ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๑. ปฐมเทวพราหมณสูตร

๒. ทุติยปัณณาสก์
๑. พราหมณวรรค
หมวดว่าด้วยพราหมณ์
๑. ปฐมเทวพราหมณสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์แก่ ๒ คน สูตรที่ ๑
[๕๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์ ๒ คน เป็นผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย นับแต่เกิดมามีอายุ ๑๒๐ ปี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นพราหมณ์แก่ ผู่เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วง กาลผ่านวัย นับแต่เกิดมามีอายุ ๑๒๐ ปี พวกข้าพเจ้านั้นไม่ได้ทำความดีไว้ ไม่ ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้สร้างเครื่องต้านทานภัยไว้ ขอท่านพระโคดมทรงว่ากล่าวพวก ข้าพเจ้า ขอท่านพระโคดมทรงสั่งสอนพวกข้าพเจ้าเพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวก ข้าพเจ้าตลอดกาลนานเถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ทั้งหลาย ที่แท้พวกท่านเป็นผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัย นับแต่เกิดมามีอายุ ๑๒๐ ปี พวกท่านนั้นไม่ได้ทำความดีไว้ ไม่ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้สร้างเครื่องต้านทานภัยไว้ โลกนี้ถูกชรา(ความแก่) พยาธิ(ความ เจ็บ) และมรณะ(ความตาย)ร้อยรัดไว้ เมื่อโลกถูกชรา พยาธิ และมรณะร้อยรัดไว้ อย่างนี้ ความสำรวมทางกาย วาจา และใจในโลกนี้จะเป็นเครื่องต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็นที่ระลึกและเป็นที่ยึดเหนี่ยวของผู้ตายไปแล้ว ชีวิตถูกชรานำเข้าไปสู่ความมีอายุสั้น ผู้ที่ถูกชรานำเข้าไปแล้วย่อมไม่มีเครื่องต้านทาน บุคคลเมื่อพิจารณาเห็นภัยนี้ในความตาย ควรทำบุญที่นำสุขมาให้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๑๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๒. ทุติยเทวพราหมณสูตร

ความสำรวมทางกาย วาจาและใจในโลกนี้ ย่อมมีเพื่อความสุขแก่บุคคลผู้ตายไปแล้ว ซึ่งได้ทำบุญไว้ขณะเมื่อมีชีวิตอยู่
ปฐมเทวพราหมณสูตรที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๑๔-๒๑๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=20&siri=96              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=4031&Z=4055                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=491              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=491&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=3580              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=491&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=3580                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i491-e.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an03/an03.051.than.html https://suttacentral.net/an3.51/en/sujato https://suttacentral.net/an3.51/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :