ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๕. สังขิตตธนสูตร
ว่าด้วยอริยทรัพย์โดยย่อ
[๕] ภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้ ทรัพย์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัทธาธนะ(ทรัพย์คือศรัทธา) ๒. สีลธนะ (ทรัพย์คือศีล) ๓. หิริธนะ (ทรัพย์คือหิริ) ๔. โอตตัปปธนะ (ทรัพย์คือโอตตัปปะ) ๕. สุตธนะ (ทรัพย์คือสุตะ) ๖. จาคธนะ (ทรัพย์คือจาคะ) ๗. ปัญญาธนะ (ทรัพย์คือปัญญา) ภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล ผู้ใดจะเป็นสตรี หรือบุรุษก็ตาม มีทรัพย์ ๗ ประการนี้ คือ สัทธาธนะ สีลธนะ หิริธนะ โอตตัปปธนะ สุตธนะ จาคธนะ และปัญญาธนะ บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า ‘เป็นคนไม่ขัดสน’ ชีวิตของเขาก็ไม่สูญเปล่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑. ธนวรรค ๖. วิตถตธนสูตร

เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ควรหมั่นประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใสและการเห็นธรรม๑-
สังขิตตธนสูตรที่ ๕ จบ
๖. วิตถตธนสูตร๒-
ว่าด้วยอริยทรัพย์โดยพิสดาร
[๖] ภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้ ทรัพย์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัทธาธนะ ๒. สีลธนะ ๓. หิริธนะ ๔. โอตตัปปธนะ ๕. สุตธนะ ๖. จาคธนะ ๗. ปัญญาธนะ สัทธาธนะ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา คือ เชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของ ตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ฯลฯ๓- เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ นี้เรียกว่า สัทธาธนะ @เชิงอรรถ : @ การเห็นธรรม ในที่นี้หมายถึงเห็นอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๒/๓๔๙) @และดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๕๒/๘๗ @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๐/๒๒๑, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๔๗/๗๖ @ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๒๙ (อักขณสูตร) หน้า ๒๗๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๘-๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=23&siri=5              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=88&Z=98                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=5              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=23&item=5&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=3556              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=23&item=5&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=3556                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/23i001-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/an7.5/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :