ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย
ปฐมปัณณาสก์
[๒๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ - สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัส เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มี พระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๒ อย่างนี้ โทษ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ โทษที่เป็นไปในปัจจุบัน ๑ โทษที่เป็นไปในภพหน้า ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โทษที่เป็นไปในปัจจุบันเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็น โจรผู้ประพฤติความชั่ว พระราชาจับได้แล้ว รับสั่งให้ทำกรรมกรณ์นานาชนิด คือ เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง เฆี่ยนด้วยเชือกบ้าง ทุบด้วยไม้ตะบองบ้าง ตัดมือบ้าง ตัด เท้าบ้าง ตัดทั้งมือทั้งเท้าบ้าง ตัดหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งหูทั้งจมูกบ้าง ทำให้ เป็นภาชนะสำหรับใส่น้ำส้มผะอูมบ้าง ทำให้เลี่ยนเหมือนสังข์บ้าง ทำให้มีหน้า เหมือนราหูบ้าง ทำให้มีพวงดอกไม้ไฟบ้าง ทำให้มีมือมีไฟลุกโชติช่วงบ้าง ทำให้ มีเกลียวหนังเนื้อทรายบ้าง ทำให้นุ่งผ้าขี้ริ้วบ้าง ทำให้เป็นเลียงผาบ้าง ทำให้มีเนื้อ เหมือนเป็ดบ้าง ทำให้เป็นกหาปณะบ้าง ทำให้รับน้ำด่างบ้าง ทำให้หมุนเหมือน กลอนเหล็กบ้าง ทำให้เป็นตั่งทำด้วยฟางบ้าง เอาน้ำมันร้อนๆ ราดบ้าง ให้สุนัข กัดบ้าง แม้ยังมีชีวิตอยู่ก็ให้นอนบนหลาวบ้าง เอาดาบตัดหัวเสียบ้าง เขามีความ คิดเห็นเช่นนี้ว่า เพราะบาปกรรมเช่นใดเป็นเหตุ โจรผู้ทำความชั่วจึงถูกพระราชา จับแล้วทำกรรมกรณ์นานาชนิด คือ เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ฯลฯ เอาดาบตัดหัวเสีย บ้าง ก็ถ้าเรานี้แหละ จะพึงทำบาปกรรมเช่นนั้น ก็พึงถูกพระราชาจับแล้วทำ กรรมกรณ์นานาชนิด คือ เอาหวายเฆี่ยนบ้าง ฯลฯ เอาดาบตัดหัวเสียบ้าง ดังนี้ เขากลัวต่อโทษที่เป็นไปในปัจจุบัน ไม่เที่ยวแย่งชิงเครื่องบรรณาการของคนอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าโทษที่เป็นไปในปัจจุบัน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โทษที่เป็นไปในภพหน้าเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้ สำเหนียกดังนี้ว่า วิบากอันเลวทรามของกายทุจริต เป็นโทษที่บุคคลจะ พึงได้ในภพหน้าโดยเฉพาะ วิบากอันเลวทรามของวจีทุจริต เป็นโทษที่บุคคลจะ พึงได้ในภพหน้าโดยเฉพาะ วิบากอันเลวทรามของมโนทุจริต เป็นโทษที่บุคคลจะ พึงได้ในภพหน้าโดยเฉพาะ ก็ถ้าเราจะพึงประพฤติทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วย วาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ ทุจริตบางข้อนั้น พึงเป็นเหตุให้เรา เมื่อแตกกายตาย ไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดังนี้ เขากลัวต่อโทษที่เป็นไปในภพหน้า จึงละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต ละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต บริหารตนให้สะอาด ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าโทษเป็นไป ในภพหน้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ ฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่าเราจักกลัวต่อโทษที่เป็นไปในปัจจุบัน จักกลัวต่อโทษเป็นไปในภพหน้า จักเป็นคนขลาดต่อโทษ มีปรกติเห็นโทษโดย ความเป็นของน่ากลัว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เหตุเป็นเครื่องหลุดพ้นจากโทษทั้งมวลอันบุคคลผู้ขลาดต่อโทษ มี ปรกติเห็นโทษโดยความเป็นของน่ากลัวจะพึงหวังได้ ฯ [๒๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในโลกมีความเพียรซึ่งเกิดได้ยาก ๒ อย่าง ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเพียรเพื่อทำให้เกิดจีวรบิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของคฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน ๑ ความเพียรเพื่อสละคืน อุปธิทั้งปวง ของผู้ที่ออกบวชเป็นบรรพชิต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในโลกมีความเพียร ซึ่งเกิดได้ยาก ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความเพียร ๒ อย่างนี้ ความเพียรเพื่อสละคืนอุปธิทั้งปวงเป็นเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเริ่มตั้งความเพียรเพื่อสละคืนอุปธิทั้งปวง ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ [๒๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ๒ อย่าง ๒ อย่างเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำแต่กายทุจริต มิได้ทำกายสุจริต ทำแต่วจีทุจริต มิได้ทำวจีสุจริต ทำแต่มโนทุจริต มิได้ทำมโนสุจริต เขาเดือดร้อน อยู่ว่า เรากระทำแต่กายทุจริต มิได้ทำกายสุจริต ทำแต่วจีทุจริต มิได้ทำวจีสุจริต ทำแต่มโนทุจริต มิได้ทำมโนสุจริต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความ เดือดร้อน ๒ อย่างนี้แล ฯ [๒๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ๒ อย่าง ๒ อย่างเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำแต่กายสุจริต มิได้ทำกายทุจริต ทำแต่วจีสุจริต มิได้ทำวจีทุจริต ทำแต่มโนสุจริต มิได้ทำมโนทุจริต เขาไม่ เดือดร้อนว่า เรากระทำแต่กายทุจริต มิได้ทำกายสุจริต ทำแต่วจีทุจริต มิได้ทำ วจีสุจริต ทำแต่มโนทุจริต มิได้ทำมโนสุจริต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมไม่เป็น ที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ๒ อย่างนี้แล ฯ [๒๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงคุณของธรรม ๒ อย่าง คือ ความ เป็นผู้ไม่สันโดษในกุศลธรรม ๑ ความเป็นผู้ไม่ย่อหย่อนในความเพียร ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ได้ยินว่า เราเริ่มตั้งความเพียรอันไม่ย่อหย่อนว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูก ก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่ บรรลุผลที่บุคคลพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วย ความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพธิญาณ อันเรานั้นได้บรรลุแล้วด้วยความไม่ประมาท ธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน ยอดเยี่ยม อันเรานั้นได้บรรลุแล้วด้วยความไม่ประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ เธอทั้งหลายจะพึงเริ่มตั้งความเพียรอันไม่ย่อหย่อนว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่ บุคคลพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความ บากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เธอ ทั้งหลายก็จักทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตต้องการนั้น ด้วยความรู้ยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ต่อกาลไม่นานเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษา อย่างนี้ว่า จักเริ่มตั้งความเพียรอันไม่ย่อหย่อนว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และ กระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่บุคคล พึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของ บุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษา อย่างนี้แล ฯ [๒๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความตามเห็นโดยความพอใจในธรรมอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ๑ ความพิจารณา เห็นด้วยอำนาจความหน่ายในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลผู้ตามเห็นโดยความพอใจในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่ง สังโยชน์อยู่ ย่อมละราคะไม่ได้ ย่อมละโทสะไม่ได้ ย่อมละโมหะไม่ได้ เรา กล่าวว่า บุคคลยังละราคะไม่ได้ ยังละโทสะไม่ได้ ยังละโมหะไม่ได้แล้ว ย่อม ไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ย่อมไม่ พ้นไปจากทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พิจารณาเห็นด้วยอำนาจความหน่าย ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ย่อมละราคะได้ ย่อมละโทสะ ได้ ย่อมละโมหะได้ เรากล่าวว่า บุคคลละราคะ ละโทสะ ละโมหะได้แล้ว ย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ย่อม พ้นจากทุกข์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๒๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายดำ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ อหิริกะ ๑ อโนตตัปปะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายดำ ๒ อย่างนี้แล ฯ [๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้แล ฯ [๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้ ย่อมคุ้มครองโลก ๒ อย่างเป็นไฉน คือหิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้แล ถ้าธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้ ไม่พึงคุ้มครองโลก ใครๆ ในโลกนี้จะ ไม่พึงบัญญัติ ว่ามารดา ว่าน้า ว่าป้า ว่าภรรยาของอาจารย์ หรือว่าภรรยาของ ครู โลกจักถึงความสำส่อนกัน เหมือนกับพวกแพะ พวกแกะ พวกไก่ พวกหมู พวกสุนัขบ้าน และพวกสุนัขจิ้งจอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรม ฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้ ยังคุ้มครองโลกอยู่ ฉะนั้น โลกจึงบัญญัติคำว่ามารดา ว่าน้า ว่าป้า ว่าภรรยาของอาจารย์ หรือว่าภรรยาของครูอยู่ ฯ [๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วัสสูปนายิกา ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ วัสสูปนายิกาต้น ๑ วัสสูปนายิกาหลัง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย วัสสูปนายิกา ๒ อย่างนี้แล ฯ
จบกัมมกรณวรรคที่ ๑

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๑๒๖๗-๑๓๗๓ หน้าที่ ๕๖-๖๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=1267&Z=1373&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=20&siri=29              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=247              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [247-256] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=20&item=247&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=1              The Pali Tipitaka in Roman :- [247-256] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=20&item=247&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i247-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an02/an02.005.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an02/an02.009.than.html https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an02/an02.009.irel.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/02/an02-005.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/02/an02-009.html https://suttacentral.net/an2.1-10/en/sujato https://suttacentral.net/an2.1-10/en/thanissaro

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :