาง ๑ ไม่ฉลาดในโคจร ๑ รีดนมไม่ให้มีเหลือ ๑ ไม่บูชาภิกษุทั้งหลายผู้เป็นรัตตัญญู บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปรินายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมไม่รู้จักรูปอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งรูปอย่างใดอย่างหนึ่งตามความเป็นจริงว่า มหาภูตรูป ๔ และรูป อันอาศัยมหาภูตรูป ๔ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมไม่รู้จักรูปอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมไม่ฉลาดในลักษณะอย่างไร ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า คนพาลมีกรรมเป็นลักษณะ บัณฑิตมีกรรม เป็นลักษณะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมไม่ฉลาดในลักษณะอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่กำจัดไข่ขังอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมให้กามวิตกที่บังเกิดขึ้นครอบงำ ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่กระทำให้สิ้นสุด ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้กามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วถึงความไม่มี ย่อมให้ พยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้วครอบงำ ... ย่อมให้วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้วครอบงำ ... ย่อมให้อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วครอบงำ ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ กระทำให้สิ้นสุด ซึ่งอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วๆ ไม่ให้อกุศลธรรมที่เกิด ขึ้นแล้วถึงความไม่มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่กำจัดไข่ขังอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมไม่ปกปิดแผลอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมถือเอาโดยนิมิต ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ ย่อมไม่ ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอัน- *ลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่าย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่า ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรส ด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ ถือเอาโดยนิมิต ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ครอบงำ ชื่อว่าย่อมไม่รักษามนินทรีย์ ชื่อว่าย่อมไม่ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ปกปิดแผลอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่สุมไฟอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม ไม่แสดงธรรมตามที่ฟังมาแล้ว ตามที่เรียนมาแล้ว แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าไม่สุมไฟอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมไม่รู้ท่าน้ำอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปหาภิกษุผู้เป็นพหูสูต ผู้ชำนาญนิกาย ผู้ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ตามเวลาอันสมควร ย่อมไม่สอบถาม ย่อมไม่ไต่ถามว่า ท่านผู้เจริญ พระพุทธ- *พจน์นี้เป็นอย่างไร อรรถแห่งพระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นย่อมไม่ เปิดเผยข้อที่ยังไม่ได้เปิดเผย ย่อมไม่ทำให้ตื้นข้อที่ยังไม่ได้ทำให้ตื้น และไม่ บรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยมากอย่าง แก่ภิกษุนั้น ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมไม่รู้ท่าน้ำอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมไม่รู้ธรรมที่ดื่มแล้วอย่างไร ภิกษุในธรรม วินัยนี้ เมื่อธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว อันบุคคลอื่นแสดงอยู่ ย่อมไม่ได้ ความรู้อรรถ ไม่ได้ความรู้ธรรม ไม่ได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่รู้ธรรมที่ดื่มแล้วอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมไม่รู้ทางอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่รู้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ตามความจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่รู้ทางอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมไม่ฉลาดในโคจรอย่างไร ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ย่อมไม่รู้สติปัฏฐาน ๔ ตามความจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ฉลาด ในโคจรอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมรีดนมไม่ให้เหลืออย่างไร ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ย่อมไม่รู้ประมาณเพื่อการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร ที่คฤหบดีผู้มีศรัทธาปวารณาเพื่อนำไปได้ตามพอใจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมรีดนมไม่ให้เหลืออย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมไม่บูชาภิกษุผู้เป็นพระเถระ ผู้รัตตัญญู บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปรินายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่เข้าไปตั้งเมตตากายกรรม ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ ย่อมไม่เข้าไปตั้งเมตตาวจีกรรม ย่อมไม่เข้าไปตั้งเมตตามโนกรรม ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ ในภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระ ผู้รัตตัญญู บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปรินายก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมไม่บูชาภิกษุผู้เป็นพระเถระ ผู้รัตตัญญู บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปรินายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการนี้ เป็นผู้ไม่ สามารถถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการ เป็นผู้ สามารถเลี้ยงฝูงโคให้เจริญแพร่หลายได้ องค์ ๑๑ ประการเป็นไฉน คือ นายโคบาลในโลกนี้ ย่อมรู้จักรูป ๑ ฉลาดในลักษณะ ๑ กำจัดไข่ขัง ๑ ปกปิดแผล ๑ สุมไฟ ๑ รู้ท่าน้ำ ๑ รู้โคว่าดื่มน้ำแล้วหรือยัง ๑ รู้ทาง ๑ ฉลาดในที่หากิน ๑ รีดนมให้เหลือ ๑ บูชาโคผู้ที่เป็นพ่อโคเป็นผู้นำฝูงโค ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถเลี้ยงฝูงโคให้เจริญแพร่หลายได้ ฉันใด ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นผู้สามารถถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรม ๑๑ ประการเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักรูป ๑ ฉลาดในลักษณะ ๑ กำจัดไข่ขัง ๑ ปกปิดแผล ๑ สุมไฟ ๑ รู้ท่าน้ำ ๑ รู้ธรรมที่ดื่มแล้ว ๑ รู้ทาง ๑ ฉลาด ในโคจร ๑ รีดให้เหลือ ๑ บูชาภิกษุผู้เป็นพระเถระ ผู้รัตตัญญู บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปรินายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้จักรูปอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้รูป อย่างใดอย่างหนึ่งตามเป็นจริงว่า มหาภูตรูป ๔ และรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมรู้จักรูปอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมฉลาดในลักษณะอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ตามเป็นจริงว่า คนพาลมีกรรมเป็นลักษณะ บัณฑิตมีกรรมเป็นลักษณะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุฉลาดในลักษณะอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมกำจัดไข่ขังอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ให้กามวิตกที่บังเกิดขึ้นครอบงำ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้มีความ สิ้นสุด ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมให้กามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วถึงความไม่มี ย่อมไม่ให้พยาบาทวิตกที่บังเกิดขึ้นครอบงำ ... ย่อมไม่ให้วิหิงสาวิตกที่บังเกิดขึ้น ครอบงำ ... ย่อมไม่ให้อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วๆ ครอบงำ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้มีความสิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งอกุศลธรรมอันลามก ที่เกิดขึ้นแล้วๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุกำจัดไข่ขังอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมปกปิดแผลอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ ย่อม ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความ สำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ถือเอา โดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อ ไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ครอบงำนั้น ชื่อว่าย่อมรักษามนินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมปกปิดแผล อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมสุมไฟอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ- *ในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงธรรมตามที่ตนฟังมาแล้ว ตามที่ตนเรียนมาแล้ว แก่คน เหล่าอื่นโดยพิสดาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมสุมไฟอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมรู้ท่าน้ำอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปหาภิกษุผู้เป็นพหูสูต ผู้ชำนาญนิกาย ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา โดยกาลอันสมควร ย่อมสอบถามไต่ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระพุทธพจน์นี้ เป็นอย่างไร อรรถแห่งพระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นย่อมเปิดเผยสิ่ง ที่ยังไม่เปิดเผย ย่อมทำให้ตื้นสิ่งที่ยังไม่ทำให้ตื้น และย่อมบรรเทาซึ่งความสงสัย ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยมากอย่าง แก่ภิกษุนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมรู้ท่าน้ำอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมรู้ธรรมที่ดื่มแล้วอย่างไร ภิกษุในธรรม วินัยนี้ เมื่อธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว อันผู้อื่นแสดงอยู่ ย่อมได้ความ รู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมรู้ธรรมที่ดื่มแล้วอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมรู้ทางอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ตามเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมรู้ ทางอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมฉลาดในโคจรอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้สติปัฏฐาน ๔ ตามเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมฉลาดในโคจร อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมรีดให้เหลืออย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ประมาณเพื่อการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ที่คฤหบดีผู้มีศรัทธาปวารณา เพื่อนำไปได้ตามพอใจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมรีดให้เหลืออย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมบูชาภิกษุผู้เป็นพระเถระ ผู้รัตตัญญู บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปรินายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเข้าไปตั้งเมตตากายกรรม ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ ย่อม เข้าไปตั้งเมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม ทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ ในภิกษุผู้เป็น พระเถระ ผู้รัตตัญญู บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปรินายก ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุย่อมบูชาภิกษุผู้เป็นพระเถระ ผู้รัตตัญญู บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปรินายก ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการนี้แล เป็นผู้ สามารถถึงซึ่งความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๗
สมาธิสูตรที่ ๑
[๒๒๕] ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีหรือหนอแล การที่ ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็น อารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ สำคัญในเตโชธาตุ ว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุ ว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็น อากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะว่าเป็น วิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็น อากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะว่า เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลก นี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึง มีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดย ประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึง มีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญ อย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึง มีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุ ว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็น อารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ สำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็นอากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ สำคัญในวิญญาณัญจายตนะว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ สำคัญในอากิญจัญญาจายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ สำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลก- *หน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
จบสูตรที่ ๘
สมาธิสูตรที่ ๒
[๒๒๖] ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงมีได้หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ไม่พึง มีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญในรูป ที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของ ข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ขอประทานพระวโรกาส ขออรรถแห่งภาษิตนี้จง แจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้สดับต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นเธอทั้งหลาย จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึง มีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดย ประการที่ไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึง มีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือความสงบสังขารทั้งปวง ความสละ คืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ไม่พึงมีความ สำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตาม แล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
จบสูตรที่ ๙
สมาธิสูตรที่ ๓
[๒๒๗] ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึง ที่อยู่ ได้ปราศรัยกับด้วยพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไป แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ พระสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตน ไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญใน รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ ภิ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่ พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึง แล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ สา. ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญ อย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึง มีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
สมาธิสูตรที่ ๔
[๒๒๘] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรถามภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโส ทั้งหลาย พึงมีได้หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความ สำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตาม แล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ ภิกษุเหล่านั้นเรียนท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมา แต่ที่ไกล เพื่อจะรู้อรรถแห่งภาษิตนี้ในสำนักท่านพระสารีบุตร ขออรรถแห่ง ภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อท่านพระสารีบุตร แล้ว จักทรงจำไว้ ฯ ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นท่านทั้งหลายจงฟัง อรรถแห่งภาษิตนั้น จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตร แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้ การที่ภิกษุได้ สมาธิโดยประการที่ตน ไม่พึงมีความสำคัญ ในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้ แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ ภิ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญ ในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ สา. ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละ คืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน ดูกรอาวุโส ทั้งหลาย พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความ สำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตาม แล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ
จบสูตรที่ ๑๑
จบทุติยวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. มหานามสูตรที่ ๑ ๒. มหานามสูตรที่ ๒ ๓. นันทิยสูตร ๔. สุภูติ- *สูตร ๕. เมตตาสูตร ๖. ทสมสูตร ๗. โคปาลกสูตร ๘. สมาธิสูตรที่ ๑ ๙. สมาธิสูตรที่ ๒ ๑๐. สมาธิสูตรที่ ๓ ๑๑. สมาธิสูตรที่ ๔ ฯ
-----------------------------------------------------
พระสูตรที่ไม่สงเคราะห์ด้วยปัณณาสก์
[๒๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการ เป็นผู้ไม่สามารถจะเลี้ยงฝูงโคให้เจริญแพร่หลายได้ องค์ ๑๑ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลในโลกนี้ ย่อมไม่รู้จักรูป ๑ ไม่ฉลาดในลักษณะ ๑ ไม่กำจัดไข่ขัง ๑ ไม่ปกปิดแผล ๑ ไม่สุมไฟ ๑ ไม่รู้ท่าน้ำ ๑ ไม่รู้ว่าโคดื่มน้ำ แล้วหรือยัง ๑ ไม่รู้ทาง ๑ ไม่ฉลาดในที่หากิน ๑ รีดนมไม่ให้มีเหลือ ๑ ไม่บูชา โคผู้ทั้งหลายที่เป็นพ่อฝูงโค เป็นผู้นำฝูงโคด้วยการบูชาอย่างยิ่ง ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นายโคบาลผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่สามารถจะ เลี้ยงฝูงโคให้เจริญแพร่หลายได้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วย ธรรม ๑๑ ประการ ก็เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในจักษุ ฯลฯ เป็น ผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ในจักษุ เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความ เป็นอนัตตาในจักษุ เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความสิ้นไปในจักษุ เป็นผู้ไม่ สามารถพิจารณาเห็นความเสื่อมไปในจักษุ เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความคลาย ไปในจักษุ เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความดับในจักษุ เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณา เห็นความสละคืนในจักษุ เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเป็น ทุกข์ ความเป็นอนัตตา ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืนในหู ... ในจมูก ... ในลิ้น ... ในกาย ... ในใจ ... ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในธรรมารมณ์ ในจักขุวิญญาณ ในโสตวิญญาณ ในฆานวิญญาณ ในชิวหาวิญญาณ ในกายวิญญาณ ในมโนวิญญาณ ในจักขุ สัมผัส ในโสตสัมผัส ในฆานสัมผัส ในชิวหาสัมผัส ในกายสัมผัส ในมโน- *สัมผัส ในเวทนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส ในเวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัส ในเวทนา อันเกิดแต่ฆานสัมผัส ในเวทนาอันเกิดแต่ชิวหาสัมผัส ในเวทนาอันเกิดแต่กาย สัมผัส ในเวทนาอันเกิดแต่มโนสัมผัส ในรูปสัญญา ในสัททสัญญา ในคันธ สัญญา ในรสสัญญา ในโผฏฐัพพสัญญา ในธรรมสัญญา ในรูปสัญเจตนา ในสัททสัญเจตนา ในคันธสัญเจตนา ในรสสัญเจตนา ในโผฏฐัพพสัญเจตนา ในธรรมสัญเจตนา ในรูปตัณหา ในสัททตัณหา ในคันธตัณหา ในรสตัณหา ในโผฏฐัพพตัณหา ในธรรมตัณหา ในรูปวิตก ในสัททวิตก ในคันธวิตก ใน รสวิตก ในโผฏฐัพพวิตก ในธรรมวิตก ในรูปวิจาร ในสัททวิจาร ในคันธวิจาร ในรสวิจาร ในโผฏฐัพพวิจาร ในธรรมวิจาร ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ [๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการ เป็นผู้สามารถเลี้ยงฝูงโคให้เจริญแพร่หลาย องค์ ๑๑ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นายโคบาลในโลกนี้ ย่อมรู้จักรูป ฯลฯ ย่อมบูชาโคผู้ทั้งหลายที่เป็น พ่อฝูงโค เป็นผู้นำฝูงโค ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลผู้ ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้สามารถเลี้ยงฝูงโคให้เจริญแพร่หลาย ได้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็น ผู้สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในจักษุ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้สามารถพิจารณาเห็น ความสละคืนในธรรมวิจาร ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๑ ประการ ควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ธรรม ๑๑ ประการเป็นไฉน คือ ปฐมฌาน ๑ ทุติยฌาน ๑ ตติยฌาน ๑ จตุตถฌาน ๑ เมตตาเจโตวิมุติ ๑ กรุณาเจโตวิมุติ ๑ มุทิตาเจโตวิมุติ ๑ อุเบกขาเจโตวิมุติ ๑ อากาสานัญจายตนฌาน ๑ วิญญาณัญจายตนฌาน ๑ อากิญจัญญายตนฌาน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๑ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ฯ [๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๑ ประการควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความหมดสิ้นไป เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อสละคืนซึ่งราคะ ธรรม ๑๑ ประการ เป็นไฉน คือ ปฐมฌาน ๑ ทุติยฌาน ๑ ตติยฌาน ๑ จตุตถฌาน ๑ เมตตา เจโตวิมุติ ๑ กรุณาเจโตวิมุติ ๑ มุทิตาเจโตวิมุติ ๑ อุเบกขาเจโตวิมุติ ๑ อากาสา- *นัญจายตยฌาน ๑ วิญญาณัญจายตนฌาน ๑ อากิญจัญญายตนฌาน ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ธรรม ๑๑ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ ... เพื่อสละ เพื่อสละคืนซึ่งราคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๑ ประการควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ ... เพื่อสละ เพื่อสละคืนซึ่งโทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเฐยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ มทะ ปมาทะ ธรรม ๑๑ ประการเป็นไฉน คือ ปฐมฌาน ๑ ทุติยฌาน ๑ ... วิญญา- *ณัญจายตนฌาน ๑ อากิญจัญญายตนฌาน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๑ ประการ นี้ ควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ ... เพื่อสละ เพื่อสละคืนซึ่งโทสะ โมหะ ... มทะ ปมาทะ ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นปลื้มใจ ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล ฯ พระสูตรที่รวมอยู่ในอังคุตตรนิกายมี ๙,๕๕๗ สูตรฉะนี้แล ฯ
จบเอกาทสกนิบาต
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๖๒๗๕-๘๗๘๑ หน้าที่ ๒๗๑-๓๘๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=6275&Z=8781&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13], [14], [15], [16], [17], [18], [19], [max20]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=24&siri=163              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=165              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [165-231] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=165&items=67              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=8477              The Pali Tipitaka in Roman :- [165-231] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=24&item=165&items=67              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=8477              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_24              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/24i156-e.php#sutta10 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an10/an10.176.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/10/an10-176.html https://suttacentral.net/an10.176/en/sujato https://suttacentral.net/an10.176/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :