ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๑. ยุคนัทธกถา

๒. ยุคนัทธวรรค
หมวดว่าด้วยการเจริญธรรมที่เป็นคู่
๑. ยุคนัทธกถา
ว่าด้วยการเจริญธรรมที่เป็นคู่
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ณ ที่นั้น ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้น รับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้ใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณี ย่อมทำให้แจ้งอรหัต ในสำนักของเรา ด้วยมรรคครบทั้ง ๔ ประการ หรือมรรคใดมรรคหนึ่งบรรดามรรค ๔ ประการนี้ มรรค ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้า เมื่อเธอเจริญ วิปัสสนามีสมถะนำหน้า มรรคย่อมเกิด เธอปฏิบัติ๑- เจริญ ทำให้ มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ๒. ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้า เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนา นำหน้า มรรคย่อมเกิด เธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ๓. ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อเธอเจริญสมถะและ วิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด เธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่ง @เชิงอรรถ : @ คำว่า “ปฏิบัติ” แปลจากคำว่า “อาเสวติ” ซึ่งมีความหมายหลายนัยแล้วแต่บริบท (ดูข้อ ๒ ถัดไป) ในที่นี้ @ที่ใช้คำว่า “ปฏิบัติ” เพื่อให้เป็นคำกลางของความหมายเหล่านั้น ในกรณีอื่นจะใช้คำว่า “เสพ” ก็ได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๑๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส

มรรคนั้น เมื่อเธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่ง มรรคนั้น ย่อมละ สังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ๔. ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้ ในเวลาที่จิตตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคก็เกิดแก่เธอ เธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่ง มรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ผู้ใดผู้หนึ่งก็ตามไม่ว่าจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณี ย่อมทำให้แจ้งอรหัตในสำนัก ของเรา ด้วยมรรคครบทั้ง ๔ ประการ หรือมรรคใดมรรคหนึ่งบรรดามรรค ๔ ประการนี้”
๑. สุตตันตนิทเทส
แสดงพระสูตร
[๒] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้า เป็นอย่างไร คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งเนกขัมมะ เป็น สมาธิ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดย ความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะ จึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญวิปัสสนา มีสมถะนำหน้า” คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง คือ ๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น ไม่ล่วงเลยกัน ๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง เดียวกัน ๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรมนั้น เข้าไป ๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๑๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส

คือ มรรคชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมา- สังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะ กำหนด ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมา- วายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมาสติ เพราะมี สภาวะตั้งมั่น ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมเกิด มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ คำว่า เธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น อธิบายว่า ภิกษุปฏิบัติอย่างไร คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อรู้ ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อเห็น ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อพิจารณา ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อประคองความเพียรไว้ ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อตั้งสติไว้มั่น ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อละ ธรรมที่ควรละ ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อทำให้ แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าปฏิบัติ ภิกษุปฏิบัติอย่างนี้ คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภิกษุเจริญอย่างไร คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าเจริญ เมื่อรู้ ชื่อว่าเจริญ เมื่อเห็น ชื่อว่าเจริญ เมื่อพิจารณา ชื่อว่าเจริญ เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าเจริญ เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา ชื่อว่าเจริญ เมื่อประคองความเพียรไว้ ชื่อว่าเจริญ เมื่อตั้งสติไว้มั่น ชื่อว่าเจริญ เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าเจริญ เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าเจริญ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าเจริญ เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าเจริญ เมื่อละธรรมที่ควรละ ชื่อว่าเจริญ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่าเจริญ เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าเจริญ ภิกษุเจริญอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๑๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส

คำว่า ทำให้มาก อธิบายว่า ภิกษุทำให้มากอย่างไร คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อรู้ ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อเห็น ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อพิจารณา ชื่อว่าทำให้มาก เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อประคองความเพียรไว้ ชื่อว่าทำให้ มาก เมื่อตั้งสติไว้มั่น ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อรู้ชัด ด้วยปัญญา ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อ กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อละธรรมที่ควรละ ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าทำให้มาก ภิกษุทำให้มากอย่างนี้ คำว่า เมื่อเธอปฏิบัติมรรคนั้น ฯลฯ อนุสัยย่อมสิ้นไป อธิบายว่า ภิกษุ ย่อมละสังโยชน์ได้อย่างไร อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างไร คือ ย่อมละสังโยชน์ ๓ นี้ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส อนุสัย ๒ นี้ คือ ทิฏฐานุสัยและวิจิกิจฉานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์ส่วนหยาบๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยส่วนหยาบๆ ย่อมสิ้นไปด้วย สกทาคามิมรรค ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียดๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัยและปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ ย่อมสิ้นไปด้วย อนาคามิมรรค ย่อมละสังโยชน์ ๕ นี้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา อนุสัย ๓ นี้ คือ มานานุสัย ภวราคานุสัย และอวิชชานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตต- มรรค ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ [๓] ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอพยาบาท เป็นสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่งอาโลก- สัญญา เป็นสมาธิ ฯลฯ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจแห่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๑๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส

ความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ด้วยอำนาจแห่งความเป็นผู้พิจารณา เห็นความสละคืนหายใจออก เป็นสมาธิ ฯลฯ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีความหมาย ว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดย ความเป็นอนัตตา ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้า” คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง คือ ๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา นั้นไม่ล่วงเลยกัน ๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง เดียวกัน ๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรม นั้นเข้าไป ๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร คือ มรรคชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็น ย่อมเกิด มรรคชื่อว่าสัมมา- สังกัปปะ เพราะมีสภาวะตรึกตรอง ฯลฯ มรรคชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะ ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมเกิด มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ คำว่า เธอปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น อธิบายว่า ภิกษุปฏิบัติ อย่างไร คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อรู้ ชื่อว่าปฏิบัติ ฯลฯ เมื่อทำให้ แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าปฏิบัติ ภิกษุปฏิบัติอย่างนี้ คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภิกษุเจริญอย่างไร คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าเจริญ เมื่อรู้ ชื่อว่าเจริญ ฯลฯ เมื่อทำให้ แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าเจริญ ภิกษุเจริญอย่างนี้ คำว่า ทำให้มาก อธิบายว่า ภิกษุทำให้มากอย่างไร คือ ภิกษุนั้นเมื่อนึกถึง ชื่อว่าทำให้มาก เมื่อรู้ ชื่อว่าทำให้มาก ฯลฯ เมื่อ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าทำให้มาก ภิกษุทำให้มากอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๑๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส

คำว่า เมื่อเธอปฏิบัติมรรคนั้น ฯลฯ อนุสัยย่อมสิ้นไป อธิบายว่า ภิกษุ ย่อมละสังโยชน์ได้อย่างไร อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างไร คือ ย่อมละสังโยชน์ ๓ นี้ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส อนุสัย ๒ นี้ คือ ทิฏฐานุสัยและวิจิกิจฉานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ และปฏิฆสังโยชน์ ส่วนหยาบๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยส่วนหยาบๆ ย่อมสิ้นไปด้วย สกทาคามิมรรค ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียดๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ กามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยส่วนละเอียดๆ ย่อมสิ้นไปด้วย อนาคามิมรรค ย่อมละสังโยชน์ ๕ นี้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา อนุสัย ๓ นี้ คือ มานานุสัย ภวราคานุสัย และอวิชชานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตต- มรรค ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าย่อม เจริญวิปัสสนา มีสมถะนำหน้าอย่างนี้ [๔] ภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้า เป็นอย่างไร คือ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมี สภาวะพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา สภาวะที่จิตปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดใน วิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ และสภาวะที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้า” คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม เกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๑๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส

ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นรูปโดยความไม่เที่ยง ชื่อว่า วิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะ มีสภาวะพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอนัตตา สภาวะที่จิตปล่อยธรรมทั้งหลายที่ เกิดในภาวนานั้นเป็นอารมณ์ และสภาวะที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน เป็น สมาธิ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้า” คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อมละ สังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นชรา และมรณะโดยความไม่เที่ยง ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นชราและ มรณะโดยความเป็นทุกข์ ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็นชราและมรณะ โดยความเป็นอนัตตา สภาวะที่จิตปล่อยธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นเป็น อารมณ์ และสภาวะที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง ด้วยประการดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะมี วิปัสสนานำหน้า” คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม เกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุเจริญ สมถะมีวิปัสสนานำหน้าอย่างนี้ [๕] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เป็นอย่างไร คือ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ อย่าง๑- ได้แก่ @เชิงอรรถ : @ อาการ ๑๖ อย่าง หมายเอาสภาวะที่เป็นคู่กันด้วย (ขุ.ป.อ. ๒/๕/๒๒๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๑๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส

๑. ด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์ ๒. ด้วยมีสภาวะเป็นโคจร ๓. ด้วยมีสภาวะละ ๔. ด้วยมีสภาวะสละ ๕. ด้วยมีสภาวะออก ๖. ด้วยมีสภาวะหลีกออก ๗. ด้วยมีสภาวะเป็นธรรมละเอียด ๘. ด้วยมีสภาวะเป็นธรรมประณีต ๙. ด้วยมีสภาวะหลุดพ้น ๑๐. ด้วยมีสภาวะไม่มีอาสวะ ๑๑. ด้วยมีสภาวะเป็นเครื่องข้าม ๑๒. ด้วยมีสภาวะไม่มีนิมิต ๑๓. ด้วยมีสภาวะไม่มีปณิหิตะ ๑๔. ด้วยมีสภาวะเป็นสุญญตะ ๑๕. ด้วยมีสภาวะมีรสเป็นอย่างเดียวกัน ๑๖. ด้วยมีสภาวะเป็นคู่กันไม่ล่วงเลยกัน ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์ เป็นอย่างไร คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง ซ่าน มีนิโรธเป็นอารมณ์ เมื่อภิกษุนั้นละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา เพราะมีสภาวะ พิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นอารมณ์ ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรส เป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์ ดังนี้ เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็น อารมณ์” คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม เกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุเจริญ สมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นอารมณ์อย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นโคจร เป็นอย่างไร คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง ซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนาเพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะเป็นโคจร ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญ สมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นโคจร” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๒๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส

ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะละ เป็นอย่างไร คือ เมื่อภิกษุละกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและขันธ์ จึงมีสมาธิคือความ ที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละกิเลสที่ประกอบด้วย อวิชชาและขันธ์ จึงมีวิปัสสนาเพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วย ประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลย กันด้วยมีสภาวะละ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนา คู่กันไปด้วยมีสภาวะละ” ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะสละ เป็นอย่างไร คือ เมื่อภิกษุสละกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและขันธ์ จึงมีสมาธิคือความ ที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุสละกิเลสที่ประกอบ ด้วยอวิชชาและขันธ์ จึงมีวิปัสสนาเพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วง เลยกันด้วยมีสภาวะสละ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและ วิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะสละ” ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะออก เป็นอย่างไร คือ เมื่อภิกษุออกจากกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและจากขันธ์ จึงมีสมาธิ คือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุออกจาก กิเลสที่ประกอบด้วยอวิชชาและจากขันธ์ จึงมีวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะออก ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะออก” ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะหลีกออก เป็นอย่างไร คือ เมื่อภิกษุหลีกออกจากกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและจากขันธ์ จึงมี สมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุหลีก ออกจากกิเลสที่ประกอบด้วยอวิชชาและจากขันธ์ จึงมีวิปัสสนา เพราะมีสภาวะ พิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๒๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส

อย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะหลีกออก ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะหลีกออก” ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นธรรมละเอียด เป็น อย่างไร คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ ฟุ้งซ่าน เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น เป็นธรรมละเอียด มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะ เป็นธรรมละเอียด ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนา คู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นธรรมละเอียด” ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นธรรมประณีต เป็น อย่างไร คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง ซ่าน เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น เป็นธรรมประณีต มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะ เป็นธรรมประณีต ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนา คู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นธรรมประณีต” ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะหลุดพ้น เป็นอย่างไร คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง ซ่าน หลุดพ้นจากกามาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น หลุดพ้นจากอวิชชาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ ชื่อว่าเจโตวิมุตติ เพราะมีสภาวะปราศจากราคะ ชื่อว่าปัญญาวิมุตติ เพราะมีสภาวะ ปราศจากอวิชชา ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะหลุดพ้น ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะหลุดพ้น” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๒๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส

ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีอาสวะ เป็นอย่างไร คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง ซ่าน ไม่มีอาสวะด้วยกามาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ไม่มีอาสวะด้วยอวิชชาสวะ มีนิโรธเป็นโคจร ด้วย ประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกัน ด้วยมีสภาวะไม่มีอาสวะ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและ วิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีอาสวะ” ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นเครื่องข้าม เป็นอย่างไร คือ เมื่อภิกษุข้ามจากกิเลสที่ประกอบด้วยอุทธัจจะและจากขันธ์ จึงมีสมาธิ คือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่าน มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุข้ามจาก กิเลสที่ประกอบด้วยอวิชชาและจากขันธ์ จึงมีวิปัสสนาเพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็น คู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะเป็นเครื่องข้าม ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นเครื่องข้าม” ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีนิมิต เป็นอย่างไร คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง ซ่าน ไม่มีนิมิตด้วยนิมิตทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ไม่มีนิมิตด้วยนิมิตทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร ด้วย ประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลย กันด้วยมีสภาวะไม่มีนิมิต ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและ วิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีนิมิต” ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีปณิหิตะ เป็นอย่างไร คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง ซ่าน ไม่มีปณิธิด้วยปณิธิทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ไม่มีปณิธิด้วยปณิธิทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร ด้วย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๒๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๑. ยุคนัทธกถา ๑. สุตตันตนิทเทส

ประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกัน ด้วยมีสภาวะไม่มีปณิหิตะ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและ วิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะไม่มีปณิหิตะ” ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปด้วยมีสภาวะเป็นสุญญตะ เป็นอย่างไร คือ เมื่อภิกษุละอุทธัจจะ จึงมีสมาธิคือความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้ง ซ่าน ว่างจากอภินิเวสทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร เมื่อภิกษุละอวิชชา จึงมีวิปัสสนา เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ว่างจากอภินิเวสทั้งปวง มีนิโรธเป็นโคจร ด้วยประการดังนี้ สมถะและวิปัสสนาจึงมีรสเป็นอย่างเดียวกัน เป็นคู่กัน ไม่ล่วงเลยกันด้วยมีสภาวะ เป็นสุญญตะ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยมีสภาวะเป็นสุญญตะ” คำว่า เจริญ อธิบายว่า ภาวนา (การเจริญ) มี ๔ อย่าง คือ ๑. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนา นั้นไม่ล่วงเลยกัน ๒. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอย่าง เดียวกัน ๓. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่านำความเพียรที่สมควรแก่ธรรม นั้นเข้าไป ๔. ชื่อว่าภาวนา เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนืองๆ คำว่า มรรคย่อมเกิด อธิบายว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อม เกิดอย่างนี้ ฯลฯ ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุเจริญ สมถะและวิปัสสนาคู่กันไป ด้วยมีสภาวะเป็นสุญญตะอย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและ วิปัสสนาคู่กันไป ด้วยอาการ ๑๖ อย่างนี้ ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป อย่างนี้
สุตตันตนิทเทส จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๒๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๑. ยุคนัทธกถา ๒. ธัมมุทธัจจวารนิทเทส

๒. ธัมมุทธัจจวารนิทเทส
แสดงอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้
[๖] (ภิกษุ) มีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้ เป็นอย่างไร คือ เมื่อภิกษุมนสิการโดยความไม่เที่ยง โอภาสย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงโอภาส ว่า “โอภาสเป็นธรรม” เพราะนึกถึงโอภาสนั้น ความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมี ใจถูกอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความไม่เที่ยงตามความเป็นจริง ไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความเป็นทุกข์ตามความเป็นจริง ไม่รู้ชัดความปรากฏโดย ความเป็นอนัตตาตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจถูกอุทธัจจะ ในธรรมกั้นไว้ ในเวลาที่จิตตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคก็เกิดแก่เธอ มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อม ละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ เมื่อมนสิการโดยความไม่เที่ยง ญาณ (ความรู้) ย่อมเกิดขึ้น ปีติ (ความอิ่มใจ) ย่อมเกิดขึ้น ปัสสัทธิ (ความสงบกายสงบใจ) ย่อมเกิดขึ้น สุข (ความสุข) ย่อมเกิดขึ้น อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ) ย่อมเกิดขึ้น ปัคคหะ (ความเพียรที่พอดี) ย่อมเกิดขึ้น อุปัฏฐาน (สติแก่กล้า) ย่อมเกิดขึ้น อุเบกขา (ความมีใจเป็นกลาง) ย่อมเกิดขึ้น นิกันติ (ความติดใจ) ย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงนิกันติว่า “นิกันติเป็นธรรม” เพราะนึกถึง นิกันตินั้น ความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจะนั้นกั้นไว้อย่างนี้ ย่อม ไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความไม่เที่ยงตามความเป็นจริง ไม่รู้ชัดความปรากฏโดย ความเป็นทุกข์ตามความเป็นจริง ไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความเป็นอนัตตา ตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้ ในเวลาที่จิตตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคก็ เกิดแก่เธอ มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ภิกษุย่อมละ สังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา โอภาสย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ ญาณย่อมเกิดขึ้น ปีติย่อมเกิดขึ้น ปัสสัทธิย่อมเกิดขึ้น สุขย่อมเกิดขึ้น อธิโมกข์ย่อมเกิดขึ้น ปัคคหะย่อมเกิดขึ้น อุปัฏฐานย่อมเกิดขึ้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๒๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๒. สัจจกถา

อุเบกขาย่อมเกิดขึ้น นิกันติย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงนิกันติว่า “นิกันติเป็นธรรม” เพราะนึกถึงนิกันตินั้น ความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความเป็นอนัตตาตามความเป็นจริง ไม่รู้ชัดความ ปรากฏโดยความไม่เที่ยงตามความเป็นจริง ไม่รู้ชัดความปรากฏโดยความเป็นทุกข์ ตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้ ฯลฯ ภิกษุย่อมละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ เมื่อมนสิการรูปโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา เมื่อมนสิการเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความไม่เที่ยง ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและมรณะโดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ เมื่อมนสิการชราและ มรณะโดยความเป็นอนัตตา โอภาสย่อมเกิดขึ้น ญาณย่อมเกิดขึ้น ปีติย่อมเกิดขึ้น ปัสสัทธิย่อมเกิดขึ้น สุขย่อมเกิดขึ้น อธิโมกข์ย่อมเกิดขึ้น ปัคคหะย่อมเกิดขึ้น อุปัฏฐานย่อมเกิดขึ้น อุเบกขาย่อมเกิดขึ้น นิกันติย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงนิกันติว่า “นิกันติเป็นธรรม” เพราะนึกถึงนิกันตินั้น ความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจถูก อุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่รู้ชัดชราและมรณะซึ่งปรากฏโดยความเป็นอนัตตาตาม ความเป็นจริง ไม่รู้ชัดชราและมรณะซึ่งปรากฏโดยความไม่เที่ยงตามความเป็นจริง ไม่รู้ชัดชราและมรณะซึ่งปรากฏโดยความเป็นทุกข์ตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้ ในเวลาที่จิตตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ โดยความไม่เที่ยง มรรคก็เกิดแก่เธอ มรรค ย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ภิกษุละสังโยชน์ได้อย่างนี้ อนุสัยย่อมสิ้นไปอย่างนี้ ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้อย่างนี้ [๗] จิตย่อมกวัดแกว่ง หวั่นไหว เพราะโอภาส เพราะญาณ เพราะปีติ เพราะปัสสัทธิ เพราะสุข เพราะอธิโมกข์ เพราะปัคคหะ เพราะอุปัฏฐาน เพราะอุเบกขา เพราะน้อมนึกถึงอุเบกขาและนิกันติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๑ หน้า : ๔๒๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๒. ยุคนัทธวรรค]

๒. สัจจกถา

ภิกษุนั้นกำหนดฐานะ ๑๐ ประการนี้ ด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้ฉลาด ในอุทธัจจะในธรรม และย่อมไม่ถึงความหลงใหล จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง จิตภาวนาย่อมเคลื่อน จิตกวัดแกว่ง ไม่เศร้าหมอง จิตภาวนาย่อมเสื่อมไป จิตบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง จิตภาวนาย่อมไม่เสื่อมไป จิตไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เศร้าหมอง จิตภาวนาย่อมไม่เคลื่อน ด้วยฐานะ ๔ ประการนี้ ภิกษุย่อมรู้ชัดความที่จิตกวัดแกว่ง ฟุ้งซ่าน ถูก โอภาสเป็นต้นกั้นไว้ ด้วยฐานะ ๑๐ ประการนี้ ฉะนี้แล
(ธัมมุทธัจจวารนิทเทส จบ)
ยุคนัทธกถา จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๑ หน้าที่ ๔๑๓-๔๒๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=31&siri=70              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=31&A=7564&Z=7861                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=534              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=534&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=48&A=4845              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=31&item=534&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=48&A=4845                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu31



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :