ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๙. นิพเพธิกสูตร

๙. นิพเพธิกสูตร
ว่าด้วยธรรมบรรยาย๑- ชำแรกกิเลส
[๖๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายเป็นเหตุชำแรกกิเลสแก่เธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบรรยายที่เป็นเหตุชำแรกกิเลสนั้น อะไรบ้าง คือ ๑. เธอทั้งหลายพึงทราบกาม เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างกันแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกาม ๒. เธอทั้งหลายพึงทราบเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความต่างกันแห่ง เวทนา วิบากแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา ข้อปฏิบัติให้ถึงความ ดับแห่งเวทนา ๓. เธอทั้งหลายพึงทราบสัญญา เหตุเกิดแห่งสัญญา ความต่างกันแห่ง สัญญา วิบากแห่งสัญญา ความดับแห่งสัญญา ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับแห่งสัญญา ๔. เธอทั้งหลายพึงทราบอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความต่างกันแห่ง อาสวะ วิบากแห่งอาสวะ ความดับแห่งอาสวะ ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับแห่งอาสวะ ๕. เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม เหตุเกิดแห่งกรรม ความต่างกันแห่ง กรรม วิบากแห่งกรรม ความดับแห่งกรรม ข้อปฏิบัติให้ถึงความ ดับแห่งกรรม ๖. เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความต่างกันแห่ง ทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ แห่งทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบกาม เหตุเกิด แห่งกาม ความต่างกันแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ข้อปฏิบัติให้ ถึงความดับแห่งกาม’ เพราะอาศัยเหตุอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น @เชิงอรรถ : @ บรรยาย แปลจาก ปริยาย ศัพท์ มีความหมาย ๓ นัย คือ (๑) หมายถึงเทศนา - ดู ม.มู. ๑๒/๒๐๕/๑๗๕ @(๒) หมายถึงวาระ - ดู ม.อุ. ๑๔/๓๙๘/๓๔๔ (๓) หมายถึงเหตุ - ดู วิ.มหา. (แปล) ๑/๑๖๔/๑๓๖ @(วิ.อ. ๑/๓/๑๒๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๗๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๙. นิพเพธิกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า กามคุณ ๕ ประการนี้ คือ ๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ ๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย แต่สิ่งเหล่านี้ ไม่เรียกว่ากาม สิ่งเหล่านี้ เรียกว่ากามคุณ๑- ในอริยวินัย [พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์นี้ต่อไปอีกว่า] สังกัปปราคะ๒- ของบุรุษชื่อว่ากาม อารมณ์ที่วิจิตรทั้งหลายในโลกไม่ชื่อว่ากาม สังกัปปราคะของบุรุษชื่อว่ากาม อารมณ์ที่วิจิตรทั้งหลายในโลก ตั้งอยู่ตามสภาพของตนเท่านั้น แต่ธีรชนทั้งหลายย่อมกำจัดความพอใจ ในอารมณ์ที่วิจิตรเหล่านั้นได้๓- @เชิงอรรถ : @ กามคุณ แยกอธิบายว่า ที่ชื่อว่า กาม เพราะมีความหมายว่าเป็นสิ่งที่บุคคลพึงใคร่ ที่ชื่อว่า คุณ เพราะมี @ความหมายว่า ผูกพันไว้ ร้อยรัดไว้ ดุจคำว่า “อนฺตํ อนฺตคุณํ” (ไส้ใหญ่ ไส้เล็ก - ที.ม. ๑๐/๓๗๗/๒๕๑, @ม.มู. ๑๒/๑๑๐/๗๙, ขุ.ขุ. ๒๕/๓/๒ และดุจคำว่า “กยิรา มาลาคุเณ พหู” (ช่างดอกไม้พึงร้อยพวงมาลัยไว้เป็น @จำนวนมาก - ขุ.ธ. ๒๕/๕๓/๒๖ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๖๓/๑๔๘) @ สังกัปปราคะ หมายถึงความกำหนัดที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความดำริในวัตถุมีรูปที่งดงามเป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ. @๓/๖๓/๑๔๘, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๖๓/๗๐) สังกัปปราคะ นี้เป็นชื่อเรียกกิเลสกามอีกชื่อหนึ่งในจำนวนชื่อเรียก @กาม ๑๘ ชื่อ ดู ขุ.ชา. ๒๗/๓๙/๑๘๘, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑/๒, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๘/๖๖-๖๗ @ สํ.สํ. ๑๕/๓๔/๒๖, อภิ.ก. ๓๗/๕๑๓/๓๑๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๗๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๙. นิพเพธิกสูตร

เหตุเกิดแห่งกาม เป็นอย่างไร คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกาม ความต่างกันแห่งกาม เป็นอย่างไร คือ กามในรูปเป็นอย่างหนึ่ง กามในเสียงเป็นอย่างหนึ่ง กามในกลิ่นเป็น อย่างหนึ่ง กามในรสเป็นอย่างหนึ่ง กามในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า ความต่างกันแห่งกาม วิบากแห่งกาม เป็นอย่างไร คือ การที่บุคคลผู้ใคร่อยู่ ทำอัตภาพที่เกิดจากความใคร่นั้นๆ ให้เกิดขึ้น จะเป็นส่วนแห่งบุญหรือไม่เป็นส่วนแห่งบุญก็ตาม นี้เรียกว่า วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม เป็นอย่างไร คือ เพราะผัสสะดับ กามจึงดับ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกาม ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) ภิกษุทั้งหลาย เพราะอริยสาวกรู้ชัดกามอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเกิดแห่งกามอย่างนี้ รู้ชัดความต่างกันแห่งกามอย่างนี้ รู้ชัดวิบากแห่งกามอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งกาม อย่างนี้ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกามอย่างนี้ เธอจึงรู้ชัดพรหมจรรย์ที่เป็น เหตุชำแรกกิเลส เป็นที่ดับแห่งกามนี้ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบกาม ฯลฯ ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับแห่งกาม’ เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบเวทนา ฯลฯ ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับแห่งเวทนา’ เพราะอาศัยเหตุอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๗๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๙. นิพเพธิกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า เวทนา๑- ๓ ประการนี้ คือ ๑. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข) ๒. ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์) ๓. อทุกขสุขมเวทนา (ความรู้สึกเฉยๆ) เหตุเกิดแห่งเวทนา เป็นอย่างไร คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งเวทนา ความต่างกันแห่งเวทนา เป็นอย่างไร คือ สุขเวทนาที่เจืออามิสก็มี สุขเวทนาที่ไม่เจืออามิสก็มี ทุกขเวทนาที่เจือ อามิสก็มี ทุกขเวทนาที่ไม่เจืออามิสก็มี อทุกขสุขเวทนาที่เจืออามิสก็มี อทุกขสุข- เวทนาที่ไม่เจืออามิสก็มี นี้เรียกว่า ความต่างกันแห่งเวทนา วิบากแห่งเวทนา เป็นอย่างไร คือ การที่บุคคลผู้รู้สึกอยู่ ทำอัตภาพที่เกิดจากเวทนานั้นๆ ให้เกิดขึ้น จะเป็น ส่วนแห่งบุญหรือไม่เป็นส่วนแห่งบุญก็ตาม นี้เรียกว่า วิบากแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา เป็นอย่างไร คือ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งเวทนา ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ ภิกษุทั้งหลาย เพราะอริยสาวกรู้ชัดเวทนาอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเกิดแห่งเวทนา อย่างนี้ รู้ชัดความต่างกันแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ชัดวิบากแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ชัด ความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ เธอจึง รู้ชัพรหมจรรย์ที่เป็นเหตุชำแรกกิเลส เป็นที่ดับแห่งเวทนานี้ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบเวทนา ฯลฯ ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับแห่งเวทนา’ เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบสัญญา ฯลฯ ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับแห่งสัญญา’ เพราะอาศัยเหตุอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น @เชิงอรรถ : @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๐๕/๑๙๔, ๓๕๓/๒๔๔, สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๒๗๐/๓๐๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๗๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๙. นิพเพธิกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า สัญญา๑- ๖ ประการนี้ คือ ๑. รูปสัญญา (กำหนดหมายรูป) ๒. สัททสัญญา (กำหนดหมายเสียง) ๓. คันธสัญญา (กำหนดหมายกลิ่น) ๔. รสสัญญา (กำหนดหมายรส) ๕. โผฏฐัพพสัญญา (กำหนดหมายโผฏฐัพพะ) ๖. ธัมมสัญญา (กำหนดหมายธรรมารมณ์) เหตุเกิดแห่งสัญญา เป็นอย่างไร คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งสัญญา ความต่างกันแห่งสัญญา เป็นอย่างไร คือ สัญญาในรูปเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในเสียงเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในกลิ่น เป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในรสเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า ความต่างกันแห่งสัญญา วิบากแห่งสัญญา เป็นอย่างไร คือ เรากล่าวว่าสัญญา ‘มีคำพูดเป็นผล (เพราะว่า) บุคคลกำหนดหมายอย่างใด ก็พูดไปอย่างนั้นว่า ‘เรามีสัญญาอย่างนี้’ นี้เรียกว่า วิบากแห่งสัญญา ความดับแห่งสัญญา เป็นอย่างไร คือ เพราะผัสสะดับ สัญญาจึงดับ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสัญญาได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ ภิกษุทั้งหลาย เพราะอริยสาวกรู้ชัดสัญญาอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเกิดแห่งสัญญา อย่างนี้ รู้ชัดความต่างกันแห่งสัญญาอย่างนี้ รู้ชัดวิบากแห่งสัญญาอย่างนี้ รู้ชัด ความดับแห่งสัญญาอย่างนี้ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสัญญาอย่างนี้ เธอจึง รู้ชัดพรหมจรรย์ที่เป็นเหตุชำแรกกิเลส เป็นที่ดับแห่งสัญญานี้ @เชิงอรรถ : @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๒๓/๒๑๕, ม.อุ. ๑๔/๓๐๕/๒๗๙, อภิ.วิ.(แปล) ๓๕/๑๕๔/๑๑๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๗๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๙. นิพเพธิกสูตร

เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบสัญญา ฯลฯ ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับแห่งสัญญา’ เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบอาสวะ ฯลฯ ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับแห่งอาสวะ’ เพราะอาศัยเหตุอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า อาสวะ๑- ๓ ประการนี้ คือ ๑. กามาสวะ (อาสวะคือกาม) ๒. ภวาสวะ (อาสวะคือภพ) ๓. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา) เหตุเกิดแห่งอาสวะ เป็นอย่างไร คือ อวิชชาเป็นเหตุเกิดแห่งอาสวะ ความต่างกันแห่งอาสวะ เป็นอย่างไร คือ อาสวะที่เป็นเหตุให้ไปสู่นรกก็มี อาสวะที่เป็นเหตุให้ไปสู่กำเนิดสัตว์ ดิรัจฉานก็มี อาสวะที่เป็นเหตุให้ไปสู่แดนเปรตก็มี อาสวะที่เป็นเหตุให้ไปสู่มนุษยโลก ก็มี อาสวะที่เป็นเหตุให้ไปสู่เทวโลกก็มี นี้เรียกว่า ความต่างกันแห่งอาสวะ วิบากแห่งอาสวะ เป็นอย่างไร คือ การที่บุคคลมีอวิชชา ย่อมยังอัตภาพที่เกิดจากอวิชชานั้นๆ ให้เกิดขึ้น จะเป็นส่วนแห่งบุญหรือไม่เป็นส่วนแห่งบุญก็ตาม นี้เรียกว่า วิบากแห่งอาสวะ ความดับแห่งอาสวะ เป็นอย่างไร คือ เพราะอวิชชาดับ อาสวะจึงดับ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอาสวะ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๒. สัมมาสมาธิ ภิกษุทั้งหลาย เพราะอริยสาวกรู้ชัดอาสวะอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเกิดแห่งอาสวะ อย่างนี้ รู้ชัดความต่างกันแห่งอาสวะอย่างนี้ รู้ชัดวิบากแห่งอาสวะอย่างนี้ รู้ชัด @เชิงอรรถ : @ ดู ที.ม. ๑๐/๑๔๒/๗๓, สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๓๒๑/๓๔๐, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๓๗/๕๘๖-๕๘๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๗๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๙. นิพเพธิกสูตร

ความดับแห่งอาสวะอย่างนี้ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอาสวะอย่างนี้ เธอ จึงรู้ชัดพรหมจรรย์ที่เป็นเหตุชำแรกกิเลส เป็นที่ดับอาสวะนี้ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบอาสวะ ฯลฯ ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับแห่งอาสวะ’ เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับแห่งกรรม’ เพราะอาศัยเหตุอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า เรากล่าวเจตนาว่าเป็นตัวกรรม บุคคล คิดแล้ว จึงกระทำกรรมด้วยกาย วาจา ใจ เหตุเกิดแห่งกรรม เป็นอย่างไร คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม ความต่างกันแห่งกรรม เป็นอย่างไร คือ กรรมที่พึงเสวยในนรกก็มี กรรมที่พึงเสวยในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี กรรมที่พึงเสวยในแดนเปรตก็มี กรรมที่พึงเสวยในมนุษยโลกก็มี กรรมที่พึงเสวยใน เทวโลกก็มี นี้เรียกว่า ความต่างกันแห่งกรรม วิบากแห่งกรรม เป็นอย่างไร คือ เรากล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ คือ ๑. กรรมที่พึงเสวยในปัจจุบัน ๒. กรรมที่พึงเสวยในอัตภาพถัดไป ๓. กรรมที่พึงเสวยในอัตภาพต่อๆ ไป๑- นี้เรียกว่า วิบากแห่งกรรม ความดับแห่งกรรม เป็นอย่างไร คือ เพราะผัสสะดับ กรรมจึงดับ @เชิงอรรถ : @ กรรมที่พึงเสวยในปัจจุบัน เรียกว่า ทิฏฐเวทนียกรรม กรรมที่พึงเสวยในอัตภาพถัดไปเรียกว่า อุปปัชช- @เวทนียกรรม กรรมที่พึงเสวยในอัตภาพต่อๆ ไป เรียกว่า อปราปริยเวทนียกรรม @(องฺ.เอกาทสก. (แปล) ๒๔/๒๑๗/๓๕๗, อภิ.ก. ๓๗/๖๓๕/๓๘๕, ๘๙๐-๘๙๑/๕๐๖-๕๐๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๗๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๙. นิพเพธิกสูตร

ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรมได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ ภิกษุทั้งหลาย เพราะอริยสาวกรู้ชัดกรรมอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเกิดแห่งกรรมอย่างนี้ รู้ชัดความต่างกันแห่งกรรมอย่างนี้ รู้ชัดวิบากแห่งกรรมอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่ง กรรมอย่างนี้ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรมอย่างนี้ เธอจึงรู้ชัดพรหมจรรย์ ที่เป็นเหตุชำแรกกิเลส เป็นที่ดับกรรมนี้ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับแห่งกรรม’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความ ต่างกันแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ แห่งทุกข์’ เพราะอาศัยเหตุอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า แม้ชาติ (ความเกิด) ก็เป็นทุกข์ แม้ชรา (ความแก่) ก็เป็น ทุกข์ แม้มรณะ (ความตาย) ก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ (ความโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) อุปายาส (ความคับแค้นใจ) ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร คือ ตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ ความต่างกันแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร คือ ทุกข์มากก็มี ทุกข์น้อยก็มี ทุกข์ที่คลายช้าก็มี ทุกข์ที่คลายเร็วก็มี นี้เรียกว่า ความต่างกันแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกทุกข์ใดครอบงำ มีจิตถูกทุกข์ใดกลุ้มรุม ย่อม เศร้าโศก ลำบากใจ ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ ถึงความเลอะเลือน หรือบุคคลถูกทุกข์ ใดครอบงำ มีจิตถูกทุกข์ใดกลุ้มรุมแล้วย่อมหาเหตุเปลื้องทุกข์ในภายนอกว่า ‘ใครจะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๗๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๖. มหาวรรค ๑๐. สีหนาทสูตร

รู้บทเดียวหรือสองบทเพื่อดับทุกข์นี้ได้’ เรากล่าวว่าทุกข์นั้นมีความหลงเป็นผล หรือ มีการแสวงหาเปลื้องทุกข์ภายนอกเป็นผล นี้เรียกว่า วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร คือ เพราะตัณหาดับ ทุกข์จึงดับ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ ภิกษุทั้งหลาย เพราะอริยสาวกรู้ชัดทุกข์อย่างนี้ รู้ชัดเหตุเกิดแห่งทุกข์อย่างนี้ รู้ชัดความต่างกันแห่งทุกข์อย่างนี้ รู้ชัดวิบากแห่งทุกข์อย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งทุกข์ อย่างนี้ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์อย่างนี้ เธอจึงรู้ชัดพรหมจรรย์ที่เป็น เหตุชำแรกกิเลส เป็นที่ดับทุกข์นี้ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความ ต่างกันแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์’ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบรรยายที่เป็นเหตุชำแรกกิเลสนี้นั้น เป็นอย่างนี้แล
นิพเพธิกสูตรที่ ๙ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๕๗๑-๕๗๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=22&siri=314              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=22&A=9611&Z=9753                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=334              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=334&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=16&A=3347              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=334&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=16&A=3347                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/22i326-e.php#sutta9 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an06/an06.063.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/06/an06-063.html https://suttacentral.net/an6.63/en/sujato https://suttacentral.net/an6.63/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :