ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๓. จูฬวรรค]

๑. อภิชชมานเปตวัตถุ

๓. จูฬวรรค
หมวดเล็ก
๑. อภิชชมานเปตวัตถุ
เรื่องเปรตผู้เดินทวนกระแสน้ำอันไหลไม่ขาดสาย
(โกลิยมหาอำมาตย์ของพระเจ้าพิมพิสาร ถามเปรตตนหนึ่งว่า) [๓๘๗] ท่านเปลือยกาย เหมือนกับเปรตครึ่งท่อน ทัดทรงดอกไม้ ตกแต่งร่างกาย เดินอยู่ในที่นี้ ซึ่งมีน้ำในแม่น้ำคงคาไหลไม่ขาดสาย ท่านจักไปไหนนะเปรต ท่านอยู่ประจำที่ไหน (พระสังคีติกาจารย์กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า) [๓๘๘] เปรตนั้นกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักไปยังบ้านจุนทัฏฐิละ ซึ่งอยู่ในระหว่างวาสภคามกับกรุงพาราณสี [๓๘๙] อนึ่งมหาอำมาตย์ซึ่งปรากฏชื่อว่า โกลิยะ เห็นเปรตนั้นแล้ว จึงได้ให้ข้าวสัตตุ๑- และผ้าสีเหลืองคู่หนึ่งแก่เปรต [๓๙๐] เมื่อเรือหยุด ได้สั่งให้สิ่งของเหล่านั้นแก่อุบาสกผู้เป็นช่างกัลบก ผ้านุ่งผ้าห่มก็ปรากฏแก่เปรตทันที ในขณะที่มหาอำมาตย์ได้ให้ผ้าคู่หนึ่งแก่อุบาสกซึ่งเป็นช่างกัลบก [๓๙๑] ลำดับนั้น เปรตนั้นนุ่งห่มผ้าเรียบร้อย ทัดทรงดอกไม้ ตกแต่งร่างกายอย่างสวยงาม ทักษิณาย่อมสำเร็จแก่เปรตผู้ดำรงอยู่ในฐานะ๒- เพราะฉะนั้นผู้มีปัญญาพึงให้ทานบ่อยๆ เพื่ออนุเคราะห์เปรตทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ ข้าวตู คือข้าวตากคั่วแล้วตำเป็นผงเคล้ากับน้ำตาลและมะพร้าว (ขุ.เป.อ. ๓๘๙/๑๘๑) @ เปรตที่อยู่ในฐานะที่จะรับส่วนบุญที่ผู้อื่นอุทิศให้ เช่น ขุปปิปาสิกเปรต เปรตที่หิวกระหายอยู่เป็นนิตย์ @วันตาสเปรต เปรตที่กินน้ำมูกน้ำลายที่เขาบ้วนทิ้งแล้ว ปรทัตตูปชีวิเปรต เปรตที่อาศัยอาหารที่คนอื่น @เขาให้ นิชฌามตัณหิกเปรต เปรตที่ถูกตัณหาแผดเผา เป็นต้น (ขุ.ขุ.อ. ๑๒/๑๙๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๒๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๓. จูฬวรรค]

๑. อภิชชมานเปตวัตถุ

[๓๙๒] เปรตเหล่าอื่นบางพวกนุ่งผ้าขี้ริ้วขาดรุ่งริ่ง บางพวกนุ่งเส้นผม หลีกไปยังทิศน้อยใหญ่เพื่อหาอาหาร [๓๙๓] บางพวกวิ่งไปแม้ในที่ไกล กลับมาโดยไม่ได้อะไรเลย บางพวกหิวจัดจนเป็นลมล้มสลบกลิ้งไปบนพื้นดิน [๓๙๔] บางพวกไม่ได้ทำความดีไว้ในชาติก่อน ไม่ได้อะไรเลย ล้มกลิ้งบนพื้นดินเหมือนถูกไฟเผาอยู่กลางแดด ประสบความเดือดร้อน คร่ำครวญว่า [๓๙๕] ในชาติก่อน พวกเราเป็นหญิงแม่เรือน เป็นมารดาทารกในตระกูล เป็นคนมีบาป เมื่อไทยธรรมมีอยู่ ไม่ได้ทำที่พึ่งให้แก่ตน [๓๙๖] แม้ข้าวและน้ำมีมากแต่เราไม่ได้แจกจ่ายให้ทาน และไม่ได้ถวายอะไรแก่บรรพชิตผู้ปฏิบัติชอบ [๓๙๗] อยากทำแต่กรรมที่คนดีไม่พึงทำ เป็นคนเกียจคร้าน ใคร่แต่ความสำราญและกินจุ แม้ผู้ที่ให้ก้อนข้าวปฏิคาหกเพียงคำหนึ่ง ตนก็ยังด่า [๓๙๘] เรือน คนรับใช้ชายหญิง และผ้าอาภรณ์เหล่านั้นเป็นของพวกเรา แต่คนเหล่าอื่นเอาไปใช้สอย พวกเราจึงประสบแต่ทุกข์ [๓๙๙] ช่างจักสานก็ดี ช่างหนังก็ดี คนประทุษร้ายมิตรก็ดี คนจัณฑาลก็ดี คนกำพร้าก็ดี ช่างกัลบกก็ดี มักถูกดูหมิ่นอยู่ร่ำไป [๔๐๐] เปรตทั้งหลายจุติจากเปตวิสัยแล้ว ย่อมเกิดในตระกูลเหล่านั้น ซึ่งเป็นตระกูลต่ำและขัดสน นี้เป็นที่เกิดสำหรับคนตระหนี่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๒๓๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ [๓. จูฬวรรค]

๑. อภิชชมานเปตวัตถุ

[๔๐๑] ส่วนคนทั้งหลายทำความดีไว้ในชาติปางก่อน มีปกติให้ ปราศจากความตระหนี่ พวกเขาย่อมทำสวรรค์ให้เต็มบริบูรณ์ และเปล่งรัศมีสว่างไสวทั่วนันทวัน [๔๐๒] บริโภคกามคุณตามความปรารถนา รื่นรมย์ในเวชยันตปราสาท จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว ย่อมเกิดในตระกูลสูง มีโภคสมบัติมาก [๔๐๓] คือ เกิดในตระกูลแห่งบุคคลผู้มีบริวารยศ ซึ่งมีคนถือพัดแววหางนกยูง คอยพัดอยู่บนบัลลังก์ที่ปูลาดด้วยผ้าขนสัตว์ ในเรือนยอดและปราสาทราชมนเทียร [๔๐๔] (ในเวลาเป็นทารก) ก็ทัดทรงดอกไม้ ตบแต่งร่างกาย หมู่ญาติและพี่เลี้ยงนางนมผลัดกันอุ้ม เหล่าพี่เลี้ยงนางนมปรารถนาความสุข พากันบำรุงอยู่ทั้งเช้าและเย็น [๔๐๕] ป่าใหญ่ของเหล่าเทพชั้นดาวดึงส์ซึ่งปราศจากความเศร้าโศก น่ารื่นรมย์ยินดี เป็นสถานที่ซึ่งดิฉันได้แล้วนี้ ย่อมไม่มีแก่ผู้ที่ไม่ได้ทำบุญไว้ แต่ย่อมมีแก่ผู้ที่ทำบุญไว้เท่านั้น [๔๐๖] ส่วนผู้ที่ไม่ได้ทำบุญไว้ ย่อมไม่มีความสุขทั้งในโลกนี้ทั้งในโลกหน้า แต่ผู้ที่ได้ทำบุญไว้แล้ว ย่อมมีความสุขทั้งในโลกนี้ทั้งในโลกหน้า [๔๐๗] ผู้ปรารถนาจะอยู่ร่วมกับเทพชั้นดาวดึงส์เหล่านั้น ต้องทำบุญกุศลไว้ให้มาก เพราะว่าเหล่าชนผู้ทำบุญไว้แล้ว ย่อมเพียบพร้อมด้วยโภคสมบัติ ร่าเริงบันเทิงอยู่ในสวรรค์
อภิชชมานเปตวัตถุที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๖ หน้า : ๒๓๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๖ หน้าที่ ๒๒๙-๒๓๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=26&siri=111              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=26&A=3988&Z=4037                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=111              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=26&item=111&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=31&A=3963              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=26&item=111&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=31&A=3963                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu26



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :