ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
โคธิกสูตรที่ ๓
[๔๘๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นสถานที่ พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ฯ ก็สมัยนั้นแล ท่านโคธิกะ อยู่ที่กาลศิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ ฯ [๔๘๙] ครั้งนั้นแล ท่านโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิต มั่นคงอยู่ ได้บรรลุเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์ ภายหลังท่านโคธิกะได้เสื่อมจากเจโต- *วิมุติอันเป็นโลกีย์นั้น แม้ครั้งที่ ๒ ท่านโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตมั่นคงอยู่ ได้บรรลุเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์ แม้ในครั้งที่ ๒ ก็ได้เสื่อมจาก เจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์นั้น แม้ครั้งที่ ๓ ท่านโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความ เพียร มีจิตมั่นคงอยู่ ได้บรรลุเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์ แม้ในครั้งที่ ๓ ก็ได้เสื่อม จากเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์นั้น แม้ครั้งที่ ๔ ท่านโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความ เพียร มีจิตมั่นคงอยู่ ได้บรรลุเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์ แม้ในครั้งที่ ๔ ก็ได้เสื่อม จากเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์นั้น แม้ครั้งที่ ๕ ท่านโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความ เพียร มีจิตมั่นคงอยู่ ได้บรรลุเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์ แม้ในครั้งที่ ๕ ก็ได้เสื่อม จากเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์นั้น แม้ครั้งที่ ๖ ท่านโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มีความ เพียร มีจิตมั่นคงอยู่ ได้บรรลุเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์ แม้ในครั้งที่ ๖ ก็ได้เสื่อม จากเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์นั้น แม้ครั้งที่ ๗ ท่านโคธิกะเป็นผู้ไม่ประมาท มี ความเพียร มีจิตมั่นคงอยู่ ก็ได้บรรลุเจโตวิมุติอันเป็นโลกีย์อีก ฯ ครั้งนั้นแล ท่านโคธิกะได้เกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราได้เสื่อมจากเจโต- *วิมุติอันเป็นโลกีย์ถึง ๖ ครั้งแล้ว ถ้ากระไรเราพึงนำศัสตรามา ฯ [๔๙๐] ลำดับนั้นแล มารผู้มีบาปทราบความปริวิตกแห่งจิตของท่าน โคธิกะด้วยจิตแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุ มีเพียรใหญ่ มีปัญญามาก รุ่งเรือง ด้วยฤทธิ์และยศ ก้าวล่วงเวรและภัยทั้งปวง ข้าพระองค์ขอ ถวายบังคมพระบาททั้งคู่ ข้าแต่พระองค์ผู้มีเพียรใหญ่ สาวก ของพระองค์อันมรณะครอบงำแล้ว ย่อมคิดจำนงหวังความ ตาย ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรือง ขอพระองค์จง ห้ามสาวกของพระองค์นั้นเสียเถิด ฯ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้ปรากฏในหมู่ชน สาวกของพระองค์ ยินดีในพระศาสนา ยังไม่ได้บรรลุพระอรหันต์อันตัดเสียซึ่ง มานะ ยังเป็นพระเสขะอยู่ ไฉนจะพึงกระทำกาลเสียเล่า ฯ ก็เวลานั้น ท่านโคธิกะได้นำศัสตรามาแล้ว ฯ [๔๙๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ผู้นี้เป็นมารผู้มีบาป จึง ได้ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า ปราชญ์ทั้งหลายย่อมทำอย่างนี้แล ย่อมไม่ห่วงใยชีวิต โคธิกะ ภิกษุ ถอนตัณหาพร้อมด้วยราก นิพพานแล้ว ฯ [๔๙๒] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัส ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรามาไปสู่กาลศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ อันเป็นที่โคธิกกุลบุตร นำศัสตรามาแล้ว ฯ ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุหลายรูปได้เข้าไปยังกาลศิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ ฯ พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นโคธิกะมีคออันพลิกแล้ว นอนอยู่ บนเตียงที่ไกลเทียว ก็เวลานั้นแล ควันหรือหมอกพลุ่งไปสู่ทิศตะวันออก ทิศ ตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และอนุทิศ ฯ [๔๙๓] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นไหม ควันหรือหมอกนั้นพลุ่งไปสู่ทิศตะวันออก ทิศ ตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และอนุทิศ เมื่อภิกษุ เหล่านั้นกราบทูลรับพระดำรัสแล้วจึงตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นมารผู้มีบาป เที่ยวแสวงหาวิญญาณของโคธิกกุลบุตร ด้วยคิดว่า วิญญาณของโคธิกกุลบุตรตั้ง อยู่ ณ ที่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย โคธิกกุลบุตร มีวิญญาณอันไม่ตั้งอยู่แล้ว ปรินิพพานแล้ว ฯ [๔๙๔] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปถือพิณมีสีเหลืองเหมือนมะตูมสุก เข้า ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า ข้าพระองค์ได้ค้นหาวิญญาณของโคธิกกุลบุตร ทั้งในทิศ เบื้องบน ทั้งทิศเบื้องต่ำ ทั้งทางขวาง ทั้งทิศใหญ่ ทิศน้อย ทั่วแล้ว มิได้ประสบ โคธิกะนั้นไป ณ ที่ไหน ฯ [๔๙๕] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า นักปราชญ์ผู้ใดสมบูรณ์ด้วยธิติ มีปรกติเพ่งพินิจ ยินดีแล้ว ในฌานทุกเมื่อ พากเพียรอยู่ตลอดวันและคืน ไม่มีความ อาลัยในชีวิต ชนะเสนาของมัจจุราชแล้ว ไม่กลับมาสู่ภพ ใหม่ นักปราชญ์นั้นคือโคธิกกุลบุตร ได้ถอนตัณหาพร้อม ด้วยราก ปรินิพพานแล้ว ฯ พิณได้พลัดตกจากรักแร้ของมารผู้มีความเศร้าโศก ในลำดับนั้น ยักษ์ นั้นมีความโทมนัส หายไปในที่นั้นนั่นเอง ฯ
สัตตวัสสสูตรที่ ๔
[๔๙๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับที่ต้นอชปาลนิโครธ ริมฝั่งแม่น้ำ เนรัญชรา ณ ตำบลอุรุเวลา ฯ ก็สมัยนั้นแล มารผู้มีบาปติดตามพระผู้มีพระภาค คอยมุ่งหาช่องโอกาส สิ้น ๗ ปี ก็ยังไม่ได้ช่อง ฯ [๔๙๗] ภายหลังมารผู้มีบาป จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า ท่านถูกความโศกทับถมหรือ จึงได้มาซบเซาอยู่ในป่าอย่างนี้ ท่านเสื่อมจากทรัพย์เครื่องปลื้มใจแล้วหรือ หรือว่ากำลัง ปรารถนาอยู่ ท่านได้ทำความชั่วอะไรๆ ไว้ในบ้านหรือ เหตุ ไรท่านจึงไม่ทำมิตรภาพกับชนทั้งปวงเล่า หรือว่าท่านทำมิตร- *ภาพกับใครๆ ไม่สำเร็จ ฯ [๔๙๘] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรมารผู้เป็นเผ่าของบุคคลผู้ประมาทแล้ว เราขุดรากของ ความเศร้าโศกทั้งหมดแล้ว ไม่มีความชั่ว ไม่เศร้าโศก เพ่ง อยู่ เราชนะความติดแน่น กล่าวคือความโลภในภพทั้งหมด เป็นผู้ไม่มีอาสวะ เพ่งอยู่ ฯ [๔๙๙] มารทูลว่า ถ้าใจของท่านยังข้องอยู่ในสิ่งที่ชนทั้งหลาย กล่าวว่าสิ่งนี้ เป็นของเรา แลว่าสิ่งนี้เป็นเราแล้ว สมณะ ท่านจักไม่พ้น เราไปได้ ฯ [๕๐๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สิ่งที่ชนทั้งหลายกล่าวว่าเป็นของเรานั้น ย่อมไม่เป็นของเรา และสิ่งที่ชนทั้งหลายกล่าวว่า เป็นเรา ก็ไม่เป็นเราเหมือน กัน แนะ มารผู้มีบาป ท่านจงทราบอย่างนี้เถิด แม้ท่านก็ จักไม่เห็นทางของเรา ฯ [๕๐๑] มารทูลว่า ถ้าท่านรู้จักทางอันปลอดภัย เป็นที่ไปสู่อมตมหานิพพาน ก็จง หลีกไปแต่คนเดียวเถิด จะพร่ำสอนคนอื่นทำไมเล่า ฯ [๕๐๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชนเหล่าใดมุ่งไปสู่ฝั่ง ย่อมถึงพระนิพพาน อันมิใช่โอกาส ของมาร เราถูกชนเหล่านั้นถามแล้ว จักบอกว่า สิ่งใดเป็น ความจริง สิ่งนั้นหาอุปธิกิเลสมิได้ ฯ [๕๐๓] มารทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหมือนอย่างว่ามีสระโบกขรณี ในที่ไม่ไกลแห่งบ้านหรือนิคม ในสระนั้นมีปูอยู่ ครั้งนั้น พวกเด็กชายหรือพวก เด็กหญิงเป็นอันมาก ออกจากบ้านหรือนิคมนั้นแล้วเข้าไปถึงที่สระโบกขรณีนั่นตั้ง อยู่ ครั้นแล้วจึงจับปูนั้นขึ้นจากน้ำให้อยู่บนบก พระเจ้าข้า ก็ปูนั้นยังก้ามทุกๆ ก้ามให้ยื่นออก พวกเด็กชายหรือเด็กหญิงเหล่านั้น พึงริดพึงหักพึงทำลายก้ามนั้น เสียทุกๆ ก้ามด้วยไม้หรือก้อนหิน พระเจ้าข้า ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น ปูนั้นมีก้าม ถูกริด ถูกหัก ถูกทำลายเสียหมดแล้ว ย่อมไม่อาจก้าวลงไปสู่สระโบกขรณีนั้น อีกเหมือนแต่ก่อน ฉันใด อารมณ์แม้ทุกชนิดอันเป็นวิสัยของมาร อันให้สัตว์ เสพผิด ทำให้สัตว์ดิ้นรน อารมณ์นั้นทั้งหมด อันพระผู้มีพระภาคตัดรอน หักรานย่ำยีเสียหมดแล้ว บัดนี้ ข้าพระองค์ผู้คอยหาโอกาส ย่อมไม่อาจเข้าไปใกล้ พระผู้มีพระภาคได้อีก ฉันนั้น ฯ [๕๐๔] ครั้นแล้ว มารผู้มีบาปได้ภาษิตคาถาอันเป็นที่ตั้งแห่งความเบื่อ- *หน่ายเหล่านี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ฝูงกาเห็นก้อนหินมีสีดุจมันข้น จึงบินเข้าไปใกล้ด้วยเข้าใจว่า เราทั้งหลาย พึงประสบอาหารในที่นี้เป็นแน่ ความยินดีพึงมี โดยแท้ ฯ เมื่อพยายามอยู่ไม่ได้อาหารสมประสงค์ในที่นั้น จึงบิน หลีกไป ฯ ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ก็เหมือนกามาพบศิลา ฉะนั้น ขอหลีกไป ฯ ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปครั้นกล่าวคาถาอันเป็นที่ตั้งแห่งความเบื่อหน่าย เหล่านี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงหลีกจากที่นั้น ไปนั่งขัดสมาธิที่พื้นดิน ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค เป็นผู้นิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมด ปฏิภาณ เอาไม้ขีดแผ่นดินอยู่ ฯ
มารธีตุสูตรที่ ๕
[๕๐๕] ครั้งนั้นแล มารธิดาทั้ง ๓ คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา จึงพากันเข้าไปหาพระยามารถึงที่อยู่ ครั้นแล้วจึงถามพระยามารด้วยคาถาว่า ข้าแต่คุณพ่อ คุณพ่อมีความเสียใจด้วยเหตุอะไร หรือ เศร้าโศกถึงผู้ชายคนไหน หม่อมฉันจักผูกผู้ชายคนนั้นด้วย บ่วง คือราคะ นำมาถวาย เหมือนบุคคลผูกช้างมาจากป่า ฉะนั้น ชายนั้นจักตกอยู่ในอำนาจของคุณพ่อ ฯ [๕๐๖] พระยามารกล่าวว่า ชายนั้นเป็นพระอรหันต์ผู้ดำเนินไปดีแล้วในโลก ไม่เป็นผู้ อันใครๆ พึงนำมาด้วยราคะได้ง่ายๆ ก้าวล่วงบ่วงมาร ไปแล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงเศร้าโศกมาก ฯ [๕๐๗] ครั้งนั้นแล มารธิดา คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา จึง พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่าง นี้ว่า ข้าแต่พระสมณะ พวกหม่อมฉันจักขอบำเรอพระบาทของพระองค์ ฯ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงใส่พระทัยถึงคำของนางมารธิดาเหล่า นั้น เพราะพระองค์ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม ฯ [๕๐๘] ลำดับนั้น มารธิดา คือนางตัณหา นางอรดี นางราคา จึง หลีกออกไป ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วร่วมคิดกันอย่างนี้ว่า ความประสงค์ของ บุรุษมีต่างๆ กันแล อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรนิรมิตเพศเป็นนางกุมาริกาคน ละร้อยๆ ฯ ลำดับนั้น มารธิดา คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา จึงพากันนิรมิต เพศเป็นนางกุมาริกาคนละร้อยๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้ว กราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระสมณะ พวกหม่อมฉันจะขอบำเรอ พระบาทของพระองค์ ฯ พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงใส่พระทัยถึงถ้อยคำของมารธิดา เพราะพระองค์ ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม ฯ [๕๐๙] ลำดับนั้น มารธิดาทั้ง ๓ คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา พากันหลีกไป ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ร่วมกันคิดอย่างนี้ว่า ความประสงค์ของ บุรุษมีต่างๆ กัน อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรพากันจำแลงเพศเป็นหญิงยังไม่เคย คลอดบุตรคนละร้อยๆ ฯ ลำดับนั้นแล มารธิดาทั้ง ๓ คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา จึง พากันจำแลงเพศเป็นหญิงยังไม่เคยคลอดบุตรคนละร้อยๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี- *พระภาคถึงที่ประทับ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระสมณะ พวกหม่อมฉันจะขอบำเรอบาทของพระองค์ ฯ ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงใส่พระทัยถึงเลย เพราะพระองค์ ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม ฯ [๕๑๐] ฝ่ายนางตัณหา นางอรดี นางราคา พากันหลีกไป ณ ที่ควร ข้างหนึ่งแล้ว ร่วมคิดกันอย่างนี้ว่า ความประสงค์ของบุรุษทั้งหลายมีต่างๆ กัน อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรจำแลงเพศเป็นหญิงที่คลอดบุตรแล้วคราวเดียวคนละ ร้อยๆ ฯ ลำดับนั้นแล นางตัณหา นางอรดี นางราคา พากันจำแลงเพศเป็นหญิง คลอดแล้วคราวเดียวคนละร้อยๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้ว กราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระสมณะ พวกหม่อมฉันจะขอบำเรอ พระบาทของพระองค์ ฯ ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงใส่พระทัยถึง เพราะพระองค์ทรง น้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม ฯ [๕๑๑] ลำดับนั้นแล นางตัณหา นางอรดี นางราคา ฯลฯ จึงพากัน จำแลงเพศเป็นหญิงที่คลอดบุตรแล้ว ๒ คราว คนละร้อยๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี- *พระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ แม้ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงใส่พระทัยถึง เพราะพระองค์ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม ฯ [๕๑๒] ลำดับนั้น นางตัณหา นางอรดี นางราคา ฯลฯ จึงพากัน จำแลงเพศเป็นหญิงกลางคน คนละร้อยๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงใส่พระทัยถึงเลย เพราะพระองค์ ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม ฯ [๕๑๓] ลำดับนั้น นางตัณหา นางอรดี นางราคา ฯลฯ จึงพากัน จำแลงเพศเป็นหญิงผู้ใหญ่คนละร้อยๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคจนถึงที่ประทับ ฯลฯ แม้ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงใส่พระทัยถึง เพราะพระองค์ทรง น้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม ฯ [๕๑๔] ลำดับนั้น มารธิดา คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา พากัน หลีกไป ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว จึงพูดกันว่า เรื่องนี้จริงดังบิดาของเราได้พูด ไว้ว่า ชายนั้นเป็นพระอรหันต์ ผู้ดำเนินไปดีแล้วในโลก ไม่เป็นผู้ อันใครๆ พึงนำมาด้วยราคะได้ง่ายๆ ก้าวล่วงบ่วงมารไป ได้แล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงเศร้าโศกมาก ฯ ก็ถ้าพวกเราพึงเล้าโลมสมณะหรือพราหมณ์คนใดที่ยังไม่หมดราคะ ด้วย ความพยายามอย่างนี้ หทัยของสมณะหรือพราหมณ์คนนั้นพึงแตก หรือโลหิตอุ่น พึงพลุ่งออกจากปาก หรือพึงถึงกับเป็นบ้า หรือถึงความมีจิตฟุ้งซ่าน (จิตลอย) เหมือนอย่างไม้อ้อสดอันลมพัดขาดแล้ว ย่อมหงอยเหงาเหี่ยวแห้งไป แม้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์นั้นพึงซูบซีดเหี่ยวแห้งไป ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ ครั้นแล้ว นางตัณหา นางอรดี นางราคา พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๕๑๕] นางตัณหามารธิดา ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า ท่านถูกความโศกทับถมหรือ จึงได้มาซบเซาอยู่ในป่าอย่างนี้ ท่านเสื่อมจากทรัพย์เครื่องปลื้มใจแล้วหรือ หรือว่ากำลัง ปรารถนาอยู่ ท่านได้ทำความชั่วอะไรๆ ไว้ในบ้านหรือ เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่ทำมิตรภาพกับชนทั้งปวงเล่า หรือว่า ท่านทำมิตรภาพกับใครๆ ไม่สำเร็จ ฯ [๕๑๖] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เราชนะเสนาคือปิยรูปและสาตรูป (รูปที่รักและรูปที่พอใจ) เป็นผู้ๆ เดียวเพ่งอยู่ ได้รู้ความบรรลุประโยชน์ และความ สงบแห่งหทัย ว่าเป็นความสุข ฯ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ทำความเป็นมิตรกับชนทั้งปวง และ ความเป็นมิตรกับใครๆ ย่อมไม่อำนวยประโยชน์ให้แก่เรา ฯ [๕๑๗] ลำดับนั้น นางอรดีมารธิดาได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า ภิกษุในพระศาสนานี้ มีปรกติอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่าง ไหนมาก จึงข้ามโอฆะทั้ง ๕ แล้ว เวลานี้ได้ข้ามโอฆะที่ ๖ แล้ว กามสัญญาทั้งหลายย่อมห้อมล้อมไม่ได้ซึ่งบุคคลผู้เพ่ง- ฌานอย่างไหนมาก ฯ [๕๑๘] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า บุคคลมีกายอันสงบแล้ว มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว เป็นผู้ไม่มี อะไรๆ เป็นเครื่องปรุงแต่ง มีสติ ไม่มีความอาลัย ได้รู้ทั่ว ซึ่งธรรม มีปรกติเพ่งอยู่ด้วยฌานที่ ๔ อันหาวิตกมิได้ ย่อม ไม่กำเริบ ไม่ซ่านไป ไม่เป็นผู้ย่อท้อ ฯ ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้มีปรกติอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ อย่างนี้มาก จึงข้ามโอฆะทั้ง ๕ ได้แล้ว บัดนี้ได้ข้ามโอฆะที่ ๖ แล้ว กามสัญญาทั้งหลายย่อมห้อมล้อมไม่ได้ ซึ่งภิกษุผู้ เพ่งฌานอย่างนี้มาก ฯ [๕๑๙] ลำดับนั้นแล นางราคามารธิดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วย คาถาว่า พระศาสดาผู้เป็นหัวหน้าดูแลคณะสงฆ์ ได้ตัดตัณหาขาดแล้ว และชนผู้มีศรัทธาเป็นอันมาก จักประพฤติตามได้แน่แท้ พระศาสดานี้เป็นผู้ไม่มีความอาลัย ได้ตัดขาดจากมือมัจจุราช แล้ว จักนำหมู่ชนเป็นอันมาก ไปสู่ฝั่งพระนิพพาน ฯ [๕๒๐] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ตถาคตมีความแกล้วกล้าใหญ่ ย่อมนำสัตว์ไปด้วยพระสัท- ธรรมแล เมื่อตถาคตนำไปอยู่โดยธรรม ไฉนความริษยา จะพึงมีแก่ท่านผู้รู้เล่า ฯ [๕๒๑] ลำดับนั้นแล มารธิดาทั้ง ๓ คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา พากันเข้าไปหาพระยามารถึงที่อยู่ ฯ พระยามารเห็นมารธิดา คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา มาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้ว ได้กล่าวพ้อด้วยคาถาทั้งหลายว่า พวกคนโง่พากันทำลายภูเขาด้วยก้านบัว ขุดภูเขาด้วยเล็บ เคี้ยวเหล็กด้วยฟันทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะทำพระโคดมให้ เบื่อเข้าต้องหลีกไป เป็นประดุจบุคคลวางหินไว้บนศีรษะแล้ว แทรกลงไปในบาดาล หรือดุจบุคคลเอาอกกระแทกตอ ฉะนั้น ฯ พระศาสดาได้ขับไล่นางตัณหา นางอรดี และนางราคา ผู้มีรูป น่าทัศนายิ่ง ซึ่งได้มาแล้วในที่นั้นให้หนีไป เหมือนลมพัด ปุยนุ่น ฉะนั้น ฯ
จบวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมสูตรในวรรคที่สามมี ๕ สูตร คือ สัมพหุลสูตรที่ ๑ สมิทธิสูตรที่ ๒ โคธิกสูตรที่ ๓ สัตตวัสสสูตรที่ ๔ มารธีตุสูตรที่ ๕ นี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ทรงแสดงแล้วกะมารธิดา ฯ
จบมารสังยุต
-----------------------------------------------------
ภิกขุนีสังยุต
อาฬวิกาสูตรที่ ๑
[๕๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ ครั้งนั้น เวลาเช้า อาฬวิกาภิกษุณีนุ่งห่มแล้วถือบาตรและจีวร เข้าไป บิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว เวลา ปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาต มีความต้องการด้วยวิเวก จึงเข้าไปในป่าอันธวัน ฯ [๕๒๓] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้อาฬวิกาภิกษุณีบังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากวิเวก จึง เข้าไปหาอาฬวิกาภิกษุณีถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะอาฬวิกาภิกษุณีด้วยคาถาว่า ในโลก ไม่มีทางออกไปจากทุกข์ได้ ท่านจักทำอะไรด้วย วิเวก จงเสวยความยินดีในกามเถิด อย่าได้มีความเดือดร้อน ในภายหลังเลย ฯ [๕๒๔] ลำดับนั้น อาฬวิกาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่ใครหนอกล่าว คาถา จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ ฯ ทันใดนั้น อาฬวิกาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่คือมารผู้มีบาป ใคร่จะให้ เราบังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้ เคลื่อนจากวิเวก จึงกล่าวคาถา ฯ ครั้นอาฬวิกาภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาปแล้ว จึงได้กล่าวกะมารผู้มี บาปด้วยคาถาว่า ในโลกนี้มีทางออกไปจากทุกข์ได้ เรารู้ชัดดีแล้วด้วยปัญญา ดูกรมารผู้มีบาปซึ่งเป็นเผ่าพันธุ์ของผู้ประมาท ท่านไม่รู้จัก ทางนั้น กามทั้งหลายเปรียบด้วยหอกและหลาว กองกาม ทั้งหลายนั้นประหนึ่งว่าผีร้าย เราไม่ใยดีถึงความยินดีในกามที่ ท่านกล่าวถึงนั้น ฯ ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า อาฬวิกาภิกษุณีรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ
โสมาสูตรที่ ๒
[๕๒๕] สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้น เวลาเช้า โสมาภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไป บิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว เวลา- *ปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักผ่อนกลางวัน ครั้น ถึงป่าอันธวันแล้ว จึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ฯ [๕๒๖] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้โสมาภิกษุณีบังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึง เข้าไปหาโสมาภิกษุณีถึงที่นั่งพัก ครั้นแล้วได้กล่าวกะโสมาภิกษุณีด้วยคาถาว่า สตรีมีปัญญาเพียงสองนิ้ว ไม่อาจถึงฐานะอันจะพึงอดทนได้ ด้วยยาก ซึ่งท่านผู้แสวงทั้งหลายจะพึงถึงได้ ฯ [๕๒๗] ลำดับนั้น โสมาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่ใครหนอกล่าวคาถา จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ ฯ ทันใดนั้น โสมาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่คือมารผู้มีบาป ใคร่จะให้เรา บังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อน จากสมาธิ จึงกล่าวคาถา ฯ ครั้นโสมาภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาปแล้ว จึงได้กล่าวกะมารผู้มีบาป ด้วยคาถาว่า ความเป็นสตรีจะทำอะไรได้ เมื่อจิตตั้งมั่นดีแล้ว เมื่อญาณ เป็นไปแก่ผู้เห็นธรรมอยู่โดยชอบ ผู้ใดจะพึงมีความคิดเห็น แน่อย่างนี้ว่า เราเป็นสตรี หรือว่าเราเป็นบุรุษ หรือจะยังมี ความเกาะเกี่ยวว่า เรามีอยู่ มารควรจะกล่าวกะผู้นั้น ฯ ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า โสมาภิกษุณีรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ
โคตมีสูตรที่ ๓
[๕๒๘] สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้น เวลาเช้า กิสาโคตมีภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไป บิณฑบาตในพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว เวลาปัจ- *ฉาภัตกลับจากบิณฑบาตแล้วเข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักผ่อนกลางวัน ครั้นถึงป่า อันธวันแล้ว จึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ฯ [๕๒๙] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้กิสาโคตมีภิกษุณีบังเกิดความ- *กลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้าไปหากิสาโคตมีภิกษุณีถึงที่นั่งพัก ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะกิสาโคตมีภิกษุณี ด้วยคาถาว่า ท่านมีบุตรตายแล้ว มานั่งอยู่คนเดียว มีหน้าเหมือนคน ร้องไห้ มาอยู่กลางป่าคนเดียว กำลังแสวงหาบุรุษบ้างหรือ หนอ ฯ [๕๓๐] ลำดับนั้น กิสาโคตมีภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่ใครหนอกล่าว คาถา จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ ทันใดนั้น กิสาโคตมีภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่คือมารผู้มีบาป ใคร่จะ ให้เราบังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะ ให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าวคาถา ฯ ครั้นกิสาโคตมีภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาปแล้ว จึงได้กล่าวกะมาร ผู้มีบาปด้วยคาถาว่า เรามีบุตรตายแล้ว เหมือนความตายของบุตร ถึงที่สุดแล้ว บุรุษทั้งหลายก็มีความตายของบุตรนี้เป็นที่สุดเหมือนกัน เรา ไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้ ไม่กลัวความตายนั้นดอก ฯ ผู้มีอายุ ความเพลิดเพลินในส่วนทั้งปวง เรากำจัดแล้ว กองมืดเราทำลายแล้ว เราชนะเสนาแห่งมัจจุแล้ว ไม่มี อาสวะอยู่ ฯ ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า กิสาโคตมีภิกษุณีรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ
วิชยาสูตรที่ ๔
[๕๓๑] สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้น เวลาเช้า วิชยาภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวร ฯลฯ จึงนั่ง พักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ฯ [๕๓๒] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้วิชยาภิกษุณีบังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้า ไปหาวิชยาภิกษุณีถึงที่นั่งพัก ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะวิชยาภิกษุณีด้วยคาถาว่า เธอยังเป็นสาวมีรูปงาม และฉันก็ยังเป็นหนุ่มแน่น มาเถิด นาง เรามาอภิรมย์กันด้วยดนตรี มีองค์ห้า ฯ [๕๓๓] ลำดับนั้น วิชยาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่ใครหนอกล่าวคาถา จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ ฯ ทันใดนั้น วิชยาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่คือมารผู้มีบาป ใคร่จะให้เรา บังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อน จากสมาธิ จึงได้กล่าวคาถา ฯ ครั้นวิชยาภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาปแล้ว จึงได้กล่าวกะมารผู้มีบาป ด้วยคาถาว่า ดูกรมาร รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่ารื่นรมย์ใจ เราขอมอบให้ท่านผู้เดียว เพราะเราไม่ต้องการมัน เราอึดอัด ระอาด้วยกายเน่า อันจะแตกทำลาย เปื่อยพังไปนี้ กาม- ตัณหา เราถอนได้แล้ว ความมืดในรูปภพที่สัตว์ทั้งหลาย เข้าถึง ในอรูปภพที่สัตว์ทั้งหลายเป็นภาคี และในสมาบัติอัน สงบทั้งปวง เรากำจัดได้แล้ว ฯ ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า วิชยาภิกษุณีรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ
อุบลวรรณาสูตรที่ ๕
[๕๓๔] สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้น เวลาเช้า อุบลวรรณาภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวร ฯลฯ ได้ยืนอยู่ที่โคนต้นสาลพฤกษ์ซึ่งมีดอกบานสะพรั่ง ต้นหนึ่ง ฯ [๕๓๕] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้อุบลวรรณาภิกษุณีบังเกิดความ- *กลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้าไปหาอุบลวรรณาภิกษุณีถึงที่ที่ยืนอยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะอุบลวรรณาภิกษุณี ด้วยคาถาว่า ดูกรภิกษุณี ท่านคนเดียว เข้ามายังต้นสาลพฤกษ์ ซึ่งมีดอก บานสะพรั่งตลอดยอด แล้วยืนอยู่ที่โคนต้นสาลพฤกษ์ ก็ ฉวีวรรณของท่านไม่มีที่สอง คนทั้งหลายก็จะมาในที่นี้เช่นท่าน ท่านกลัวพวกนักเลงเพราะความเขลาหรือ ฯ [๕๓๖] ลำดับนั้น อุบลวรรณาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่ใครหนอกล่าว คาถา จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ ฯ ทันใดนั้น อุบลวรรณาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่คือมารผู้มีบาป ใคร่จะ ให้เราบังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้ เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าวคาถา ฯ ครั้นอุบลวรรณาภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาปแล้ว จึงได้กล่าวกะมารผู้- *มีบาปด้วยคาถาว่า แม้นักเลงตั้งแสนมาในที่นี้ ก็ตามเถิด เราไม่สะเทือนขน ไม่สะดุ้ง ดูกรมาร ถึงเราคนเดียว ก็ไม่กลัวท่าน ฯ เรานี้จะหายตัวหรือเข้าท้องพวกท่าน แม้จะยืนอยู่ ณ ระหว่าง ดวงตาบนดั้งจมูก ท่านจักไม่เห็นเรา ฯ เราเป็นผู้ชำนาญในจิต อิทธิบาทเราเจริญดีแล้ว เราพ้นแล้ว จากเครื่องผูกทุกชนิด เราไม่กลัวท่านดอก ท่านผู้มีอายุ ฯ ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า อุบลวรรณาภิกษุณีรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ
จาลาสูตรที่ ๖
[๕๓๗] สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้น เวลาเช้า จาลาภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไป บิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว เวลาปัจ- *ฉาภัตกลับจากบิณฑบาตแล้วเข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ครั้นถึงป่าอันธวัน แล้วจึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ฯ [๕๓๘] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้จาลาภิกษุณีบังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึง เข้าไปหาจาลาภิกษุณีถึงที่นั่งพัก ครั้นแล้วได้กล่าวกะจาลาภิกษุณีว่า ดูกรภิกษุณี ท่านไม่ชอบใจอะไรหนอ ฯ จาลาภิกษุณีตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เราไม่ชอบความเกิดเลย ฯ [๕๓๙] ม. เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงไม่ชอบความเกิดผู้เกิดมาแล้วย่อม บริโภคกาม ใครหนอให้ท่านยึดถือเรื่องนี้ อย่าเลยภิกษุณี ท่านจงชอบความเกิดขึ้น ฯ [๕๔๐] จา. ความตายย่อมมีแก่ผู้ที่เกิดมาแล้ว ผู้ที่เกิดมาแล้วย่อมพบ เห็นทุกข์ คือ การจองจำ การฆ่า ความเศร้าหมอง เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ชอบความเกิด ฯ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเป็นเครื่องก้าวล่วงความเกิด พระองค์สอนให้เราตั้งอยู่ในสัจจะ ๑- เพื่อละทุกข์ทั้งมวล ฯ สัตว์เหล่าใดเข้าถึงรูปภพ และสัตว์เหล่าใดเป็นภาคีแห่ง อรูปภพ สัตว์เหล่านั้นเมื่อยังไม่รู้นิโรธ ต้องมาสู่ภพอีก ฯ ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า จาลาภิกษุณีรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ
อุปจาลาสูตรที่ ๗
[๕๔๑] สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้น เวลาเช้า อุปจาลาภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไป บิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว เวลา ปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้วเข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ครั้นถึงป่า อันธวันแล้ว จึงนั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ฯ [๕๔๒] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้อุปจาลาภิกษุณีบังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึง เข้าไปหาอุปจาลาภิกษุณีถึงที่นั่งพัก ครั้นแล้วได้กล่าวกะอุปจาลาภิกษุณีว่า ดูกร ภิกษุณี อย่างไรหนอท่านจึงอยากจะเกิด ฯ อุปจาลาภิกษุณีตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เราไม่อยากเกิดในที่ไหนๆ เลย ฯ [๕๔๓] ม. ท่านจงตั้งจิตไว้ในพวกเทพชั้นดาวดึงส์ ชั้นยาม ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี และชั้นวสวดีเถิด ท่านจักได้เสวยความ ยินดี ฯ @ หมายเอาพระนิพพาน [๕๔๔] อุ. พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ชั้นยาม ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี และชั้นวสวดี ยังผูกพันอยู่ด้วยเครื่องผูกคือกาม จำต้อง กลับมาสู่อำนาจมารอีก โลกทั้งหมดเร่าร้อน โลกทั้งหมด คุเป็นควัน โลกทั้งหมดลุกโพลง โลกทั้งหมดสั่น สะเทือน ฯ ใจของเรายินดีแน่วในพระนิพพาน อันไม่สั่นสะเทือน อันไม่หวั่นไหว ที่ปุถุชนเสพไม่ได้ มิใช่คติของมาร ฯ ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า อุปจาลาภิกษุณีรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ
สีสุปจาลาสูตรที่ ๘
[๕๔๕] สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้น เวลาเช้า สีสุปจาลาภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไป บิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว เวลาปัจ- *ฉาภัตกลับจากบิณฑบาตแล้วเข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ครั้นถึงป่าอันธวัน จึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ฯ [๕๔๖] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปหาสีสุปจาลาภิกษุณีถึงที่นั่งพัก ครั้นแล้วได้กล่าวกะสีสุปจาลาภิกษุณีว่า ดูกรภิกษุณี ท่านชอบใจทิฐิของใคร หนอ ฯ สีสุปจาลาภิกษุณีตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เราไม่ชอบใจทิฐิของใคร เลย ฯ [๕๔๗] ม. ท่านจงใจเป็นคนโล้น ปรากฏตัวเหมือนสมณะ แต่ไฉน ท่านจึงไม่ชอบใจทิฐิ ท่านจึงประพฤติเรื่องนี้ เพราะความ งมงายดอกหรือ ฯ [๕๔๘] สี. คนเจ้าทิฐิ ภายนอกพระศาสนานี้ ย่อมจมอยู่ใน ทิฐิทั้งหลาย เราไม่ชอบใจธรรมของพวกเขา พวกเขาเป็นคน ไม่ฉลาดต่อธรรม ยังมีพระพุทธเจ้าผู้เสด็จอุบัติในศากยสกุล หาบุคคลอื่นเปรียบมิได้ ทรงครอบงำส่วนทั้งปวง ทรงบรรเทา เสียซึ่งมาร ไม่ปราชัยในที่ทุกสถาน ทรงพ้นแล้วในส่วน ทั้งปวง เป็นผู้อันตัณหาและทิฐิอาศัยไม่ได้ มีพระจักษุทรง เห็นธรรมทั้งปวง ทรงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นกรรมทุกอย่าง ทรงน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ พระผู้มีพระภาคพระองค์ นั้นเป็นศาสดาของเรา เราชอบใจคำสอนของพระองค์ท่าน ฯ ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า สีสุปจาลาภิกษุณีรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ
เสลาสูตรที่ ๙
[๕๔๙] สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้น เวลาเช้า เสลาภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไป บิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว เวลา ปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้วเข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ครั้นถึงป่า อันธวันแล้ว จึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ฯ [๕๕๐] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้เสลาภิกษุณีบังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้า ไปหาเสลาภิกษุณีถึงที่นั่งพัก ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะเสลาภิกษุณีด้วยคาถาว่า รูปนี้ ใครสร้าง ผู้สร้างรูปอยู่ที่ไหน รูปบังเกิดในที่ไหน รูปดับไปในที่ไหน ฯ [๕๕๑] ลำดับนั้น เสลาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่ใครหนอกล่าวคาถา จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ ฯ ทันใดนั้น เสลาภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่คือมารผู้มีบาป ใคร่จะให้เรา บังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อน จากสมาธิ จึงกล่าวคาถา ฯ ครั้นเสลาภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาปแล้ว จึงได้กล่าวกะมารผู้มีบาป ด้วยคาถาว่า รูปนี้ ไม่มีใครสร้าง อัตภาพนี้ ไม่มีใครก่อ รูปเกิดขึ้น เพราะอาศัยเหตุ ดับไป เพราะเหตุดับ ฯ พืชชนิดใดชนิดหนึ่งที่บุคคลหว่านลงในนา ย่อมงอกขึ้น เพราะอาศัยเหตุ ๒ ประการ คือ รสในแผ่นดิน และยาง ในพืช ฉันใด ขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ๖ เหล่านี้ ก็เกิดขึ้น เพราะอาศัยเหตุ ดับไป เพราะเหตุดับ ฉันนั้น ฯ ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า เสลาภิกษุณีรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ
วชิราสูตรที่ ๑๐
[๕๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ ครั้งนั้น เวลาเช้า วชิราภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไป บิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว เวลา ปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้วเข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ครั้นถึงป่า อันธวันแล้ว จึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ฯ [๕๕๓] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้วชิราภิกษุณีบังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้า ไปหาวชิราภิกษุณีถึงที่นั่งพัก ครั้นแล้วได้กล่าวกะวชิราภิกษุณีด้วยคาถาว่า สัตว์นี้ ใครสร้าง ผู้สร้างสัตว์อยู่ที่ไหน สัตว์บังเกิดใน ที่ไหน สัตว์ดับไปในที่ไหน ฯ [๕๕๔] ลำดับนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่ใครหนอกล่าวคาถา จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ ฯ ทันใดนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่คือมารผู้มีบาปใคร่จะให้เรา บังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อน จากสมาธิ จึงกล่าวคาถา ฯ ครั้นวชิราภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาป แล้วจึงได้กล่าวกะมารผู้มีบาป ด้วยคาถาว่า ดูกรมาร เพราะเหตุไรหนอ ความเห็นของท่านจึงหวนกลับ มาว่าสัตว์ ฯ ในกองสังขารล้วนนี้ ย่อมไม่ได้นามว่าสัตว์ ฯ เหมือนอย่างว่า เพราะคุมส่วนทั้งหลายเข้า เสียงว่ารถย่อมมี ฉันใด ฯ เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่ การสมมติว่าสัตว์ย่อมมี ฉันนั้น ฯ ความจริงทุกข์เท่านั้นย่อมเกิด ทุกข์ย่อมตั้งอยู่และเสื่อมสิ้น ไป นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มี อะไรดับ ฯ ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า วชิราภิกษุณีรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ
จบภิกษุณีสังยุต
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรในภิกขุนีสังยุตนี้มี ๑๐ สูตร คือ
อาฬวิกาสูตรที่ ๑ โสมาสูตรที่ ๒ โคตมีสูตรที่ ๓ วิชยาสูตรที่ ๔ อุบลวรรณาสูตรที่ ๕ จาลาสูตรที่ ๖ อุปจาลาสูตรที่ ๗ สีสุปจาลาสูตรที่ ๘ เสลาสูตรที่ ๙ กับวชิราสูตรครบ ๑๐ ฯ
-----------------------------------------------------
พรหมสังยุต
ปฐมวรรคที่ ๑
อายาจนสูตรที่ ๑
[๕๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ แถบฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เขตอุรุเวลาประเทศ ฯ ครั้งนั้น ความปริวิตกแห่งพระหฤทัยบังเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคผู้เสด็จ เข้าที่ลับ ทรงพักผ่อนอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมที่เราตรัสรู้แล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ก็หมู่สัตว์นี้แล ยังยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย ก็ ฐานะนี้ คือ ความเป็นปัจจัยแห่งธรรมมีสังขารเป็นต้นนี้ เป็นธรรมอาศัยกันและกัน เกิดขึ้น อันหมู่สัตว์ผู้ยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย จะพึงเห็นได้ยาก แม้ฐานะนี้ ก็เห็นได้ยาก คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอก ธรรม เป็นที่ดับ นิพพาน ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม แต่ชนเหล่าอื่นจะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรม ของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความ ลำบากของเรา ฯ อนึ่ง ได้ยินว่า คาถาอันน่าอัศจรรย์ยิ่งนักเหล่านี้ ที่พระผู้มีพระภาค ไม่เคยได้ทรงสดับมาแต่ก่อน เกิดแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคว่า บัดนี้ เราไม่ควรจะประกาศธรรม ที่เราตรัสรู้แล้วโดยยาก ธรรมนี้ เหล่าสัตว์ผู้ถูกราคะโทสะครอบงำแล้ว จะตรัสรู้ ไม่ได้ง่าย เหล่าสัตว์ผู้ยินดีแล้วด้วยความกำหนัด ถูกกองแห่ง ความมืดหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันทวนกระแส ละเอียด ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก เป็นอณู ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพิจารณาเห็นดังนี้ พระหฤทัยก็ทรงน้อมไปเพื่อ ความขวนขวายน้อย ไม่ทรงน้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม ฯ [๕๕๖] ครั้งนั้น สหัมบดีพรหม ทราบความปริวิตกแห่งพระหฤทัยของ พระผู้มีพระภาคด้วยใจแล้ว ได้มีความดำริว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย โลกจะฉิบหาย หนอ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย โลกจะพินาศหนอ เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้า ทรงน้อมพระหฤทัยไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่ทรงน้อมพระหฤทัย ไปเพื่อทรงแสดงธรรม ฯ ลำดับนั้น สหัมบดีพรหมอันตรธานไปในพรหมโลก มาปรากฏอยู่เฉพาะ พระพักตร์พระผู้มีพระภาค เหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้อยู่ หรือ พึงคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดอยู่ ฉะนั้น ฯ ครั้นแล้ว สหัมบดีพรหมกระทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้ว คุกชาณุ- *มณฑลเบื้องขวาลงที่แผ่นดิน ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค แล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมเถิด ขอพระสุคตจงทรงแสดงธรรมเถิด สัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยเป็น ปรกติก็มีอยู่ เพราะมิได้สดับย่อมเสื่อมจากธรรม สัตว์ทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมี ฯ สหัมบดีพรหม ได้กราบทูลดังนี้แล้ว ครั้นแล้วได้กราบทูลเป็นนิคมคาถา อีกว่า เมื่อก่อนธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ซึ่งศาสดาผู้มีมลทินทั้งหลายคิดแล้ว ปรากฏขึ้นในหมู่ชนชาวมคธ ขอพระองค์จงทรงเปิดประตูอมตะ เถิด ขอสัตว์ทั้งหลายจงฟังธรรมซึ่งพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจาก มลทินตรัสรู้แล้วเถิด ขอพระองค์ผู้มีพระปัญญาดี มีพระจักษุ โดยรอบ มีความโศกอันปราศจากแล้ว จงเสด็จขึ้นสู่ ปราสาทอันสำเร็จด้วยธรรม จงพิจารณาชุมชนผู้จมอยู่ใน ความโศก ถูกชาติและชราครอบงำแล้ว อุปมาเหมือนบุคคล ผู้อยู่บนยอดภูเขา อันล้วนด้วยศิลา จะพึงเห็นชุมชนโดยรอบ ฉะนั้น ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ผู้ทรงชนะสงครามแล้ว ผู้ทรงนำ พวก ผู้ไม่มีหนี้ ขอพระองค์จงเสด็จลุกขึ้นเถิด จงเสด็จ เที่ยวไปในโลกเถิด ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมเถิด ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี ฯ [๕๕๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบการเชื้อเชิญของพรหม และ ทรงอาศัยพระกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงทรงสอดส่องดูโลกด้วยพระพุทธจักษุ ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงสอดส่องดูโลกด้วยพระพุทธจักษุ ก็ได้ทรงเห็น สัตว์ทั้งหลาย บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตา มาก บางพวกมีอินทรีย์กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดี บางพวก มีอาการเลว บางพวกจะพึงสอนให้รู้ได้โดยง่าย บางพวกจะพึงสอนให้รู้ได้โดยยาก บางพวกมีปรกติเห็นโทษในปรโลกว่าเป็นภัยอยู่ ฯ ในกออุบลก็ดี ในกอปทุมก็ดี ในกอบุณฑริกก็ดี ดอกอุบลก็ดี ดอกปทุม ก็ดี ดอกบุณฑริกก็ดี บางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ อาศัยอยู่ในน้ำ จมอยู่ในน้ำ อันน้ำเลี้ยงอยู่ บางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ ตั้งอยู่ เสมอน้ำ บางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ ตั้งขึ้นพ้นน้ำ อันน้ำไม่ติดแล้ว แม้ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงสอดส่องดูโลกด้วยพระพุทธจักษุ ก็ได้ทรงเห็นสัตว์ ทั้งหลาย บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตา มาก บางพวกมีอินทรีย์กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดี บางพวก มีอาการเลว บางพวกจะพึงสอนให้รู้ได้โดยง่าย บางพวกจะพึงสอนให้รู้ได้โดยยาก บางพวกมีปรกติเห็นโทษในปรโลกว่าเป็นภัยอยู่ ฉันนั้น ครั้นทรงเห็นแล้ว จึงได้ ตรัสตอบสหัมบดีพรหมด้วยพระคาถาว่า ประตูอมตะ เราเปิดแล้วเพราะท่าน ชนผู้ฟังจงปล่อยศรัทธา มาเถิด ดูกรพรหม เราจะไม่มีความสำคัญในความลำบาก แสดงธรรมอันประณีตที่ชำนิชำนาญในหมู่มนุษย์ ฯ [๕๕๘] ลำดับนั้น สหัมบดีพรหมดำริว่า เราอันพระผู้มีพระภาคทรงทำ โอกาสเพื่อทรงแสดงธรรมแล้ว จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ
คารวสูตรที่ ๒
[๕๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ แถบฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เขตอุรุเวลาประเทศ ฯ ครั้งนั้น ความปริวิตกแห่งพระหฤทัยบังเกิดแก่พระผู้มีพระภาคผู้เสด็จเข้า ที่ลับ ทรงพักผ่อนอยู่อย่างนี้ว่า บุคคลผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง ย่อมอยู่ เป็นทุกข์ เราจะพึงสักการะ เคารพ อาศัยสมณะหรือพราหมณ์ใครผู้ใดอยู่หนอ ฯ [๕๖๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริว่า เราควรสักการะ เคารพสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้วอาศัยอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งศีลขันธ์ที่ยังไม่ บริบูรณ์ แต่ว่า เรายังไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่นที่ถึงพร้อมด้วยศีลยิ่งกว่าตน ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ซึ่งเราควรสักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่ เราควรสักการะเคารพ สมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้วอาศัยอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งสมาธิที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่ว่าเรายังไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่นที่ถึงพร้อมด้วยสมาธิยิ่งกว่าตนในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ซึ่งเราควรสักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่ เราควรสักการะเคารพสมณะ- *หรือพราหมณ์อื่นแล้วอาศัยอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่ว่า เรายังไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่นที่ถึงพร้อมด้วยปัญญายิ่งกว่าตนในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ซึ่งเราควรสักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่ เราควรสักการะเคารพสมณะ- *หรือพราหมณ์อื่นแล้วอาศัยอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งวิมุตติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่ว่าเรายังไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่น ที่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติยิ่งกว่าตน ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ซึ่งเราควรสักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่ เราควรสักการะเคารพสมณะ- *หรือพราหมณ์อื่นแล้วอาศัยอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่ยังไม่ บริบูรณ์ แต่ว่า เรายังไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่นที่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณ- *ทัสสนะ ยิ่งกว่าตน ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ซึ่งเราควรสักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่ อย่ากระนั้นเลย เราควรสักการะเคารพธรรมที่เราตรัสรู้นั้นแหละ แล้วอาศัยอยู่ ฯ [๕๖๑] ลำดับนั้น สหัมบดีพรหม ทราบความปริวิตกแห่งพระหฤทัย ของพระผู้มีพระภาคด้วยใจแล้ว ก็อันตรธานไปในพรหมโลก มาปรากฏเฉพาะ พระพักตร์พระผู้มีพระภาค เหมือนบุรุษมีกำลัง พึงเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้อยู่ หรือพึงคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดอยู่ ฉะนั้น ฯ ครั้นแล้ว สหัมบดีพรหมกระทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี ไปทางพระผู้มีพระภาค แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต เรื่องนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดได้มีมาแล้วตลอดกาลอันล่วงแล้ว แม้พระผู้มี พระภาคเหล่านั้น ก็ทรงสักการะเคารพธรรมนั่นเองแล้วอาศัยอยู่ ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดจักมีตลอดกาลไกลอันยังไม่มาถึง แม้พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น ก็จักทรงสักการะเคารพธรรมนั่นเองแล้วอาศัยอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ก็ ขอจงทรงสักการะเคารพธรรมนั่นแหละ แล้วอาศัยอยู่ ฯ [๕๖๒] สหัมบดีพรหม ได้กราบทูลดังนี้แล้ว ครั้นแล้วได้กล่าวนิคม คาถาอีกว่า พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่ล่วงไปแล้วก็ดี พระพุทธเจ้า ทั้งหลายเหล่าใดที่ยังไม่มีมาก็ดี และพระสัมพุทธเจ้าพระองค์ ใดในบัดนี้ผู้ยังความโศกของชนเป็นอันมากให้เสื่อมหายก็ดี พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทุกพระองค์ ทรงเคารพพระสัทธรรม อยู่แล้ว ยังอยู่ และจักอยู่ต่อไป ข้อนี้เป็นธรรมดาของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ กุลบุตรผู้รักตน หวังความเป็นผู้ใหญ่ เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย พึงเคารพพระสัทธรรม ฯ
พรหมเทวสูตรที่ ๓
[๕๖๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามแห่ง ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ ก็สมัยนั้นแล บุตรแห่งนางพราหมณีคนหนึ่ง ชื่อพรหมเทวะ ออก บวชในสำนักของพระผู้มีพระภาค ครั้งนั้นแล ท่านพระพรหมเทวะเป็นผู้เดียว หลีกออกแล้ว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนอันส่งไปแล้ว อยู่ไม่นานเท่าไร ก็ได้กระทำให้แจ้งประโยชน์ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตโดย ชอบต้องประสงค์อันนั้นอย่างยอดเยี่ยม เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ เพราะรู้แจ้งชัด เองในปรัตยุบันนี้แหละเข้าถึงอยู่ ท่านได้ทราบว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่ จบแล้ว กิจที่จะต้องทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกมิได้มี ก็ แหละท่านพรหมเทวะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์แล้ว ฯ [๕๖๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระพรหมเทวะ ในเวลารุ่งเช้านุ่งห่มแล้ว ถือ บาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ท่านเที่ยวบิณฑบาตในพระนคร สาวัตถีตามลำดับตรอก เข้าไปยังนิเวศน์แห่งมารดาของตนแล้ว ฯ ก็สมัยนั้นแล นางพราหมณีผู้มารดาของท่านพระพรหมเทวะถือการบูชา บิณฑะแก่พรหมมั่นคงเป็นนิตย์ ฯ ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหมคิดว่า นางพราหมณีผู้มารดาของท่าน พระพรหมเทวะนี้แล ถือการบูชาบิณฑะแก่พรหมมั่นคงเป็นนิตย์ ไฉนหนอ เราพึง เข้าไปหานางแล้วทำให้สลดใจ ฯ [๕๖๕] ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมหายไปในพรหมโลกปรากฏแล้วใน นิเวศน์ของมารดาแห่งท่านพระพรหมเทวะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึงเหยียด ออกซึ่งแขนที่คู้เข้าแล้ว หรือพึงคู้เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออกแล้ว ฉะนั้น ฯ ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหมลอยอยู่ในอากาศ ได้กล่าวกะนางพราหมณี ผู้มารดาของท่านพระพรหมเทวะด้วยคาถาทั้งหลายว่า ดูกรนางพราหมณี ท่านถือการบูชาด้วยก้อนข้าวแก่พรหมใด มั่นคงเป็นนิตย์ พรหมโลกของพรหมนั้นอยู่ไกลจากที่นี้ ดูกร นางพราหมณี ภักษาของพรหมไม่ใช่เช่นนี้ ท่านไม่รู้จักทางของ พรหม ทำไมจึงบ่นถึงพรหม ฯ ดูกรนางพราหมณี ก็ท่านพระพรหมเทวะของท่านนั้น เป็นผู้ หมดอุปธิกิเลส ถึงความเป็นอติเทพ ไม่มีกิเลสเป็นเครื่อง กังวล มีปรกติขอ ไม่เลี้ยงดูผู้อื่น ท่านพระพรหมเทวะที่เข้าสู่ เรือนของท่านเพื่อบิณฑบาต เป็นผู้สมควรแก่บิณฑะที่บุคคล พึงนำมาบูชา ถึงเวท มีตนอันอบรมแล้ว สมควรแก่ทักษิณา- ทานของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ลอยบาปเสียแล้ว อัน ตัณหาและทิฐิไม่ฉาบทาแล้ว เป็นผู้เยือกเย็นกำลังเที่ยวแสวงหา อาหารอยู่ ฯ อดีตอนาคตไม่มีแก่ท่านพระพรหมเทวะนั้น ท่านพระพรหม เทวะเป็นผู้สงบระงับ ปราศจากควัน ไม่มีทุกข์ ไม่มีความ หวัง วางอาชญาในปุถุชนผู้ยังมีความหวาดหวั่น และ พระขีณาสพผู้มั่นคงแล้ว ขอท่านพระพรหมเทวะนั้นจงบริโภค บิณฑบาตอันเลิศที่สำหรับบูชาพรหมของท่าน ฯ ท่านพระพรหมเทวะซึ่งเป็นผู้มีเสนามารไปปราศแล้ว มีจิต สงบระงับ ฝึกตนแล้ว เที่ยวไปเหมือนช้างตัวประเสริฐ ไม่ หวั่นไหว เป็นภิกษุมีศีลดี มีจิตพ้นวิเศษแล้ว ขอท่านพระ- พรหมเทวะนั้น จงบริโภคบิณฑบาตอันเลิศที่สำหรับบูชาพรหม ของท่าน ฯ ท่านจงเป็นผู้เลื่อมใสในท่านพระพรหมเทวะนั้น เป็นผู้ไม่ หวั่นไหว ตั้งทักษิณาไว้ในท่านผู้เป็นทักษิเณยยบุคคล ดูกร นางพราหมณี ท่านเห็นมุนีผู้มีโอฆะอันข้ามแล้วจงทำบุญ อัน จะนำความสุขต่อไปมาให้ ฯ ท่านจงเป็นผู้เลื่อมใสในท่าน พระพรหมเทวะนั้นเป็นผู้ไม่หวั่น ไหว ตั้งทักษิณาไว้ในท่านผู้เป็นทักษิเณยยบุคคล ดูกร นางพราหมณี ท่านเห็นมุนีผู้มีโอฆะอันข้ามแล้ว ได้ทำบุญอัน จะนำความสุขต่อไปมาให้แล้ว ฯ
พกสูตรที่ ๔
[๕๖๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ ก็สมัยนั้นแล พกพรหมได้เกิดทิฐิอันชั่วช้าเห็นปานดังนี้ว่า ฐานะแห่ง พรหมนี้เที่ยง ยั่งยืน ติดต่อกัน คงที่ มีความไม่เคลื่อนไหวเป็นธรรมดา ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ ก็แหละอุบายเป็นเครื่องออกไปอันยิ่งอย่างอื่น จากฐานะแห่งพรหมนี้ไม่มี ฯ [๕๖๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของ พกพรหมด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายไปในพระเชตวันวิหารแล้วได้ปรากฏในพรหม- *โลกนั้น เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้า หรือคู้เข้าซึ่ง แขนที่เหยียดออก ฉะนั้น ฯ พกพรหมได้เห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกลทีเดียว ครั้นแล้วได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์จงเสด็จมาเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์เสด็จมาดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ นาน เทียวแลพระองค์ได้กระทำปริยายเพื่อการเสด็จมา ณ พรหมโลกนี้ ข้าแต่พระองค์ ผู้นิรทุกข์ ก็ฐานะแห่งพรหมนี้เที่ยง ยั่งยืน ติดต่อกัน คงที่ มีความไม่เคลื่อน ไหวเป็นธรรมดา ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ ก็อุบายเป็นเครื่อง ออกไปอันยิ่งอย่างอื่นจากฐานะแห่งพรหมนี้ไม่มี ฯ [๕๖๘] เมื่อพกพรหมกล่าวเช่นนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคำนี้กะ พกพรหมว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พกพรหมนั้นถึงความโง่เขลาแล้วหนอ ท่านผู้ เจริญทั้งหลาย พกพรหมนั้นถึงความโง่เขลาแล้วหนอ พกพรหมกล่าวฐานะแห่ง พรหมที่เป็นของไม่เที่ยงเลยว่าเที่ยง กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของไม่ยั่งยืนเลยว่า ยั่งยืน กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของไม่ติดต่อกันเลยว่าติดต่อกัน กล่าวฐานะแห่ง พรหมที่เป็นของไม่คงที่เลยว่าคงที่ กล่าวฐานะแห่งพรหมที่เป็นของความเคลื่อนไหว เป็นธรรมดาทีเดียวว่า มีความไม่เคลื่อนไหวเป็นธรรมดา และกล่าวฐานะแห่ง พรหมอันเป็นที่เกิดแก่ ตาย และเป็นที่จุติและอุปบัติแห่งตนว่า ฐานะแห่งพรหมนี้ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ ก็แหละย่อมกล่าวอุบายเป็นเครื่องออก ไปอันยิ่งอย่างอื่นซึ่งมีอยู่ว่าไม่มี ดังนี้ ฯ [๕๖๙] พกพรหมทูลว่า ข้าแต่พระโคดม พวกข้าพระองค์ ๗๒ คน บังเกิดในพรหม โลกนี้เพราะบุญกรรม ยังอำนาจให้เป็นไป ล่วงชาติชราได้ แล้ว การอุปบัติในพรหมโลก ซึ่งถึงฝั่งไตรเภทนี้เป็นที่สุด แล้ว ชนมิใช่น้อยย่อมปรารถนาเป็นดังพวกข้าพระองค์ ฯ [๕๗๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพกพรหม ท่านสำคัญอายุใดว่ายาว ก็อายุนั้นสั้น ไม่ ยาวเลย ดูกรพรหม เรารู้อายุหนึ่งแสนนิรัพพุท ๑- ของท่าน ได้ดี ฯ [๕๗๑] พกพรหมทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์ตรัสว่า เราเป็นผู้มีปรกติเห็น ไม่มีที่สิ้นสุด ล่วงชาติชราและความโศกได้แล้วดังนี้ อะไร เป็นศีลวัตรเก่าแก่ของข้าพระองค์หนอ ขอพระองค์จงตรัส บอกศีลวัตรซึ่งข้าพระองค์ควรรู้แจ้งชัด ฯ [๕๗๒] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ๑. ข้อที่ท่านยังมนุษย์เป็นอันมาก ผู้ซึ่งกระหายน้ำอันแดด แผดเผาแล้ว ในฤดูร้อนให้ได้ดื่มน้ำกิน เป็นศีลวัตรเก่าแก่ ของท่าน เรายังระลึกได้อยู่ ประดุจหลับแล้วและตื่นขึ้น ฉะนั้น ฯ ๒. ข้อที่ท่านช่วยปลดเปลื้องประชุมชน ซึ่งถูกโจรจับพาไป อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา เป็นศีลวัตรเก่าแก่ของท่าน เรายังระลึก ได้อยู่ประดุจหลับแล้วและตื่นขึ้น ฉะนั้น ฯ ๓. ข้อที่ท่านข่มขี่ด้วยกำลัง แล้วช่วยปลดเปลื้องเรือซึ่งถูก นาคผู้ร้ายกาจจับไว้ในกระแสของแม่น้ำคงคา เพราะความ เอ็นดูในหมู่มนุษย์ ข้อนั้นเป็นศีลวัตรเก่าแก่ของท่าน เรายัง ระลึกได้อยู่ ประดุจหลับแล้วและตื่นขึ้น ฉะนั้น ฯ ๔. และเราได้เป็นอันเตวาสิกของท่าน นามว่ากัปปมาณพ เราได้เข้าใจท่านแล้วว่า มีความรู้ชอบ มีวัตร ข้อนั้นเป็น @๑. นิรัพพุท เป็นสังขยาซึ่งมีจำนวนสูญ ๖๘ สูญ ศีลวัตรเก่าแก่ของท่าน เรายังระลึกได้อยู่ ประดุจหลับแล้ว และตื่นขึ้น ฉะนั้น ฯ พกพรหมทูลว่า พระองค์ทรงทราบอายุนี้ของข้าพระองค์แน่แท้ แม้สิ่งอื่นๆ พระองค์ก็ทรงทราบได้ เพราะพระองค์เป็นพระพุทธเจ้า ฉะนั้น อานุภาพอันรุ่งโรจน์ของพระองค์นี้ จึงยังพรหมโลก ให้สว่างไสวตั้งอยู่ ฯ
อปราทิฏฐิสูตรที่ ๕
[๕๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล พรหมองค์หนึ่งได้เกิดทิฐิอันชั่วช้าเห็นปานดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ที่จะพึงมาในพรหมโลกนี้ได้ไม่มีเลย ฯ [๕๗๔] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของ พรหมนั้นด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายไปในพระวิหารเชตวันปรากฏแล้วในพรหมโลก นั้นเปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้ไว้ หรือพึงคู้เข้าซึ่งแขนที่ เหยียดออก ฉะนั้น ฯ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับนั่งขัดสมาธิในเวหาเบื้องบนของ พรหมนั้น เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว ฯ [๕๗๕] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้มีความคิดเช่นนี้ว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ ฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้เห็นแล้วแลซึ่งพระผู้มีพระภาคผู้ประทับนั่ง ขัดสมาธิในเวหาเบื้องบนของพรหมนั้น เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว ด้วยจักษุเพียงดัง ทิพย์อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ครั้นแล้วได้หายไปในพระวิหารเชตวัน ปรากฏ แล้วในพรหมโลกนั้น ปานดังบุรุษมีกำลังพึงเหยียดออกซึ่งแขนที่คู้เข้า หรือพึงคู้ เข้าซึ่งแขนที่เหยียดออกแล้ว ฉะนั้น ฯ ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะอาศัยทิศบูรพา นั่งขัดสมาธิ ในเวหาเบื้องบนของพรหมนั้น (แต่) ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาคเข้าเตโชธาตุกสิณ แล้ว ฯ [๕๗๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปได้มีความคิดนี้ว่า บัดนี้พระผู้ มีพระภาคประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอแล ท่านพระมหากัสสปได้เห็นแล้วแลซึ่งพระผู้ มีพระภาค ฯลฯ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ ฯลฯ ครั้นแล้วได้หายไปในพระวิหาร เชตวัน ปรากฏแล้วในพรหมโลกนั้น ปานดังบุรุษมีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น ฯ ลำดับนั้นแล ท่านพระมหากัสสปอาศัยทิศทักษิณนั่งขัดสมาธิในเวหา เบื้องบนของพรหมนั้น (แต่) ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาค เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว ฯ [๕๗๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัปปินะได้มีความคิดนี้ว่า บัดนี้พระผู้ มีพระภาคประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอแล ฯ ลำดับนั้นแล ท่านพระมหากัปปินะได้เห็นพระผู้มีพระภาค ฯลฯ ด้วย จักษุเพียงดังทิพย์ ครั้นแล้วได้หายไปในพระวิหารเชตวันปรากฏแล้วในพรหมโลก นั้น ปานดังบุรุษมีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น ฯ ลำดับนั้นแล ท่านพระมหากัปปินะอาศัยปัจฉิมทิศ นั่งขัดสมาธิในเวหา เบื้องบนพรหมนั้น (แต่) ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาค เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว ฯ [๕๗๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธได้มีความคิดนี้ว่า บัดนี้พระผู้มี พระภาคประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอแล ท่านพระอนุรุทธได้เห็นแล้วแลซึ่งพระผู้มี พระภาค ฯลฯ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ ครั้นแล้วได้หายไปในพระวิหารเชตวัน ปรากฏ แล้วในพรหมโลกนั้น ปานดังบุรุษมีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น ฯ ลำดับนั้นแล ท่านพระอนุรุทธ อาศัยทิศอุดรนั่งขัดสมาธิในวิเวหาเบื้อง บนของพรหมนั้น (แต่) ต่ำกว่าพระผู้มีพระภาค เข้าเตโชธาตุกสิณแล้ว ฯ [๕๗๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะพรหมด้วย คาถาว่า ผู้มีอายุ ทิฐิในก่อนของท่าน แม้ในวันนี้ก็ยังมีแก่ท่านหรือ ท่านเห็นพระผู้มีพระภาคผู้เป็นไปล่วงวิเศษ ผู้เป็นเบื้องหน้า ของสัตว์ในพรหมโลกหรือ ฯ [๕๘๐] พรหมนั้นตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ทิฐิในเก่าก่อน ของข้าพเจ้ามิได้มีแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าย่อมเห็นพระผู้มี พระภาคผู้เป็นไปล่วงวิเศษ ผู้เป็นเบื้องหน้าของสัตว์ในพรหม โลก ไฉนในวันนี้ ข้าพเจ้าจะพึงกล่าวว่า "เราเป็นผู้เที่ยง เป็นผู้ติดต่อกัน" ดังนี้เล่า ฯ [๕๘๑] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคยังพรหมนั้นให้สลดใจแล้ว ได้หาย ไปในพรหมโลกนั้น ปรากฏแล้วในพระวิหารเชตวันปานดังบุรุษมีกำลังพึงเหยียด ออกซึ่งแขนที่คู้เข้า หรือพึงคู้เข้าซึ่งแขนที่ได้เหยียดออกแล้ว ฉะนั้น ฯ ลำดับนั้นแล พรหมได้เรียกพรหมปาริสัชชะ ๑- องค์หนึ่งมาว่า แน่ะท่านผู้ นิรทุกข์ ท่านจงมา ท่านจงเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว จงกล่าวกะท่านพระมหาโมคคัลลานะอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ สาวกทั้งหลาย ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น แม้เหล่าอื่นซึ่งมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก เหมือน กับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระกัสสป ท่านพระกัปปินะและท่านพระ- *อนุรุทธะผู้เจริญ ก็ยังมีอยู่หรือหนอแล ฯ พรหมปาริสัชชะนั้นรับคำของพรหมนั้นว่า อย่างนั้นท่านผู้นิรทุกข์ แล้ว หายไปในพรหมโลกนั้น ปรากฏแล้วข้างหน้าท่านพระมหาโมคคัลลานะ ปานดัง บุรุษมีกำลัง ฯลฯ ฉะนั้น ฯ @๑. คือพรหมสำหรับใช้ของพวกพรหม เพราะแม้พวกพรหมก็มีพรหมไว้รับใช้เหมือน @พระเถระมีภิกษุหนุ่มๆ ไว้ช่วยถือบริขาร ฉะนั้น [๕๘๒] ครั้งนั้นแล พรหมปาริสัชชะนั้น อภิวาทท่านพระมหาโมค- *คัลลานะแล้ว ได้ยืนอยู่ในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พรหมปาริสัชชะนั้นยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่าน พระมหาโมคคัลลานะว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นแม้เหล่าอื่นซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากเหมือนกับท่านพระมหาโมค- *คัลลานะ ท่านพระกัสสป ท่านพระกัปปินะ และท่านพระอนุรุทธะก็ยังมีอยู่ หรือหนอ ฯ [๕๘๓] ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะพรหม ปาริสัชชะด้วยคาถาว่า สาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้วิชชา ๓ บรรลุอิทธิ วิธีญาณ และฉลาดในเจโตปริยญาณ หมดอาสวะ ไกลจาก กิเลส มีอยู่มาก ดังนี้ ฯ [๕๘๔] ลำดับนั้นแล พรหมปาริสัชชะนั้นชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของ ท่านมหาโมคคัลลานะแล้ว เข้าไปหาพรหมนั้นถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้ กะพรหมนั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ พระมหาโมคคัลลานะกล่าวเช่นนี้ว่า สาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้วิชชา ๓ บรรลุอิทธิ วิธีญาณ และฉลาดในเจโตปริยญาณ หมดอาสวะ ไกลจาก กิเลส มีอยู่มาก ดังนี้ ฯ [๕๘๕] พรหมปาริสัชชะได้กล่าวคำนี้แล้ว พรหมมีใจยินดีชื่นชมภาษิต ของพรหมปาริสัชชะนั้นแล ฯ
ปมาทสูตรที่ ๖
[๕๘๖] สาวัตถีนิทาน ฯ ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ประทับพักกลางวัน หลีกเร้นอยู่ ฯ ครั้งนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหม และสุทธาวาสปัจเจกพรหมเข้าไป ใกล้ที่ประทับของพระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วได้ยืนพิงบานประตูคนละข้าง ฯ ลำดับนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหมได้กล่าวกะสุทธาวาสปัจเจกพรหมว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ไม่ใช่กาลอันควรที่จะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคก่อน พระผู้มี พระภาคทรงประทับพักกลางวันหลีกเร้นอยู่ ก็พรหมโลกโน้นบริบูรณ์และเบิกบาน แล้ว แต่พรหมในพรหมโลกนั้น ย่อมอยู่ด้วยความประมาท แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ มาไปด้วยกัน เราทั้งหลายจักเข้าไปยังพรหมโลกนั้น ครั้นแล้วพึงยังพรหมนั้นให้ สลดใจ สุทธาวาสปัจเจกพรหมได้รับคำของสุพรหมปัจเจกพรหมแล้ว ฯ ครั้งนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหมและสุทธาวาสปัจเจกพรหม ได้หายไป จากเบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค ปรากฏแล้วในพรหมโลกนั้น ปานดังบุรุษมี กำลัง ฯลฯ ฉะนั้น ฯ พรหมนั้นได้เห็นแล้วแลซึ่งพรหมทั้งหลายเหล่านั้น ผู้มาอยู่แต่ที่ไกลเทียว ครั้นแล้ว ได้กล่าวคำนี้กะพรหมเหล่านั้นว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เชิญเถิด พวกท่านมากันแต่ที่ไหนหนอ ฯ พรหมเหล่านั้นกล่าวว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ พวกเรามาแต่สำนักของ พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แน่ะท่านผู้- *นิรทุกข์ ก็ท่านจะไปสู่ที่บำรุงของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้เป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าบ้างหรือ ฯ [๕๘๗] เมื่อพรหมเหล่านั้นกล่าวแล้วเช่นนี้แล พรหมนั้นอดกลั้นคำนั้น ไม่ได้ จึงนิรมิตตนเป็นพันตน แล้วได้กล่าวคำนี้กะสุพรหมปัจเจกพรหมว่า ฯ "แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเห็นอิทธานุภาพเห็นปานดังนี้ของเราหรือไม่" ฯ สุพรหมปัจเจกพรหมกล่าวว่า "แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ เราเห็นอยู่แลซึ่ง อิทธานุภาพเห็นปานดั่งนี้ของท่าน" ฯ พรหมนั้นกล่าวว่า "แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ เรานั้นแลเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ จักไปสู่ที่บำรุงของสมณะหรือพราหมณ์อื่นทำไม" ฯ [๕๘๘] ลำดับนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหมนิรมิตตนเป็นสองพันตน แล้วได้กล่าวคำนี้กะพรหมว่า "แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเห็นอิทธานุภาพ เห็นปานดังนี้ของเราหรือไม่" ฯ พรหมนั้นกล่าวว่า "แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ เราเห็นอยู่แลซึ่งอิทธานุภาพ เห็นปานดั่งนี้ของท่าน ฯ สุพรหมปัจเจกพรหมกล่าวว่า "แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นเท่านั้นเป็นผู้มีฤทธิ์มากกว่า และมีอานุภาพใหญ่กว่าท่านและเราด้วย ฯ "แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ท่านพึงไปสู่ที่บำรุงของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า" ฯ [๕๘๙] ครั้งนั้นแล พรหมนั้นได้กล่าวกะสุพรหมปัจเจกพรหมด้วย- *คาถาว่า "แน่ะพรหม ครุฑ ๓๐๐ หงส์ ๔๐๐ เหยี่ยวตะไกร ๑- ๕๐๐ และวิมานของเราผู้มีฌานนี้นั้นย่อมรุ่งโรจน์ส่องสว่างอยู่ในทิศ อุดร" ฯ [๕๙๐] สุพรหมปัจเจกพรหมกล่าวว่า "วิมานของท่านนั้นถึงจะรุ่งโรจน์ส่องสว่างอยู่ในทิศอุดรก็จริง ถึงเช่นนั้น เพราะเห็นโทษในรูป [และ] เพราะเห็นรูปอันหวั่นไหวด้วยความหนาวเป็นต้นอยู่ เป็นนิจ ฉะนั้นพระศาสดาผู้มีเมธาดีจึงไม่ยินดีในรูป" [๕๙๑] ครั้งนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหมและสุทธาวาสปัจเจกพรหม ยังพรหมนั้นให้สลดใจแล้วหายไปในที่นั้นเอง ฯ ก็พรหมนั้น โดยสมัยต่อมาได้ไปสู่ที่บำรุงของพระผู้มีพระภาคผู้เป็น- *พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วแล ฯ @๑. พยคฺฆีนิสา น่าจะแปลว่า มฤค มีรูปคล้ายพยัคฆ์ (ตามอรรถกถา) ที่อ้างถึง @สัตว์เหล่านี้ น่าจะเป็นรูปสัตว์ประดับวิมาน หรือจะมีสัตว์เหล่านั้นห้อมล้อมเป็น @บริวารอยู่ ฯ
ปฐมโกกาลิกสูตรที่ ๗
[๕๙๒] สาวัตถีนิทาน ฯ ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงประทับพักกลางวันหลีกเร้นอยู่แล้ว ฯ ครั้งนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหมและสุทธาวาสปัจเจกพรหมเข้าไปใกล้ ที่ประทับของพระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วได้ยืนพิงบานประตูคนละข้าง ฯ [๕๙๓] ลำดับนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหมปรารภพระโกกาลิกภิกษุ ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า "ใครผู้มีปัญญาในโลกนี้ จะพึงกำหนดวัดซึ่งพระขีณาสพ ผู้มีคุณอันใครๆ ประมาณไม่ได้ เราเห็นว่าผู้นั้นไม่มีธุตธรรม เป็นปุถุชน วัดอยู่ซึ่งพระขีณาสพผู้มีคุณ อันใครๆ ประมาณ มิได้" ฯ
ติสสกสูตรที่ ๘
[๕๙๔] สาวัตถีนิทาน ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงประทับพักกลางวันหลีกเร้นอยู่ แล้ว ฯ ครั้งนั้นแล สุพรหมปัจเจกพรหมและสุทธาวาสปัจเจกพรหมเข้าไปใกล้ ที่ประทับของพระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วได้ยืนพิงบานประตูคนละข้าง ฯ [๕๙๕] ลำดับนั้นแล สุทธาวาสปัจเจกพรหมปรารภกตโมรกติสสกภิกษุ ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า ใครผู้มีปัญญาในโลกนี้จะพึงกำหนดวัดซึ่งพระขีณาสพผู้มีคุณ อันใครๆ ประมาณไม่ได้ เราเห็นว่าผู้นั้นไม่มีธุตธรรม เป็นคนไม่มีปัญญา วัดอยู่ซึ่งพระขีณาสพผู้มีคุณอันใครๆ ประมาณมิได้
ตุทุพรหมสูตรที่ ๙
[๕๙๖] สาวัตถีนิทาน ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล พระโกกาลิกภิกษุ เป็นผู้อาพาธ ถึงความลำบาก เป็นไข้หนัก ฯ ครั้งนั้นแล ตุทุปัจเจกพรหม เมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้วมีรัศมี อันงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปหาพระโกกาลิกภิกษุจนถึง ที่อยู่ ครั้นแล้วได้ยืนในเวหาส กล่าวคำนี้กะพระโกกาลิกภิกษุว่า "ข้าแต่ท่านโกกาลิก ท่านจงทำจิตให้เลื่อมใสในพระสารีบุตรและ พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก" ฯ พระโกกาลิกภิกษุถามว่า "ผู้มีอายุ ท่านเป็นใคร" ฯ ตุทุปัจเจกพรหมตอบว่า "เราคือตุทุปัจเจกพรหม" ฯ พระโกกาลิกภิกษุกล่าวว่า "ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท่าน แล้วว่าเป็นพระอนาคามี มิใช่หรือ ไฉนเล่า ท่านจึงยังมาเที่ยวอยู่ในที่นี้ จงเห็น เถิดว่า ก็นี่เป็นความผิดของท่านเพียงไร" ฯ [๕๙๗] ตุทุปัจเจกพรหมได้กล่าวว่า ชนพาลเมื่อกล่าวคำเป็นทุพภาษิต ชื่อว่าย่อมตัดตนด้วย ศัสตราใด ก็ศัสตรานั้นย่อมเกิดในปากของบุรุษผู้เกิดแล้ว ฯ ผู้ใดสรรเสริญผู้ที่ควรถูกติ หรือติผู้ที่ควรได้รับความสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าสั่งสมโทษด้วยปาก เพราะโทษนั้น เขาย่อมไม่ ประสบความสุข ฯ ความปราชัยด้วยทรัพย์ ในเพราะการพนันทั้งหลาย พร้อม ด้วยสิ่งของของตนทั้งหมดก็ดี พร้อมด้วยตนก็ดี ก็เป็นโทษ เพียงเล็กน้อย ฯ บุคคลใดทำใจให้ประทุษร้ายในท่านผู้ปฏิบัติดีทั้งหลาย ความ ประทุษร้ายแห่งใจของบุคคลนั้นเป็นโทษใหญ่กว่า ฯ บุคคลตั้งวาจาและใจอันลามกไว้ เป็นผู้มักติเตียนพระอริยเจ้า ย่อมเข้าถึงนรก ซึ่งมีปริมาณแห่งอายุถึงแสนสามสิบหก นิรัพพุท กัปห้าอัพพุท ๑-
ทุติยโกกาลิกสูตรที่ ๑๐
[๕๙๘] สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้นแล พระโกกาลิกภิกษุเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ พระโกกาลิกภิกษุนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กราบทูลคำนี้ กะพระผู้มีพระภาคว่า "พระเจ้าข้า พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะมีความปรารถนาลามก ไปแล้วสู่อำนาจแห่งความปรารถนาอันลามก" ฯ [๕๙๙] เมื่อพระโกกาลิกภิกษุกล่าวเช่นนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัส คำนี้กะพระโกกาลิกภิกษุว่า "โกกาลิก ก็เธออย่าได้กล่าวเช่นนี้ โกกาลิก ก็เธออย่าได้กล่าวเช่นนี้ โกกาลิก เธอจงทำจิตให้เลื่อมใสในภิกษุชื่อว่าสารีบุตรและโมคคัลลานะ ภิกษุชื่อ ว่าสารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก" ฯ แม้ครั้งที่สองแล พระโกกาลิกภิกษุก็ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า "พระเจ้าข้า บุคคลผู้มีวาจาควรเชื่อได้ควรไว้ใจได้ของข้าพระองค์ จะมีอยู่ก็จริง ถึงเช่นนั้นแล พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะก็ยังเป็นผู้ปรารถนา ลามก ไปแล้วสู่อำนาจแห่งความปรารถนาลามก" ฯ แม้ครั้งที่สองแล พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสคำนี้กะพระโกกาลิกภิกษุว่า @๑. อัพพุท เป็นสังขยา ซึ่งมีจำนวนสูญ ๖๑ สูญ "โกกาลิก ก็เธออย่าได้กล่าวเช่นนี้ โกกาลิก ก็เธออย่าได้กล่าวเช่นนี้ โกกาลิก เธอจงทำจิตให้เลื่อมใสในภิกษุชื่อว่าสารีบุตรและโมคคัลลานะ ภิกษุ ชื่อว่าสารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก" ฯ แม้ครั้งที่สามแล พระโกกาลิกภิกษุก็ทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคว่า "ฯลฯ ไปแล้วสู่อำนาจแห่งความปรารถนาอันลามก" ฯ แม้ครั้งที่สามแล พระผู้มีพระภาคก็ตรัสคำนี้กะพระโกกาลิกภิกษุว่า "ฯลฯ ภิกษุชื่อว่าสารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก" ฯ [๖๐๐] ลำดับนั้นแล พระโกกาลิกภิกษุลุกจากอาสนะถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณหลีกไปแล้ว ฯ ก็เมื่อพระโกกาลิกภิกษุหลีกไปแล้วไม่นาน ต่อมทั้งหลายขนาดเมล็ด พรรณผักกาดได้ผุดขึ้นทั่วกายของเธอ ต่อมเหล่านั้นได้โตขึ้นเป็นขนาดถั่วเขียว แล้วก็โตขึ้นเป็นขนาดถั่วดำ แล้วก็โตขึ้นเป็นขนาดเมล็ดพุดซา แล้วก็โตขึ้นเป็น ขนาดลูกพุดซา แล้วก็โตขึ้นเป็นขนาดผลมะขามป้อม แล้วก็โตขึ้นเป็นขนาด ผลมะตูมอ่อน แล้วก็โตขึ้นเป็นขนาดผลมะตูม ต่อจากนั้นก็แตกทั่ว แล้วหนอง และเลือดหลั่งไหลออกแล้ว ฯ ครั้งนั้นแล พระโกกาลิกภิกษุได้กระทำกาละแล้ว เพราะอาพาธอันนั้น เอง ครั้นกระทำกาละแล้วก็เข้าถึงปทุมนรก ๑- เพราะจิตอาฆาตในพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ฯ [๖๐๑] ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหม เมื่อราตรีปฐมยามล่วงแล้ว มีรัศมีงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่- *ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ฯ ท้าวสหัมบดีพรหมยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้ทูลคำนี้ กะพระผู้มีพระภาคว่า @๑. ปทุมนรก เป็นส่วนหนึ่งแห่งมหานรกอเวจี ผู้ที่เกิดในมหานรกอเวจี @ส่วนนี้จะต้องหมกไหม้อยู่สิ้นกาลปทุมหนึ่ง ปทุมนั้นเป็นสังขยาซึ่งมีจำนวนสูญ ๑๒๔ @สูญ พระเจ้าข้า พระโกกาลิกภิกษุได้กระทำกาละแล้ว และเข้าถึงแล้ว ซึ่งปทุมนรก เพราะจิตอาฆาตในพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ฯ ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวคำนี้แล้ว ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มี พระภาค กระทำประทักษิณแล้วหายไปในที่นั้นแล ฯ [๖๐๒] ครั้นล่วงราตรีนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย มาว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ท้าวสหัมบดีพรหมเมื่อราตรีล่วงปฐมยามไปแล้ว มีรัศมีงามยิ่งนัก ยังวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปหาเราถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ไหว้เราแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหมยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วแล ได้กล่าวคำนี้กะเราว่าพระเจ้าข้า พระโกกาลิกภิกษุได้กระทำกาละแล้ว และเข้าถึงแล้วซึ่งปทุมนรก เพราะจิตอาฆาตในพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวคำนี้แล้ว ครั้นแล้ว ไหว้เรากระทำประทักษิณ แล้วหายไปในที่นั้นเอง ฯ [๖๐๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเช่นนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลคำนี้ กะพระผู้มีพระภาคว่า "พระเจ้าข้า ประมาณแห่งอายุในปทุมนรกนานเท่าไรหนอ" ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ดูกรภิกษุ ประมาณแห่งอายุในปทุมนรก นานแล อันใครๆ ไม่กระทำได้โดยง่าย เพื่ออันนับว่าเท่านี้ปี หรือว่าเท่านี้ ร้อยปี หรือว่าเท่านี้พันปี หรือว่าเท่านี้แสนปี" ฯ ภิกษุนั้นทูลถามว่า พระเจ้าข้า พระองค์อาจที่จะทรงกระทำอุปมา ได้หรือ ฯ [๖๐๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ดูกรภิกษุ เราอาจอยู่" แล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนเกวียนบรรทุกงาแห่งชาวโกศลซึ่งบรรทุกงาได้ ๒๐ ขารี ๑- บุรุษพึงเก็บงาขึ้นจากเกวียนนั้นโดยล่วงร้อยปีๆ ต่อเมล็ดหนึ่งๆ ฯ @๑. ๒๐ ขารีเท่า ๑ เกวียน คือ ๔ แล่งโดยแล่งที่เป็นของชาวมคธ เป็นหนึ่งแล่งใน @แคว้นโกศล ๔ แล่งโดยแล่งนั้นเป็นหนึ่งอาฬหก ๔ อาฬหกเป็นหนึ่งทะนาน ๔ ทะนาน @เป็นหนึ่งมาฌิกา ๔ มานิกาเป็นหนึ่งขารี ๒๐ ขารีเป็นหนึ่งเกวียน "ดูกรภิกษุ เกวียนบรรทุกงาแห่งชาวโกศลซึ่งบรรทุกงาได้ ๒๐ ขารีนั้น พึงถึงความสิ้นไปหมดไป เพราะความเพียรนี้เร็วกว่า ส่วนอัพพุทนรกหนึ่งยังไม่ ถึงความสิ้นหมดไปเลย" ฯ "ดูกรภิกษุ ๒๐ อัพพุทนรกเป็นหนึ่งนิรัพพุทนรก ๒๐ นิรัพพุทนรกเป็น หนึ่งอพพนรก ๒๐ อพพนรกเป็นหนึ่งอฏฏนรก ดูกรภิกษุ ๒๐ อฏฏนรกเป็น หนึ่งอหหนรก ๒๐ อหหนรกเป็นหนึ่งกุมุทนรก ๒๐ กุมุทนรกเป็นหนึ่งโสคันธิก นรก ดูกรภิกษุ ๒๐ โสคันธิกนรกเป็นหนึ่งอุปปลกนรก ๒๐ อุปปลกนรกเป็น หนึ่งปุณฑริกนรก ๒๐ ปุณฑริกนรกเป็นหนึ่งปทุมนรก ดูกรภิกษุ ก็ภิกษุโกกาลิก เข้าถึงปทุมนรกแล้วแล เพราะจิตอาฆาตในภิกษุ ชื่อว่าสารีบุตรและโมคคัลลานะ" ฯ [๖๐๕] พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ชนพาลเมื่อกล่าวคำเป็นทุพภาษิตชื่อว่าย่อมตัดตนด้วยศัสตรา ใดก็ศัสตรานั้นย่อมเกิดในปากของบุรุษผู้เกิดแล้ว ฯ ผู้ใดสรรเสริญผู้ที่ควรถูกติ หรือติผู้ที่ควรได้รับความสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าสั่งสมโทษด้วยปาก เพราะโทษนั้น เขาย่อมไม่ ประสบความสุข ฯ ความปราชัยด้วยทรัพย์ในเพราะการพนันทั้งหลาย พร้อมด้วย สิ่งของๆ ตนทั้งหมดก็ดี พร้อมด้วยตนก็ดี ก็เป็นโทษเพียง เล็กน้อยๆ ฯ บุคคลใดทำใจให้ประทุษร้ายในท่านผู้ปฏิบัติดีทั้งหลาย ความ ประทุษร้ายแห่งใจของบุคคลนั้นเป็นโทษใหญ่กว่า ฯ บุคคลตั้งวาจาและใจอันลามกไว้ เป็นผู้มักติเตียนพระอริยเจ้า ย่อมเข้าถึงนรกซึ่งมีปริมาณ แห่งอายุถึงแสนสามสิบหกนิรัพ- พุท กับห้าอัพพุทะ ฯ
จบวรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรในปฐมวรรคนี้ มี ๑๐ สูตร คือ อายาจนสูตรที่ ๑ คารวสูตร ที่ ๒ พรหมเทวสูตรที่ ๓ พกพรหมสูตรที่ ๔ อปราทิฏฐิสูตรที่ ๕ ปมาทสูตรที่ ๖ โกกาลิกสูตรที่ ๗ ติสสกสูตรที่ ๘ ตุทุพรหมสูตรที่ ๙ อปรโกกาลิกสูตรที่ ๑๐ ฯ
-----------------------------------------------------
ทุติยวรรคที่ ๒
สนังกุมารสูตรที่ ๑
[๖๐๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสัปปินี เขตพระนคร ราชคฤห์ ฯ ครั้งนั้นแล สนังกุมารพรหม เมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้วมีรัศมีอัน งดงามยิ่ง ยังฝั่งแม่น้ำสัปปินีทั้งสิ้นให้สว่างแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ยังที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ฯ [๖๐๗] สนังกุมารพรหม ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้ภาษิต คาถานี้ในสำนักแห่งพระผู้มีพระภาคว่า กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่ชนผู้รังเกียจด้วยโคตร แต่ ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ประเสริฐที่สุดใน เทวดาและมนุษย์ ฯ [๖๐๘] สนังกุมารพรหมได้กราบทูลคำนี้แล้ว พระศาสดาได้ทรงพอ พระทัยแล้ว ฯ ครั้งนั้นแล สนังกุมารพรหมทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัยต่อเรา ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ
เทวทัตตสูตรที่ ๒
[๖๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ ในเมื่อพระเทวทัตต์หลีกไปแล้วไม่นาน ฯ ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหม เมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว มีรัศมี อันงดงามยิ่ง ยังภูเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้นให้สว่างแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๖๑๐] ท้าวสหัมบดีพรหมยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วปรารภพระ เทวทัตต์ ได้ภาษิตคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่ ขุยอ้อย่อม ฆ่าต้นอ้อ สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้า อัสดร ฉะนั้น ฯ
อันธกวินทสูตรที่ ๓
[๖๑๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในอันธกวินทคาม ใน แคว้นมคธ ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับนั่งอยู่ในที่แจ้งในราตรีอันมืด และฝนกำลังตกประปรายอยู่ ฯ ลำดับนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหม เมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว มีรัศมี อันงดงามยิ่ง ยังอันธกวินทคามทั้งสิ้นให้สว่างแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ฯ [๖๑๒] ท้าวสหัมบดีพรหมยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ภาษิต คาถาเหล่านี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ภิกษุพึงเสพที่นอนและที่นั่งอันสงัด พึงประพฤติเพื่อความ หลุดพ้นจากสัญโญชน์ ถ้าว่าภิกษุไม่พึงได้ความยินดีในที่นั้น ไซร้ ก็พึงเป็นผู้มีตนอันรักษาแล้ว มีสติ พึงอยู่ในหมู่ภิกษุ ผู้เที่ยวไปอยู่จากตระกูลสู่ตระกูล เพื่อบิณฑบาต มีอินทรีย์ อันคุ้มครองแล้ว มีปัญญารักษาตน มีสติ พึงเสพที่นอน และที่นั่งอันสงัด ภิกษุพ้นแล้วจากภัย น้อมไปแล้วในธรรม อันไม่มีภัย ปราศจากความสยดสยอง นั่งอยู่แล้วในที่มีสัตว์ เลื้อยคลาน อันน่ากลัว สายฟ้าฉวัดเฉวียน ฝนตกในราตรี อันมืด ก็ข้าพระองค์ไม่อาจกำหนดนับในใจของข้าพระองค์ ได้เลยว่า เหตุนี้ข้าพระองค์เคยเห็นแล้วแน่ ข้าพระองค์ ไม่กล่าวถึงเหตุนี้ว่าเป็นอย่างนี้ในพรหมจรรย์ (คือธรรม เทศนา) คราวหนึ่งเกิดมีพระขีณาสพผู้ละความตายได้มีจำนวน พัน พระเสขะมากกว่าห้าร้อย และพระเสขะทั้งสิบ ทั้งร้อย ทั้งหมดถึงกระแสมรรคแล้ว ไม่ไปสู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้เป็นผู้มีส่วนบุญดังนี้ เพราะกลัวมุสาวาท ฯ
อรุณวตีสูตรที่ ๔
[๖๑๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ฯ ในที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ [๖๑๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคำนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมี มาแล้ว มีพระราชาพระนามว่า "อรุณวา" ราชธานีของพระเจ้าอรุณวามีนามว่า "อรุณวตี" พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระนามว่าสิขี ทรงเข้าไปอาศัย ราชธานีอรุณวตีประทับอยู่ ฯ ก็พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระนามว่าสิขี ได้มีคู่พระสาวก นามว่าพระอภิภูและพระสัมภวะ เป็นคู่พระสาวกที่เจริญเลิศ ฯ [๖๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา สัมพุทธพระนามว่าสิขี ตรัสเรียกภิกษุนามว่าอภิภูมาว่า ดูกรพราหมณ์ มาเถิด เราจักไปพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่งชั่วกาล กว่าจะถึงเวลาฉัน ฯ ภิกษุอภิภูทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธ พระนามว่าสิขีแล้ว ฯ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระนามว่าสิขี และ ภิกษุอภิภูได้หายไปจากอรุณวตีราชธานี ปรากฏในพรหมโลกนั้น เหมือนอย่างบุรุษ ผู้มีกำลังเหยียดแขนที่งอเข้ามาแล้วออกไป หรืองอแขนที่เหยียดออกไปแล้วเข้ามา ฉะนั้น ฯ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี ตรัสกะภิกษุอภิภูว่า ดูกรพราหมณ์ ธรรมีกถาจงแจ่มแจ้งแก่พรหม พรหมบริษัท และพรหมปาริสัชชะทั้งหลายเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอภิภูรับพระดำรัสของ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระนามว่าสิขีแล้ว แล้วยังพรหม พรหม บริษัท และพรหมปาริสัชชะทั้งหลาย ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ รื่นเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ฯ [๖๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าในกาลนั้น พรหม พรหมบริษัท และพรหมปาริสัชชะทั้งหลาย ยกโทษติเตียนโพนทะนาว่า แน่ะท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาเลย ก็เมื่อพระศาสดาประทับอยู่เฉพาะหน้า เหตุไฉน พระสาวกจึงแสดงธรรม ฯ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระนามว่าสิขี ตรัส เรียกภิกษุอภิภูมาว่า ดูกรพราหมณ์ พรหม พรหมบริษัท และพรหมปาริสัชชะ เหล่านั้นติเตียนว่า แน่ะท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาเลย ก็เมื่อพระ ศาสดาประทับอยู่เฉพาะหน้า เหตุไฉนพระสาวกจึงแสดงธรรม ดูกรพราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้พรหม พรหมบริษัท และพรหมปาริสัชชะทั้งหลายหลากใจ ยิ่งขึ้นกว่าประมาณ ฯ ภิกษุภิอภูทูลรับพระดำรัส ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระ นามว่าสิขีแล้ว มีกายปรากฏแสดงธรรมบ้าง มีกายไม่ปรากฏแสดงธรรมบ้าง มีกาย ปรากฏกึ่งหนึ่งตอนล่าง ไม่ปรากฏกึ่งหนึ่งตอนบนแสดงธรรมบ้าง มีกายปรากฏ กึ่งหนึ่งตอนบน ไม่ปรากฏ กึ่งหนึ่งตอนล่างแสดงธรรมบ้าง ฯ [๖๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ในกาลนั้น พรหม พรหมบริษัท และพรหมปาริสัชชะทั้งหลาย ได้มีจิตพิศวงเกิดแล้วว่า น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย มีมาเลย ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ความที่สมณะผู้เป็นมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ภิกษุอภิภูได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา สัมพุทธพระนามว่าสิขีว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ย่อมทราบ ข้าพระองค์เป็นผู้กล่าว วาจาเห็นปานนี้ ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราอยู่ที่พรหมโลก สามารถยังหมื่นโลกธาตุให้รู้แจ่มแจ้งด้วยเสียงได้ ฯ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขีตรัสว่า ดูกร พราหมณ์ เป็นกาลของเธอที่เธอยืนอยู่ที่พรหมโลก พึงยังหมื่นโลกธาตุให้รู้แจ่ม แจ้งด้วยเสียงได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอภิภูทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธพระนามว่าสิขีว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า ดังนี้แล้ว ยืนอยู่ใน พรหมโลก ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ว่า ท่านทั้งหลายจงริเริ่ม จงก้าวหน้า จงประกอบ (ความเพียร) ในพระพุทธศาสนา จงกำจัดเสนาแห่งมัจจุเหมือนช้างกำจัด เรือนไม้อ้อ ฉะนั้น ผู้ใดจักไม่ประมาทในพระธรรมวินัยนี้ อยู่ ผู้นั้นจักละสงสารคือชาติ แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ฯ [๖๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา สัมพุทธพระนามว่าสิขี และภิกษุอภิภูยังพรหม พรหมบริษัท และพรหมปาริสัชชะ ทั้งหลายให้หลากใจแล้ว ได้หายไปจากพรหมโลกนั้น (มา) ปรากฏในอรุณวตี ราชธานี เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่งอเข้ามาแล้วออกไป หรืองอแขนที่ เหยียดออกไปแล้วเข้ามาฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธพระนามว่าสิขี ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อภิกษุอภิภูยืนอยู่ในพรหมโลก กล่าวคาถาทั้งหลายอยู่ เธอทั้งหลาย ได้ยินหรือไม่ ฯ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เมื่อภิกษุอภิภูยืนอยู่ในพรหมโลก กล่าวคาถา ทั้งหลายอยู่ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ยินแล้ว พระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระนามว่าสิขี ตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุอภิภูยืนอยู่ในพรหมโลก กล่าวคาถาทั้งหลายอยู่ เธอทั้งหลาย ได้ยินว่าอย่างไร ฯ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า พระเจ้าข้า เมื่อภิกษุอภิภูยืนอยู่ในพรหมโลก กล่าวคาถาทั้งหลายอยู่ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ยินอย่างนี้ว่า "ท่านทั้งหลายจงริเริ่ม จงก้าวหน้า จงประกอบ (ความเพียร) ในพระพุทธศาสนา จงกำจัดเสนาแห่งมัจจุเหมือนช้างกำจัด เรือนไม้อ้อ ฉะนั้น ผู้ใดจักไม่ประมาทในพระธรรมวินัยนี้ อยู่ ผู้นั้นจักละสงสารคือชาติ แล้วจักกระทำที่สุดทุกข์ได้ พระเจ้าข้า" ฯ เมื่อภิกษุอภิภูยืนอยู่ในพรหมโลกกล่าวคาถาทั้งหลายอยู่ ข้าพระองค์ ทั้งหลายได้ยินแล้วอย่างนี้ ฯ [๖๑๙] พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระนามว่าสิขีตรัสว่า ดีละ ดีละ ภิกษุทั้งหลาย ดีแท้ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอภิภูยืนอยู่ในพรหมโลก กล่าว คาถาทั้งหลายอยู่ เธอทั้งหลายได้ยินแล้ว ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นมีใจ ยินดีชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ดังนี้แล ฯ
ปรินิพพานสูตรที่ ๕
[๖๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่สาลวัน อันเป็นที่แวะพัก แห่งมัลลกษัตริย์ทั้งหลาย เขตเมืองกุสินารา ระหว่างแห่งสาลพฤกษ์ทั้งคู่ ในสมัยจะเสด็จปรินิพพาน ฯ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เอาเถิด บัดนี้ เราขอเตือนเธอทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อม ไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด ดังนี้ นี้เป็นวาจาครั้งสุดท้ายของตถาคต ฯ [๖๒๑] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐม- *ฌานแล้ว ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว ทรงเข้าตติยฌาน ออกจาก ตติยฌานแล้ว ทรงเข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานแล้ว ทรงเข้าอากาสานัญจายตน ฌาน ออกจากอากาสานัญจายตนฌานแล้ว ทรงเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน ออกจาก วิญญาณัญจายตนฌานแล้ว ทรงเข้าอากิญจัญญายตนฌาน ออกจากอากิญจัญญายตน ฌานแล้ว ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตน ฌานแล้ว ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ แล้ว ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน แล้ว ทรงเข้าอากิญจัญญายตนฌาน ออกจากอากิญจัญญายตนฌานแล้ว ทรงเข้า วิญญาณัญจายตนฌาน ออกจากวิญญาณัญจายตนฌานแล้ว ทรงเข้าอากาสา- *นัญจายตนฌาน ออกจากอากาสานัญจายตนฌานแล้ว ทรงเข้าจตุตถฌาน ออกจาก จตุตถฌานแล้ว ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว ทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้ว ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว ทรงเข้าจตุตถฌาน พระผู้มีพระภาคออกจากจตุตถฌานแล้ว เสด็จปรินิพพานในลำดับนั้น ฯ [๖๒๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าว คาถานี้พร้อมกับกาลเป็นที่ปรินิพพานว่า สัตว์ทุกหมู่เหล่า จักทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลก พระตถาคต ผู้ศาสดา ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้ในโลก ถึงแล้วซึ่งกำลัง พระญาณเป็นพระสัมพุทธเช่นนี้ ยังปรินิพพานแล้ว ฯ [๖๒๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่ของ ทวยเทพได้กล่าวคาถานี้ พร้อมกับกาลเป็นที่ปรินิพพานว่า สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้น และเสื่อมไป เป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความเข้าไปสงบสังขาร เหล่านั้นเป็นสุข ฯ [๖๒๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าว คาถานี้พร้อมกับกาลเป็นที่ปรินิพพานว่า เมื่อพระสัมพุทธเจ้าผู้ประกอบด้วยอาการอันประเสริฐทั้งปวง ปรินิพพานแล้ว ความสยดสยอง (และ) ความชูชันแห่งขน ได้มีแล้วในกาลนั้น ฯ [๖๒๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้ว ท่านพระอนุรุทธได้กล่าว คาถานี้ พร้อมกับกาลเป็นที่ปรินิพพานว่า ลมอัสสาสะปัสสาสะ (หายใจเข้าออก) มิได้มีแล้วแด่พระผู้มี พระภาคผู้มีจิตตั้งมั่นคงที่ พระผู้มีพระภาคมีจักษุไม่ทรงหวั่น ไหว ทรงปรารภสันติปรินิพพานแล้ว พระผู้มีพระภาคมีจิต ไม่หดหู่ ทรงอดกลั้นเวทนาเสียได้ ความพ้นแห่งจิตได้มี แล้ว เหมือนความดับแห่งประทีป ฉะนั้น ฯ
จบพรหมปัญจกะ
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตร
พรหมปัญจกะนี้ พระธรรมสังคาหกาจารย์แสดงด้วยสนังกุมารสูตร เทวทัตตสูตร อันทธกวินทสูตร อรุณวตีสูตร และปรินิพพานสูตร ฯ
จบพรหมสังยุตต์
-----------------------------------------------------
พราหมณสังยุตต์
อรหันตวรรคที่ ๑
ธนัญชานีสูตรที่ ๑
[๖๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่ พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ก็โดยสมัยนั้นแล นางพราหมณีชื่อธนัญชานีแห่งพราหมณ์ ผู้ภารทวาช โคตรคนหนึ่ง เป็นผู้เลื่อมใสยิ่งในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ฯ [๖๒๗] ครั้งนั้นแล นางธนัญชานีพราหมณี กำลังนำภัตเข้าไปเพื่อ พราหมณ์ภารทวาชโคตร ก้าวเท้าพลาดจึงเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ... ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ฯ เมื่อนางธนัญชานีพราหมณีกล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้ กล่าวกะนางธนัญชานีพราหมณีว่า ก็หญิงถ่อยนี้กล่าวคุณของสมณะโล้นอย่างนี้ อย่างนี้ ไม่ว่าที่ไหนๆ แน่ะหญิงถ่อย บัดนี้ เราจักยกวาทะต่อพระศาสดานั้น ของเจ้า ฯ นางธนัญชานีพราหมณีกล่าวว่า พราหมณ์ ฉันยังไม่เห็นบุคคลผู้จะพึงยก ถ้อยคำต่อพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นในโลก พร้อมด้วย เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมด้วยสมณพราหมณ์เทวดาและ มนุษย์ ข้าแต่พราหมณ์ เอาเถิด ท่านจงไป แม้ไปแล้วก็จักรู้ ฯ [๖๒๘] ลำดับนั้นแล พราหมณ์ภารทวาชโคตรโกรธขัดใจ เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ พราหมณ์ภารทวาชโคตรนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวกะ พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า บุคคลฆ่าอะไรได้ ย่อมนอนเป็นสุข ฆ่าอะไรได้ ย่อมไม่ เศร้าโศก ข้าแต่พระโคดม พระองค์ย่อมชอบใจการฆ่าธรรม อะไรเป็นธรรมอันเอก ฯ [๖๒๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า บุคคลฆ่าความโกรธได้ ย่อมนอนเป็นสุข ฆ่าความโกรธได้ย่อมไม่เศร้าโศก ดูกร พราหมณ์ พระอริยะเจ้าทั้งหลายย่อมสรรเสริญการฆ่าความ โกรธ อันมีมูลเป็นพิษ มีที่สุดอันคืนคลาย เพราะว่าบุคคลฆ่า ความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ฯ [๖๓๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระโคดมผู้เจริญทรง ประกาศพระธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า คนมีจักษุ ย่อมเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญกับทั้งพระธรรมและ พระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนัก ของพระโคดมผู้เจริญ ฯ พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้บรรพชาได้อุปสมบทแล้วในสำนักของพระผู้มี พระภาค ก็ท่านพระภารทวาชอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกไปอยู่ผู้เดียวไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ไม่นานเท่าไรนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษอันยอด เยี่ยม เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตโดยชอบ มีความต้องการ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ยิ่งเองในปัจจุบันนี้เข้าถึง อยู่ ได้ทราบว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้องทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แหละท่านพระภารทวาชได้เป็นพระอรหันต์ รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล ฯ
อักโกสกสูตรที่ ๒
[๖๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน อัน เป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ฯ อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ได้สดับมาว่า ได้ยินว่า พราหมณ์ภารทวาช โคตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในสำนักของพระสมณโคดมแล้ว ดังนี้ โกรธ ขัดใจ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ด่าบริภาษพระผู้มี พระภาคด้วยวาจาอันหยาบคาย มิใช่ของสัตบุรุษ ฯ [๖๓๒] เมื่ออักโกสกภารทวาชพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มี พระภาคได้ตรัสกะอักโกสกภารทวาชพราหมณ์ว่า ดูกรพราหมณ์ ท่านย่อมสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน มิตรและอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกของท่าน ย่อม มาบ้างไหม ฯ อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ตอบว่า พระโคดมผู้เจริญ มิตรและอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกของข้าพระองค์ย่อมมาเป็นบางคราว ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ท่านย่อมสำคัญความข้อนั้นเป็น ไฉน ท่านจัดของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มต้อนรับมิตรและอำมาตย์ญาติสาโลหิต ผู้เป็นแขกเหล่านั้นบ้างหรือไม่ ฯ อ. พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์จัดของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่ม ต้อนรับมิตรและอำมาตย์ญาติสาโลหิตผู้เป็นแขกเหล่านั้นบ้างในบางคราว ฯ พ. ดูกรพราหมณ์ ก็ถ้าว่ามิตรและอำมาตย์ญาติสาโลหิตผู้เป็นแขกเหล่า นั้นไม่รับ ของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มนั้นจะเป็นของใคร ฯ อ. พระโคดมผู้เจริญ ถ้าว่ามิตรและอำมาตย์ญาติสาโลหิตผู้เป็นแขกเหล่า นั้นไม่รับ ของเคี้ยวของบริโภคหรือของดื่มนั้น ก็เป็นของข้าพระองค์อย่างเดิม ฯ พ. ดูกรพราหมณ์ ข้อนี้ก็อย่างเดียวกัน ท่านด่าเราผู้ไม่ด่าอยู่ ท่านโกรธ เราผู้ไม่โกรธอยู่ ท่านหมายมั่นเราผู้ไม่หมายมั่นอยู่ เราไม่รับเรื่องมีการด่าเป็นต้น ของท่านนั้น ดูกรพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นก็เป็นของท่านผู้เดียว ดูกร พราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นก็เป็นของท่านผู้เดียว แล้วตรัสต่อไปว่า ดูกร พราหมณ์ ผู้ใดด่าตอบบุคคลผู้ด่าอยู่ โกรธตอบบุคคลผู้โกรธอยู่ หมายมั่นตอบ บุคคลผู้หมายมั่นอยู่ ดูกรพราหมณ์ ผู้นี้เรากล่าวว่า ย่อมบริโภคด้วยกัน ย่อม กระทำตอบกัน เรานั้นไม่บริโภคร่วม ไม่กระทำตอบด้วยท่านเป็นอันขาด ดูกร พราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้นเป็นของท่านผู้เดียว ดูกรพราหมณ์ เรื่องมีการ ด่าเป็นต้นนั้นเป็นของท่านผู้เดียว ฯ อ. บริษัทพร้อมด้วยพระราชา ย่อมทราบพระโคดมผู้เจริญ อย่างนี้ว่า พระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ไฉนพระโคดมผู้เจริญ จึงยัง โกรธอยู่เล่า ฯ [๖๓๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ผู้ไม่โกรธ ฝึกฝนตนแล้ว มีความเป็นอยู่สม่ำเสมอ หลุดพ้น แล้ว เพราะรู้ชอบ สงบ คงที่อยู่ ความโกรธจักมีมาแต่ ที่ไหน ผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้ลามก กว่าบุคคลนั้นแหละ เพราะการโกรธตอบนั้น บุคคลไม่ โกรธตอบ บุคคลผู้โกรธแล้ว ชื่อว่าย่อมชนะสงครามอัน บุคคลชนะได้โดยยาก ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติ สงบเสียได้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสอง ฝ่าย คือแก่ตนและแก่บุคคลอื่น เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์ อยู่ทั้งสองฝ่าย คือของตนและของบุคคลอื่น ชนทั้งหลาย ผู้ไม่ฉลาดในธรรมย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่า เป็นคนเขลา ดังนี้ ฯ [๖๓๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง นัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระโคดมผู้เจริญ ทรงประกาศพระธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า คนมีจักษุ ย่อมเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระ ภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชาพึงได้อุปสมบทในสำนักของ พระโคดมผู้เจริญ ฯ อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ได้บรรพชาได้อุปสมบทแล้วในสำนักของ พระผู้มีพระภาค ก็ท่านอักโกสกภารทวาชอุปสมบทแล้วไม่นานแล หลีกไปอยู่ ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ ไม่นานเท่าไรนัก ก็กระทำให้ แจ้งซึ่งคุณวิเศษอันยอดเยี่ยมเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายออกจาก เรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบมีความต้องการ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ยิ่งเองใน ปัจจุบันนี้เข้าถึงอยู่ ได้ทราบว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้อง ทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แหละท่านพระอักโกสก- *ภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล ฯ
อสุรินทกสูตรที่ ๓
[๖๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน อัน เป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ฯ อสุรินทกภารทวาชพราหมณ์ได้สดับมาว่า ได้ยินว่า พราหมณ์ภารทวาช- *โคตร ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในสำนักของพระสมณโคดม โกรธ ขัดใจ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ด่า บริภาษพระผู้มีพระภาคด้วย วาจาอันหยาบคาย มิใช่ของสัตบุรุษ ฯ เมื่ออสุรินทกภารทวาชพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรง นิ่งเสีย ฯ ลำดับนั้นแล อสุรินทกภารทวาชพราหมณ์ได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาคว่า พระสมณะ เราชนะท่านแล้ว พระสมณะ เราชนะท่านแล้ว ฯ [๖๓๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชนพาลกล่าวคำหยาบด้วยวาจา ย่อมสำคัญว่าชนะทีเดียว แต่ ความอดกลั้นได้เป็นความชนะของบัณฑิตผู้รู้แจ้งอยู่ ผู้ใด โกรธตอบบุคคลผู้โกรธแล้ว ผู้นั้นเป็นผู้ลามกกว่าบุคคลผู้ โกรธแล้ว เพราะการโกรธตอบนั้น บุคคลไม่โกรธตอบบุคคล ผู้โกรธแล้ว ย่อมชื่อว่าชนะสงครามอันบุคคลชนะได้โดยยาก ผู้ใดรู้ว่า ผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติสงบอยู่ได้ ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือแก่ตนและแก่ผู้อื่น เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์อยู่ทั้งสองฝ่าย คือของตนและของ ผู้อื่น ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่า เป็นคนเขลา ดังนี้ ฯ [๖๓๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อสุรินทกภารทวาชพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง นัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระโคดมผู้เจริญ ทรงประกาศพระธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่าคนมีจักษุ ย่อมเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระภิกษุ สงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอข้าพระองค์ พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของ พระโคดมผู้เจริญ ฯ อสุรินทกภารทวาชพราหมณ์ได้บรรพชา ได้อุปสมบทแล้วในสำนักของ พระผู้มีพระภาค ก็ท่านอสุรินทกภารทวาชะอุปสมบทแล้วไม่นานแล หลีกไปอยู่ ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ ไม่นานเท่าไรนัก ก็กระทำให้ แจ้งซึ่งคุณวิเศษอันยอดเยี่ยมเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออก จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบมีความต้องการ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ยิ่งเอง ในปัจจุบันนี้เข้าถึงอยู่ ได้ทราบว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้อง ทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แหละท่านพระอสุรินทก- *ภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล ฯ
พิลังคิกสูตรที่ ๔
[๖๓๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน อัน เป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ฯ พิลังคิกภารทวาชพราหมณ์ได้สดับมาว่า ได้ยินว่า พราหมณ์ภารทวาชโคตร ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในสำนักของพระสมณโคดม ดังนี้ โกรธ ขัดใจ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ยืนนิ่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง หนึ่ง ฯ [๖๓๙] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตก แห่งใจของ พิลังคิกภารทวาชพราหมณ์ด้วยพระหฤทัยแล้ว ได้ตรัสกะพิลังคิกภารทวาชพราหมณ์ ด้วยพระคาถาว่า ผู้ใดประทุษร้ายต่อคนผู้ไม่ประทุษร้าย เป็นบุรุษผู้หมดจด ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องยั่วยวน บาปย่อมกลับสนองผู้นั้นผู้เป็น พาลนั่นเอง เปรียบเหมือนธุลีอันละเอียด ที่บุคคลซัดไปสู่ ที่ทวนลม ฉะนั้น ฯ [๖๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พิลังคิกภารทวาชพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง นัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระโคดมผู้เจริญ ทรงประกาศพระธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่าคนมีจักษุ ย่อมเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และ พระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชาพึงได้อุปสมบทในสำนัก ของพระโคดมผู้เจริญ ฯ พิลังคิกภารทวาชพราหมณ์ ได้บรรพชา ได้อุปสมบทแล้วในสำนักของ พระผู้มีพระภาค ก็ท่านพิลังคิกภารทวาชอุปสมบทแล้วไม่นานแล หลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ ไม่นานเท่าไรนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่ง คุณวิเศษอันยอดเยี่ยม เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจาก เรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ มีความต้องการด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ยิ่งเองใน ปัจจุบันนี้ เข้าถึงอยู่ ได้ทราบว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้อง ทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แหละท่านภารทวาชะ ได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล ฯ
อหิงสกสูตรที่ ๕
[๖๔๑] สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้นแล อหิงสกภารทวาชพราหมณ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ ประทับ ครั้นแล้ว สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคแล้ว ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ อหิงสกภารทวาชะพราหมณ์ นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่อว่าอหิงสกะ ข้าแต่ พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่อว่าอหิงสกะ ฯ [๖๔๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถ้าว่าท่านมีชื่อว่าอหิงสกะ ท่านพึงเป็นผู้ไม่เบียดเบียนด้วยกาย ด้วยวาจาและด้วยใจ ผู้นั้นย่อมเป็นผู้ชื่อว่า อหิงสกะ โดยแท้ เพราะไม่เบียดเบียนซึ่งผู้อื่น ฯ [๖๔๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อหิงสกภารทวาชพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง นัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ก็แหละ พระอหิงสกภารทวาชะ ได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล ฯ
ชฏาสูตรที่ ๖
[๖๔๔] สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้นแล ชฏาภารทวาชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ครั้นแล้ว สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึง กันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๖๔๕] ชฏาภารทวาชพราหมณ์ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า ตัณหาพายุ่งในภายใน พายุ่งในภายนอก หมู่สัตว์ถูกตัณหา พายุ่งรัดรึงไว้แล้ว ข้าแต่พระโคดม เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์ ขอทูลถามพระองค์ว่า ใครพึงสางตัณหาพายุ่งนี้ได้ ฯ [๖๔๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุใดเป็นคนมีปัญญา ตั้งมั่นอยู่ในศีล อบรมจิตและปัญญา ให้เจริญ มีความเพียร มีปัญญารักษาตน ภิกษุนั้นพึงสาง ตัณหาพายุ่งนี้ได้ ราคะโทสะและอวิชชา อันชนเหล่าใด สำรอกแล้ว ชนเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว ตัณหาพายุ่งอันชนเหล่านั้นสางได้แล้ว นามและรูปย่อมดับไป ไม่เหลือในที่ใด ปฏิฆสัญญา รูปสัญญา และตัณหาพายุ่ง นั่น ย่อมขาดไปในที่นั้น ฯ [๖๔๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ชฏาภารทวาชพราหมณ์ได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ก็แหละท่านชฏา ภารทวาชะ ได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล ฯ
สุทธิกสูตรที่ ๗
[๖๔๘] สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้นแล สุทธิกภารทวาชพราหมณ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ ประทับ ครั้นแล้วสนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๖๔๙] สุทธิกภารทวาชพราหมณ์ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า พราหมณ์บางคน ในโลกแม้เป็นผู้มีศีล กระทำตบะอยู่ ย่อม หมดจดไม่ได้ พราหมณ์นั้นถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ ย่อมหมดจดได้ หมู่สัตว์อื่นนอกนี้ย่อมหมดจดไม่ได้ ฯ [๖๕๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ผู้กล่าวถ้อยคำแม้มาก เป็นผู้เน่าและเศร้าหมองใน ภายใน อาศัยการโกหก (ลวงโลก) ย่อมไม่เป็นพราหมณ์ เพราะชาติกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และ คนเทหยากเยื่อ มีความเพียรอันปรารภแล้ว มีตนส่งไปแล้ว มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์ ย่อมถึงความหมดจดอย่างยิ่ง ท่าน จงรู้อย่างนี้เถิดพราหมณ์ [๖๕๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุทธิกภารทวาชพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง นัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ก็แหละท่าน พระภารทวาชะ ได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล ฯ
อัคคิกสูตรที่ ๘
[๖๕๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวันอันเป็น ที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ปรุงข้าวปายาสด้วยเนยใส ด้วยคิดว่า เราจักบูชาไฟ จักบำเรอการบูชาไฟ ฯ [๖๕๓] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ เพื่อบิณฑบาตในเวลาเช้า เสด็จไปบิณฑบาตในกรุง ราชคฤห์ตามลำดับตรอก เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของอัคคิกภารทวาชพราหมณ์ ครั้นแล้ว ได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๖๕๔] อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับยืน เพื่อบิณฑบาต ครั้นแล้วได้กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า พราหมณ์ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยไตรวิชชา มีชาติฟังคัมภีร์เป็น อันมาก ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ พราหมณ์นั้นควร บริโภคปายาสนี้ ฯ [๖๕๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ผู้กล่าวถ้อยคำแม้มาก เป็นผู้เน่าและเศร้าหมอง ในภายใน อันความโกหกแวดล้อมแล้ว ย่อมไม่ชื่อว่าเป็น พราหมณ์เพราะชาติ ผู้ใดรู้ปุพเพนิวาส และเห็นทั้งสวรรค์ ทั้งอบาย อนึ่ง ถึงความสิ้นไปแห่งชาติ เป็นมุนีผู้อยู่จบ แล้วเพราะรู้ยิ่ง ผู้นั้นเป็นผู้มีไตรวิชชาด้วยวิชชาสามเหล่านี้ ชื่อ ว่าเป็นพราหมณ์ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ พราหมณ์ นั้นควรบริโภคปายาสนี้ ฯ อัคคิกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า พระโคดมผู้เจริญ ขอเชิญบริโภค เถิด พระโคดมเป็นพราหมณ์ผู้เจริญ ฯ [๖๕๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เราไม่พึงบริโภคโภชนะที่ได้เพราะการขับกล่อม ดูกรพราหมณ์ นั่นไม่ใช่ธรรมของผู้พิจารณาอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อม รังเกียจโภชนะที่ได้เพราะการขับกล่อม ดูกรพราหมณ์ เมื่อ ธรรมมีอยู่ ความเลี้ยงชีพนี้ก็ยังมี อนึ่ง ท่านจงบำรุงพระขีณาสพ ทั้งสิ้นผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ผู้มีความคะนองอันสงบแล้ว ด้วยข้าวน้ำอันอื่น เพราะว่าการบำรุงนั้น ย่อมเป็นเขตของผู้ มุ่งบุญ ฯ [๖๕๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง นัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ก็แหละท่าน พระภารทวาชได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล ฯ
สุนทริกสูตรที่ ๙
[๖๕๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสุนทริกา ใน โกศลชนบท ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ บูชาไฟ บำเรอการบูชาไฟ อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสุนทริกา ฯ ลำดับนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ บูชาไฟ บำเรอการบูชาไฟแล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะ เหลียวดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบ ด้วยคิดว่า ใครหนอควรบริโภค ปายาสอันเหลือจากการบูชานี้ ฯ [๖๕๙] สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ ได้เห็นพระผู้มีพระภาค ทรงคลุม อวัยวะพร้อมด้วยพระเศียร ประทับนั่งที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ครั้นแล้วถือข้าวปายาส ที่เหลือจากการบูชาไฟด้วยมือซ้าย ถือเต้าน้ำด้วยมือขวา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ยังที่ประทับ ฯ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปิดพระเศียรด้วยเสียงเท้าของสุนทริก- *ภารทวาชพราหมณ์ ครั้งนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์กล่าวว่า นี้พระสมณะโล้นผู้เจริญ นี้พระสมณะโล้นผู้เจริญ แล้วประสงค์จะกลับจากที่นั้นทีเดียว ฯ ลำดับนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ได้มีความดำริว่า พราหมณ์บาง พวกในโลกนี้เป็นผู้โล้นบ้างก็มี ถ้ากระไรเราพึงเข้าไปหาพระสมณะผู้โล้นนั้นแล้ว ถามถึงชาติ ฯ ลำดับนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคยังที่ ประทับ ครั้นแล้ว ได้ถามพระผู้มีพระภาคว่า ท่านเป็นชาติอะไร ฯ [๖๖๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ท่านอย่าถามถึงชาติ แต่จงถามถึงความประพฤติเถิด ไฟย่อม เกิดจากไม้แล บุคคลแม้เกิดในตระกูลต่ำเป็นมุนี มีความเพียร เป็นผู้รู้ทั่วถึงเหตุ ห้ามโทษเสียด้วยหิริ ฝึกตนแล้วด้วยสัจจะ ประกอบด้วยการปราบปราม ถึงที่สุดแห่งเวท มีพรหมจรรย์ อันอยู่จบแล้ว ผู้ใดมียัญอันน้อมเข้าไปแล้ว บูชาพราหมณ์ผู้ นั้น ผู้นั้นชื่อว่าย่อมบูชาพระทักขิไณยบุคคลโดยกาล ฯ [๖๖๑] สุนทริกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า การบูชานี้ของข้าพระองค์เป็นอันบูชาดีแล้ว เซ่นสรวงดีแล้ว เป็นแน่ เพราะข้าพระองค์ได้พบผู้ถึงเวทเช่นนั้น และเพราะ ข้าพระองค์ไม่พบบุคคลเช่นพระองค์ ชนอื่นจึงบริโภคปายาส อันเหลือจากการบูชา ฯ สุนทริกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า พระโคดมผู้เจริญเป็นพราหมณ์ เชิญบริโภคเถิด ฯ [๖๖๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เราไม่บริโภคโภชนะที่ขับด้วยคาถา ดูกรพราหมณ์ นั่นไม่ใช่ ธรรมของผู้พิจารณาอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมบรรเทา โภชนะที่ขับด้วยคาถา ดูกรพราหมณ์ เมื่อธรรมมีอยู่ นั่น เป็นความประพฤติ อนึ่ง ท่านจงบำรุงพระขีณาสพทั้งสิ้น ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ผู้มีความคะนองอันสงบแล้ว ด้วยสิ่ง อื่นคือข้าวน้ำ เพราะว่าการบำรุงนั้นย่อมเป็นเขตของผู้มุ่งบุญ ฯ [๖๖๓] ลำดับนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่พระ- *โคดมผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้นข้าพระองค์จะให้ปายาสอันเหลือจากการบูชานี้แก่ใคร ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ เรายังไม่แลเห็นบุคคลในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ซึ่งจะบริโภคปายาสที่เหลือจากการบูชานี้แล้ว จะพึงถึงความ ย่อยไปโดยชอบ นอกจากตถาคตหรือสาวกของตถาคต ดูกรพราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงทิ้งปายาสอันเหลือจากการบูชานั้น ณ ที่ปราศจากของเขียว หรือทิ้งให้จม ลงไปในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ ฯ [๖๖๔] ลำดับนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ทิ้งปายาสอันเหลือจากการ บูชานั้น ให้จมลงไปในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ ฯ ครั้งนั้นแล ปายาสอันเหลือจากการบูชานั้น อันสุนทริกภารทวาชพราหมณ์ เทลงแล้วในน้ำย่อมมีเสียงดัง วิจิฏะ วิฏิจิฏะ และเดือดเป็นควันกลุ้ม เหมือน อย่างผาลที่ร้อนแล้วตลอดอัน อันบุคคลใส่ลงแล้วในน้ำ ย่อมมีเสียงดัง วิจิฏะ วิฏิจิฏะ และเดือดเป็นควันคลุ้ม ฉะนั้น ฯ ลำดับนั้น สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ หลากใจเกิดขนชูชัน เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ยืนอยู่ในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๖๖๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะสุนทริกภารทวาชพราหมณ์ ผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ด้วยพระคาถาทั้งหลายว่า ดูกรพราหมณ์ ท่านเผาไม้อยู่อย่าสำคัญซึ่งความบริสุทธิ์ ก็ การเผาไม้นี้เป็นของภายนอก ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมไม่กล่าว ความบริสุทธิ์ด้วยการเผาไม้นั้น ดูกรพราหมณ์ เราละการ เผาไม้ซึ่งบุคคลพึงปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยการเผาไม้อันเป็น ของมีในภายนอก แล้วยังไฟคือญาณให้โพลงภายในตนที เดียว เราเป็นพระอรหันต์ มีไฟอันโพลงแล้วเป็นนิตย์ มี จิตตั้งไว้ชอบแล้วเป็นนิตย์ ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ดูกร- พราหมณ์ มานะแลเป็นดุจภาระคือ หาบของท่าน ความ โกรธดุจควัน มุสาวาทเป็นดุจเถ้า ลิ้นเป็นประดุจภาชนะ เครื่องบูชา หทัยเป็นที่ตั้งกองกูณฑ์ ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็น ความรุ่งเรืองของบุรุษ ดูกรพราหมณ์ บุคคลผู้ถึงเวททั้งหลาย นั้นแล อาบในห้วงน้ำคือธรรมของบุรุษทั้งหลาย มีท่าคือศีล ไม่ขุ่นมัว อันบัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญแล้ว มีตัวไม่เปียก แล้ว ย่อมข้ามถึงฝั่ง ดูกรพราหมณ์ สัจจะธรรม ความ สำรวม พรหมจรรย์ การถึงธรรมอันประเสริฐ อาศัยใน ท่ามกลาง ท่านจงกระทำความนอบน้อมในพระขีณาสพผู้ตรง ทั้งหลาย เรากล่าวคนนั้นว่าผู้มีธรรมเป็นสาระ ฯ [๖๖๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุนทริกภารทวาชพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง นัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ก็แหละท่าน พระภารทวาชะ ได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้ แล ฯ
พหุธิติสูตรที่ ๑๐
[๖๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในชัฏป่าแห่งหนึ่ง ใน โกศลชนบท ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล โคใช้ ๑๔ ตัว ของพราหมณ์ภารทวาชโคตรคนหนึ่ง หายไป ฯ [๖๖๘] ครั้งนั้นแล พราหมณ์ภารทวาชโคตรเที่ยวแสวงหาโคใช้เหล่านั้น อยู่ เข้าไปถึงชัฏป่านั้น ครั้นแล้ว ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในชัฏป่านั้น ทรงคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ทรงดำรงพระสติเฉพาะพระพักตร์ ครั้นแล้ว เข้า ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มี- *พระภาคว่า โคใช้ ๑๔ ตัว ของพระสมณะนี้ไม่มีแน่ แต่ของเราหายไป ได้ ๖๐ วันเข้าวันนี้ เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงเป็นผู้มี ความสุข งาทั้งหลายอันเลวมีใบหนึ่งและสองใบในไร่ ของ พระสมณะนี้ไม่มีเป็นแน่ เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึง เป็นผู้มีความสุข หนูทั้งหลายในฉางเปล่า ย่อมไม่รบกวนแก่ พระสมณะนี้ด้วยการยกหูหางขึ้นแล้วกระโดดโลดเต้นเป็นแน่ เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงเป็นผู้มีความสุข เครื่องลาด ของพระสมณะนี้ใช้ตั้งเจ็ดเดือนไม่ดาดาษแล้ว ด้วยสัตว์ ทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นเป็นแน่ เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึง เป็นผู้มีความสุข หญิงหม้าย บุตรธิดามีบุตรคนหนึ่งและ สองคนของพระสมณะนี้ย่อมไม่มีแน่ เพราะเหตุนั้น พระ- สมณะนี้จึงเป็นผู้มีความสุข แมลงวันมีตัวอันลาย ไต่ตอม บุคคลผู้หลับด้วยเท้า ย่อมไม่ไต่ตอมพระสมณะนี้เป็นแน่ เพราะเหตุนั้น พระสมณะนี้จึงเป็นผู้มีความสุข ในเวลาใกล้ รุ่ง เจ้าหนี้ทั้งหลาย ย่อมไม่ทวงพระสมณะนี้ว่า ท่าน ทั้งหลายจงให้ ท่านทั้งหลายจงให้ ดังนี้เป็นแน่ เพราะ เหตุนั้น พระสมณะนี้จึงเป็นผู้มีความสุข ฯ [๖๖๙] พระผู้มีพระภาคได้ภาษิตพระคาถาตอบว่า ดูกรพราหมณ์ โคใช้ ๑๔ ตัวของเราไม่มีเลย แต่ของท่าน หายไปได้ ๖๐ วันเข้าวันนี้ ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นผู้มีความสุข ดูกรพราหมณ์ งาทั้งหลายอันเลวมี ใบหนึ่งและสองใบในไร่ ของเราไม่มีเลย ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นผู้มีความสุข ดูกรพราหมณ์ หนู ทั้งหลายในฉางเปล่า ย่อมไม่รบกวนเราเลย ด้วยการยกหูหาง ขึ้นแล้วกระโดดโลดเต้น ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุนั้น เรา จึงเป็นผู้มีความสุข ดูกรพราหมณ์ เครื่องลาดของเราใช้ตั้ง เจ็ดเดือนไม่ดาดาษเลย ด้วยสัตว์ทั้งหลายที่บังเกิดขึ้น ดูกร พราหมณ์ เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นผู้มีความสุข ดูกรพราหมณ์ หญิงหม้าย บุตรธิดามีบุตรคนหนึ่งและสองคน ของเราไม่มี เลย ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นผู้มีความสุข แมลงวันมีตัวอันลาย ไต่ตอมบุคคลผู้หลับด้วยเท้า ย่อมไม่ ไต่ตอมเราเลย ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นผู้ มีความสุข ดูกรพราหมณ์ ในเวลาใกล้รุ่ง เจ้าหนี้ทั้งหลาย ย่อมไม่ทวงเราเลยว่า ท่านทั้งหลายจงให้ ท่านทั้งหลายจงให้ ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุนั้น เราจึงเป็นผู้มีความสุข ฯ [๖๗๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง นัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระโคดมผู้เจริญ ทรงประกาศพระธรรมโดยปริยายเป็นอันมาก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า คนมี จักษุย่อมเห็นรูปฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระสมณโคดมผู้เจริญ พระธรรม และ พระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนัก ของพระโคดมผู้เจริญ ฯ พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้บรรพชา ได้อุปสมบทแล้วในสำนักของ พระผู้มีพระภาค ก็ท่านพระภารทวาชะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ ไม่นานเท่าไรนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่ง คุณวิเศษอันยอดเยี่ยมเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ มีความต้องการ ด้วยปัญญาเครื่องรู้ยิ่งเองในปัจจุบัน นี้เข้าถึงอยู่ ได้ทราบว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้องทำได้ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แหละท่านพระภารทวาชะได้ เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล ฯ
จบ อรหันตวรรค ที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรในวรรคนี้ ๑๐ สูตร คือ
ธนัญชานีสูตร ๑ อักโกสกสูตร ๑ อสุรินทกสูตร ๑ พิลังคิก สูตร ๑ อหิงสกสูตร ๑ ชฏาสูตร ๑ สุทธิกสูตร ๑ อัคคิก สูตร ๑ สุนทริกสูตร ๑ พหุธิติสูตร ๑ ฯ
-----------------------------------------------------
พราหมณสังยุตต์
อุปาสกวรรคที่ ๒
กสิสูตรที่ ๑
[๖๗๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ ณ พราหมณคามชื่อว่า เอกนาลา ในทักขิณาคีรีชนบท แคว้นมคธ ก็ในสมัยนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์ เทียมไถมีจำนวน ๕๐๐ ในกาล (ฤดู) หว่านข้าว ฯ [๖๗๒] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังที่ทำการงานของกสิภารทวาชพราหมณ์ในเวลาเช้า ฯ สมัยนั้นแล กสิภารทวาชพราหมณ์กำลังเลี้ยงอาหาร (มื้อเช้า) ฯ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังที่เลี้ยงอาหาร (ของเขา) ครั้น แล้วประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ กสิภารทวาชพราหมณ์ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับยืนบิณฑบาตอยู่ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระสมณะ ข้าพเจ้าไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว ย่อมบริโภค ข้าแต่พระสมณะ แม้พระองค์ก็จงไถและ หว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว จงบริโภคเถิด ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่าน ครั้น ไถและหว่านแล้วก็บริโภค ฯ กสิภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า ก็ข้าพเจ้าไม่เห็นแอก ไถ ผาล ประตัก หรือโคทั้งหลายของท่านพระโคดมเลย เมื่อเช่นนี้ท่านพระโคดมยังกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรพราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้วก็บริโภค ฯ [๖๗๓] ครั้งนั้นแล กสิภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาว่า พระองค์ปฏิญาณว่าเป็นชาวนา แต่ข้าพเจ้าไม่เห็นการไถของ พระองค์ พระองค์ผู้เป็นชาวนา ข้าพเจ้าถามแล้วขอจงตรัส บอก ไฉน ข้าพเจ้าจะรู้การทำนาของพระองค์นั้นได้ ฯ [๖๗๔] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน ปัญญาของเราเป็นแอก และไถ หิริเป็นงอนไถ ใจเป็นเชือก สติของเราเป็นผาล และประตัก เรามีกายคุ้มครองแล้ว มีวาจาคุ้มครองแล้ว เป็นผู้ สำรวมแล้วในการบริโภคอาหาร เราทำการดายหญ้า (คือวาจา สับปรับ) ด้วยคำสัตย์ โสรัจจะของเราเป็นเครื่องให้แล้ว เสร็จงาน ความเพียรของเราเป็นเครื่องนำธุระไปให้สมหวัง นำไปถึงความเกษมจากโยคะ ไปไม่ถอยหลัง ยังที่ซึ่งบุคคล ไปแล้วไม่เศร้าโศก ฯ เราทำนาอย่างนี้ นาที่เราทำนั้นย่อมมีผลเป็นอมตะ บุคคล ทำนาอย่างนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ฯ กสิภารทวาชพราหมณ์กราบทูลว่า ท่านพระโคดมผู้เป็นชาวนา ขอจง บริโภคอมฤตผลที่ท่านพระโคดมไถนั้นเถิด ฯ [๖๗๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เราไม่พึงบริโภคโภชนะ ซึ่งได้ เพราะความขับกล่อม ดูกรพราหมณ์ นี่เป็นธรรมของบุคคล ผู้เห็นอรรถและธรรมอยู่ ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ย่อมรังเกียจโภชนะ ที่ได้เพราะการขับกล่อม ดูกรพราหมณ์ เมื่อธรรมมีอยู่ ความ เป็นไป (อาชีวะ) นี้ก็ยังมีอยู่ แต่ท่านจงบำรุง ซึ่งพระ ขีณาสพทั้งสิ้น ผู้แสวงหาคุณใหญ่ มีความคะนองระงับแล้ว ด้วยข้าวน้ำอันอื่น ด้วยว่าการบำรุงนั้นเป็นนาบุญของผู้มุ่งบุญ ฯ [๖๗๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเช่นนี้แล้ว กสิภารทวาชพราหมณ์ได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนก- *ปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิดไว้ บอกทางแก่คนหลงทาง ส่อง ประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักมองเห็นได้ ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มี- *พระภาคทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
อุทัยสูตรที่ ๒
[๖๗๗] สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จ เข้าไปยังที่อยู่ของอุทัยพราหมณ์ ฯ ลำดับนั้น อุทัยพราหมณ์เอาข้าวใส่บาตรถวายพระผู้มีพระภาคจนเต็ม ฯ [๖๗๘] แม้ครั้งที่ ๒ ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือ บาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของอุทัยพราหมณ์ ฯ ลำดับนั้น อุทัยพราหมณ์เอาข้าวใส่บาตรถวายพระผู้มีพระภาคจนเต็ม ฯ [๖๗๙] แม้ครั้งที่ ๓ เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือ บาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของอุทัยพราหมณ์ แม้ในครั้งที่ ๓ อุทัยพราหมณ์ เอาข้าวใส่บาตรถวายพระผู้มีพระภาคจนเต็มแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระสมณโคดมนี้ติดในรส (ติดใจในอาหาร) จึงเสด็จมาบ่อยๆ ฯ [๖๘๐] พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า กสิกรย่อมหว่านพืชบ่อยๆ ฝนย่อม ตกบ่อยๆ ชาวนาย่อมไถนาบ่อยๆ แว่นแคว้นย่อมบริบูรณ์ด้วยธัญชาติบ่อยๆ ยาจกย่อมขอบ่อยๆ ทานบดีก็ให้บ่อยๆ ทานบดีให้บ่อยๆ แล้ว ก็เข้าถึงสวรรค์ บ่อยๆ ผู้ต้องการน้ำนมย่อมรีดนมบ่อยๆ ลูกโคย่อมเข้าหาแม่โคบ่อยๆ บุคคล ย่อมลำบากและดิ้นรนบ่อยๆ คนเขลาย่อมเข้าถึงครรภ์บ่อยๆ สัตว์ย่อมเกิดและ ตายบ่อยๆ บุคคลทั้งหลายย่อมนำซากศพไปป่าช้าบ่อยๆ ส่วนผู้มีปัญญาถึงจะเกิด บ่อยๆ ก็เพื่อได้มรรคแล้วไม่เกิดอีก ดังนี้ ฯ [๖๘๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อุทัยพราหมณ์ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนก ปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำเปิดของที่ปิดไว้ บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีป ในที่มืดด้วยหวังว่าคนมีจักษุจักมองเห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์ทรง จำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป ฯ
เทวหิตสูตรที่ ๓
[๖๘๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อันเป็นอาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประชวรด้วยโรคลม ฯ ท่านพระอุปวาณะ เป็นอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาค ฯ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเรียกท่านพระอุปวาณะมาตรัสว่า อุปวาณะ เธอจงรู้ น้ำร้อนเพื่อฉัน ท่านพระอุปวาณะทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว นุ่งสบงถือ บาตรและจีวรเข้าไปยังที่อยู่ของเทวหิตพราหมณ์ แล้วยืนนิ่งอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ฯ [๖๘๓] เทวหิตพราหมณ์ได้เห็นท่านพระอุปวาณะยืนนิ่งอยู่ ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ได้กล่าวกะท่านพระอุปวาณะด้วยคาถาว่า ท่านเป็นสมณะศีรษะโล้น ครองผ้าสังฆาฏิยืนนิ่งอยู่ ท่าน ปรารถนาอะไร แสวงหาอะไร มาเพื่อขออะไรหรือ ฯ [๖๘๔] ท่านพระอุปวาณะตอบว่า พระสุคตมุนีเป็นอรหันต์ในโลกประชวรด้วยโรคลม ถ้ามี น้ำร้อน ขอท่านจงถวายแก่พระสุคตมุนีเถิดพราหมณ์ ฉัน ปรารถนาจะเอาไปถวายพระผู้มีพระภาค ในบรรดาผู้ที่ควรแก่ การบูชา สักการะ นอบน้อมทั้งหลาย อันบุคคลได้บูชา สักการะ นอบน้อมแล้วนั้น ฯ [๖๘๕] ครั้งนั้น เทวหิตพราหมณ์ให้บุรุษ (คนใช้) ถือกา น้ำร้อน และห่อน้ำอ้อย (ตามไป) ถวายท่านพระอุปวาณะ ฯ ลำดับนั้น ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับแล้ว อัญเชิญให้พระผู้มีพระภาคสรงสนาน และละลายน้ำอ้อยด้วยน้ำร้อนแล้วถวาย พระผู้มีพระภาค ฯ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหายประชวรนั้น ฯ [๖๘๖] ต่อมา เทวหิตพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้ว ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ เทวหิตพราหมณ์นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคด้วยคาถาว่า พึงให้ไทยธรรมที่ไหน ทานอันบุคคลให้ที่ไหนมีผลมาก ทักษิณาสำเร็จในที่ไหน แก่บุคคลผู้บูชาอย่างไร ฯ [๖๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ผู้ใดรู้ขันธ์ที่เคยอาศัยในก่อน แลเห็นสวรรค์และอบาย บรรลุ พระอรหัตอันเป็นที่สิ้นชาติ อยู่จบแล้วเพราะรู้ยิ่ง เป็นมุนี พึง ให้ไทยธรรมในผู้นี้ ทานที่ให้แล้วในผู้นี้มีผลมาก ทักษิณา ย่อมสำเร็จแก่บุคคลผู้บูชาอย่างนี้แหละ ฯ [๖๘๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เทวหิตพราหมณ์ได้กราบ- *ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักมองเห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอ พระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
มหาศาลสูตรที่ ๔
[๖๘๙] สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้น พราหมณ์มหาศาลคนหนึ่ง เป็นคนปอน นุ่งห่มปอน เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการ ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ ตรัสกะพราหมณ์มหาศาลนั้น ผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วว่า ดูกรพราหมณ์ ทำไมท่านจึงเป็นคนปอน นุ่งห่มก็ปอน ฯ พราหมณ์มหาศาลกราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม พวกบุตรของข้า พระองค์ ๔ คนในบ้านนี้คบคิดกับภรรยาแล้วขับข้าพระองค์ออกจากเรือน ฯ [๖๙๐] ดูกรพราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเรียนคาถานี้แล้ว เมื่อหมู่ มหาชนประชุมกันที่สภา และเมื่อพวกบุตรมาประชุมพร้อมแล้ว จงกล่าวว่า เราชื่นชม และปรารถนาความเจริญแก่บุตรเหล่าใด บุตร เหล่านั้นคบคิดกันกับภรรยารุมว่าเรา ดังสุนัขรุมเห่าสุกร เขา ว่าพวกมันเป็นอสัตบุรุษลามก ร้องเรียกเราว่าพ่อๆ พวก มันประดุจยักษ์แปลงเป็นบุตรมา ละทิ้งเราผู้ล่วงเข้าปัจฉิม วัยไว้ ฯ พวกมันกำจัดคนแก่ไม่มีสมบัติออกจากที่ (อาศัย) กิน ดังม้า แก่ที่เจ้าของปล่อยทิ้งฉะนั้น ฯ บิดาของบุตรพาลเป็นผู้เฒ่าต้องขอในเรือนผู้อื่นได้ยินว่าไม้เท้า ของเรายังจะดีกว่า พวกบุตรที่ไม่เชื่อฟังจะดีอะไร เพราะ ไม้เท้ายังป้องกันโคหรือสุนัขดุได้ ในที่มืดยังใช้ยันไปข้าง หน้าได้ ในที่ลึกยังใช้หยั่งดูได้ พลาดแล้วยังยั้งอยู่ได้ด้วย อานุภาพไม้เท้า ฯ [๖๙๑] ครั้งนั้นแล พราหมณ์มหาศาลนั้นเรียนคาถานี้ในสำนักพระผู้ พระภาคแล้ว เมื่อหมู่มหาชนประชุมกันในสภา และเมื่อพวกบุตรมาประชุมแล้ว จึงได้กล่าวว่า เราชื่นชมและปรารถนาความเจริญแก่บุตรเหล่าใด บุตรเหล่า นั้น คบคิดกันกับภรรยารุมว่าเรา ดังสุนัขรุมเห่าสุกร เขาว่า พวกมันเป็นอสัตบุรุษลามก ร้องเรียกเราว่าพ่อๆ พวกมัน ประดุจยักษ์แปลงเป็นบุตรมา ละทิ้งเราผู้ล่วงเข้าปัจฉิมวัยไว้ ฯ พวกมันกำจัดคนแก่ไม่มีสมบัติออกจากที่ (อาศัย) กินดัง ม้าแก่ที่เจ้าของปล่อยทิ้งฉะนั้น ฯ บิดาของบุตรพาลเป็นผู้เฒ่าต้องขอในเรือนผู้อื่น ได้ยินว่าไม้เท้า ของเรายังจะดีกว่า พวกบุตรที่ไม่เชื่อฟังจะดีอะไร เพราะไม้เท้า ยังป้องกันโคหรือสุนัขดุได้ ในที่มืดยังใช้ยันไปข้างหน้าได้ ใน ที่ลึกยังใช้หยั่งดูได้ พลาดแล้วยังยั้งอยู่ได้ด้วยอานุภาพ ไม้เท้า ฯ [๖๙๒] ลำดับนั้น พวกบุตรนำพราหมณ์มหาศาลนั้นไปยังเรือน ให้อาบน้ำแล้วให้นุ่งห่มผ้าคู่หนึ่งๆ ทุกๆ คน ฯ พราหมณ์มหาศาลนั้น ถือผ้าคู่หนึ่งไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบ ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ย่อมแสวง หาทรัพย์สำหรับอาจารย์มาให้อาจารย์ ขอท่านพระโคดมผู้เป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า จงรับส่วนของอาจารย์เถิด ฯ พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยความอนุเคราะห์ ฯ [๖๙๓] ครั้งนั้น พราหมณ์มหาศาลนั้น ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิต ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงาย ภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิดไว้ บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืดด้วย หวังว่าคนมีจักษุจักมองเห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มี พระภาค กับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้า- *พระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป ฯ
มานัตถัทธสูตรที่ ๕
[๖๙๔] สาวัตถีนิทาน ฯ สมัยนั้น พราหมณ์มีนามว่ามานัตถัทธะ สำนักอยู่ในกรุงสาวัตถี เขา ไม่ไหว้มารดา บิดา อาจารย์ พี่ชาย ฯ [๖๙๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคอันบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมทรงแสดง ธรรมอยู่ ฯ ครั้งนั้น มานัตถัทธพราหมณ์มีความดำริว่า พระสมณโคดมนี้อัน บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแสดงธรรมอยู่ ถ้ากระไร เราจะเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม ยังที่ประทับ ถ้าพระสมณโคดมตรัสกะเรา เราก็จะพูดกะท่าน ถ้าพระสมณโคดม ไม่ตรัสกะเรา เราก็จะไม่พูดกะท่าน ลำดับนั้นแล มานัตถัทธพราหมณ์เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคยังที่ประทับแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้งนั้น พระผู้มี พระภาคไม่ตรัสด้วย มานัตถัทธพราหมณ์ต้องการจะกลับจากที่นั้น ด้วยคิดว่า พระสมณโคดมนี้ไม่รู้อะไร ฯ [๖๙๖] ทีนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกในใจของมานัตถัทธ- *พราหมณ์ด้วยพระหฤทัยแล้ว ได้ตรัสกะมานัตถัทธพราหมณ์ด้วยพระคาถาว่า ดูกรพราหมณ์ ใครในโลกนี้มีมานะไม่ดีเลย ผู้ใดมาด้วย ประโยชน์ใด ผู้นั้นพึงเพิ่มพูนประโยชน์นั้นแล ฯ [๖๙๗] ครั้งนั้น มานัตถัทธพราหมณ์คิดว่า พระสมณโคดมทราบจิตเรา จึงหมอบลงด้วยศีรษะที่ใกล้พระบาทพระผู้มีพระภาค ณ ที่นั้นเอง แล้วจูบพระบาท พระผู้มีพระภาคด้วยปากและนวดด้วยมือ ประกาศชื่อว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์มีนามว่า มานัตถัทธะๆ ฯ ครั้งนั้น บริษัทนั้นเกิดประหลาดใจว่า น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีหนอ มานัตถัทธพราหมณ์นี้ไม่ไหว้มารดา บิดา อาจารย์ พี่ชาย แต่พระสมณโคดม ทรงทำคนเห็นปานนี้ให้ทำนอบนบได้เป็นอย่างดียิ่ง ฯ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกะมานัตถัทธพราหมณ์ว่า พอละพราหมณ์ เชิญลุกขึ้นนั่งบนอาสนะของตนเถิด เพราะท่านมีจิตเลื่อมใสในเราแล้ว ฯ [๖๙๘] ลำดับนั้น มานัตถัทธพราหมณ์นั่งบนอาสนะของตนแล้วได้กราบ ทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า ไม่ควรทำมานะในใคร ควรมีความเคารพในใคร พึงยำเกรง ใคร บูชาใครด้วยดีแล้ว จึงเป็นการดี ฯ [๖๙๙] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ไม่ควรทำมานะในมารดา บิดา พี่ชาย และในอาจารย์เป็น ที่ ๔ พึงมีความเคารพในบุคคลเหล่านั้น พึงยำเกรงบุคคล เหล่านั้น บูชาบุคคลเหล่านั้นด้วยดีแล้วจึงเป็นการดี บุคคล พึงทำลายมานะเสีย ไม่ควรมีความกระด้างในพระอรหันต์ผู้ เย็นสนิท ผู้ทำกิจเสร็จแล้ว หาอาสวะมิได้ ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เพราะอนุสัยนั้น ฯ [๗๐๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเช่นนี้แล้ว มานัตถัทธพราหมณ์ได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยายดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิดไว้ บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักมองเห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอ พระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
ปัจจนิกสูตรที่ ๖
[๗๐๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้น พราหมณ์มีนามว่า ปัจจนิกสาตะ สำนักอยู่ในกรุงสาวัตถี ปัจจนิกสาตพราหมณ์มีความดำริว่า อย่า กระนั้นเลย เราพึงเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมยังที่ประทับเถิด พระสมณโคดมจัก ตรัสคำใดๆ เราจักเป็นข้าศึกคำนั้นๆ ดังนี้ ฯ [๗๐๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ลำดับนั้น ปัจจนิกสาตพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว เดินตามพระผู้มี- *พระภาคซึ่งกำลังเสด็จจงกรมอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ขอท่านพระสมณะ จงตรัสธรรม ฯ [๗๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า คำอันเป็นสุภาษิต อันบุคคลผู้ยินดีจะเป็นข้าศึก มีจิตเศร้า หมอง มากไปด้วยความแข่งดี จะเห็นแจ้งด้วยดีไม่ได้ ส่วนว่าบุคคลใด กำจัดความแข่งดีและความไม่เลื่อมใส แห่งใจ ถอนความอาฆาตได้แล้ว ผู้นั้นแลพึงรู้คำอันเป็น สุภาษิต ฯ [๗๐๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเช่นนี้แล้ว ปัจจนิกสาตพราหมณ์กราบ ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระ- *โคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิดไว้ บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่ มืด ด้วยหวังว่าคนมีจักษุจะมองเห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์นี้ขอ ถึงพระผู้มีพระภาค กับพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้า พระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้น ไป ฯ
นวกรรมิกสูตรที่ ๗
[๗๐๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง ในแคว้นโกศล ฯ สมัยหนึ่ง นวกรรมิกภารทวาชพราหมณ์ให้คนทำงานอยู่ในไพรสณฑ์นั้น เขาได้เห็นพระผู้มีพระภาคซึ่งประทับนั่งคู้บัลลังก์ (นั่งขัดสมาธิ) ตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติไว้เฉพาะหน้า ที่โคนสาลพฤกษ์ต้นหนึ่ง ครั้นเห็นแล้ว เขามีความ คิดว่า เราให้คนทำงานอยู่ในไพรสณฑ์นี้จึงยินดี ส่วนพระสมณะนี้ ให้คนทำอะไร อยู่จึงยินดี ฯ [๗๐๖] ลำดับนั้น นวกรรมิกภารทวาชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า ข้าแต่ท่านภิกษุ ท่านทำงานอะไรหรือ จึงอยู่ในป่าสาลพฤกษ์ พระโคดมอยู่ในป่าผู้เดียว ได้ความยินดีอะไร ฯ [๗๐๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เราไม่มีกรณียกิจในป่าดอก เพราะเราถอนรากเหง้าป่า อันเป็น ข้าศึกเสียแล้ว เราไม่มีป่าคือกิเลส ปราศจากลูกศรคือกิเลส ละความกระสันเสียแล้ว จึงยินดีอยู่ผู้เดียวในป่า ฯ [๗๐๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเช่นนี้แล้ว นวกรรมิกภารทวาชพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดย อเนกปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิดไว้ บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจะมองเห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอ พระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้ง แต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
กัฏฐหารสูตรที่ ๘
[๗๐๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง ในแคว้นโกศลโน้น ฯ ก็สมัยนั้น พวกมาณพหลายคน ซึ่งเป็นอันเตวาสิกของพราหมณ์ภารทวาช โคตรคนหนึ่ง เที่ยวหาฟืนพากันเข้าไปยังไพรสณฑ์นั้น แล้วได้เห็นพระผู้มีพระภาค ประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติไว้เฉพาะหน้า อยู่ในไพรสณฑ์ นั้น จึงเข้าไปหาพราหมณ์ภารทวาชโคตรถึงที่อยู่ แล้วบอกพราหมณ์ภารทวาชโคตร ว่า ขอท่านพึงทราบ พระสมณโคดมประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรง พระสติไว้เฉพาะหน้า อยู่ในไพรสณฑ์ ฯ [๗๑๐] ลำดับนั้น พราหมณ์ภารทวาชโคตรพร้อมด้วยมาณพเหล่านั้น เข้าไปยังไพรสณฑ์นั้นแล้ว ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกาย ตรง ดำรงพระสติไว้เฉพาะหน้า ครั้นเห็นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่นั้น แล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า ภิกษุ ท่านเข้าไปสู่ป่าที่ว่างเปล่าปราศจากคนในป่าหนาทึบ น่า หวาดเสียวนัก มีกายไม่หวั่นเป็นประโยชน์ งาม เพ่งพินิจ อย่างดีหนอ ท่านเป็นมุนีอาศัยป่า อยู่ในป่าผู้เดียว ซึ่งไม่มี การขับร้อง และการบรรเลง การที่ท่านมีจิตยินดี อยู่ในป่า แต่ผู้เดียวนี้ ปรากฏเป็นข้อน่าอัศจรรย์แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้า ปรารถนาไตรทิพย์อันสูงสุด จึงมุ่งหมายความเป็นสหายกับ ท้าวมหาพรหมผู้เป็นอธิบดีของโลก เหตุไร ท่านจึงชอบใจ ป่าที่ปราศจากคน ท่านทำความเพียรในที่นี้เพื่อบังเกิดเป็น พรหมหรือ ฯ [๗๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ความมุ่งหวังหรือความเพลิดเพลินอย่างใดๆ ในอารมณ์หลาย ชนิด ซึ่งมีประจำอยู่ทุกเมื่อ นานาประการ หรือตัณหาอัน เป็นเหตุให้กระชับแน่น ซึ่งมีอวิชชาเป็นมูลราก ก่อให้เกิด ทั้งหมด เราทำให้สิ้นสุดพร้อมทั้งรากแล้ว เราจึงไม่มีความ มุ่งหวัง ไม่มีตัณหาประจำ ไม่มีตัณหาเข้ามาใกล้ มีปรกติ เห็นหมดจดในธรรมทั้งปวง บรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด ประเสริฐ เราควรเป็นพรหม แกล้วกล้าเพ่งอยู่ ฯ [๗๑๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเช่นนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดย อเนกปริยาย ดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิดไว้ บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจะมองเห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอ พระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
มาตุโปสกสูตรที่ ๙
[๗๑๓] สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้น มาตุโปสกพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ สนทนา ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง มาตุโปสกพราหมณ์นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าแสวงหาภิกษาโดยชอบ แล้วเลี้ยงมารดาและบิดา ข้าพเจ้าทำเช่นนี้ ชื่อว่าทำกิจที่ควรทำหรือไม่ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ชอบยิ่ง พราหมณ์ ท่านทำดังนี้ ชื่อว่าได้ทำ กิจที่ควรทำแล้ว ด้วยว่า ผู้ใดแสวงหาภิกษาโดยชอบแล้ว เลี้ยงมารดาและบิดา ผู้นั้นย่อมได้บุญเป็นอันมาก ฯ [๗๑๔] พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า บุคคลใดเลี้ยงมารดาและบิดาโดยชอบ เพราะการบำรุงมารดา และบิดานั่นแล บัณฑิตย่อมสรรเสริญบุคคลนั้นในโลกนี้ ทีเดียว บุคคลนั้นละไปจากโลกนี้แล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์ ฯ [๗๑๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเช่นนี้แล้ว มาตุโปสกพราหมณ์ได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่าน พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนก ปริยายดุจหงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิดไว้ บอกทางแก่คนหลงทาง ส่อง- *ประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจะมองเห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระ องค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่ วันนี้เป็นต้นไป ฯ
ภิกขกสูตรที่ ๑๐
[๗๑๖] สาวัตถีนิทาน ฯ ครั้งนั้น ภิกขกพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ สนทนา ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ภิกขกพราหมณ์นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นคนขอ พระองค์ก็ เป็นผู้ขอ ในความข้อนี้ เราจะต่างอะไรกัน ฯ [๗๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลหาชื่อว่าเป็นภิกษุเพียงด้วยการขอคนอื่นไม่ บุคคล สมาทานธรรมเป็นพิษ หาชื่อว่าเป็นภิกษุได้ไม่ ผู้ใดในโลก นี้ละบุญและบาปเสียแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยการ พิจารณา ผู้นั้นแลชื่อว่าเป็นภิกษุ ฯ [๗๑๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเช่นนี้แล้ว ภิกขกพราหมณ์ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจ- *หงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิดไว้ บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักมองเห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ขอถึง พระผู้มีพระภาคกับพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็น ต้นไป ฯ
สังครวสูตรที่ ๑๑
[๗๑๙] สาวัตถีนิทาน ฯ สมัยนั้น สังครวพราหมณ์อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี มีลัทธิถือความบริสุทธิ์ ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ประพฤติการลงอาบน้ำชำระร่างกายทั้งเวลา เย็นเวลาเช้าเป็นนิตย์ ฯ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์นุ่งแล้วถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตในกรุง สาวัตถีในเวลาเช้า ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้วกลับมาเวลาหลังอาหาร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ [๗๒๐] ท่านพระอานนท์นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า สังครวพราหมณ์อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี เขามีลัทธิ ถือความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ประพฤติการลงอาบน้ำชำระ ร่างกาย ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้าเป็นนิตย์ ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาค จงเสด็จไปหาสังครวพราหมณ์ยังที่อยู่อาศัย ด้วยความอนุเคราะห์เถิดพระเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยดุษณีภาพ ฯ ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปหาสังครวพราหมณ์ยังที่อยู่อาศัย แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปู ลาดไว้ ฯ [๗๒๑] ลำดับนั้น สังครวพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้ว สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามสังครวพราหมณ์ ซึ่งนั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่งว่า ดูกรพราหมณ์ เขาว่า ท่านได้ชื่อว่าถือความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ ด้วยน้ำ ท่านถือการลงอาบน้ำชำระร่างกาย ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้าเป็นนิตย์ จริงหรือ ฯ สังครวพราหมณ์กราบทูลว่า จริงเช่นนั้น ท่านพระโคดมผู้เจริญ ฯ พ. ดูกรพราหมณ์ ท่านเห็นอำนาจประโยชน์อะไรจึงได้ชื่อว่ามีลัทธิถือ ความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ถือการลงอาบน้ำ ชำระร่างกาย ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้าเป็นนิตย์ ฯ ส. ท่านพระโคดม บาปกรรมใดที่ข้าพระองค์ทำในเวลากลางวัน ข้าพระ องค์ลอยบาปกรรมนั้นเสียด้วยการอาบน้ำในเวลาเย็น บาปกรรมใดที่ข้าพระองค์ทำ ในเวลากลางคืน ข้าพระองค์ลอยบาปกรรมนั้นเสียด้วยการอาบน้ำในเวลาเช้า ท่าน พระโคดม ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์นี้แหละ จึงได้ชื่อว่า มีลัทธิถือความ บริสุทธิ์ด้วยน้ำ ปรารถนาความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ ถือการลงอาบน้ำชำระร่างกาย ทั้ง เวลาเย็นเวลาเช้าเป็นนิตย์ ฯ [๗๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ห้วงน้ำคือธรรมมีศีลเป็นท่าไม่ขุ่น สัตบุรุษ สรรเสริญต่อสัตบุรุษ เป็นที่ที่บุคคลผู้ถึงเวทอาบแล้ว บุคคล ผู้มีตัวไม่เปียกเท่านั้นจึงจะข้ามถึงฝั่งได้ ฯ [๗๒๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเช่นนี้แล้ว สังครวพราหมณ์ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจ หงายภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิดไว้ บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักมองเห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ขอถึง พระผู้มีพระภาคกับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะขอพระองค์ทรงจำข้าพระ องค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
โขมทุสสสูตรที่ ๑๒
[๗๒๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมชื่อว่า โขมทุสสะของเจ้า ศากยะ ในแคว้นสักกะ ฯ ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้วทรงถือบาตรและจีวร เสด็จ เข้าไปบิณฑบาตยังโขมทุสสนิคม ฯ สมัยนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวโขมทุสสนิคม ประชุมกันอยู่ในสภา ด้วยกรณียกิจบางอย่าง และฝนกำลังตกอยู่ประปราย ฯ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังสภานั้น ฯ พราหมณ์และคฤหบดีชาวโขมทุสสนิคม ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมา แต่ไกล ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า คนพวกไหนชื่อว่าสมณะโล้น และคนพวกไหน รู้จักธรรมของสภา ฯ [๗๒๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะพราหมณ์และคฤหบดีชาว โขมทุสสนิคม ด้วยพระคาถาว่า ในที่ใดไม่มีคนสงบ ที่นั้นไม่ชื่อว่าสภา คนเหล่าใดไม่ กล่าวธรรม คนเหล่านั้นไม่ชื่อว่าคนสงบ คนสงบละราคะ โทสะ และโมหะแล้วกล่าวธรรมอยู่ ฯ [๗๒๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์และคฤหบดี ชาวโขมทุสสนิคม ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม ภาษิตของ พระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระ โคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าคนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น พวกข้าพระองค์เหล่านี้ขอถึงท่านพระโคดมผู้เจริญกับพระธรรมและพระภิกษุ สงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมทรงจำพวกข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกถึงสรณะ ตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้ ฯ
จบอุบาสกวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กสิสูตร ๒. อุทัยสูตร ๓. เทวหิตสูตร ๔. มหาศาลสูตร ๕. มานัตถัทธสูตร ๖. ปัจจนิกสูตร ๗. นวกรรมิกสูตร ๘. กัฏฐหารสูตร ๙. มาตุโปสกสูตร ๑๐. ภิกขกสูตร ๑๑. สังครวสูตร ๑๒. โขมทุสสสูตร ฯ
จบพราหมณสังยุต
-----------------------------------------------------
วังคีสสังยุต
นิกขันตสูตรที่ ๑
[๗๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง ท่านพระวังคีสะ อยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวี กับท่าน พระนิโครธกัปปะผู้เป็นอุปัชฌาย์ ก็สมัยนั้น ท่านพระวังคีสะยังเป็นภิกษุใหม่ บวชได้ไม่นาน ถูกละไว้ให้เฝ้าวิหาร ฯ [๗๒๘] ครั้งนั้น สตรีเป็นอันมาก ประดับประดาร่างกายแล้ว เข้าไป ยังอารามเที่ยวดูที่อยู่ของพวกภิกษุ ครั้งนั้นแล ความกระสันย่อมบังเกิดขึ้น ความกำหนัดย่อมรบกวนจิตของ ท่านพระวังคีสะ เพราะได้เห็นสตรีเหล่านั้น ฯ ลำดับนั้น ท่านพระวังคีสะ มีความคิดดังนี้ว่า ไม่เป็นลาภของเราหนอ ไม่ใช่ลาภของเราหนอ เราได้ชั่วเสียแล้วหนอ เราไม่ได้ดีเสียแล้วหนอ ที่เราเกิด ความกระสัน ที่ความกำหนัดรบกวนจิตเรา เหตุที่คนอื่นๆ จะพึงบรรเทาความ กระสันแล้วยังความยินดีให้บังเกิดขึ้นแก่เรา ในความกำหนัดที่บังเกิดขึ้นแล้วนี้เรา จะได้แต่ที่ไหน อย่ากระนั้นเลย เราพึงบรรเทาความกระสันเสียแล้วยังความยินดี ให้เกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเองเถิด ฯ [๗๒๙] ในกาลนั้นแล ท่านพระวังคีสะบรรเทาความกระสันเสียแล้ว ยังความยินดีให้เกิดขึ้นแก่ตนเองแล้ว ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า วิตกทั้งหลายเป็นเหตุให้คะนอง (เกิดมา) แต่ฝ่ายธรรมดำ เหล่านี้ ย่อมวิ่งเข้ามาสู่เราผู้ออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่มี เหย้าเรือนแล้ว ฯ บุตรของคนชั้นสูงทั้งหลาย ผู้มีฝีมืออันเชี่ยวชาญ ศึกษาดี แล้ว ทรงธนูไว้มั่นคง พึงทำจำนวนคนที่ไม่ยอมหนีตั้งพันๆ ให้กระจัดกระจายไปรอบด้าน (ฉันใด) ถึงแม้ว่าสตรีมากยิ่งกว่านี้จักมา สตรีเหล่านั้นก็จักเบียดเบียน เรา ผู้ตั้งมั่นแล้วในธรรมของตนไม่ได้เลย (ฉันนั้น) เพราะว่า เราได้ฟังทางเป็นที่ไปสู่พระนิพพานนี้ในที่เฉพาะ พระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ พระอาทิตย์แล้ว ใจของเรายินดีแล้วในทางเป็นที่ไปสู่พระนิพพานนั้น ฯ แน่ะมารผู้ชั่วร้าย ถ้าท่านจะเข้ามาหาเราผู้อยู่อย่างนี้ แน่ะ มฤตยุราช เราจักทำโดยวิธีที่ท่านจักไม่เห็นแม้ซึ่งทางของเรา ได้เลย ดังนี้ ฯ
อรติสูตรที่ ๒
[๗๓๐] สมัยหนึ่ง ท่านวังคีสะ อยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวี กับท่านพระนิโครธกัปปะผู้เป็นอุปัชฌาย์ โดยสมัยนั้นแล ท่านพระนิโครธกัปปะ กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต ย่อมเข้าไปสู่วิหาร ย่อมออกในเวลาเย็นบ้าง ในวันรุ่งขึ้นหรือในเวลาภิกษาจารบ้าง ฯ [๗๓๑] ก็โดยสมัยนั้นแล ความกระสันย่อมบังเกิดขึ้น ความกำหนัด ย่อมรบกวนจิตของท่านพระวังคีสะ ลำดับนั้น ท่านพระวังคีสะมีความคิดดังนี้ว่า ไม่เป็นลาภของเราหนอ ไม่ใช่ลาภของเราหนอ เราได้ชั่วเสียแล้วหนอ เราไม่ได้ ดีเสียแล้วหนอ ที่เราเกิดความกระสันขึ้นแล้ว ที่ความกำหนัดรบกวนจิตเรา เรา จะได้เหตุที่คนอื่นๆ จะพึงบรรเทาความกระสันแล้วยังความยินดีให้เกิดขึ้นแก่เรา ในความกำหนัดที่เกิดขึ้นแล้วนี้แต่ที่ไหน อย่ากระนั้นเลย เราพึงบรรเทาความ กระสันแล้ว ยังความยินดีให้เกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเองเถิด ฯ [๗๓๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะบรรเทาความกระสันแล้ว ยังความ ยินดีให้เกิดขึ้นแก่ตนด้วยตนเอง ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า บุคคลใดละความไม่ยินดี (ในศาสนา) และความยินดี (ใน กามคุณทั้งหลาย) และวิตกอันอาศัยเรือนโดยประการทั้งปวง แล้ว ไม่พึงทำป่าใหญ่คือกิเลสในอารมณ์ไหนๆ เป็นผู้ไม่ มีป่าคือกิเลส เป็นผู้ไม่น้อมใจไปแล้ว ผู้นั้นแลชื่อว่าเป็น ภิกษุ ฯ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้ ที่ตั้งอยู่บนแผ่นดินก็ดี ทั้งตั้ง อยู่ในเวหาสก็ดี ที่อยู่ในแผ่นดินก็ดี ย่อมทรุดโทรม เป็น ของไม่เที่ยงทั้งหมด บุคคลทั้งหลายผู้สำนึกตน ย่อมถึงความ ตกลงอย่างนี้เที่ยวไป ฯ ชนทั้งหลายเป็นผู้ติดแล้ว ในอุปธิทั้งหลายคือ ในรูปอันตน เห็นแล้ว ในเสียงอันตนได้ฟังแล้ว ในกลิ่นและรสอันตน ได้กระทบแล้ว และในโผฏฐัพพารมณ์อันตนรู้แล้ว ท่านจง บรรเทาความพอใจในกามคุณ ๕ เหล่านั้น เป็นผู้ไม่หวั่นไหว บุคคลใดไม่ติดอยู่ในกามคุณ ๕ เหล่านั้น บัณฑิตทั้งหลาย เรียกบุคคลนั้นว่า เป็นมุนี ฯ วิตกของคนทั้งหลายอาศัยปิยรูปสาตรูป ๖๐ เป็นอันมาก ตั้งลงแล้วโดยไม่เป็นธรรมในหมู่ปุถุชน บุคคลไม่พึงถึงวังวน กิเลสในอารมณ์ไหนๆ และบุคคลผู้ไม่พูดจาชั่วหยาบ จึง ชื่อว่าเป็นภิกษุ ฯ บัณฑิตผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วตลอดกาลนาน ผู้ไม่ลวงโลก ผู้มี ปัญญาแก่กล้า ผู้ไม่ทะเยอทะยาน เป็นมุนี ผู้ถึงบทอันระงับ แล้ว อาศัยพระนิพพาน เป็นผู้ดับกิเลสได้แล้ว ย่อมรอคอย กาล (เป็นที่ปรินิพพาน) ดังนี้ ฯ
เปสลาติมัญญนาสูตรที่ ๓
[๗๓๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระวังคีสะอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวี กับท่านพระนิโครธกัปปะผู้อุปัชฌาย์ ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระวังคีสะนึกดู หมิ่นภิกษุทั้งหลาย ผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่าอื่น ด้วยปฏิภาณของตน ฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะมีความคิดดังนี้ว่า ไม่เป็นลาภของเราหนอ ไม่ใช่ลาภของเราหนอ เราได้ชั่วเสียแล้วหนอ เราไม่ได้ดีเสียแล้วหนอ ที่เรา ดูหมิ่นภิกษุทั้งหลาย ผู้มีศีลเป็นที่รักเหล่าอื่น ด้วยปฏิภาณของตน ดังนี้ ฯ [๗๓๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะยังความวิปฏิสารให้เกิดขึ้นแก่ตน ด้วยตนเองแล้ว ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า ดูกรท่านผู้เป็นสาวกของพระโคดม ท่านจงละมานะเสีย ท่านจงละหนทางแห่งมานะในโลกนี้เสีย ท่านจงเป็นผู้ละ หนทางแห่งมานะในโลกนี้เสีย อย่าให้มีส่วนเหลือได้ (เพราะ) หมู่สัตว์ผู้อันความลบหลู่ทำให้มัวหมอง แล้วย่อมเป็นผู้มีความ เดือดร้อนตลอดกาลนาน สัตว์ทั้งหลายผู้อันมานะกำจัดแล้ว ย่อมตกนรก ชนทั้งหลายผู้อันมานะกำจัดแล้ว เข้าถึงนรก แล้ว ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน ภิกษุผู้ชำนะกิเลสด้วยมรรค เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมไม่เศร้าโศกเลยในกาลไหนๆ ย่อม ได้รับเกียรติคุณและความสุข บัณฑิตทั้งหลายย่อมเรียกภิกษุ ผู้เช่นนั้นว่า เป็นผู้เห็นธรรม เพราะฉะนั้น ท่านจงเป็นผู้ไม่ มีกิเลสเพียงตะปูเครื่องตรึงใจในโลกนี้ เป็นผู้มีความเพียร จงละนิวรณ์ทั้งหลายเสีย เป็นผู้บริสุทธิ์ และละมานะอย่า ให้มีส่วนเหลือแล้ว ทำที่สุดแห่งกิเลสด้วยวิชชา เป็นผู้สงบ ระงับ ดังนี้ ฯ
อานันทสูตรที่ ๔
[๗๓๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งห่มแล้วถือบาตรและจีวร เข้าไปเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี มีท่านพระวังคีสะเป็นปัจฉาสมณะ ก็ โดยสมัยนั้นแล ความกระสันได้เกิดขึ้น ความกำหนัดย่อมรบกวนจิตของท่าน พระวังคีสะ ฯ [๗๓๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ด้วย คาถาว่า ข้าพเจ้าเร่าร้อนเพราะกามราคะ จิตของข้าพเจ้ารุ่มร้อน ขอท่าน จงบอกวิธีเป็นเครื่องดับราคะ เพื่ออนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้าด้วย เถิด ท่านผู้โคดม ฯ ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า [๗๓๗] จิตของท่านรุ่มร้อน เพราะสัญญาอันวิปลาส ท่านจงละ เว้นนิมิตอันสวยงาม อันเป็นที่ตั้งแห่งราคะเสีย ท่านจงเห็น สังขารทั้งหลาย โดยความเป็นของแปรปรวน โดยเป็นทุกข์ และอย่าเห็นโดยความเป็นตน ท่านจงดับราคะอันแรงกล้า ท่านจงอย่าถูกราคะเผาผลาญบ่อยๆ ท่านจงเจริญจิตใน อสุภกัมมัฏฐาน ให้เป็นจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียวตั้งมั่นด้วยดี เถิด ท่านจงมีกายคตาสติ ท่านจงเป็นผู้มากด้วยความหน่าย ท่านจงเจริญความไม่มีนิมิต และจงถอนมานานุสัยเสีย เพราะ การรู้เท่าถึงมานะ ท่านจักเป็นผู้สงบระงับเที่ยวไป ดังนี้ ฯ
สุภาษิตสูตรที่ ๕
[๗๓๘] สาวัตถีนิทาน ฯ ในสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระพุทธดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มี- *พระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วาจาอันประกอบด้วยองค์ ๔ เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และเป็นวาจาอัน วิญญูชนทั้งหลายไม่ติเตียน องค์ ๔ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม- *วินัยนี้ ย่อมกล่าวแต่วาจาที่บุคคลกล่าวดีแล้วอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาที่บุคคล กล่าวชั่วแล้ว ๑ ย่อมกล่าวแต่วาจาที่เป็นธรรมอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาที่ไม่เป็น ธรรม ๑ ย่อมกล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รักอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ๑ ย่อมกล่าวแต่วาจาจริงอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาเท็จ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย วาจาอัน ประกอบด้วยองค์ ๔ เหล่านี้แล เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจา ไม่มีโทษ และเป็นวาจาอันวิญญูชนทั้งหลายไม่ติเตียน ฯ [๗๓๙] พระผู้มีพระภาค ผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า สัตบุรุษทั้งหลาย ได้กล่าววาจาสุภาษิตว่าเป็นที่หนึ่ง บุคคล พึงกล่าววาจาที่เป็นธรรม ไม่พึงกล่าววาจาที่ไม่เป็นธรรม เป็น ที่สอง บุคคลพึงกล่าววาจาอันเป็นที่รัก ไม่พึงกล่าววาจาอัน ไม่เป็นที่รัก เป็นที่สาม บุคคลพึงกล่าววาจาจริง ไม่พึงกล่าว วาจาเท็จ เป็นที่สี่ ดังนี้ ฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีเฉพาะพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระผู้มีพระภาค เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อ ความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เนื้อความนี้จงแจ่มแจ้งกะเธอเถิด วังคีสะ ฯ [๗๔๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาคด้วย คาถาทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ว่า บุคคลพึงกล่าวแต่วาจาที่ไม่เป็นเหตุยังตนให้เดือดร้อน และ ไม่เป็นเหตุเบียดเบียนผู้อื่น วาจานั้นแลเป็นสุภาษิต บุคคล พึงกล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รัก ที่ชนทั้งหลายชื่นชมแล้ว ไม่ ถือเอาคำที่ชั่วช้าทั้งหลาย กล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รักแก่ชน เหล่าอื่น คำสัตย์แล เป็นวาจาไม่ตาย ธรรมนี้เป็นของมีมา แต่เก่าก่อน สัตบุรุษทั้งหลายเป็นผู้ตั้งมั่นแล้วในคำสัตย์ ที่ เป็นอรรถและเป็นธรรม พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด ซึ่ง เป็นวาจาเกษม เพื่อให้ถึงพระนิพพาน เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ พระวาจานั้นแลเป็นสูงสุดกว่าวาจาทั้งหลาย ดังนี้ ฯ
สารีปุตตสูตรที่ ๖
[๗๔๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ด้วยวาจาของชาวเมือง สละสลวย ไม่มีโทษ ไม่เคลื่อนคลาด อาจยังผู้ฟังให้รู้เนื้อความได้แจ่มแจ้ง ฯ ส่วนภิกษุเหล่านั้นก็ทำธรรมนั้นให้เป็นประโยชน์ ใส่ใจกำหนดด้วยจิต ทั้งปวง เงี่ยโสตลงฟังธรรม ฯ [๗๔๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะมีความคิดดังนี้ว่า ท่านพระสารีบุตร นี้ แนะนำชักชวนภิกษุทั้งหลายให้อาจหาญ รื่นเริงด้วยธรรมีกถา ด้วยวาจาของ ชาวเมือง สละสลวย ไม่มีโทษ ไม่เคลื่อนคลาด อาจยังผู้ฟังให้รู้เนื้อความได้ แจ่มแจ้ง ฯ ส่วนภิกษุเหล่านั้นเล่า ก็ทำธรรมนั้นให้เป็นประโยชน์ ใส่ใจกำหนดด้วย จิตทั้งปวง เงี่ยโสตลงฟังธรรม อย่ากระนั้นเลย เราควรสรรเสริญท่านพระสารี- *บุตรด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควรในที่เฉพาะหน้าเถิด ฯ ลำดับนั้นแล ท่านพระวังคีสะลุกจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้ว ประนมอัญชลีเฉพาะท่านพระสารีบุตรแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตร ดังนี้ว่า ท่านสารีบุตร เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพเจ้า ท่านสารีบุตร เนื้อ ความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพเจ้า ฯ ท่านพระสารีบุตรกล่าวกะท่านพระวังคีสะว่า เนื้อความนั้นจงแจ่มแจ้งกะ ท่านเถิด ท่านวังคีสะ ฯ [๗๔๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะได้สรรเสริญท่านพระสารีบุตร ต่อหน้าด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควรว่า ท่านสารีบุตรเป็นนักปราชญ์ มีปัญญาลึกซึ้ง ฉลาดในทาง และมิใช่ทาง มีปัญญามาก ย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย แสดงโดยย่อก็ได้ แสดงโดยพิสดารก็ได้ เสียงของท่าน ไพเราะดังก้อง เหมือนเสียงนกสาริกา ปฏิภาณเกิดขึ้นโดย ไม่รู้สิ้นสุด เมื่อท่านแสดงธรรมอยู่ ภิกษุทั้งหลายย่อมฟัง เสียงอันไพเราะ เป็นผู้ปลื้มจิตยินดีด้วยเสียงอันเพราะ น่า ยินดี น่าฟัง เงี่ยโสตอยู่ ดังนี้ ฯ
ปวารณาสูตรที่ ๗
[๗๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับที่พระวิหารบุพพาราม ปราสาท ของนางวิสาขาผู้เป็นมารดามิคารเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี กับพระภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็นอรหันต์ทั้งหมด ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเป็นผู้อันภิกษุสงฆ์แวดล้อม ประทับ นั่งในที่แจ้ง เพื่อทรงปวารณาในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ฯ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูเห็นภิกษุสงฆ์เป็นผู้นิ่งอยู่แล้ว จึง รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอปวารณาเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะไม่ติเตียนกรรมไรๆ ที่เป็นไปทางกายหรือทางวาจาของเราบ้าง หรือ ฯ [๗๔๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรลุกขึ้นจาก อาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้ว ประนมอัญชลีเฉพาะพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายติเตียน กรรมไรๆ อันเป็นไปทางพระกายหรือทางพระวาจาของพระผู้มีพระภาคไม่ได้เลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะว่า พระผู้มีพระภาคทรงยังทางที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ทรงยังทางที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดมี ทรงบอกทางที่ยังไม่มีผู้บอก เป็นผู้ทรงรู้ทาง ทรงรู้แจ้งทาง ทรงฉลาดในทาง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาวกทั้งหลายในบัดนี้เป็นผู้ เดินตามทาง บัดนี้แลขอปวารณาพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคจะไม่ทรงติเตียน กรรมไรๆ อันเป็นไปทางกายหรือทางวาจาของข้าพระองค์บ้างหรือ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สารีบุตร เราติเตียนกรรมไรๆ อันเป็นไปทาง กายหรือทางวาจาของเธอไม่ได้เลย สารีบุตร เธอเป็นบัณฑิต สารีบุตร เธอเป็น ผู้มีปัญญามาก เป็นผู้มีปัญญาแน่นหนา สารีบุตร เธอเป็นผู้มีปัญญาชวนให้ร่าเริง เป็นผู้มีปัญญาว่องไว เป็นผู้มีปัญญาหลักแหลม เป็นผู้มีปัญญาสยายกิเลสได้ สารีบุตร โอรสพระองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมยังจักรอันพระราชบิดา ให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามได้โดยชอบ ฉันใด สารีบุตร เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมยังธรรมจักรอันยอดเยี่ยม อันเราให้เป็นไปแล้วให้เป็นไปตามได้โดยชอบ แท้จริง ฯ ท่านพระสารีบุตรจึงกราบทูลอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากว่าพระผู้มี- *พระภาค ไม่ทรงติเตียนกรรมไรๆ อันเป็นไปทางกาย หรือทางวาจาของข้าพระองค์ ไซร้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคจะไม่ทรงติเตียนกรรมไรๆ อัน เป็นไปทางกายหรือทางวาจาของภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้บ้างหรือ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สารีบุตร เราไม่ติเตียนกรรมไรๆ อันเป็นไป ทางกายหรือทางวาจา ของภิกษุ ๕๐๐ รูปแม้เหล่านี้ สารีบุตร เพราะบรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ ภิกษุ ๖๐ รูป เป็นผู้ได้วิชชา ๓ อีก ๖๐ รูป เป็นผู้ได้อภิญญา ๖ อีก ๖๐ รูป เป็นผู้ได้อุภโตภาควิมุติ ส่วนที่ยังเหลือเป็นผู้ได้ปัญญาวิมุติ ฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้ว ประนมอัญชลีเฉพาะพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า เนื้อความนั้นจงแจ่มแจ้งกะเธอเถิด วังคีสะ ฯ [๗๔๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะ ได้สรรเสริญพระผู้มีพระภาคในที่ เฉพาะพระพักตร์ด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควรว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถที่ ๑๕ ภิกษุ ๕๐๐ รูป มาประชุมกันแล้ว เพื่อความบริสุทธิ์ ล้วนเป็นผู้ตัดกิเลส เครื่องประกอบและ เครื่องผูกได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีความคับแค้น เป็นผู้มีภพใหม่สิ้น แล้ว เป็นผู้แสวงหาคุณอันประเสริฐ พระเจ้าจักรพรรดิห้อม- *ล้อมด้วยอำมาตย์เสด็จเลียบพระมหาอาณาจักรนี้ ซึ่งมีสมุทร สาครเป็นขอบเขตโดยรอบ ฉันใด สาวกทั้งหลายผู้บรรลุ ไตรวิชชา ผู้ละมฤตยุราชเสียได้ ย่อมนั่งห้อมล้อมพระผู้มี พระภาค ผู้ชำนะสงครามแล้ว เป็นผู้นำพวกอันหาผู้นำอื่น ยิ่งกว่าไม่มี ฉันนั้น พระสาวกทั้งหมดเป็นบุตรของพระผู้มี พระภาค ผู้ชั่วช้าไม่มีในสมาคมนี้ ข้าพระองค์ขอถวายบังคม พระผู้มีพระภาค ผู้หักลูกศร คือตัณหาเสียได้ ผู้เป็นเผ่า- *พันธุ์ พระอาทิตย์ ดังนี้ ฯ
ปโรสหัสสสูตรที่ ๘
[๗๔๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี กับภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ๑,๒๕๐ รูป ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ให้ สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันประกอบด้วยนิพพาน ฯ ฝ่ายภิกษุเหล่านั้น ได้ทำธรรมนั้นให้สำเร็จประโยชน์ ใส่ใจกำหนดด้วย จิตทั้งปวง เงี่ยโสตลงฟังธรรม ฯ [๗๔๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะมีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคนี้ ทรงแนะนำ ทรงชักชวนภิกษุทั้งหลายให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอัน ประกอบด้วยนิพพาน ฝ่ายภิกษุเหล่านั้น ก็ทำธรรมนั้นให้สำเร็จประโยชน์ ใส่ใจ กำหนดด้วยจิตทั้งปวง เงี่ยโสตลงฟังธรรมนั้น อย่ากระนั้นเลย เราควรจะ สรรเสริญพระผู้มีพระภาคในที่เฉพาะพระพักตร์ ด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควรเถิด ฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้ว ประนมอัญชลีเฉพาะพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า เนื้อความนั่นจงแจ่มแจ้งกะเธอเถิด วังคีสะ ฯ [๗๔๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะได้กราบทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาค ในที่เฉพาะพระพักตร์ ด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควรว่า ภิกษุมากกว่าพัน ย่อมนั่งห้อมล้อมพระสุคตผู้ทรงแสดงธรรม อันปราศจากธุลีคือพระนิพพาน ธรรมอันหาภัยแต่ไหนมิได้ ภิกษุทั้งหลายย่อมฟังธรรมอันปราศจากมลทิน ซึ่งพระสัมมา- สัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว พระสัมพุทธเจ้าผู้อันหมู่ภิกษุ ห้อมล้อมแล้ว ย่อมงามจริงหนอ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระองค์เป็นผู้ทรงนามว่าพญาช้างอันประเสริฐ เป็นพระฤาษี ที่ ๗ แห่งพระฤาษีทั้งหลาย เป็นผู้ดุจมหาเมฆยังฝนให้ตกใน พระสาวก ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงแกล้วกล้าใหญ่ วังคีสะสาวก ของพระองค์ ออกจากที่พักกลางวันด้วยความใคร่เพื่อเฝ้าพระ- *ศาสดา ขอถวายบังคมพระบาท ดังนี้ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า วังคีสะ คาถาเหล่านี้เธอตรึกตรองไว้ก่อน หรือๆ ว่าแจ่มแจ้งกะเธอโดยฉับพลัน ฯ ท่านพระวังคีสะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คาถาเหล่านี้ ข้าพระองค์มิได้ตรึกตรองไว้ก่อนเลย แต่ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์โดยทันทีเทียว แล ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า วังคีสะ คาถาทั้งหลายที่เธอไม่ได้ตรึกตรองไว้ ในกาลก่อน จงแจ่มแจ้งกะเธอยิ่งกว่าประมาณเถิด ฯ [๗๕๐] ท่านพระวังคีสะ ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคว่า ได้ พระเจ้าข้า แล้วได้ทูลสรรเสริญพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาทั้งหลายซึ่งตนไม่ได้ ตรึกตรองไว้ในกาลก่อน โดยยิ่งกว่าประมาณว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงครอบงำหนทางผิดตั้ง ร้อยของมารเสียได้ ทรงทำลายกิเลสเครื่องตรึงใจเพียงดังตะปู ทั้งหลายเสียได้เสด็จเที่ยวไป ท่านทั้งหลายจงดูพระสัมมา สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงทำการแก้เครื่องผูกเสียได้ ผู้- อันกิเลสอาศัยไม่ได้แล้ว ผู้ทรงจำแนกธรรมเป็นส่วนๆ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดได้ทรงบอกทางมีอย่างต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องข้ามโอฆะ เมื่อหนทางนั้น ซึ่งเป็นทางไม่ตาย อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นตรัสบอกแล้ว พระสาวกทั้งหลาย เป็นผู้เห็นธรรมไม่ง่อนแง่น ตั้งมั่นแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ใด ทรงทำความรุ่งเรืองแทงตลอดซึ่งธรรมแล้ว ได้ ทรงเห็นธรรมเป็นที่ก้าวล่วงทิฐิทั้งปวง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ครั้นทรงทราบแล้วและทรงกระทำให้แจ้ง (ธรรมนั้น) แล้ว ได้ทรงแสดงฐานะทั้ง ๑๐ อันเลิศ ความ ประมาทอะไร ในธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง แล้วด้วยดีอย่างนี้ จักมีแก่ผู้รู้ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแล บุคคลพึงเป็นผู้ไม่ประมาท น้อมใจศึกษาในพระศาสนาของ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทุกเมื่อ ดังนี้ ฯ
โกณฑัญญสูตรที่ ๙
[๗๕๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อัน เป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับต่อกาลนานนักทีเดียว ครั้นแล้วได้หมอบลงแทบพระบาททั้งสองของ พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า จูบพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคด้วยปาก นวดฟั้นด้วยมือทั้งสอง และประกาศชื่อว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ ชื่อว่า โกณฑัญญะ ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ชื่อว่าโกณฑัญญะ ดังนี้ ฯ [๗๕๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะมีความคิดดังนี้ว่า ท่านพระอัญญา โกณฑัญญะนี้ นานนักทีเดียวจึงได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นเข้าเฝ้าแล้ว ได้ หมอบลงแทบพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า จูบพระบาททั้ง- *สองของพระผู้มีพระภาคด้วยปาก นวดฟั้นด้วยมือทั้งสอง และประกาศชื่อว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ชื่อว่า โกณฑัญญะ ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์ ชื่อว่า โกณฑัญญะ อย่ากระนั้นเลย เราพึงชมเชยท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาทั้งหลายตามสมควรเถิด ฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะแล้ว ประนมอัญชลีไปทาง ที่พระผู้มีพระภาคประทับแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มี- *พระภาค เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า เนื้อความนั่นจงแจ่มแจ้งกะเธอเถิด วังคีสะ ดังนี้ ฯ [๗๕๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะได้ชมเชยท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควรว่า พระโกณฑัญญะเถระนี้ เป็นผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธองค์ เป็นผู้ มีความเพียรเครื่องก้าวหน้าอย่างแรงกล้า เป็นผู้ได้ธรรมเครื่อง อยู่เป็นสุขทั้งหลายอันเกิดแต่วิเวกเนืองนิตย์ คุณอันใดอัน พระสาวกผู้ทำตามคำสอนของพระศาสดาพึงบรรลุ คุณอันนั้น ทุกอย่างอันพระโกณฑัญญะเถระนั้น เป็นผู้ไม่ประมาทศึกษา อยู่บรรลุแล้วโดยลำดับ พระโกณฑัญญะเถระเป็นผู้มีอานุภาพ มาก เป็นผู้ได้วิชชา ๓ เป็นผู้ฉลาดในเจโตปริยญาณ เป็น ทายาทของพระพุทธองค์ ไหว้อยู่ซึ่งพระบาททั้งสองของ พระศาสดา ดังนี้ ฯ
โมคคัลลานสูตรที่ ๑๐
[๗๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ กาฬสิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ เขตพระนครราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็น พระอรหันต์ทั้งหมด ฯ ได้ยินว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานะตามพิจารณาจิตอันหลุดพ้นพิเศษ (จากกิเลส) อันหาอุปธิมิได้ ของภิกษุเหล่านั้นด้วยจิตอยู่ ฯ [๗๕๕] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะมีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาค นี้แลประทับที่กาฬสิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ เขตกรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด ท่านพระมหา- *โมคคัลลานะก็ตามพิจารณาจิตอันหลุดพ้นพิเศษ (จากกิเลส) อันหาอุปธิมิได้ ของภิกษุเหล่านั้นด้วยจิตอยู่ อย่ากระนั้นเลย เราพึงชมเชยท่านพระมหาโมคคัลลานะ เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควรเถิด ฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ข้าแต่- *พระสุคต เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เนื้อความนั่นจงแจ่มแจ้งกะเธอเถิด วังคีสะ ฯ [๗๕๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะ ได้ชมเชยท่านพระมหาโมคคัลลานะ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาทั้งหลายอันสมควรว่า พระสาวกทั้งหลายผู้สำเร็จไตรวิชชา ผู้ละมฤตยูเสียได้ ย่อม นั่งห้อมล้อมพระมุนี ผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์ ซึ่งประทับนั่งอยู่ที่ข้าง แห่งภูเขา พระมหาโมคคัลลานะผู้มีฤทธิ์มาก ย่อมสอดส่อง พระสาวกเหล่านั้นด้วยจิต ตามพิจารณาจิตอันหลุดพ้นพิเศษ แล้ว อันหาอุปธิมิได้ของพระสาวกเหล่านั้นอยู่ พระสาวก ทั้งหลายย่อมนั่งห้อมล้อมพระโคดม ผู้เป็นมุนี ซึ่งสมบูรณ์ ด้วยพระคุณทั้งปวงอย่างนี้ ผู้ถึงฝั่งแห่งทุกข์ ผู้ประกอบด้วย พระคุณเป็นอเนกประการ ดังนี้ ฯ
คัคคราสูตรที่ ๑๑
[๗๕๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่ริมฝั่งสระบัวชื่อว่า คัคครา เขตนครจัมปา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป อุบาสก ประมาณ ๗๐๐ คน และเทวดาหลายพันองค์ ฯ นัยว่า พระผู้มีพระภาครุ่งเรืองล่วงภิกษุ อุบาสกและเทวดาเหล่านั้น ด้วย พระวรรณะและด้วยพระยศ ฯ [๗๕๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะ มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาค นี้แล ประทับอยู่ที่ฝั่งสระบัวชื่อว่าคัคครา เขตนครจัมปา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป อุบาสกประมาณ ๗๐๐ คน และเทวดาหลายพันองค์ นัยว่า พระผู้มีพระภาครุ่งเรืองล่วงภิกษุ อุบาสกและเทวดาเหล่านั้น ด้วยพระ- *วรรณะและด้วยพระยศ อย่ากระนั้นเลย เราพึงชมเชยพระผู้มีพระภาค ณ ที่เฉพาะ พระพักตร์ ด้วยคาถาอันสมควรเถิด ฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะ ลุกขึ้นจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่า ข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี- *พระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ข้าแต่ พระสุคต เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ฯ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า เนื้อความนั่นจงแจ่มแจ้งกะเธอเถิด วังคีสะ ฯ [๗๕๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะ ได้ชมเชยพระผู้มีพระภาค ณ ที่ เฉพาะพระพักตร์ ด้วยคาถาอันสมควรว่า พระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งปราศจากมลทิน ย่อมแจ่มกระจ่าง ในท้องฟ้า ซึ่งปราศจากเมฆฝน ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้มี พระรัศมีซ่านออกแต่พระสรีรกาย ผู้เป็นมหามุนี พระองค์ ย่อมรุ่งเรืองล่วงสรรพสัตว์โลก ด้วยพระยศ ฉันนั้น ดังนี้ ฯ
วังคีสสูตรที่ ๑๒
[๗๖๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระวังคีสะ อยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระวังคีสะ เป็นผู้บรรลุพระอรหัตแล้วไม่นาน เสวย วิมุตติสุขอยู่ ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ในเวลานั้นว่า ในกาลก่อน เราเป็นผู้มัวเมาด้วยความเป็นกวี ได้เที่ยวไป แล้ว สู่บ้านจากบ้าน สู่เมืองจากเมือง ครั้นเราได้เห็น พระสัมพุทธเจ้า ศรัทธาจึงบังเกิดขึ้นแก่เรา พระสัมพุทธเจ้า นั้นได้ทรงแสดงธรรมคือขันธ์ อายตนะ ธาตุแก่เรา เราได้ฟัง ธรรมของพระองค์แล้ว ก็บรรพชาเป็นผู้หาเรือนมิได้ พระมุนี ได้ตรัสรู้พระโพธิญาณ เพื่อประโยชน์แก่ประชุมชนเป็นอัน- มากแก่ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย ผู้ได้ถึง ได้เห็นนิยามธรรม การมาของเราในสำนักของพระพุทธเจ้าของเรา เป็นการมาดี จริงหนอ วิชชา ๓ อันเราได้บรรลุแล้วโดยลำดับ พระศาสนา ของพระพุทธองค์เราได้ทำแล้ว เราย่อมรู้ขันธสันดานอันเรา เคยอยู่ในกาลก่อน ทิพจักษุญาณเราทำให้หมดจดแล้ว เรา เป็นผู้สำเร็จไตรวิชชา บรรลุอิทธิวิธี ฉลาดในเจโตปริยญาณ ดังนี้ ฯ
จบวังคีสสังยุต
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรแห่งวังคีสสังยุตมี ๑๒ สูตร คือ
นิกขันตสูตรที่ ๑ อรติสูตรที่ ๒ เปสลาติมัญญนาสูตรที่ ๓ อานันทสูตร ที่ ๔ สุภาษิตสูตรที่ ๕ สารีปุตตสูตรที่ ๖ ปวารณาสูตรที่ ๗ ปโรสหัสสสูตร ที่ ๘ โกณฑัญญสูตรที่ ๙ โมคคัลลานสูตรที่ ๑๐ คัคคราสูตรที่ ๑๑ กับวังคีสสูตร ครบ ๑๒ ฯ
-----------------------------------------------------
วนสังยุต
วิเวกสูตรที่ ๑
[๗๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่ง ในแคว้นโกศล สมัยนั้นแล ภิกษุรูปนั้น พักผ่อนกลางวัน ตรึกอกุศลวิตกลามกอิงอาศัยเรือน ฯ [๗๖๒] ครั้งนั้น เทวดาที่สิงอยู่ในป่านั้น มีความเอ็นดูใคร่ประโยชน์ แก่ภิกษุนั้น หวังจะให้เธอสลดใจ จึงเข้าไปหาแล้วกล่าวกะเธอด้วยคาถาว่า ท่านใคร่วิเวก จึงเข้าป่า ส่วนใจของท่านแส่ซ่านไปภายนอก ท่านเป็นคน จงกำจัดความพอใจในคนเสีย แต่นั้น ท่าน จักเป็นผู้มีความสุข ปราศจากความกำหนัด ท่านมีสติ ละ ความไม่ยินดีเสียได้ เราเตือนให้ท่านระลึกถึงธรรมของ สัตบุรุษ ธุลีคือกิเลสประดุจบาดาลที่ข้ามได้ยาก ได้แก่ความ กำหนัดในกามอย่าได้ครอบงำท่านเลย นกที่เปื้อนฝุ่น ย่อม สลัดธุลีที่แปดเปื้อนให้ตกไป ฉันใด ภิกษุผู้มีเพียร มีสติ ย่อมสลัดธุลีคือกิเลสที่แปดเปื้อนให้ตกไป ฉันนั้น ดังนี้ ลำดับนั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้อันเทวดานั้นเตือนให้สังเวช ถึงซึ่งความสลดใจ แล้วแล ฯ
อุปัฏฐานสูตรที่ ๒
[๗๖๓] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งในแคว้น โกศล สมัยนั้นแล ภิกษุรูปนั้น ไปนอนหลับในที่พักกลางวัน ฯ [๗๖๔] ครั้งนั้น เทวดาที่สิงอยู่ในป่านั้น มีความเอ็นดูใคร่ประโยชน์ แก่ภิกษุรูปนั้น หวังจะให้เธอสลดใจจึงเข้าไปหาแล้วได้กล่าวกะเธอด้วยคาถาว่า ท่านจงลุกขึ้นเถิดภิกษุ ท่านจะต้องการอะไรด้วยความหลับ ท่านผู้เร่าร้อนด้วยกิเลส อันลูกศรคือตัณหาเสียบแทง ดิ้นรน อยู่ จะมัวหลับมีประโยชน์อะไร ท่านออกจากเรือนบวชด้วย ความเป็นผู้ไม่มีเรือนด้วยศรัทธาใด ท่านจงเพิ่มพูนศรัทธานั้น เถิด อย่าไปสู่อำนาจของความหลับเลย ฯ [๗๖๕] คนเขลาหมกมุ่นอยู่ในกามารมณ์เหล่าใด กามารมณ์ เหล่านั้น ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ความหลับจะแผดเผาบรรพชิต ผู้พ้นแล้ว ผู้ไม่เกี่ยวข้องในกามารมณ์ซึ่งยังสัตว์ให้ติดอยู่ได้ อย่างไร เพราะกำจัดฉันทราคะเสียได้ และเพราะก้าวล่วง อวิชชาเสียได้ ญาณนั้นเป็นของบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ไฉนความ หลับจะแผดเผาบรรพชิตได้ ความหลับจะแผดเผาบรรพชิต ผู้ไม่มีโศก ไม่มีความแค้นใจ เพราะทำลายอวิชชาเสียด้วย วิชชา และเพราะอาสวะสิ้นไปหมดแล้วอย่างไรได้ ความ หลับจะแผดเผาบรรพชิตผู้ปรารภความเพียร ผู้มีตนอันส่งไป แล้ว ผู้บากบั่นมั่นเป็นนิตย์ ผู้จำนงพระนิพพานอยู่อย่าง ไรได้ ฯ
กัสสปโคตตสูตรที่ ๓
[๗๖๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระกัสสปโคตร พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่ง ในแคว้นโกศล สมัยนั้นแล ท่านอยู่ในที่พักกลางวัน กล่าวสอนนายพรานเนื้อ คนหนึ่ง ฯ [๗๖๗] ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงอยู่ในป่านั้น มีความเอ็นดูใคร่ประโยชน์ แก่ท่านพระกัสสปโคตร หวังจะให้ท่านสลดใจจึงเข้าไปหา แล้วได้กล่าวกะท่าน ด้วยคาถาว่า ภิกษุผู้กล่าวสอนนายพรานเนื้อซึ่งเที่ยวไปตามซอกเขาผู้ทราม ปัญญา ไม่รู้เท่าถึงการณ์ ในกาลอันไม่ควร ย่อมปรากฏ แก่เราประดุจคนเขลา เขาเป็นคนพาล ถึงฟังธรรมอยู่ก็ไม่ เข้าใจเนื้อความ แสงประทีปโพลงอยู่ก็ไม่เห็น เมื่อท่านกล่าว ธรรมอยู่ ย่อมไม่รู้เนื้อความ ข้าแต่ท่านกัสสป ถึงแม้ท่าน จักทรงประทีปอันโพลงตั้ง ๑๐ ดวง เขาก็จักไม่เห็นรูป เพราะ จักษุ (คือญาณ) ของเขาไม่มี ฯ ลำดับนั้น ท่านกัสสปโคตร ผู้อันเทวดานั้นให้สังเวช ถึงซึ่งความสลด ใจแล้ว ฯ
สัมพหุลสูตรที่ ๔
[๗๖๘] สมัยหนึ่ง ภิกษุมากรูปด้วยกัน พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งใน แคว้นโกศล ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นอยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาสแล้วหลีกไปสู่ จาริก ฯ [๗๖๙] ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น เมื่อไม่เห็นภิกษุเหล่านั้น ก็คร่ำครวญถึง ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า ความสนิทสนมย่อมปรากฏประดุจความไม่ยินดีเพราะเห็น ภิกษุเป็นอันมากในอาสนะอันสงัด ท่านเหล่านั้น เป็นพหุสูต มีถ้อยคำไพเราะ ท่านเป็นสาวกของพระโคดม ไปที่ไหนกัน เสียแล้ว ฯ [๗๗๐] เมื่อเทวดานั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวกะ เทวดานั้นด้วยคาถาว่า ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ไม่อาลัยที่อยู่ เที่ยวไปเป็นหมู่ประดุจวานร ไปสู่แคว้นมคธและโกศล บางพวกก็บ่ายหน้าไปสู่แคว้นวัชชี ฯ
อานันทสูตรที่ ๕
[๗๗๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์ พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งใน แคว้นโกศล สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์ เป็นผู้มากไปด้วยการรับแขกฝ่าย คฤหัสถ์เกินเวลาอยู่ ฯ [๗๗๒] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น มีความเอ็นดู ใคร่ ประโยชน์แก่ท่านพระอานนท์ ใคร่จะให้ท่านสังเวชจึงเข้าไปหาถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านด้วยคาถาว่า ท่านเข้าไปสู่ที่รกคือโคนต้นไม้แล้ว จงใส่ใจถึงพระนิพพาน โคตมะ ท่านจงเพ่งฌาน อย่าประมาท ถ้อยคำที่สนทนา ของท่านจักทำอะไรได้ ฯ ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ เป็นผู้อันเทวดานั้นให้สังเวช ถึงซึ่งความสลดใจแล้วแล ฯ
อนุรุทธสูตรที่ ๖
[๗๗๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธพำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งใน แคว้นโกศล ฯ [๗๗๔] ครั้งนั้นแล เทวดาชั้นดาวดึงส์องค์หนึ่งชื่อชาลินีเป็นภรรยาเก่า ของท่านพระอนุรุทธ เข้าไปหาท่านถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านด้วยคาถาว่า ท่านจงตั้งจิตของท่านไว้ในหมู่ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ซึ่งพรั่ง พร้อมด้วยอารมณ์อันน่าใคร่ทั้งปวง ที่ท่านเคยอยู่ในกาลก่อน ท่านจะเป็นผู้อันหมู่เทวดาแวดล้อมเป็นบริวาร ย่อมงดงาม ฯ [๗๗๕] อ. เหล่านางเทพกัลยาผู้มีคติอันทราม ดำรงมั่นอยู่ใน กายของตน สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น แม้เป็นผู้มีคติอันทราม ก็ถูกนางเทพกัลยาปรารถนา ฯ [๗๗๖] ท. เหล่าสัตว์ผู้ไม่ได้เห็นที่อยู่อันเป็นที่น่าเพลิดเพลิน ของนรเทพชั้นไตรทศ ผู้มียศ ก็ชื่อว่าไม่รู้จักความสุข ฯ [๗๗๗] อ. ดูกรเทวดาผู้เขลา ท่านไม่รู้แจ้งตามคำของพระ- อรหันต์ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง มีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็น ธรรมดา บังเกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไป การเข้าไประงับสังขาร เหล่านั้นเสียได้เป็นสุข บัดนี้ การอยู่ครอบครองของเราไม่มี อีกต่อไป ตัณหาประดุจดังว่าข่ายในหมู่เทพของเราก็ไม่มี สงสารคือชาติสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่ ไม่มีอีกต่อไป ฯ
นาคทัตตสูตรที่ ๗
[๗๗๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระนาคทัตตะ พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งใน แคว้นโกศล สมัยนั้นแล ท่านพระนาคทัตตะเข้าไปสู่บ้านแต่เช้าตรู่และกลับมา หลังเที่ยง ฯ [๗๗๙] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น มีความเอ็นดู ใคร่ ประโยชน์แก่ท่านพระนาคทัตตะ ใคร่จะให้ท่านสังเวช จึงเข้าไปหาถึงที่อยู่ ครั้น แล้วได้กล่าวกะท่านด้วยคาถาว่า ท่านนาคทัตตะ ท่านเข้าไปแล้วในกาลและกลับมาในกลางวัน (ท่าน) มีปรกติเที่ยวไปเกินเวลา คลุกคลีกับคฤหัสถ์ พลอย ร่วมสุขร่วมทุกข์กับเขา เราย่อมกลัวพระนาคทัตตะ ผู้คะนอง สิ้นดี และพัวพันในสกุลทั้งหลาย ท่านอย่าไปสู่อำนาจของ มัจจุราชผู้มีกำลัง ผู้กระทำซึ่งที่สุดเลย ฯ ลำดับนั้น ท่านพระนาคทัตตะ เป็นผู้อันเทวดานั้นให้สังเวชถึงซึ่งความ สลดใจแล้วแล ฯ
กุลฆรณีสูตรที่ ๘
[๗๘๐] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในราวป่าแห่งหนึ่งในแคว้น โกศล สมัยนั้นแล ภิกษุนั้นไปอยู่คลุกคลีในสกุลแห่งหนึ่งเกินเวลา ฯ [๗๘๑] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในราวป่านั้น มีความเอ็นดูใคร่ประ- *โยชน์แก่ภิกษุนั้น ใคร่จะให้เธอสังเวช จึงเนรมิตเพศแห่งหญิงแม่เรือนในตระกูล นั้นเข้าไปหาถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะภิกษุนั้นด้วยคาถาว่า ชนทั้งหลาย ย่อมประชุมสนทนากันที่ฝั่งแม่น้ำในโรงที่พัก ในสภา และในถนน ส่วนเราและท่านเป็นดังรือ ฯ [๗๘๒] แท้จริงเสียงที่เป็นข้าศึกมีมากอันท่านผู้มีตบะ พึงอดทน ไม่พึงเก้อเขินเพราะเหตุนั้น เพราะสัตว์หาได้เศร้าหมองด้วย เหตุนั้นไม่ แต่ผู้ใดมักสะดุ้งเพราะเสียงประดุจเนื้อทรายในป่า นักปราชญ์กล่าวผู้นั้นว่ามีจิตเบา วัตรของเขาย่อมไม่สมบูรณ์ ฯ
วัชชีปุตตสูตรที่ ๙
[๗๘๓] สมัยหนึ่ง ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่ง ใกล้เมืองเวสาลี สมัยนั้นแล วาระแห่งมหรสพตลอดราตรีทั้งปวงย่อมมีในเมือง เวสาลี ฯ [๗๘๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุนั้นได้ฟังเสียงกึกก้องแห่งดนตรี อันบุคคลตี และบรรเลงแล้วในเมืองเวสาลี คร่ำครวญอยู่ ได้ภาษิตคาถานี้ในเวลานั้นว่า เราเป็นคนๆ เดียวอยู่ในป่า ประดุจท่อนไม้ที่เขาทิ้งแล้วในป่า ฉะนั้น ใครจะเป็นผู้ลามกกว่าเราในราตรีเช่นนี้หนอ ฯ [๗๘๕] ลำดับนั้น เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น มีความเอ็นดู ใคร่ ประโยชน์แก่เธอ ใคร่จะยังเธอให้สลดจึงเข้าไปหาจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าว กะเธอด้วยคาถาว่า ท่านเป็นคนๆ เดียวเท่านั้นอยู่ในป่า ประดุจท่อนไม้ที่เขาทิ้ง แล้วในป่าฉะนั้น เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมากย่อม รักท่าน ประดุจสัตว์นรกรักผู้ที่จะไปสวรรค์ ฉะนั้น ฯ ลำดับนั้นแล ภิกษุนั้นเป็นผู้อันเทวดาให้สังเวชถึงซึ่งความ สลดแล้วแล ฯ
สัชฌายสูตรที่ ๑๐
[๗๘๖] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในป่าแห่งหนึ่งในแคว้นโกศล สมัยนั้น ภิกษุนั้น นัยว่าเมื่อก่อนเป็นผู้มากไปด้วยการสาธยายเกินเวลาอยู่ สมัย ต่อมา เธอเป็นผู้ขวนขวายน้อยเป็นผู้นิ่ง ยังกาลให้ล่วงไป ฯ [๗๘๗] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น ไม่ได้ฟังธรรมของเธอ จึงเข้าไปหาถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะเธอด้วยคาถาว่า ภิกษุ ท่านอยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่สาธยายบทแห่ง พระธรรม เพราะเหตุไร บุคคลฟังธรรมแล้วย่อมได้ความ เลื่อมใส ผู้กล่าวธรรมย่อมได้รับความสรรเสริญในทิฏฐธรรม เทียว ฯ [๗๘๘] ภิ. ความพอใจในบทแห่งพระธรรมได้มีแล้วในกาลก่อน จนถึงกาลที่เรามาร่วมด้วยวิราคะและเพราะเรามาร่วมด้วยวิราคะ แล้ว สัตบุรุษทั้งหลายรู้ทั่วถึง รูป เสียง กลิ่น รส และ โผฏฐัพพะ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวการเสียสละ (อารมณ์นั้นๆ) เสีย ฯ
อโยนิโสมนสิการสูตรที่ ๑๑
[๗๘๙] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งในแคว้น โกศล สมัยนั้นแล เธอไปที่พักในกลางวัน ตรึกอกุศลวิตกอันลามกคือกามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก ฯ [๗๙๐] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น มีความเอ็นดู ใคร่ ประโยชน์ หวังจะให้ภิกษุนั้นสังเวช จึงเข้าไปหาถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะภิกษุ นั้นด้วยคาถาว่า ท่านถูกวิตกกิน เพราะมนสิการไม่แยบคาย ท่านจงละ มนสิการไม่แยบคายเสีย และจงใคร่ครวญโดยแยบคาย ท่าน ปรารภพระศาสดาพระธรรม พระสงฆ์ และศีลของตนแล้ว จะบรรลุความปราโมทย์ ปีติและสุขโดยไม่ต้องสงสัย แต่นั้น ท่านจักเป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์ จักกระทำที่สุดแห่ง ทุกข์ได้ ฯ ลำดับนั้นแล ภิกษุนั้น เป็นผู้อันเทวดานั้นให้สังเวชถึงซึ่งความสลดใจ แล้วแล ฯ
มัชฌันติกสูตรที่ ๑๒
[๗๙๑] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งในแคว้น โกศล ฯ [๗๙๒] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในป่านั้น เข้าไปหาถึงที่อยู่ ครั้น แล้วได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ในสำนักของภิกษุนั้นว่า ในกาลกำลังเที่ยงวัน เมื่อนกทั้งหลายจับเจ่าแล้ว ภัยนั้น ย่อมปรากฏแก่เรา ประดุจป่าใหญ่ส่งเสียงอยู่ ฯ ภิ. ในกาลกำลังเที่ยง เมื่อนกทั้งหลายจับเจ่าแล้ว ความยินดี นั้นย่อมปรากฏแก่เรา ประดุจป่าใหญ่ส่งเสียงอยู่ ฉะนั้น ฯ
ปากตินทริยสูตรที่ ๑๓
[๗๙๓] สมัยหนึ่ง ภิกษุมากรูปด้วยกัน พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่ง ในแคว้นโกศล ล้วนเป็นผู้ฟุ้งซ่าน เห่อเหิม ขี้โอ่ ปากกล้า พูดเหลวไหล มีสติฟั่นเฟือน ไม่รู้สึกตน ไม่หนักแน่น จิตไม่มั่นคง มีอินทรีย์อันเปิดเผย ฯ [๗๙๔] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น มีความเอ็นดู ใคร่ประโยชน์แก่ภิกษุเหล่านั้น หวังจะให้พวกเธอสังเวชจึงเข้าไปหาถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะพวกเธอด้วยคาถาว่า ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสาวก ของพระสมณโคดมในกาลก่อน มีปกติเป็นอยู่ง่าย ไม่มักได้ แสวงหาบิณฑบาต [ตามได้] ไม่มักได้แสวงหาเสนาสนะ [ตามได้] ท่านเหล่านั้นรู้ความ ไม่เที่ยงในโลกแล้ว ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้ว [ส่วน พวกท่าน] ทำตนให้เป็นผู้เลี้ยงยาก ประดุจผู้เอาเปรียบ ชาวบ้านในบ้าน กินแล้วๆ ก็นอนหมกมุ่นอยู่ในเรือนของ คนอื่น เราขอกระทำอัญชลีแก่พระสงฆ์แล้วขอกล่าวถึงภิกษุ ที่ควรกล่าวบางพวก ในพระศาสนานี้ ท่านเหล่านั้นถูกเขา ทอดทิ้งหาที่พึ่งมิได้ เหมือนอย่างคนที่ตายแล้ว ถูกเขา ทอดทิ้งไว้ในป่าช้า ฉะนั้น เรากล่าวหมายถึงภิกษุจำพวกที่ เป็นผู้ประมาทอยู่ แต่ท่านเหล่าใดเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ เราขอ กระทำการนอบน้อมแก่ท่านเหล่านั้น ฯ ลำดับนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้อันเทวดานั้นให้สังเวชถึงซึ่งความสลดใจ แล้วแล ฯ
ปทุมปุบผสูตรที่ ๑๔
[๗๙๕] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง พำนักอยู่ในแนวป่าแห่งหนึ่งในแคว้น โกศล สมัยนั้นแล ภิกษุนั้นกลับจากบิณฑบาตภายหลังเวลาฉัน ลงสู่สระโบกขรณี แล้วสูดดมดอกปทุม ฯ [๗๙๖] ครั้งนั้นแล เทวดาผู้สิงอยู่ในแนวป่านั้น มีความเอ็นดู ใคร่ ประโยชน์แก่ภิกษุนั้น หวังจะให้เธอสลด จึงเข้าไปหาถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าว กะเธอด้วยคาถาว่า ท่านสูดดมดอกไม้ที่เกิดในน้ำซึ่งใครๆ ไม่ได้ให้แล้ว นี้เป็น องค์อันหนึ่งแห่งความเป็นขโมย ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นผู้ ขโมยกลิ่น ฯ [๗๙๗] ภิ. เราไม่ได้นำไป เราไม่ได้หัก เราดมดอกไม้ที่เกิดใน น้ำห่างๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านจะเรียกว่าเป็นผู้ขโมยกลิ่น ด้วยเหตุดังรือ ส่วนบุคคลที่ขุดเหง้าบัว หักดอกบัวบุณฑริก เป็นผู้มีการงานอันเกลื่อนกล่นอย่างนี้ ไฉนท่านจึงไม่เรียก เขาว่าเป็นขโมย ฯ [๗๙๘] เท. บุรุษผู้มีบาปหนา แปดเปื้อนด้วยราคาทิกิเลสเกินเหตุ เราไม่พูดถึงคนนั้น แต่เราควรจะกล่าวกะท่าน บาปประมาณ เท่าปลายขนทราย ย่อมปรากฏประดุจเท่าก้อนเมฆใน นภากาศแก่บุรุษผู้ไม่มีกิเลส ดังว่าเนิน ผู้มักแสวงหา ไตรสิกขาอันสะอาดเป็นนิจ ฯ [๗๙๙] ภิ. ดูก่อนเทวดา ท่านรู้จักเราแน่ละ และท่านเอ็นดูเรา ดูก่อนเทวดา ท่านเห็นกรรมเช่นนี้ในกาลใด ท่านพึงกล่าวอีก [ในกาลนั้น] เถิด ฯ [๘๐๐] เราไม่ได้อาศัยท่านเป็นอยู่เลย และเราไม่ได้มีความเจริญ เพราะท่าน ดูก่อนภิกษุ ท่านพึงไปสุคติได้ด้วยกรรมที่ท่าน พึงรู้ ฯ ลำดับนั้นแล ภิกษุนั้นเป็นผู้อันเทวดานั้นให้สลด ถึงซึ่งความสังเวช แล้วแล ฯ
วนสังยุต จบบริบูรณ์
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรแห่งวนสังยุต มี ๑๔ สูตร คือ
วิเวกสูตรที่ ๑ อุปัฏฐานสูตรที่ ๒ กัสสปโคตตสูตรที่ ๓ สัมพหุลสูตรที่ ๔ อานันทสูตรที่ ๕ อนุรุทธสูตรที่ ๖ นาคทัตตสูตรที่ ๗ กุลฆรณีสูตรที่ ๘ วัชชี- *ปุตตสูตรที่ ๙ สัชฌายสูตรที่ ๑๐ อโยนิโสมนสิการสูตรที่ ๑๑ มัชฌันติกสูตรที่ ๑๒ ปากตินทริยสูตรที่ ๑๓ กับปทุมปุบผสูตร ครบ ๑๔ ฯ
-----------------------------------------------------
ยักขสังยุต
อินทกสูตรที่ ๑
[๘๐๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่บนภูเขาอินทกูฏ ซึ่งอินทกยักษ์ ครอบครอง เขตกรุงราชคฤห์ ฯ [๘๐๒] ครั้งนั้นแล อินทกยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลด้วยคาถาว่า "[ถ้า] ท่านผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่า รูปหาใช่ชีพไม่ สัตว์นี้ จะประสพ ร่างกายนี้ได้อย่างไรหนอ กระดูกและก้อนเนื้อ จะมาแต่ไหน สัตว์นี้จะติดอยู่ในครรภ์ได้อย่างไร" [๘๐๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "รูปนี้เป็นกลละก่อนจากกลละ เป็นอัพพุทะ จากอัพพุทะเกิดเป็นเปสิ จากเปสิเกิดเป็นฆนะ จากฆนะเกิดเป็น ๕ ปุ่ม (ปัญจสาขา) ต่อจากนั้น มีผมขน และเล็บ (เป็นต้น) เกิดขึ้น มารดาของสัตว์ในครรภ์บริโภค- *ข้าวน้ำโภชนาหารอย่างใด สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดา ก็ยัง อัตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารอย่างนั้นในครรภ์นั้น" ฯ
สักกสูตรที่ ๒
[๘๐๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่บนภูเขาคิชฌกูฏ เขต กรุงราชคฤห์ ฯ [๘๐๕] ครั้งนั้นแล ยักษ์มีชื่อว่าสักกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลด้วยคาถาว่า "การสั่งสอนคนอื่นนั้น ไม่เหมาะแก่สมณะเช่นท่าน ผู้ละ กิเลสได้ทั้งหมด ผู้พ้นจากไตรภพ" [๘๐๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ดูกรสักกะ ธรรมเครื่องอยู่ร่วมกัน ย่อมเกิดด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คนมีปัญญาไม่ควรที่จะ ไหวตามเหตุนั้นด้วยใจ ถ้าคนมีใจผ่องใสแล้วสั่งสอนคนอื่น บุคคลนั้นย่อมไม่เป็นผู้พัวพันด้วยเหตุนั้น นอกจากจะ อนุเคราะห์เอ็นดู" ฯ
สูจิโลมสูตรที่ ๓
[๘๐๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับบนเตียงชนิดมีเท้าตรึงติด กับแม่แคร่ อันเป็นที่ครอบครองของสูจิโลมยักษ์ เขตบ้านคยา ฯ สมัยนั้นแล ยักษ์ชื่อขระและยักษ์ชื่อสูจิโลมะเดินผ่านเข้าไปไม่ไกล พระผู้มีพระภาค ฯ ครั้งนั้นแล ยักษ์ชื่อขระได้พูดกับสูจิโลมยักษ์ว่า นั่นสมณะ ฯ นั่นไม่ใช่สมณะ เป็นสมณะน้อย แต่จะเป็นสมณะหรือสมณะน้อย เราพอจะรู้ได้ ฯ [๘๐๘] ครั้งนั้นแล สูจิโลมยักษ์ได้เข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคยังที่ ประทับ ครั้นแล้วได้เข้าไปเหนี่ยวพระกายของพระองค์ ฯ พระผู้มีพระภาคทรงกระเถิบถอยพระกายไปเล็กน้อย ฯ ครั้งนั้นแล สูจิโลมยักษ์ได้ถามพระผู้มีพระภาคว่า ท่านกลัวเราไหม สมณะ ฯ อาวุโส เราไม่กลัวท่านเลย แต่สัมผัสของท่านเลวทราม ฯ สมณะ เราจักถามปัญหากะท่าน ถ้าท่านไม่กล่าวแก้แก่เรา เราจักทำจิต ของท่านให้พลุ่งพล่าน หรือจักฉีกหัวใจของท่าน หรือจักจับที่เท้าแล้วเหวี่ยงไป ฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำคงคา ฯ อาวุโส เราไม่เห็นใครเลยในโลก ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่จะพึงทำจิตของเรา ให้พลุ่งพล่าน หรือฉีกหัวใจเรา หรือจับเราที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำ คงคาได้ อาวุโส เอาเถอะ ท่านจงถามตามที่ท่านจำนงเถิด ฯ [๘๐๙] สูจิโลมยักษ์ จึงถามว่า ราคะแลโทสะ มีอะไรเป็นเหตุ ความไม่ยินดี ความยินดี และความสยดสยอง เกิดแต่อะไร ความตรึกในใจเกิดแต่อะไรแล้วดักจิตไว้ได้ เหมือนพวก เด็กดักกา ฉะนั้น ฯ [๘๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ราคะแลโทสะมีอัตภาพนี้เป็น เหตุ ความไม่ยินดี ความยินดี และความสยดสยองเกิดแต่ อัตภาพนี้ ความตรึกในใจเกิดแต่อัตภาพนี้แล้ว ดักจิตไว้ได้ เหมือนพวกเด็กดักกา ฉะนั้น ฯ อกุศลวิตกเป็นอันมาก เกิดแต่ความเยื่อใยคือตัณหา เกิด ขึ้นในตนแล้วแผ่ซ่านไปในวัตถุกามทั้งหลาย เหมือนย่านไทร เกิดแต่ลำต้นไทรแล้วแผ่ซ่านไปในป่า ฉะนั้น ฯ ชนเหล่าใดย่อมรู้ อัตภาพนั้นว่าเกิดแต่สิ่งใด ชนเหล่านั้น ย่อมบรรเทาเหตุเกิดนั้นเสียได้ ดูกรยักษ์ ท่านจงฟัง ชน เหล่านั้นย่อมข้ามห้วงกิเลสนี้ ซึ่งข้ามได้ยาก และไม่เคยข้าม เพื่อความไม่มีภพอีกต่อไป ฯ
มณิภัททสูตรที่ ๔
[๘๑๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่เจดีย์ชื่อมณิมาฬกะ อันเป็นที่ครอบครองของยักษ์ชื่อมณีภัท ในแคว้นมคธ ฯ [๘๑๒] ครั้งนั้นแล ยักษ์ชื่อมณิภัททะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ครั้นแล้วได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ความเจริญย่อมมีแก่คนมีสติทุกเมื่อ คนมีสติย่อมได้ความสุข ความดีย่อมมีแก่คนมีสติเป็นนิตย์ และคนมีสติย่อมหลุดพ้น จากเวร ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ความเจริญย่อมมีแก่คนมีสติทุกเมื่อ คนมีสติย่อมได้ความสุข ความดีย่อมมีแก่คนมีสติเป็นนิตย์ แต่คนมีสติยังไม่หลุดพ้น จากเวร ฯ [๘๑๓] แต่ผู้ใดมีใจยินดีในความไม่เบียดเบียนตลอดวันและคืน ทั้งหมด และเป็นผู้มีส่วนแห่งเมตตาในสรรพสัตว์ ผู้นั้นย่อม ไม่มีเวรกับใครๆ ฯ
สานุสูตรที่ ๕
[๘๑๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตเมืองสาวัตถี ฯ สมัยนั้นแล บุตรของอุบาสิกาคนหนึ่งชื่อสานุ ถูกยักษ์เข้าสิง ฯ [๘๑๕] ครั้งนั้นแล อุบาสิกานั้นได้ปริเวทนาการกล่าวคาถาเหล่านี้ใน เวลานั้นว่า ฉันได้สดับต่อพระอรหันต์ทั้งหลายว่า ชนเหล่าใดเข้าอยู่ อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการด้วยดี ตลอดดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์ ทั้งตลอดปาริหาริกปักษ์ ประพฤติ พรหมจรรย์อยู่ ยักษ์ทั้งหลายย่อมไม่เล่นกับชนเหล่านั้น บัดนี้ ฉันเห็นในวันนี้ ยักษ์เล่นกับสามเณรสานุ ฯ [๘๑๖] ยักษ์กล่าวว่า ท่านได้สดับต่อพระอรหันต์ทั้งหลายว่า ชนเหล่าใดเข้าอยู่ อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์ ทั้งตลอดปาริหาริกปักษ์ ประพฤติ พรหมจรรย์อยู่ ยักษ์ทั้งหลายย่อมไม่เล่นกับชนเหล่านั้น เป็น การชอบ ท่านพึงบอกสานุผู้ฟื้นขึ้นแล้วว่า ยักษ์สั่งคำนี้ไว้ว่า ท่านอย่าได้กระทำกรรมอันลามกทั้งในที่แจ้งและที่ลับ ถ้าท่าน จักกระทำหรือกำลังกระทำกรรมอันลามกไซร้ ถึงท่านจะเหาะ หนีไปก็ไม่พ้นจากทุกข์ ฯ [๘๑๗] สามเณรสานุฟื้นขึ้นแล้วกล่าวว่า โยม ญาติ และมิตรทั้งหลายย่อมร้องไห้ถึงคนที่ตายแล้ว หรือยังเป็นอยู่แต่หายไป โยมยังเห็นฉันเป็นอยู่ ไฉนเหตุไร โยมจึงร้องไห้ถึงฉัน ฯ [๘๑๘] อุบาสิกากล่าวว่า ลูกเอ๋ย ญาติและมิตรทั้งหลายย่อมร้องไห้ถึงคนที่ตายแล้ว หรือยังเป็นอยู่แต่หายไป แต่คนใดละกามทั้งหลายแล้วจะ กลับมาในกามนี้อีก ลูกรัก ญาติและมิตรทั้งหลายย่อมร้องไห้ ถึงคนนั้น เพราะเขาเป็นอยู่ต่อไปอีกก็เหมือนตายแล้ว แน่พ่อ เรายกท่านขึ้นจากเถ้ารึงที่ยังร้อนระอุแล้ว ท่านอยากจะตกลง ไปสู่เถ้ารึงอีก แน่พ่อ เรายกท่านขึ้นจากเหวแล้ว ท่านอยาก จะตกลงไปสู่เหวอีก เราจะโพนทะนาแก่ใครเล่าว่า ขอท่าน จงช่วยกัน ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน ประดุจสิ่งของที่ขน ออกแล้วจากเรือนที่ไฟไหม้ แต่ท่านอยากจะเผามันเสียอีก ฯ
ปิยังกรสูตรที่ ๖
[๘๑๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ฯ สมัยนั้นแล ท่านพระอนุรุทธลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี กล่าวบท แห่งพระธรรมอยู่ ฯ [๘๒๐] ครั้งนั้นแล นางยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระปลอบบุตรน้อย อย่างนี้ว่า ปิยังกระ อย่าอึกทึกไป ภิกษุกำลังกล่าวบทพระธรรมอยู่ อนึ่ง เรารู้แจ้งบทพระธรรมแล้วปฏิบัติ ข้อนั้นจะพึงมีเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา ฯ [๘๒๑] เราสำรวมในเหล่าสัตว์มีปราณ เราไม่กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ เราศึกษา ทำตนให้เป็นผู้มีศีลดีนั่นแหละ เราจะพ้นจาก กำเนิดปีศาจ ฯ
ปุนัพพสุสูตรที่ ๗
[๘๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ฯ สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงอยู่ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตด้วยพระนิพพาน ฯ ภิกษุเหล่านั้นตั้งใจมนสิการ ประมวลไว้ด้วยใจทั้งหมด เงี่ยโสตลงสดับ พระธรรม ฯ [๘๒๓] ครั้งนั้นแล นางยักษิณีผู้เป็นมารดาของปุนัพพสุปลอบบุตรน้อย อย่างนี้ว่า นิ่งเสียเถิดลูกอุตรา นิ่งเสียเถิดลูกปุนัพพสุ จนกว่าแม่จะฟัง ธรรมของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้เป็นพระศาสดาจบ พระผู้ มีพระภาคตรัสนิพพานอันเป็นเครื่องเปลื้องตนเสีย จาก กิเลสเครื่องร้อยกรองทั้งปวง เวลาที่ปรารถนาในธรรมนั้น จะล่วงเลยแม่ไปเสีย ลูกของตนเป็นที่รักในโลก ผัวของตน เป็นที่รักในโลก แต่ความปรารถนาในธรรมนั้น เป็นที่รัก ของแม่ยิ่งกว่าลูกและผัวนั้น เพราะลูกหรือผัวที่รัก พึงปลด เปลื้องจากทุกข์ไม่ได้ เหมือนการฟังธรรมย่อมปลดเปลื้อง เหล่าสัตว์จากทุกข์ได้ ในเมื่อโลกอันทุกข์วงล้อมแล้ว ประกอบด้วยชราและมรณะ แม่ปรารถนาจะฟังธรรม ที่ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยพระปัญญาอันยิ่ง เพื่อพ้นจากชราและ มรณะจงนิ่งเสียเถิดลูกปุนัพพสุ ฯ [๘๒๔] ปุนัพพสุพูดว่า แม่จ๋า ฉันจักไม่พูด อุตราน้องสาวของฉันก็จักเป็นผู้นิ่ง เชิญแม่ฟังธรรมอย่างเดียว การฟังพระสัทธรรมนำความสุข มาให้ แม่จ๋า เราไม่รู้พระสัทธรรมจึงได้เที่ยวไปลำบาก พระพุทธเจ้าพระองค์นี้ เป็นผู้ทำความสว่างไสวแก่เทวดาและ มนุษย์ผู้ลุ่มหลง มีพระสรีระครั้งสุดท้าย มีพระจักษุ แสดง ธรรมอยู่ ฯ [๘๒๕] ยักษิณีพูดว่า น่าชื่นชมนัก ลูกผู้นอนบนอกของแม่เป็นคนฉลาด ลูกของแม่ ย่อมรักใคร่พระธรรมอันบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ปุนัพพสุเจ้าจงมีความสุขเถิด วันนี้แม่เป็นผู้ย่างขึ้นไปในพระ ศาสนา แม่และเจ้าเห็นอริยสัจแล้ว แม้แม่อุตราก็จงฟังแม่ ฯ
สุทัตตสูตรที่ ๘
[๘๒๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับในสีตวัน เขตกรุง ราชคฤห์ ฯ สมัยนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีไปถึงกรุงราชคฤห์ด้วยกรณียกิจ บางอย่าง ฯ อนาถบิณฑิกคฤหบดีได้สดับว่า เขาลือกันว่าพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติแล้ว ในโลก จึงในขณะนั้นเอง ปรารถนาจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ฯ ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีได้ดำริว่า วันนี้เป็นกาลไม่ควรเพื่อ จะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค พรุ่งนี้เถิด เราจึงจักเข้าเฝ้าท่านคฤหบดีนอนรำพึงถึง พระพุทธเจ้า สำคัญว่าสว่างแล้วลุกขึ้นในราตรีถึง ๓ ครั้ง ฯ ลำดับนั้น ท่านคฤหบดีเดินไปทางประตูป่าช้า พวกอมนุษย์เปิดประตูให้ ฯ [๘๒๗] ครั้นเมื่ออนาถบิณฑิกคฤหบดีออกจากเมืองไป แสงสว่างก็ อันตรธานไป ความมืดปรากฏขึ้น ความกลัว ความหวาดเสียว ขนพองสยอง เกล้าบังเกิดขึ้น ท่านคฤหบดีจึงใคร่ที่จะกลับเสียจากที่นั้น ฯ ครั้งนั้น ยักษ์ชื่อสีวกะไม่ปรากฏร่างได้ส่งเสียงให้ได้ยินว่า ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง รถเทียมด้วยม้าอัสดรแสนหนึ่ง หญิงสาวที่สอดสวมแก้วมณีและกุณฑลแสนหนึ่ง ย่อมไม่ ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ อันจำแนกแล้ว ๑๖ ครั้ง แห่งการยกย่าง เท้าไปก้าวหนึ่ง ท่านจงก้าวหน้าไปเถิดคฤหบดี ท่านจงก้าว หน้าไปเถิดคฤหบดี การก้าวหน้าไปของท่านประเสริฐ การ ถอยหลังไม่ประเสริฐเลย ฯ ครั้งนั้นแล ความมืดได้หายไป แสงสว่างปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถ บิณฑิกคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป ฯ [๘๒๘] แม้ครั้งที่ ๒ แสงสว่างหายไป ความมืดปรากฏขึ้นแก่ท่าน อนาถบิณฑิกคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าบังเกิด ขึ้น ท่านคฤหบดีจึงใคร่ที่จะกลับเสียจากที่นั้นอีก ฯ แม้ครั้งที่ ๒ ยักษ์ชื่อสิวกะไม่ปรากฏร่างได้ส่งเสียงให้ได้ยินว่า ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง ฯลฯ ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ อันจำแนกแล้ว ๑๖ ครั้ง แห่งการยกย่างเท้าไปก้าวหนึ่ง ท่านจงก้าวหน้าไปเถิดคฤหบดี ท่านจงก้าวหน้าไปเถิดคฤหบดี การก้าวหน้าไปของท่านประเสริฐ การถอยหลังไม่ประเสริฐ เลย ฯ ครั้งนั้นแล ความมืดได้หายไป แสงสว่างปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถบิณฑิก คฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าก็ระงับไป ฯ [๘๒๙] แม้ครั้งที่ ๓ แสงสว่างหายไป ความมืดปรากฏขึ้นแก่ท่าน อนาถบิณฑิกคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าบังเกิด ขึ้น ท่านคฤหบดีจึงใคร่ที่จะกลับเสียจากที่นั้นอีก ฯ แม้ครั้งที่ ๓ ยักษ์ชื่อสิวกะไม่ปรากฏร่างได้ส่งเสียงให้ได้ยินว่า ช้างแสนหนึ่ง ม้าแสนหนึ่ง ฯลฯ ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ อันจำแนกแล้ว ๑๖ ครั้ง แห่งการยกย่างเท้าไปก้าวหนึ่ง ท่านจงก้าวหน้าไปเถิดคฤหบดี ท่านจงก้าวหน้าไปเถิดคฤหบดี การก้าวหน้าไปของท่านประเสริฐ การถอยหลังไม่ประเสริฐ เลย ฯ ครั้งนั้นแล ความมืดได้หายไป แสงสว่างได้ปรากฏขึ้นแก่ท่านอนาถ- *บิณฑิกคฤหบดี ความกลัว ความหวาดเสียว และขนพองสยองเกล้าก็ ระงับไป ฯ [๘๓๐] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีเดินเข้าไปถึงสีตวัน ฯ สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี เสด็จ จงกรมอยู่ในที่แจ้ง พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นอนาถบิณฑิกคฤหบดีผู้มาแต่ไกล ครั้นแล้วเสด็จลงจากที่จงกรมประทับบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสเรียก อนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า มานี่เถิดสุทัตตะ ฯ ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดีคิดว่า พระผู้มีพระภาคทรงทักเราโดย ชื่อ จึงหมอบลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าในที่นั้นเอง แล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ พระองค์ประทับอยู่เป็นสุขหรือ พระเจ้าข้า ฯ [๘๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พราหมณ์ผู้ดับกิเลสเสียได้แล้วไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย เป็น ผู้เย็น ปราศจากอุปธิ ย่อมอยู่เป็นสุขเสมอไป ผู้ที่ตัด ตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องได้หมดแล้ว กำจัดความกระวนกระวาย ในใจเสียได้ เป็นผู้สงบอยู่เป็นสุข เพราะถึงสันติด้วยใจ ฯ
ปฐมสุกกาสูตรที่ ๙
[๘๓๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน อัน เป็นที่ให้เหยื่อแก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ฯ สมัยนั้นแล ภิกษุณีชื่อสุกกา อันบริษัทใหญ่แวดล้อมแสดงธรรมอยู่ ฯ [๘๓๓] ครั้งนั้นแล ยักษ์ผู้เลื่อมใสยิ่งในสุกกาภิกษุณีจากถนนนี้ไปยัง ถนนโน้น จากตรอกนี้ไปยังตรอกโน้น ในกรุงราชคฤห์ ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ใน เวลานั้นว่า มนุษย์ทั้งหลายในกรุงราชคฤห์ ไม่เข้าไปนั่งใกล้สุกกาภิกษุณี ผู้แสดงอมตบทอยู่ มัวทำอะไรกัน เป็นผู้ประดุจดื่มน้ำผึ้ง หอมแล้วก็นอน ก็แลอมตบทนั้นใครจะคัดค้านไม่ได้ เป็นของ ไม่ได้เจือปรุง แต่มีโอชา ผู้มีปัญญาคงได้ดื่มอมตธรรม เหมือนคนเดินทางได้ดื่มน้ำฝน ฉะนั้น ฯ
ทุติยสุกกาสูตรที่ ๑๐
[๘๓๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน อัน เป็นที่ให้เหยื่อแก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ฯ สมัยนั้นแล อุบาสกคนหนึ่งได้ถวายโภชนาหารแก่สุกกาภิกษุณี ฯ [๘๓๕] ครั้งนั้นแล ยักษ์ผู้เลื่อมใสยิ่งในสุกกาภิกษุณีจากถนนนี้ไปยัง ถนนโน้น จากตรอกนี้ไปยังตรอกโน้น ในพระนครราชคฤห์ ได้ภาษิตคาถานี้ใน เวลานั้นว่า อุบาสกผู้ได้ถวายโภชนะแก่สุกกาภิกษุณีผู้หลุดพ้นจากกิเลส เครื่องร้อยกรองทั้งปวง เป็นคนมีปัญญาแท้ ประสพบุญ มากหนอ ฯ
จีราสูตรที่ ๑๑
[๘๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่ให้เหยื่อแก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ฯ สมัยนั้นแล อุบาสกคนหนึ่งได้ถวายจีวรแก่จิราภิกษุณี ฯ [๘๓๗] ครั้งนั้น ยักษ์ผู้เลื่อมใสยิ่งในจิราภิกษุณี จากถนนนี้ไปยังถนน โน้น จากตรอกนี้ไปยังตรอกโน้น ในพระนครราชคฤห์ ได้ภาษิตคาถานี้ในเวลา นั้นว่า อุบาสกผู้ได้ถวายจีวรแก่จีราภิกษุณีผู้หลุดพ้นจากกิเลสเครื่อง ประกอบทั้งปวง เป็นคนมีปัญญาแท้ ประสพบุญมากหนอ ฯ
อาฬวกสูตรที่ ๑๒
[๘๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับในที่อยู่ของอาฬวกยักษ์ เขตเมือง อาฬวี ฯ ครั้งนั้นแล อาฬวกยักษ์เข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้กล่าวว่า ท่านจงออกมา สมณะ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีแล้วผู้มีอายุ แล้วก็เสด็จออกมา ฯ ยักษ์กล่าวว่า ท่านจงเข้าไป สมณะ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีแล้วผู้มีอายุ แล้วก็เสด็จเข้าไป ฯ แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ อาฬวกยักษ์ได้กล่าวว่า ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ฯลฯ [๘๓๙] ครั้นครั้งที่ ๔ อาฬวกยักษ์ได้กล่าวว่า ท่านจงออกมา สมณะ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ผู้มีอายุ เราจักไม่ออกไปละท่านจะทำอะไรก็จง ทำเถิด ฯ สมณะ เราจักถามปัญหากะท่าน ถ้าท่านพยากรณ์แก่เราไม่ได้ เราจักทำ จิตของท่านให้ฟุ้งซ่าน หรือฉีกหัวใจของท่านหรือจักจับที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปยังแม่น้ำ คงคาฝั่งโน้น ฯ อาวุโส เราไม่เห็นใครเลยในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหม โลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ที่จะพึงทำจิตของเราให้ ฟุ้งซ่านได้ หรือขยี้หัวใจของเรา หรือจับเราที่เท้าแล้วเหวี่ยงไปยังแม่น้ำคงคาฝั่ง โน้น เอาเถิด อาวุโส เชิญถามปัญหาตามที่ท่านจำนงเถิด ฯ [๘๔๐] อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า อะไรหนอ เป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันประเสริฐของคนใน โลกนี้ อะไรหนอที่บุคคลประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้ อะไรหนอเป็นรสอันล้ำเลิศกว่ารสทั้งหลาย นักปราชญ์ ทั้งหลายกล่าวชีวิตของผู้ที่เป็นอยู่อย่างไร ว่าประเสริฐสุด ฯ [๘๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ศรัทธาเป็นทรัพย์ อันประเสริฐของคนในโลกนี้ ธรรมอัน บุคคลประพฤติดีแล้ว นำความสุขมาให้ ความสัตย์แลเป็น รสอันล้ำเลิศกว่ารสทั้งหลายนักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตของ ผู้ที่เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่าประเสริฐสุด ฯ [๘๔๒] อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า คนข้ามโอฆะได้อย่างไรหนอ ข้ามอรรณพได้อย่างไร ล่วง ทุกข์ได้อย่างไร บริสุทธิ์ได้อย่างไร [๘๔๓] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า คนข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา ข้ามอรรณพได้ด้วยความไม่ ประมาท ล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร บริสุทธิ์ได้ด้วย ปัญญา ฯ [๘๔๔] อาฬวกยักษ์ทูลถามว่า คนได้ปัญญาอย่างไรหนอ ทำอย่างไรจึงจะหาทรัพย์ได้ คนได้ ชื่อเสียงอย่างไรหนอ ทำอย่างไรจึงจะผูกมิตรไว้ได้ คน ละโลกนี้ไปสู่โลกหน้า ทำอย่างไรจึงจะไม่เศร้าโศก ฯ [๘๔๕] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า บุคคลเชื่อธรรมของพระอรหันต์ เพื่อบรรลุนิพพาน ฟังอยู่ ด้วยดีย่อมได้ปัญญา เป็นผู้ไม่ประมาท มีวิจาร คนทำเหมาะ เจาะ ไม่ทอดธุระ เป็นผู้หมั่น ย่อมหาทรัพย์ได้ คนย่อม ได้ชื่อเสียงเพราะความสัตย์ ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้ บุคคล ใดผู้อยู่ครองเรือนประกอบด้วยศรัทธา มีธรรม ๔ ประการนี้ คือ สัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะ บุคคลนั้นแล ละโลกนี้ไป แล้วย่อมไม่เศร้าโศก เชิญท่านถามสมณพราหมณ์เป็นอัน มากเหล่าอื่นดูซิว่าในโลกนี้มีอะไรยิ่งไปกว่าสัจจะ ทมะ จาคะ และขันติ ฯ [๘๔๖] อาฬวกยักษ์กราบทูลว่า ทำไมหนอ ข้าพเจ้าจึงจะต้องถามสมณพราหมณ์เป็นอันมากใน บัดนี้ วันนี้ข้าพเจ้ารู้ชัดถึงสัมปรายิกประโยชน์ พระพุทธเจ้า เสด็จมาอยู่เมืองอาฬวี เพื่อประโยชน์แก่ข้าพเจ้าโดยแท้ วันนี้ข้าพเจ้ารู้ชัดถึงทานที่บุคคลให้ในที่ใดมีผลมาก ข้าพเจ้า จักเที่ยวจากบ้านไปสู่บ้าน จากบุรีไปสู่บุรี พลางนมัสการ พระสัมพุทธเจ้าและพระธรรมซึ่งเป็นธรรมที่ดี ฯ
จบยักขสังยุตบริบูรณ์
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรแห่งยักขสังยุต ๑๒ สูตร คือ
อินทกสูตรที่ ๑ สักกสูตรที่ ๒ สูจิโลมสูตรที่ ๓ มณิภัทสูตรที่ ๔ สานุสูตรที่ ๕ ปิยังกรสูตรที่ ๖ ปุนัพพสุสูตรที่ ๗ สุทัตตสูตรที่ ๘ สุกกา- *สูตร ๒ สูตร จีราสูตร ๑ อาฬวกสูตร ๑ รวม ๑๒ สูตร ฯ
-----------------------------------------------------
สักกสังยุต
ปฐมวรรคที่ ๑
สุวีรสูตรที่ ๑
[๘๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ฯ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ [๘๔๘] พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พวกอสูรได้รบกับพวกเทวดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะ จอมเทวดาตรัสเรียกสุวีรเทพบุตรมาบัญชาว่า พ่อสุวีระ พวกอสูรเหล่านี้กำลัง พากันมารบพวกเทวดา พ่อจงไปป้องกันพวกอสูรไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุวีรเทพ บุตรรับบัญชาของท้าวสักกะจอมเทวดาว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ ดังนี้ แล้วมัวประมาทเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ แลท้าวสักกะจอม เทวดาก็ได้ตรัสเรียกสุวีรเทพบุตรมาสั่งว่า พ่อสุวีระ พวกอสูรเหล่านี้กำลังพากันมา รบพวกเทวดา พ่อจงไปป้องกันพวกอสูรไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ สุวีรเทพบุตรรับบัญชาของท้าวสักกะจอมเทวดาว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรง พระเจริญ แล้วมัวประมาทเสีย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ ท้าวสักกะจอมเทวดาก็ได้ตรัสเรียกสุวีร- *เทพบุตรมาสั่งว่า พ่อสุวีระ พวกอสูรเหล่านี้กำลังพากันมารบพวกเทวดา พ่อจง ไปป้องกันพวกอสูรไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ สุวีรเทพบุตรรับบัญชา ของท้าวสักกะจอมเทวดาว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ แล้วมัวประมาท เสีย ฯ [๘๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสกะ สุวีรเทพบุตรด้วยคาถาว่า บุคคลไม่หมั่น ไม่พยายาม จะประสพสุขได้ ณ ที่ใด ดูกร สุวีระ เจ้าจงไป ณ ที่นั้น และจงพาเราไปให้ถึง ณ ที่ นั้นด้วยเถิด ฯ [๘๕๐] สุวีรเทพบุตรกราบทูลว่า บุคคลเป็นผู้เกียจคร้าน ไม่หมั่น และไม่ใช้ใครๆ ให้กระ ทำกิจทั้งหลายอีกด้วย เขาพึงพรั่งพร้อมด้วยกามทุกอย่าง ข้า แต่ท้าวสักกะ ขอพระองค์จงตรัสบอกฐานะอันประเสริฐนั้น แก่ข้าพระองค์ [๘๕๑] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า ที่ใด บุคคลเกียจคร้าน ไม่หมั่น ถึงความสุขล่วงส่วนได้ สุวีระ เจ้าจงไป ณ ที่นั้นและจงพาเราไปให้ถึง ณ ที่นั้น ด้วยเถิด ฯ [๘๕๒] สุวีรเทพบุตรทูลว่า ข้าแต่ท้าวสักกะผู้ประเสริฐกว่าเทวดา ข้าพระองค์ทั้งหลายจะ พึงได้ความสุขใด โดยไม่ต้องทำการงาน ข้าแต่ท้าวสักกะ ขอพระองค์จงตรัสบอกความสุขนั้นอันประเสริฐ ที่ไม่มีความ แห้งใจ ไม่มีความคับแค้นแก่ข้าพระองค์เถิด ฯ [๘๕๓] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า หากความสุขจะมีได้โดยไม่ต้องทำการงาน ไม่ว่าในที่ไหนๆ ใครๆ ย่อมทรงชีพอยู่ไม่ได้ เพราะนั่นเป็นทางแห่งนิพพาน สุวีระ เจ้าจงไป ณ ที่นั้น และจงพาเราไปให้ถึง ณ ที่ นั้นด้วยเถิด ฯ [๘๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ท้าวสักกะจอมเทวดาพระองค์นั้น อาศัย ผลบุญของพระองค์เป็นอยู่ เสวยรัชสมบัติอันมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วยความเป็น อิสระแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ จึงจักพรรณนาคุณแห่งความเพียรคือความหมั่น ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอบวชในธรรมวินัยที่เรากล่าวชอบแล้วอย่างนี้ พึงหมั่น เพียร พยายาม เพื่อบรรลุมรรคผลที่ยังไม่บรรลุ เพื่อได้มรรคผลที่ยังไม่ได้ เพื่อกระทำ ให้แจ้งซึ่งมรรคผลที่ยังไม่ได้กระทำให้แจ้ง ข้อนี้จะพึงงดงามในธรรมวินัยนี้โดย แท้ ฯ
สุสิมสูตรที่ ๒
[๘๕๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ฯ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ [๘๕๖] พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พวกอสูรได้พากันมารบกับพวกเทวดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ท้าวสักกะ จอมเทวดาตรัสเรียกสุสิมเทพบุตรมาบัญชาว่า พ่อสุสิมะ พวกอสูรเหล่านี้กำลัง พากันมารบพวกเทวดา พ่อจงไปป้องกันพวกอสูรไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุสิม เทพบุตรรับบัญชาท้าวสักกะจอมเทวดาว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ ดังนี้ แล้วมัวประมาทเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ท้าวสักกะจอมเทวดาก็ได้ตรัสเรียกสุสิมเทพบุตรมาบัญชาว่า พ่อสุสิมะ พวกอสูร เหล่านี้กำลังพากันมารบพวกเทวดา พ่อจงไปป้องกันพวกอสูรไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ในครั้งที่ ๓ สุสิมเทพบุตรรับบัญชาท้าวสักกะจอมเทวดาว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ ดังนี้ แล้วมัวประมาทเสีย ฯ [๘๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสกะ สุสิมเทพบุตรด้วยคาถาว่า บุคคลไม่หมั่น ไม่พยายาม แต่ประสบความสุขได้ ณ ที่ใด ดูกรสุสิมะ เจ้าจงไป ณ ที่นั้น และจงพาเราไปให้ถึง ณ ที่นั้น ด้วยเถิด ฯ [๘๕๘] สุสิมเทพบุตรกราบทูลว่า บุคคลเป็นผู้เกียจคร้าน ไม่หมั่น และไม่ใช้ใครๆ ให้ กระทำกิจทั้งหลายอีกด้วย เขาพึงพรั่งพร้อมด้วยกามทุกอย่าง ข้าแต่ท้าวสักกะ ขอพระองค์จงตรัสบอกฐานะอันประเสริฐ นั้นแก่ข้าพระองค์ ฯ [๘๕๙] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า ที่ใด บุคคลเกียจคร้าน ไม่หมั่น ถึงความสุขล่วงส่วนได้ สุสิมะ เจ้าจงไป ณ ที่นั้น และจงพาเราไปให้ถึง ณ ที่นั้น ด้วยเถิด ฯ [๘๖๐] สุสิมเทพบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่ท้าวสักกะผู้ประเสริฐกว่าเทวดา ข้าพระองค์ทั้งหลาย จะพึงได้ความสุขใด โดยไม่ต้องทำการงาน ข้าแต่ท้าวสักกะ ขอพระองค์จงตรัสบอกความสุขนั้นอันประเสริฐ ที่ไม่มีความ แห้งใจ ไม่มีความคับแค้นแก่ข้าพระองค์เถิด ฯ [๘๖๑] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า หากความสุขจะมีได้โดยไม่ต้องทำการงาน ไม่ว่าในที่ไหนๆ ใครๆ ย่อมยังชีพอยู่ไม่ได้ เพราะนั่นเป็นทางแห่งนิพพาน สุสิมะ เจ้าจงไป ณ ที่นั้น และจงพาเราไปให้ถึง ณ ที่นั้น ด้วยเถิด ฯ [๘๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ท้าวสักกะจอมเทวดาพระองค์นั้นอาศัย ผลบุญของพระองค์เป็นอยู่ เสวยรัชสมบัติมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วยความเป็นอิสระ แห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ จึงจักพรรณนาคุณแห่งความเพียรคือความหมั่น ภิกษุ ทั้งหลาย พวกเธอบวชแล้วในธรรมวินัยอันเรากล่าวชอบแล้วอย่างนี้ พึงหมั่น เพียร พยายาม เพื่อบรรลุมรรคผลที่ยังไม่บรรลุ เพื่อได้มรรคผลที่ยังไม่ได้ เพื่อ กระทำให้แจ้งซึ่งมรรคผลอันตนยังมิได้ทำให้แจ้ง ข้อนี้จะพึงงดงามในธรรมวินัยนี้ โดยแท้ ฯ
ธชัคคสูตรที่ ๓
[๘๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ฯ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ [๘๖๔] พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่อง เคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดาตรัสเรียกเทวดาชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า แน่ะ ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย หากความกลัวก็ดี ความหวาดเสียวก็ดี ความ ขนพองสยองเกล้าก็ดี จะพึงเกิดขึ้นแก่พวกเทวดาผู้ไปในสงคราม สมัยนั้น พวกท่านพึงแลดูยอดธงของเราทีเดียว เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของเราอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จัก หายไป ถ้าพวกท่านไม่แลดูยอดธงของเรา ทีนั้นพวกท่านพึงแลดูยอดธงของท้าว ปชาบดีเทวราชเถิด เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จัก หายไป หากพวกท่านไม่แลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราช ทีนั้นพวกท่านพึงแลดู ยอดธงของท้าววรุณเทวราชเถิด เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าววรุณ เทวราชอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จัก มีขึ้นก็จักหายไป หากพวกท่านไม่แลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราช ทีนั้นพวกท่าน พึงแลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชเถิด เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของ ท้าวอีสานเทวราชอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้า ก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวกเทวดาแลดูยอดธงของท้าวสักกะผู้เป็นจอม แห่งเทวดาก็ดี แลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชอยู่ก็ดี แลดูยอดธงของท้าววรุณ เทวราชอยู่ก็ดี แลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชอยู่ก็ดี ความกลัวก็ดี ความหวาด สะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นพึงหายไปได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุว่า ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่ง เทวดา ยังเป็นผู้ไม่ปราศจากราคะ ไม่ปราศจากโทสะ ไม่ปราศจากโมหะ ยังเป็น ผู้กลัว หวาดสะดุ้ง หนีไปอยู่ ฯ [๘๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนเราแลกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย หากความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี พึงบังเกิดแก่พวกเธอผู้ไปในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนที่ว่างเปล่าก็ดี ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงเรานี้แหละว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่น จะยิ่งไปกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้ จำแนกธรรม ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงเราอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จัก หายไป หากพวกเธอไม่ตามระลึกถึงเรา ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว บุคคลพึงเห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดูได้ ควรน้อมเข้าไปในตน อันวิญญูชนพึงรู้แจ้งได้เฉพาะตน ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงพระธรรมอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป หาก พวกเธอไม่ตามระลึกถึงพระธรรม ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ ปฏิบัติเป็นธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง พระสงฆ์นั้นคือใคร ได้แก่คู่แห่งบุรุษสี่ รวมเป็นบุรุษบุคคลแปด นี้คือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรแก่ สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นผู้ควรแก่ของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักขิณา เป็นผู้ควร แก่การทำอัญชลี เป็นบุญเขตของโลก ไม่มีบุญเขตอื่นยิ่งไปกว่า เพราะว่า เมื่อ พวกเธอตามระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพอง สยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่งอะไร เพราะว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจาก โมหะ ไม่เป็นผู้กลัว ไม่หวาด ไม่สะดุ้ง ไม่หนีไป ฯ [๘๖๖] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลง แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี พึงระลึกถึงพระสัมพุทธเจ้าเถิด ความ กลัวไม่พึงมีแก่เธอทั้งหลาย ถ้าว่าเธอทั้งหลายไม่พึงระลึกถึง พระพุทธเจ้าผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจกว่านรชน ทีนั้น เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระธรรมอันนำออกจากทุกข์ อัน พระพุทธเจ้าทรงแสดงดีแล้ว ถ้าเธอทั้งหลายไม่พึงระลึกถึง พระธรรมอันนำออกจากทุกข์ อันพระพุทธเจ้าทรงแสดงดีแล้ว ทีนั้น เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระสงฆ์ผู้เป็นบุญเขต ไม่มีบุญ เขตอื่นยิ่งไปกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายระลึกถึง พระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์อยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีเลย ฯ
เวปจิตติสูตรที่ ๔
[๘๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ฯลฯ [๘๖๘] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัสกะพวกอสูรว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงครามระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกัน พวกอสูรพึงชนะ พวกเทวดาพึง ปราชัยไซร้ ท่านทั้งหลายพึงมัดท้าวสักกะจอมเทวดา ด้วยการมัดห้าแห่งอันมีคอ เป็นที่ ๕ แล้วพึงนำมายังอสูรบุรี ในสำนักของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ท้าว สักกะจอมเทวดาก็บัญชากะเทวดาชั้นดาวดึงส์ทั้งหลายว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงครามระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกัน พวกเทวดาพึงชนะ พวกอสูรถึง ปราชัยไซร้ ท่านทั้งหลายพึงมัดท้าวเวปจิตติจอมอสูร ด้วยการมัดห้าแห่งอันมีคอ เป็นที่ ๕ แล้วพึงนำมายังสุธรรมาสภา ในสำนักของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล ในสงครามครั้งนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรปราชัย ครั้งนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้จับท้าวเวปจิตติจอมอสูรมัดด้วยการมัดห้าแห่ง อันมีคอเป็นที่ ๕ แล้วนำมายัง สุธรรมาสภา ในสำนักของท้าวสักกะจอมเทวดา ฯ [๘๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ทราบว่า ในครั้งนั้น ท้าวเวปจิตติจอม อสูรถูกมัดด้วยการมัดห้าแห่งอันมีคอเป็นที่ ๕ ได้ด่าบริภาษท้าวสักกะจอมเทวดา ซึ่งกำลังเสด็จเข้าและออกยังสุธรรมาสภา ด้วยวาจาอันหยาบคาย มิใช่ของ สัตบุรุษ ฯ [๘๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล มาตลีเทพบุตร ผู้สงเคราะห์ได้ ทูลถามท้าวสักกะจอมเทวดาด้วยคาถาว่า ข้าแต่ท้าวสักกะมัฆวาน พระองค์ได้ทรงสดับถ้อยคำอัน หยาบคาย เฉพาะหน้า ของท้าวเวปจิตติจอมอสูร ยังทรง อดทนได้ เพราะความกลัว หรือเพราะไม่มีกำลัง พระเจ้าข้า ฯ [๘๗๑] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า เราอดทนถ้อยคำอันหยาบคายของท้าวเวปจิตติได้ เพราะ ความกลัวหรือเพราะไม่มีกำลัง ก็หาไม่ วิญญูชนผู้เช่นเรา ไฉนจะพึงโต้ตอบกับคนพาลเล่า ฯ [๘๗๒] มาตลีเทพบุตรกราบทูลว่า คนพาลพึงทำลายได้อย่างยิ่ง ถ้าไม่พึงเกียดกันเสียก่อน เพราะฉะนั้น ธีรชนพึงเกียดกันคนพาลด้วยอาชญาอย่าง รุนแรง ฯ [๘๗๓] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า ผู้ใดรู้ว่าคนอื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติสงบระงับได้ เราเห็นว่า การสงบระงับได้ของผู้นั้นแล เป็นการเกียดกันคนพาลละ ฯ [๘๗๔] มาตลีเทพบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่ท้าววาสวะ ข้าพระองค์เห็นโทษในความอดทนนี้แล เมื่อใด คนพาลย่อมสำคัญบุคคลนั้นว่า ผู้นี้ย่อมอดกลั้น ต่อเราเพราะความกลัว เมื่อนั้น คนมีปัญญาทรามยิ่งข่มขี่ผู้นั้น เหมือนโคยิ่งข่มขี่โคตัวที่แพ้หนีไป ฉะนั้น ฯ [๘๗๕] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า บุคคลจงสำคัญเห็นว่า ผู้นี้อดกลั้นต่อเราเพราะความกลัวหรือ หาไม่ก็ตามที ประโยชน์ทั้งหลายมีประโยชน์ของตนเป็น อย่างยิ่ง ประโยชน์ยิ่งกว่าขันติไม่มี ผู้ใดแลเป็นคนมีกำลัง อดกลั้นต่อคนผู้ทุรพลไว้ได้ ความอดกลั้นของผู้นั้น บัณฑิต ทั้งหลายกล่าวว่าเป็นขันติอย่างยิ่ง คนทุรพลจำต้องอดทนอยู่ เป็นนิตย์ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวกำลังของผู้ซึ่งมีกำลังอย่าง คนพาลว่ามิใช่กำลัง ไม่มีผู้ใดที่จะกล่าวโต้ต่อผู้มีกำลังผู้ซึ่ง ธรรมคุ้มครองแล้วได้เลย เพราะความโกรธนั้น โทษที่ลามก จึงมีแก่ผู้ที่โกรธตอบต่อผู้ที่โกรธ บุคคลผู้ไม่โกรธตอบต่อผู้ที่ โกรธ ย่อมชื่อว่าชนะสงครามซึ่งเอาชนะได้ยาก ผู้ใดรู้ว่า ผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติระงับไว้ได้ ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติ ประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายตนและคนอื่น คนที่ ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสำคัญเห็นผู้รักษาประโยชน์ของ ทั้งสองฝ่าย คือ ของตนและของคนอื่น ว่าเป็นคนโง่ ดังนี้ ฯ [๘๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ท้าวสักกะจอมเทวดาพระองค์นั้น เข้าไป อาศัยผลบุญของพระองค์เป็นอยู่ เสวยรัชสมบัติมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วยความเป็น อิสระแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ ยังจักพรรณนาคุณของขันติและโสรัจจะได้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่พวกเธอบวชแล้วในธรรมวินัยที่เรากล่าวชอบแล้ว เช่นนี้ เป็นผู้อดทนและสงบเสงี่ยมนี้ จะพึงงามในธรรมวินัยนี้โดยแท้ ฯ
สุภาษิตชยสูตรที่ ๕
[๘๗๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ [๘๗๘] พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่อง เคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างพวกเทวดากับอสูรได้ประชิดกันแล้ว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสกะท้าวสักกะจอมเทวดาว่า แน่จอมเทวดา เราจงเอาชนะกันด้วยการกล่าวคำสุภาษิตเถิด ฯ ท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสว่า แน่ะท้าวเวปจิตติ ตกลงเราจงเอาชนะกัน ด้วยการกล่าวคำสุภาษิต ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พวกเทวดาและพวกอสูรได้ร่วมกันตั้ง ผู้ตัดสินว่า ผู้ตัดสินเหล่านี้จักรู้ทั่วถึงคำสุภาษิต คำทุพภาษิต ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสกะท้าว สักกจอมเทวดาว่า แน่ะจอมเทวดา ท่านจงตรัสคาถา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ ท้าวเวปจิตติตรัสเช่นนี้ ท้าวสักกะจอมเทวดาได้ตรัสกะท้าวเวปจิตติจอมอสูรว่า แน่ะท้าวเวปจิตติในเทวโลกนี้ท่านเป็นเทพมาก่อน ท่านจงกล่าวคาถาเถิด ฯ [๘๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะตรัสเช่นนี้แล้ว ท้าวเวปจิตติ จอมอสูรได้ตรัสคาถานี้ว่า พวกคนพาลยิ่งกริ้วโกรธ ถ้าหากบุคคลไม่ตัดรอนเสีย ฉะนั้น นักปราชญ์ผู้มีปัญญา จึงควรกำจัดคนพาลเสียด้วยอาญา อันรุนแรง ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสคาถาแล้ว เหล่าอสูร พากันอนุโมทนา พวกเทวดาต่างก็พากันนิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้กล่าวกะท้าวสักกะจอมเทวดาว่า แน่ะจอมเทวดา ท่านจง กล่าวคาถาเถิด ฯ [๘๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติตรัสเช่นนี้แล้ว ท้าวสักกะ จอมเทวดาได้ตรัสคาถานี้ว่า ฯ ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติระงับไว้ได้ เราเห็นว่าการ ระงับไว้ได้ของผู้นั้น เป็นเครื่องตัดรอนคนพาล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อท้าวสักกะจอมเทวดาได้ภาษิตคาถาแล้ว พวก เทวดาพากันอนุโมทนา เหล่าอสูรต่างก็นิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าว สักกะจอมเทวดาตรัสกะท้าวเวปจิตติจอมอสูรว่า ดูกรท้าวเวปจิตติ ท่านจงตรัส คาถาเถิด ฯ [๘๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะตรัสเช่นนี้ ท้าวเวปจิตติ จอมอสูรได้ตรัสคาถานี้ว่า ดูกรท้าววาสวะ เราเห็นโทษของการอดกลั้นนี่แหละ เพราะ ว่าเมื่อใดคนพาลสำคัญเห็นผู้นั้นว่า ผู้นี้อดกลั้นต่อเราเพราะ ความกลัว เมื่อนั้น คนพาลผู้ทรามปัญญายิ่งข่มขี่ผู้นั้น เหมือนโคยิ่งข่มขี่โคตัวแพ้ที่หนีไป ฉะนั้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรภาษิตคาถาแล้ว เหล่าอสูร พากันอนุโมทนา พวกเทวดาต่างก็นิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าว เวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสกะท้าวสักกะจอมเทวดาว่า แน่ะจอมเทวดา ท่านจงตรัส คาถาเถิด ฯ [๘๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัสเช่นนี้ ท้าว สักกะจอมเทวดาได้ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า บุคคลจงสำคัญเห็นว่า ผู้นี้อดกลั้นต่อเราเพราะความกลัวหรือ หาไม่ก็ตามที ประโยชน์ทั้งหลายมีประโยชน์ของตนเป็น อย่างยิ่ง ประโยชน์ยิ่งกว่าขันติไม่มี ผู้ใดแลเป็นคนมีกำลัง อดกลั้นต่อคนทุรพลไว้ได้ ความอดกลั้นไว้ได้ของผู้นั้น บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าเป็นขันติอย่างยิ่ง คนทุรพลย่อมจะอด ทนอยู่เป็นนิตย์ บัณฑิตทั้งหลายเรียกกำลังของผู้ที่มีกำลังอย่าง คนพาลว่ามิใช่กำลัง ไม่มีผู้ใดที่จะกล่าวโต้ต่อผู้ที่มีกำลังอัน ธรรมคุ้มครองแล้วได้เลย เพราะความโกรธนั้น โทษอันลามก จึงมีแก่ผู้ที่โกรธตอบผู้ที่โกรธแล้ว บุคคลผู้ไม่โกรธตอบผู้ที่ โกรธแล้ว ย่อมชื่อว่าชนะสงครามซึ่งเอาชนะได้ยาก ผู้ใดรู้ว่า ผู้อื่นโกรธแล้ว เป็นผู้มีสติระงับไว้ได้ ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติ ประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายตนและคนอื่น คนผู้ที่ ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมสำคัญเห็นผู้ที่รักษาประโยชน์ของ ทั้งสองฝ่าย คือ ของตนและคนอื่น ว่าเป็นคนโง่ ดังนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวสักกะจอมเทวดาได้ภาษิตคาถาเหล่านี้แล้ว พวกเทวดาพากันอนุโมทนา เหล่าอสูรต่างก็นิ่ง ฯ [๘๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ผู้ตัดสินทั้งของพวกเทวดาและ พวกอสูรได้กล่าวคำนี้ว่า ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสคาถาทั้งหลายแล้วแล แต่ คาถาเหล่านั้นมีความเกี่ยวเกาะด้วยอาชญา มีความเกี่ยวเกาะด้วยศาตรา เพราะเหตุ เช่นนี้ จึงมีความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความทะเลาะวิวาท ท้าวสักกะจอม เทวดาได้ตรัสคาถาทั้งหลายแล้วแล ก็คาถาเหล่านั้นไม่เกี่ยวเกาะด้วยอาชญา ไม่ เกี่ยวเกาะด้วยศาตรา เพราะเหตุเช่นนี้ จึงมีความไม่หมายมั่น ความไม่แก่งแย่ง ความไม่ทะเลาะวิวาท ท้าวสักกะจอมเทวดาชนะเพราะได้ตรัสคำสุภาษิต ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชัยชนะด้วยการกล่าวคำสุภาษิตได้เป็นของท้าวสักกะ จอมเทวดาด้วยประการฉะนี้แล ฯ
กุลาวกสูตรที่ ๖
[๘๘๔] สาวัตถีนิทาน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างพวกเทวดาและ อสูรได้ประชิดกันแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ในสงครามคราวนั้น พวกอสูรเป็น ฝ่ายมีชัย พวกเทวดาเป็นฝ่ายปราชัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาผู้พ่ายแพ้ ต่างพากันหนีไปทางทิศอุดร พวกอสูรได้ชวนกันไล่พวกเทวดาเหล่านั้นไปแล้ว ทีแล้ว ฯ [๘๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดาได้ตรัส กะมาตลีสังคาหกเทพบุตรด้วยคาถาว่า ดูกรมาตลี เธอจงหลีกเลี่ยงรังนกในป่าไม้งิ้ว โดยบ่ายหน้า งอนรถกลับ ถึงเราจะต้องเสียสละชีวิตในพวกอสูรก็ตามที นกเหล่านี้อย่าได้ปราศจากรังเสียเลย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตลีสังคาหกเทพบุตรรับพระดำรัสของท้าวสักกะ จอมเทวดาว่า ขอความเจริญจงมีแด่พระองค์ ดั่งนี้แล้ว ให้รถซึ่งเทียมด้วยม้า อาชาไนยพันตัวหันหลังกลับ ฯ [๘๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พวกอสูรคิดว่า บัดนี้รถ ซึ่ง เทียมด้วยม้าอาชาไนยพันตัวของท้าวสักกะจอมเทวดาหันกลับมาแล้ว พวกเทวดา จักทำสงครามกับพวกอสูรแม้เป็นครั้งที่สองแล พวกอสูรต่างตกใจกลับเข้าไป สู่อสูรบุรี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชัยชนะโดยธรรมแท้ๆ ได้เป็นของท้าวสักกะจอม เทวดาแล้ว ด้วยประการฉะนี้แล ฯ
นทุพภิยสูตรที่ ๗
[๘๘๗] สาวัตถีนิทาน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทวดาผู้หลีกเร้นออก อยู่ในที่ลับ ได้เกิดความตรึกนึกคิดขึ้นว่า เราไม่ควรประทุษร้ายแม้แก่ผู้ที่เป็น ข้าศึกต่อเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูร ได้ทราบความ ดำริของท้าวสักกะจอมเทวดาด้วยใจของตนแล้ว เข้าไปหาท้าวสักกะจอมเทวดา จนถึงที่ประทับ ฯ [๘๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทวดาได้ทอดพระเนตรเห็น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรผู้มาแต่ไกลทีเดียว ครั้นแล้วจึงตรัสกะท้าวเวปจิตติจอมอสูรว่า หยุดเถอะ ท่านท้าวเวปจิตติ ท่านถูกจับเสียแล้ว ฯ ท้าวเวปจิตติตรัสถามว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ ท่านละทิ้งความคิดเมื่อก่อน ของท่านเสียแล้วหรือ ฯ ท้าวสักกะตรัสว่า ท้าวเวปจิตติ ก็ท่านจงสาบานเพื่อที่จะไม่ประทุษร้าย ต่อเรา ฯ [๘๘๙] ท้าวเวปจิตติตรัสคาถาว่า แน่ะท้าวสุชัมบดี บาปของคนพูดเท็จ บาปของคนผู้ติเตียน พระอริยะเจ้า บาปของคนผู้ประทุษร้ายต่อมิตร และบาปของ คนอกตัญญู จงถูกต้องผู้ที่ประทุษร้ายต่อท่าน ฯ
วิโรจนอสุรินทสูตรที่ ๘
[๘๙๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มี พระภาคกำลังเสด็จเข้าที่พักกลางวัน ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดากับท้าว วิโรจนะจอมอสูร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้ยืนพิงบาน พระทวารองค์ละข้าง ฯ [๘๙๑] ลำดับนั้นแล ท้าวเวโรจนะจอมอสูรได้ตรัสคาถานี้ ในสำนักของ พระผู้มีพระภาคว่า เป็นชายควรพยายามไปจนกว่าประโยชน์สำเร็จ ประโยชน์งดงามอยู่ ที่ความสำเร็จ นี้เป็นถ้อยคำของเวโรจนะ ฯ [๘๙๒] ท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสว่า เป็นชายควรพยายามไปจนกว่าประโยชน์สำเร็จ ประโยชน์ ทั้งหลายงดงามอยู่ที่ความสำเร็จ ประโยชน์ยิ่งกว่าขันติไม่มี ฯ [๘๙๓] ท้าวเวโรจนะจอมอสูรตรัสว่า สรรพสัตว์ย่อมเกิดความต้องการในสิ่งนั้นๆ ตามควร ส่วน การบริโภคของสรรพสัตว์มีการปรุงประกอบเป็นอย่างยิ่ง ประ โยชน์ทั้งหลายงดงามอยู่ที่ความสำเร็จ นี้เป็นถ้อยคำของ เวโรจนะ ฯ [๘๙๔] ท้าวสักกะจอมเทวดาตรัสว่า สรรพสัตว์ย่อมเกิดความต้องการในสิ่งนั้นๆ ตามควร ส่วน การบริโภคของสรรพสัตว์ มีการปรุงประกอบเป็นอย่างยิ่ง ประโยชน์ทั้งหลายงดงามอยู่ที่ความสำเร็จ ประโยชน์ยิ่งกว่า ขันติไม่มี ฯ
อารัญญกสูตรที่ ๙
[๘๙๕] สาวัตถีนิทาน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมมาก รูปด้วยกัน อาศัยอยู่ในกุฎีที่มุงบังด้วยใบไม้ ในราวป่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้ง นั้นแล ท้าวสักกะจอมเทวดากับท้าวเวปจิตติจอมอสูร เข้าไปหาฤาษีผู้มีศีลมี กัลยาณธรรมเหล่านั้นถึงที่อยู่ ฯ [๘๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรสวม รองเท้าหนาหลายชั้น สะพายดาบ มีผู้กั้นร่มให้ เข้าไปสู่อาศรมทางทวารอันเลิศ เข้าไปใกล้ฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้นห่างไม่ถึงวา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้ง นั้นแลท้าวสักกะจอมเทวดาทรงถอดฉลองพระบาท ประทานพระขรรค์ให้แก่ผู้อื่น รับสั่งให้ลดฉัตรเสด็จเข้าไปทางอาศรมโดยทางทวารเข้าออก ประทับประคอง อัญชลีนมัสการฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้นอยู่ใต้ลม ฯ [๘๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม เหล่านั้นได้กล่าวกะท้าวสักกะจอมเทวดาด้วยคาถาว่า กลิ่นของพวกฤาษีผู้ประพฤติพรตมานาน ย่อมจะฟุ้งจากกาย ไปตามลม ดูกรท้าวสหัสนัยน์ พระองค์จงถอยไปเสียจากที่นี้ ดูกรท้าวเทวราช กลิ่นของพวกฤาษีไม่สะอาด ฯ [๘๙๘] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า กลิ่นของพวกฤาษีผู้ประพฤตพรตมานาน ย่อมจะฟุ้งจากกาย ไปตามลม ท่านเจ้าข้า พวกข้าพเจ้าต่างก็มุ่งหวังกลิ่นนี้ เหมือนกับบุคคลมุ่งหวังระเบียบดอกไม้อันวิจิตร งดงาม บน ศีรษะ ฉะนั้น ก็พวกเทวดาหามีความสำคัญในกลิ่นของผู้มี ศีลนี้ว่าเป็นกลิ่นปฏิกูลไม่ ฯ
สมุททกสูตรที่ ๑๐
[๘๙๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ฯลฯ [๙๐๐] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมมากรูปด้วยกัน อาศัยอยู่ในกุฎีที่มุงบัง ด้วยใบไม้แทบฝั่งสมุทร ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้นแล สงครามระหว่างพวก เทวดากับอสูรได้ประชิดกันแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พวกฤาษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านั้นพากันคิดเห็นว่า พวกเทวดาตั้งอยู่ในธรรม พวกอสูรไม่ตั้ง อยู่ในธรรม ภัยนั้นพึงเกิดแก่พวกเราเพราะอสูรโดยแท้ อย่ากระนั้นเลย พวกเรา ควรเข้าไปหาท้าวสมพรจอมอสูรแล้วขออภัยทานเถิด ฯ [๙๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้น ได้อันตรธานไปในบรรณกุฎีแทบฝั่งสมุทร ไปปรากฏอยู่ตรงหน้าท้าวสมพรจอมอสูร เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พวกฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้น ได้กล่าวกะท้าวสมพรจอมอสูร ด้วยคาถาว่า ฯ พวกฤาษีมาขออภัยกะท่านท้าวสมพร การให้ภัยหรือให้อภัย ท่านกระทำได้โดยแท้ ฯ [๙๐๒] ท้าวสมพรจอมอสูรได้กล่าวตอบว่า การอภัยไม่มีแก่พวกฤาษี ผู้ชั่วช้าคบหาท้าวสักกะ เราให้ เฉพาะแต่ภัยเท่านั้นแก่พวกท่านผู้ขออภัย ฯ [๙๐๓] พวกฤาษีกล่าวว่า ท่านให้เฉพาะแต่ภัยเท่านั้นแก่พวกเราผู้ขออภัย พวกเราขอ รับเอาแต่อภัยอย่างเดียว ส่วนภัยจงเป็นของท่านเถิด บุคคล หว่านพืชเช่นใดย่อมได้ผลเช่นนั้น คนทำดีย่อมได้ดี ทำชั่ว ก็ย่อมได้ชั่ว แน่ะพ่อ ท่านหว่านพืชลงไปไว้แล้ว ท่านจักต้อง เสวยผลของมัน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ฤาษีผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้น ได้ สาปแช่งท้าวสมพรจอมอสูร แล้วอันตรธานหายไปในที่ตรงหน้าท้าวสมพรจอม อสูร แล้วไปปรากฏอยู่ในบรรณกุฎีแทบฝั่งสมุทร เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ฯ [๙๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสมพรจอมอสูรถูกฤาษีผู้มี ศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านั้นสาปแช่งแล้ว ได้ยินว่าในคืนวันนั้น ตกใจหวาดหวั่น ถึงสามครั้ง ฯ
จบวรรคที่หนึ่ง
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรแห่งสักกสังยุตมี ๑๐ สูตร คือ
สุวีรสูตรที่ ๑ สุสิมสูตรที่ ๒ ธชัคคสูตรที่ ๓ เวปจิตติสูตรที่ ๔ สุภาสิตชยสูตรที่ ๕ กุลาวกสูตรที่ ๖ นทุพภิยสูตรที่ ๗ วิโรจนอสุรินทสูตรที่ ๘ อารัญญกสูตรที่ ๙ สมุททกสูตรที่ ๑๐ ฯ
-----------------------------------------------------
ทุติยวรรคที่ ๒
ปฐมเทวสูตรที่ ๑
[๙๐๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ในกาลครั้งนั้นแล ฯลฯ [๙๐๖] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้สมาทานวัตรบท ๗ ประการ บริบูรณ์ เพราะเป็นผู้สมาทานวัตรบท ๗ ประการ จึงได้ถึงความเป็นท้าวสักกะ วัตรบท ๗ ประการเป็นไฉน คือ เราพึงเลี้ยงมารดาบิดาจนตลอดชีวิต ๑ เราพึง ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลจนตลอดชีวิต ๑ เราพึงพูดวาจาอ่อนหวาน ตลอดชีวิต ๑ เราไม่พึงพูดวาจาส่อเสียดตลอดชีวิต ๑ เราพึงมีใจปราศจากความ ตระหนี่อันเป็นมลทินอยู่ครองเรือน มีการบริจาคอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกจ่ายทานตลอดชีวิต ๑ เราพึง พูดคำสัตย์ตลอดชีวิต ๑ เราไม่พึงโกรธตลอดชีวิต ๑ ถ้าแม้ความโกรธพึงเกิดขึ้น แก่เรา เราพึงกำจัดมันเสียโดยฉับพลันทีเดียว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะ จอมเทพ เมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้สมาทานวัตรบท ๗ ประการนี้ บริบูรณ์ เพราะเป็นผู้สมาทานวัตรบท ๗ ประการดังนี้ จึงได้ถึงความเป็น ท้าวสักกะ ฯ [๙๐๗] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลง แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า เทวดาชั้นดาวดึงส์ กล่าวถึงนรชน ผู้เป็นบุคคลเลี้ยงมารดาบิดา มีปรกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล เจรจาอ่อน หวาน กล่าวแต่คำสมานมิตรสหาย ละคำส่อเสียด ประกอบ ในอุบายเป็นเครื่องกำจัดความตระหนี่ มีวาจาสัตย์ ครอบงำ ความโกรธได้ นั้นแลว่า เป็นสัปบุรุษ ดังนี้
ทุติยเทวสูตรที่ ๒
[๙๐๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ในกาลครั้งนั้นแล ฯลฯ [๙๐๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน เป็นมาณพชื่อว่ามฆะ เพราะ เหตุนั้น จึงถูกเรียกว่า ท้าวมฆวา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยัง เป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อนได้ให้ทานมาก่อน เพราะเหตุนั้น จึงถูกเรียกว่า ท้าว- *ปุรินททะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้ทานโดยเคารพ เพราะเหตุนั้น จึงถูกเรียกว่า ท้าวสักกะ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้ที่พักอาศัย เพราะเหตุนั้น จึงถูกเรียกว่า ท้าววาสวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ ย่อมทรงคิดเนื้อความได้ตั้งพันโดยครู่เดียว เพราะเหตุนั้น จึงถูกเรียกว่า ท้าว สหัสนัยน์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพทรงมีนางอสุรกัญญานามว่าสุชา เป็นปชาบดี เพราะเหตุนั้น จึงถูกเรียกว่า ท้าวสุชัมบดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพเสวยรัชสมบัติเป็นอิสราธิบดีของทวยเทพชั้นดาวดึงส์ เพราะ เหตุนั้น จึงถูกเรียกว่า เทวานมินทะ ฯ [๙๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ใน กาลก่อน ได้สมาทานวัตรบท ๗ ประการบริบูรณ์ เพราะเป็นผู้สมาทานวัตรบท ๗ ประการบริบูรณ์ จึงได้ถึงความเป็นท้าวสักกะ วัตรบท ๗ ประการเป็นไฉน คือ เราพึงเลี้ยงมารดาบิดาจนตลอดชีวิต ๑ ... ถ้าแม้ความโกรธพึงเกิดขึ้นแก่เรา เราพึง กำจัดมันเสียโดยฉับพลันทีเดียว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยัง เป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้สมาทานวัตรบท ๗ ประการนี้บริบูรณ์ เพราะเป็นผู้ สมาทานวัตรบท ๗ ประการดังนี้ จึงได้ถึงความเป็นท้าวสักกะ ฯ [๙๑๑] พระผู้มีพระภาค ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า เทวดาชั้นดาวดึงส์กล่าวนรชนผู้เป็นบุคคลเลี้ยงมารดาบิดา...ว่า เป็น สัปบุรุษ ดังนี้ ฯ
ตติยเทวสูตรที่ ๓
[๙๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี ฯ ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวีพระนามว่ามหาลี เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควร ส่วนหนึ่ง เมื่อประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งเรียบร้อยแล้ว ได้ตรัสถามพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงเห็นท้าวสักกะจอมเทพหรือ พระพุทธเจ้าข้า ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรมหาลี อาตมาเห็นท้าวสักกะจอมเทพ ถวายพร ฯ ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ผู้ที่พระองค์ทรงเห็นนั้น จักเป็นรูปเปรียบ ของท้าวสักกะเป็นแน่ เพราะว่าท้าวสักกะจอมเทพยากที่ใครๆ จะเห็นได้ พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๙๑๓] พ. ดูกรมหาลี อาตมารู้จักท้าวสักกะด้วย รู้ธรรมเครื่องกระทำ ให้เป็นท้าวสักกะด้วย และรู้ถึงธรรมที่ท้าวสักกะได้ถึงความเป็นท้าวสักกะเพราะ เป็นผู้สมาทานธรรมนั้นด้วย ดูกรมหาลี ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยังเป็นมนุษย์ใน กาลก่อน เป็นมาณพชื่อว่ามฆะ เพราะเหตุนั้น จึงถูกเรียกว่า ท้าวมฆวา ดูกร มหาลี ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้ทานมาก่อน เพราะเหตุนั้น จึงถูกเรียกว่า ท้าวปุรินททะ ดูกรมหาลี ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อ ยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้ทานโดยเคารพ เพราะเหตุนั้น จึงถูกเรียกว่า ท้าวสักกะ ดูกรมหาลี ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้ ที่พักอาศัย เพราะเหตุนั้น จึงถูกเรียกว่า ท้าววาสวะ ดูกรมหาลี ท้าวสักกะ จอมเทพย่อมทรงคิดเนื้อความได้ตั้งพันโดยครู่เดียว เพราะเหตุนั้น จึงถูกเรียกว่า ท้าวสหัสนัยน์ ดูกรมหาลี ท้าวสักกะจอมเทพทรงมีนางอสุรกัญญานามว่าสุชา เป็นปชาบดี เพราะเหตุนั้น จึงถูกเรียกว่าท้าวสุชัมบดี ดูกรมหาลี ท้าวสักกะ จอมเทพเสวยรัชสมบัติเป็นอิสราธิบดีของทวยเทพชั้นดาวดึงส์ เพราะเหตุนั้น จึง ถูกเรียกว่า เทวานมินทะ ฯ [๙๑๔] ดูกรมหาลี ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้สมาทานวัตรบท ๗ ประการบริบูรณ์ เพราะเป็นผู้สมาทานวัตรบท ๗ ประการ จึงได้ถึงความเป็นท้าวสักกะ วัตรบท ๗ ประการเป็นไฉน คือ เราพึงเลี้ยงมารดา บิดาจนตลอดชีวิต ๑ เราพึงประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลตลอดชีวิต ๑ เราพึงพูดวาจาอ่อนหวานตลอดชีวิต ๑ เราไม่พึงพูดวาจาส่อเสียดตลอดชีวิต ๑ เรา พึงมีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทินอยู่ครองเรือน มีการบริจาคอันปล่อย แล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกจ่ายทาน ตลอดชีวิต ๑ เราพึงพูดคำสัตย์ตลอดชีวิต ๑ เราไม่พึงโกรธตลอดชีวิต ถ้าแม้ ความโกรธพึงเกิดขึ้นแก่เรา เราพึงกำจัดมันเสียโดยฉับพลันทีเดียว ๑ ดูกรมหาลี ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้สมาทานวัตรบท ๗ ประการ นี้บริบูรณ์ เพราะเป็นผู้สมาทานวัตรบท ๗ ประการดังนี้ จึงได้ถึงความเป็น ท้าวสักกะ ฯ [๙๑๕] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลง แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า เทวดาชั้นดาวดึงส์ กล่าวนรชนผู้เป็นบุคคลเลี้ยงมารดาบิดา มีปรกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล เจรจาอ่อน หวาน กล่าวแต่คำสมานมิตรสหาย ละคำส่อเสียด ประกอบ ในอุบายเป็นเครื่องกำจัดความตระหนี่ มีวาจาสัตย์ ครอบงำ ความโกรธได้ นั้นแลว่า เป็นสัปบุรุษ ดังนี้
ทฬิททสูตรที่ ๔
[๙๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์ ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัส เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๙๑๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนครราชคฤห์นี้แล ได้มีบุรุษคนหนึ่งเป็นมนุษย์ขัดสน เป็นมนุษย์กำพร้า เป็นมนุษย์ยากไร้ เขายึดมั่นศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ครั้นเขายึดมั่นศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ได้อุบัติ ยังสุคติโลกสวรรค์ คือ ความเป็นสหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์ เทพบุตรนั้น รุ่งเรืองล่วงเทวดาเหล่าอื่นด้วยรัศมีและยศ ฯ [๙๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ในกาลครั้งนั้น พวกเทวดาชั้น ดาวดึงส์พากันยกโทษตำหนิติเตียนว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่าอัศจรรย์นัก ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ยังไม่เคยมีมาเลย เทพบุตรผู้นี้เมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ใน กาลก่อน เป็นมนุษย์ขัดสน เป็นมนุษย์กำพร้า เป็นมนุษย์ยากไร้ เมื่อแตกกาย ตายแล้ว เขาอุบัติยังสุคติโลกสวรรค์ คือ ความเป็นสหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ย่อมรุ่งเรืองล่วงเทวดาเหล่าอื่นด้วยรัศมีและยศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพตรัสกะเทวดาชั้นดาวดึงส์ว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ท่าน ทั้งหลายอย่ายกโทษต่อเทพบุตรนี้เลย ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เทพบุตรนี้แล เมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ยึดมั่นศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ใน พระธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ครั้นยึดมั่นศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว เมื่อแตกกายตายลง จึงอุบัติยังสุคติโลกสวรรค์ คือ ความเป็นสหายของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ย่อม รุ่งเรืองล่วงเทวดาเหล่าอื่นด้วยรัศมีและยศ ฯ [๙๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อจะทรง พลอยยินดีกะพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ จึงได้ตรัสคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า บุคคลใด มีศรัทธาตั้งมั่นไม่หวั่นไหวในพระตถาคต มีศีล งามที่พระอริยะเจ้าพอใจสรรเสริญ มีความเลื่อมใสใน พระสงฆ์และมีความเห็นตรง บัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคลนั้น ว่า เป็นคนไม่ขัดสน ชีวิตของบุคคลนั้นไม่เปล่าประโยชน์ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระ- พุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งศรัทธา ศีล ความ เลื่อมใส และความเห็นธรรมเถิด ฯ
รามเณยยกสูตรที่ ๕
[๙๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วทรงถวายบังคมแล้วประทับอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ทรงประทับเรียบร้อย แล้ว ได้ตรัสถามพระผู้มีพระภาคว่า สถานที่เช่นไรหนอ เป็นภูมิสถานอันน่า รื่นรมย์ ฯ [๙๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า อารามอัน วิจิตร ป่าอันวิจิตร สระโบกขรณีที่สร้างอย่างดี ย่อมไม่ถึง เสี้ยวที่ ๑๖ อันแบ่งออก ๑๖ ครั้ง แห่งภูมิสถานอันรื่นรมย์ ของมนุษย์ พระอรหันต์ทั้งหลายอยู่ในที่ใด เป็นบ้านหรือป่า ก็ตาม เป็นที่ลุ่มหรือที่ดอนก็ตาม ที่นั้นเป็นภูมิสถานอันน่า รื่นรมย์ ฯ
ยชมานสูตรที่ ๖
[๙๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขต พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วทรงถวายบังคมแล้ว ประทับอยู่ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง ฯ [๙๒๓] ท้าวสักกะจอมเทพประทับ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง เรียบร้อย แล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นสัตว์ปรารถนาบุญบูชาอยู่ กระทำ บุญมีอุปธิเป็นผล ทานที่ให้แล้วในที่ไหนมีผลมาก พระ- พุทธเจ้าข้า ฯ [๙๒๔] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ท่านผู้ปฏิบัติ ๔ จำพวก ท่านผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวก นั่น คือพระสงฆ์ เป็นผู้ซื่อตรง ประกอบด้วยปัญญาและศีล เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นสัตว์ปรารถนาบุญบูชาอยู่ กระทำ บุญมีอุปธิเป็นผล ทานที่ให้แล้วในสงฆ์มีผลมาก ฯ
วันทนสูตรที่ ๗
[๙๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ในที่พักกลางวัน ฯ ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพ และท้าวสหัมบดีพรหมเสด็จเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้ประทับยืนพิงบานพระทวารอยู่องค์ ละบาน ฯ [๙๒๖] ลำดับนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสพระคาถานี้ ในสำนัก พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ทรงชนะสงครามแล้ว ทรงปลง ภาระลงแล้ว ไม่ทรงมีหนี้ ขอเชิญพระองค์เสด็จลุกขึ้น เสด็จเที่ยวไปในโลกเถิด อนึ่ง จิตของพระองค์หลุดพ้นดี แล้ว เหมือนพระจันทร์ในราตรีวันเพ็ญ ฉะนั้น ฯ [๙๒๗] ท้าวสหัมบดีพรหมตรัสค้านว่า ดูกรจอมเทพ พระองค์ไม่ควร กราบทูลพระตถาคตอย่างนี้เลย แต่ควรจะกราบทูลพระตถาคตอย่างนี้แลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้า ทรงชนะสงครามแล้ว ทรงเป็น ผู้นำพวก ไม่ทรงมีหนี้สิน ขอเชิญพระองค์เสด็จลุกขึ้น เสด็จเที่ยวไปในโลก ขอเชิญพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม จักมีผู้รู้ทั่วถึงธรรมเป็นแน่ ฯ
ปฐมสักกนมัสนสูตรที่ ๘
[๙๒๘] สาวัตถีนิทาน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพตรัสกะมาตลี- *สังคาหกเทพบุตรว่า ดูกรสหายมาตลี ท่านจงเตรียมจัดรถม้าอาชาไนยซึ่งเทียม ด้วยม้าพันตัว เราจะไปยังพื้นที่อุทยานเพื่อชมภูมิภาคอันงดงาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตลีสังคาหกเทพบุตรทูลรับพระดำรัสท้าวสักกะจอมเทพว่า ขอเดชะ ขอความ เจริญจงมีแด่พระองค์ ดังนี้แล้ว เตรียมจัดรถม้าอาชาไนยซึ่งเทียมด้วยม้าพันตัว เสร็จแล้ว กราบทูลแด่ท้าวสักกะจอมเทพว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ รถม้า อาชาไนยซึ่งเทียมด้วยม้าพันตัวสำหรับพระองค์เตรียมจัดไว้เสร็จแล้ว ขอพระองค์ ทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ได้ทราบว่า ท้าวสักกะจอมเทพขณะเสด็จลงจากเวชยันตปราสาท ทรงประนมอัญชลีนมัสการ ทิศเป็นอันมาก ฯ [๙๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล มาตลีสังคาหกเทพบุตร ได้ ทูลถามท้าวสักกะจอมเทพด้วยคาถาว่า พราหมณ์ทั้งหลายผู้บรรลุไตรวิชชา กษัตริย์ทั้งหลาย ณ ภูมิภาค ทั้งหมด ท้าวมหาราชทั้ง ๔ และทวยเทพชาวไตรทศผู้มียศ ย่อมนอบน้อมพระองค์ ข้าแต่ท้าวสักกะ เมื่อเป็นเช่นนั้น พระองค์ทรงนอบน้อมท่านผู้ควรบูชาคนใด ท่านผู้ควรบูชา คนนั้นชื่อไรเล่า ขอเดชะ ฯ [๙๓๐] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า พราหมณ์ทั้งหลายผู้บรรลุไตรวิชชา กษัตริย์ทั้งหลาย ณ ภูมิภาคทั้งหมด ท้าวมหาราชทั้ง ๔ และทวยเทพชาวไตรทศ ผู้มียศ นอบน้อมท่านผู้ใดซึ่งเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีจิต ตั้งมั่นตลอดกาลนาน ผู้บวชแล้วโดยชอบ มีพรหมจรรย์เป็น เบื้องหน้า คฤหัสถ์เหล่าใดเป็นผู้ทำบุญ มีศีล เป็นอุบาสก เลี้ยงดูภรรยาโดยชอบธรรม ดูกรมาตลี เรานอบน้อมคฤหัสถ์ เหล่านั้น ฯ [๙๓๑] มา. ข้าแต่ท้าวสักกะ ได้ยินว่า พระองค์ทรงนอบน้อม บุคคลเหล่าใด บุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก เทียว ข้าแต่ท้าววาสวะ พระองค์ทรงนอบน้อมบุคคลเหล่าใด ถึง ข้าพระองค์ก็ขอนอบน้อมบุคคลเหล่านั้น ฯ [๙๓๒] ท้าวมฆวาสุชัมบดีเทวราชผู้เป็นประมุขของเทวดาทั้งหลาย ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงน้อมนมัสการทิศเป็นอันมาก แล้ว เสด็จขึ้นรถ ฯ
ทุติยสักกนมัสนสูตรที่ ๙
[๙๓๓] สาวัตถีนิทาน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสกะมาตลี- สังคาหกเทพบุตรว่า ดูกรสหายมาตลี ท่านจงเตรียมจัดรถม้าอาชาไนยซึ่งเทียมด้วย ม้าพันตัว เราจะไปยังพื้นที่อุทยานเพื่อชมภูมิภาคอันงดงาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตลีสังคาหกเทพบุตรทูลรับพระดำรัสท้าวสักกะจอมเทพว่า ขอเดชะ ขอความ เจริญจงมีแด่พระองค์ ดังนี้แล้ว จัดเตรียมรถม้าอาชาไนยซึ่งเทียมด้วยม้าพันตัว เสร็จแล้ว กราบทูลแก่ท้าวสักกะจอมเทพว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ รถม้า อาชาไนยซึ่งเทียมด้วยม้าพันตัวสำหรับพระองค์ จัดเตรียมไว้เสร็จแล้ว ขอพระองค์ ทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ทราบว่า ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพขณะเสด็จลงจากเวชยันตปราสาท ทรงประนมอัญชลีนมัสการ พระผู้มีพระภาคอยู่ ฯ [๙๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล มาตลีสังคาหกเทพบุตรได้ทูลถาม ท้าวสักกะจอมเทพด้วยคาถาว่า ข้าแต่ท้าววาสวะ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมนอบน้อม พระองค์นั่นเทียว ข้าแต่ท้าวสักกะ เมื่อเช่นนั้น พระองค์ ทรงนอบน้อมท่านผู้ควรบูชาคนใด ท่านผู้ควรบูชาคนนั้น คือ ใครเล่า ฯ [๙๓๕] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า ดูกรมาตลี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดในโลกพร้อมทั้ง เทวโลก เรานอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ เป็นศาสดามีพระนามไม่ทราม ดูกรมาตลี ท่านเหล่าใดสำรอก ราคะ โทสะและอวิชชาแล้ว เป็นพระอรหันตขีณาสพ เรา นอบน้อมท่านเหล่านั้น ดูกรมาตลี ท่านเหล่าใดกำจัดราคะ และโทสะก้าวล่วงอวิชชา ยังเป็นพระเสขะ ยินดีในธรรม เครื่องปราศจากการสั่งสม เป็นผู้ไม่ประมาท ตามศึกษาอยู่ เรานอบน้อมท่านเหล่านั้น ฯ [๙๓๖] มา. ข้าแต่ท้าวสักกะ ได้ยินว่า พระองค์ทรงนอบน้อม บุคคลเหล่าใด บุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก เทียว ข้าแต่ท้าววาสวะ พระองค์ทรงนอบน้อมบุคคลเหล่าใด แม้ข้าพระองค์ก็ขอนอบน้อมบุคคลเหล่านั้น ฯ [๙๓๗] ท้าวมฆวาสุชัมบดีเทวราช ผู้เป็นประมุขของเทวดา ทั้งหลาย ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ทรงน้อมนมัสการพระผู้มี พระภาค แล้วเสด็จขึ้นรถ ฯ
ตติยสักกนมัสนสูตรที่ ๑๐
[๙๓๘] สาวัตถีนิทาน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสกะมาตลี- สังคาหกเทพบุตรว่า ดูกรสหายมาตลี ท่านจงเตรียมจัดรถม้าอาชาไนยซึ่งเทียมด้วย ม้าพันตัว เราจะไปยังพื้นที่อุทยานเพื่อชมภูมิภาคอันงดงาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตลีสังคาหกเทพบุตรทูลรับพระดำรัสท้าวสักกะจอมเทพว่า ขอเดชะ ขอความ เจริญจงมีแด่พระองค์ ดังนี้แล้ว จัดเตรียมรถม้าอาชาไนยซึ่งเทียมด้วยม้าพันตัว เสร็จแล้ว กราบทูลแก่ท้าวสักกะจอมเทพว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ รถม้า อาชาไนยซึ่งเทียมด้วยม้าพันตัวสำหรับพระองค์ จัดเตรียมไว้เสร็จแล้ว ขอพระองค์ ทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ทราบว่า ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพขณะเสด็จลงจากเวชยันตปราสาท ทรงประนมอัญชลีน้อม นมัสการพระภิกษุสงฆ์อยู่ ฯ [๙๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล มาตลีสังคาหกเทพบุตรได้ทูลถาม ท้าวสักกะจอมเทพด้วยคาถาว่า นรชนผู้นอนทับกายอันเปื่อยเน่าเหล่านี้ พึงนอบน้อมพระองค์ นั่นเทียว พวกเขาจมอยู่ในซากอันเต็มไปด้วยความหิวและ ความกระหาย ข้าแต่ท้าววาสวะ เพราะเหตุไรหนอพระองค์ จึงทรงโปรดปรานท่านผู้ไม่มีเรือนเหล่านั้น ขอพระองค์ตรัส บอกมรรยาทของฤาษีทั้งหลาย ข้าพระองค์ขอฟังพระดำรัสของ พระองค์ ฯ [๙๔๐] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า ดูกรมาตลี เราโปรดปรานมรรยาทของท่านผู้ไม่มีเรือนเหล่านั้น ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ไม่มีความห่วงใยในบ้านที่ท่านหลีกออกไป บุคคลผู้จะเก็บข้าวเปลือกของท่านเหล่านั้นไว้ในฉางก็ไม่มี ผู้ จะเก็บไว้ในหม้อก็ไม่มี ผู้จะเก็บไว้ในกระเช้าก็ไม่มี ท่าน เหล่านั้นมีวัตรอันงาม แสวงหาอาหารที่ผู้อื่นทำเสร็จแล้ว เยียวยาอัตภาพด้วยอาหารนั้น ท่านเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์ กล่าวคำสุภาษิต เป็นผู้นิ่งประพฤติสม่ำเสมอ ดูกรมาตลี พวก เทวดายังโกรธกับพวกอสูร และสัตว์เป็นอันมากยังมีโกรธกัน และกัน เมื่อเขายังโกรธกัน ท่านเหล่านั้นไม่โกรธ ดับเสีย ได้ในบุคคลผู้มีอาชญาในตน เมื่อชนทั้งหลายยังมีความถือมั่น ท่านเหล่านั้นไม่ถือมั่น ดูกรมาตลี เราน้อมนมัสการท่าน เหล่านั้น ฯ [๙๔๑] มา. ข้าแต่ท้าวสักกะ ได้ยินว่า พระองค์ทรงนอบน้อม บุคคลเหล่าใด บุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก เทียว ข้าแต่ท้าววาสวะ พระองค์ทรงนอบน้อมบุคคลเหล่าใด แม้ข้าพระองค์ก็ขอนอบน้อมบุคคลเหล่านั้น ฯ [๙๔๒] ท้าวมฆวาสุชัมบดีเทวราช ผู้เป็นประมุขของเทวดา ทั้งหลาย ครั้นตรัสดังนี้แล้วทรงน้อมนมัสการพระภิกษุสงฆ์ แล้วเสด็จขึ้นรถ ฉะนี้แล ฯ
จบวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
ปฐมเทวสูตร ๑ ทุติยเทวสูตร ๑ ตติยเทวสูตร ๑ ทฬิททสูตร ๑ รามเณยยกสูตร ๑ ยชมานสูตร ๑ วันทนสูตร ๑ ปฐมสักกนมัสนสูตร ๑ ทุติยสักกนมัสนสูตร ๑ ตติยสักกนมัสนสูตร ๑ ฯ
-----------------------------------------------------
สักกปัญจกะที่ ๓
ฆัตวาสูตรที่ ๑
[๙๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วทรงถวายบังคม แล้วประทับอยู่ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง ฯ [๙๔๔] ท้าวสักกะจอมเทพประทับอยู่ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง เรียบร้อย แล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า บุคคลฆ่าอะไรแล้วสิจึงจะอยู่เป็นสุข ฆ่าอะไรแล้วสิจึงจะไม่ เศร้าโศก ข้าแต่พระโคดม พระองค์ทรงชอบการฆ่าอะไร อันเป็นธรรมอย่างเอก ฯ [๙๔๕] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า บุคคลฆ่าความโกรธเสียแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข ฆ่าความโกรธ เสียแล้วย่อมไม่เศร้าโศก ดูกรท้าววาสวะ พระอริยะเจ้า ทั้งหลายย่อมสรรเสริญ การฆ่าความโกรธอันมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน เพราะว่าบุคคลฆ่าความโกรธนั้นเสียแล้ว ย่อม ไม่เศร้าโศก ฯ
ทุพรรณิยสูตรที่ ๒
[๙๔๖] สาวัตถีนิทาน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ยักษ์ตนหนึ่งมีผิวพรรณทราม ต่ำเตี้ย พุงพลุ้ย นั่งอยู่บนอาสนะแห่งท้าวสักกะจอมเทพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ในที่นั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์พากันยกโทษตำหนิติเตียนว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย น่าอัศจรรย์หนอ ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ไม่เคยมีมาแล้วหนอ ยักษ์นี้ มีผิวพรรณทราม ต่ำเตี้ย พุงพลุ้ย นั่งอยู่บนอาสนะแห่งท้าวสักกะจอมเทพ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ยกโทษตำหนิติเตียนด้วยประการใดๆ ยักษ์ นั้นยิ่งเป็นผู้มีรูปงามทั้งน่าดูน่าชมและน่าเลื่อมใสยิ่งขึ้นกว่าเดิมด้วยประการนั้นๆ ฯ [๙๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์พากันเข้า ไปเฝ้าท้าวสักกะจอมเทพถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ นิรทุกข์ ขอประทานโอกาสต่อพระองค์ ยักษ์ตนหนึ่งมีผิวพรรณทราม ต่ำเตี้ย พุงพลุ้ย นั่งอยู่บนอาสนะของพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ทราบว่า ณ ที่นั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์พากันยกโทษตำหนิติเตียนว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย น่า อัศจรรย์หนอ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ไม่เคยมีมาหนอ ยักษ์นี้มีผิวพรรณทราม ต่ำเตี้ย พุงพลุ้ย นั่งอยู่บนอาสนะของท้าวสักกะจอมเทพ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ยกโทษตำหนิติเตียนด้วยประการใดๆ ยักษ์นั้นยิ่งเป็นผู้มี รูปงามทั้งน่าดูน่าชมและน่าเลื่อมใสยิ่งกว่าเดิม ด้วยประการนั้นๆ ข้าแต่พระองค์ ผู้นิรทุกข์ ยักษ์นั้นจักเป็นผู้มีความโกรธเป็นอาหารเป็นแน่เทียว ขอเดชะ ฯ [๙๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จเข้าไป หายักษ์ผู้มีความโกรธเป็นอาหารนั้นจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้วทรงห่มผ้าเฉวียงพระอังสา ข้างหนึ่ง ทรงคุกพระชานุมณฑลเบื้องขวาลง ณ พื้นดิน ทรงประนมอัญชลีไปทาง ที่ยักษ์ตนนั้นอยู่ แล้วประกาศพระนาม ๓ ครั้งว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ เราคือ ท้าวสักกะจอมเทพ ... ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ เราคือท้าวสักกะจอมเทพ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพทรงประกาศพระนามด้วยประการใดๆ ยักษ์ตนนั้น ยิ่งมีผิวพรรณทรามและต่ำเตี้ยพุงพลุ้ยยิ่งกว่าเดิม ยักษ์นั้นเป็นผู้มีผิวพรรณทรามและ ต่ำเตี้ยพุงพลุ้ยยิ่งกว่าเดิมแล้ว ได้หายไป ณ ที่นั้นนั่นเอง ฯ [๙๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพประทับนั่งบน อาสนะของพระองค์แล้ว เมื่อจะทรงยังพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ให้ยินดี จึงได้ตรัส พระคาถาเหล่านี้ไว้ในเวลานั้นว่า เราเป็นผู้มีจิตอันโทสะไม่กระทบกระทั่ง เป็นผู้อันความหมุน (มาร) นำไปไม่ได้ง่าย เราไม่โกรธมานานแล ความโกรธ ย่อมไม่ตั้งอยู่ในเรา ถึงเราโกรธก็ไม่กล่าวคำหยาบ และไม่ กล่าวคำไม่ชอบธรรม เราเห็นประโยชน์ของตนจึงข่มตนไว้ ฯ
มายาสูตรที่ ๓
[๙๕๐] สาวัตถีนิทาน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวเวปจิตติจอมอสูรป่วย ได้ รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพเสด็จ ไปเยี่ยมท้าวเวปจิตติจอมอสูรถึงที่ประทับตรัสถามถึงความเจ็บไข้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวเวปจิตติจอมอสูรทรงเห็นท้าวสักกะจอมเทพกำลังเสด็จมาแต่ไกลเทียว ครั้น แล้วได้ตรัสกะท้าวสักกะจอมเทพว่า ข้าแต่พระองค์ผู้จอมเทพ ขอจงช่วยรักษา หม่อมฉันด้วยเถิด ฯ ท้าวสักกะตรัสว่า ข้าแต่ท้าวเวปจิตติ ขอเชิญตรัสบอกมายาของอสุรินทร์ กะหม่อมฉันก่อน ฯ เว. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ หม่อมฉันยังกราบทูลไม่ได้จนกว่าจะได้ สอบถามพวกอสูรดูก่อน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัสสอบถามพวก อสูรว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เราจะบอกมายาของอสุรินทร์กะท้าวสักกะ จอมเทพนะ ฯ พวกอสูรทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์อย่าตรัสบอกมายาของ อสุรินทร์กะท้าวสักกะจอมเทพเลย ฯ [๙๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรได้ตรัสกะ ท้าวสักกะจอมเทพด้วยคาถาว่า ข้าแต่ท้าวมฆวาสุชัมบดีสักกเทวราช บุคคลผู้มีมายาย่อมเข้า ถึงนรกครบร้อยปี เหมือนดังอสุรินทร์ ฉะนั้น ฯ
อัจจยสูตรที่ ๔
[๙๕๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุสองรูปโต้เถียงกัน ในการโต้เถียงกันนั้น ภิกษุ รูปหนึ่งได้พูดล่วงเกิน ฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้พูดล่วงเกินนั้นแสดงโทษโดยความเป็นโทษ (รับผิด และขอโทษ) ในสำนักของภิกษุนั้น ภิกษุนั้นไม่รับ ฯ [๙๕๓] ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมาก พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควรส่วน หนึ่ง เมื่อนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ภิกษุสองรูปโต้เถียงกัน ในการ โต้เถียงกันนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้พูดล่วงเกิน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้น ภิกษุผู้พูดล่วงเกินแสดงโทษโดยความเป็นโทษในสำนักของภิกษุนั้น ภิกษุนั้นไม่ รับ พระพุทธเจ้าข้า ฯ [๙๕๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลมี ๒ จำพวก นี้ คือ ผู้ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ ผู้ไม่รับตามสมควรแก่ธรรมเมื่อผู้อื่น แสดงโทษ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลมี ๒ จำพวกนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตมี ๒ จำพวกนี้ คือ ผู้เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ ผู้รับตามสมควรแก่ ธรรมเมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตมี ๒ จำพวกนี้แล ฯ [๙๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อ จะทรงยังเทวดาชั้นดาวดึงส์ให้พลอยยินดี ณ สุธรรมาสภา จึงได้ตรัสพระคาถานี้ ในเวลานั้นว่า ขอความโกรธจงตกอยู่ในอำนาจของท่านทั้งหลาย ขอความ เสื่อมคลายในมิตรธรรมอย่าได้เกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย ท่าน ทั้งหลายอย่าได้ติเตียนผู้ที่ไม่ควรติเตียน และอย่าได้พูดคำ ส่อเสียดเลย ก็ความโกรธเปรียบปานดังภูเขา ย่อมย่ำยีคน ลามก ฯ
อักโกธสูตรที่ ๕
[๙๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ [๙๕๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อจะทรงยังเทวดาชั้นดาวดึงส์ให้พลอย ยินดี ณ สุธรรมาสภา จึงได้ตรัสพระคาถานี้ในเวลานั้นว่า ความโกรธอย่าได้ครอบงำท่านทั้งหลาย และท่านทั้งหลายอย่า ได้โกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ ความไม่โกรธและความไม่ เบียดเบียน ย่อมมีในท่านผู้ประเสริฐทุกเมื่อ ก็ความโกรธ เปรียบปานดังภูเขา ย่อมย่ำยีคนลามก ฉะนี้แล ฯ
จบสักกปัญจกะ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
ฆัตวาสูตร ๑ ทุพรรณิยสูตร ๑ มายาสูตร ๑ อัจจยสูตร ๑ อักโกธสูตร ๑ สักกสูตร ๕ สูตรนี้ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงแสดงไว้แล้ว ฯ
จบสักกสังยุตบริบูรณ์
รวมสังยุตที่มีในสคาถวรรคนี้ ๑๑ สังยุต คือ
เทวตาสังยุต ๑ เทวปุตตสังยุต ๑ โกศลสังยุต ๑ มารสังยุต ๑ ภิกขุนี สังยุต ๑ พรหมสังยุต ๑ พราหมณสังยุต ๑ วังคีสสังยุต ๑ วนสังยุต ๑ ยักขสังยุต ๑ สักกสังยุต ๑ ฯ
จบสคาถวรรค
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๓๘๘๕-๗๗๘๑ หน้าที่ ๑๖๙-๓๓๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=3885&Z=7781&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13], [14], [15], [16], [17], [18], [19], [max20]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=15&siri=159              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=488              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [488-957] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=15&item=488&items=470              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=11&A=4543              The Pali Tipitaka in Roman :- [488-957] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=15&item=488&items=470              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=11&A=4543              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/15i478-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/sn4.23/en/sujato https://suttacentral.net/sn4.23/en/bodhi

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :