ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๖. เทวทูตสูตร
ว่าด้วยเทวทูต
[๓๖] ภิกษุทั้งหลาย เทวทูต๔- ๓ จำพวกนี้ เทวทูต ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ประพฤติกายทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วยกาย) วจีทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วยวาจา) และมโนทุจริต(ความประพฤติชั่วด้วย ใจ) หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นาย นิรยบาล๕- จับแขนเขาไปแสดงต่อพญายม๖- ว่า “ขอเดชะ คนผู้นี้ไม่เกื้อกูล มารดา ไม่เกื้อกูลบิดา ไม่เกื้อกูลสมณะ ไม่เกื้อกูลพราหมณ์ และไม่ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล ขอพระองค์จงลงโทษแก่คนผู้นี้เถิด” @เชิงอรรถ : @ พราหมณ์ ในที่นี้หมายถึงผู้สิ้นอาสวะ ลอยบาปได้ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๕/๑๓๒) @ ไม่ติดอยู่ในกาม ในที่นี้หมายถึงไม่ติดอยู่ในวัตถุกามและกิเลสกามด้วยอำนาจกิเลสคือตัณหาและ @มิจฉาทิฏฐิ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๕/๑๓๒) @ ความสงบ ในที่นี้หมายถึงกิเลสนิพพาน(ความดับกิเลส) (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๕/๑๓๒) @ เทวทูต ในทีนี้หมายถึงสื่อแจ้งข่าวมฤตยู เป็นสัญญาณที่เตือนให้ระลึกถึงคติธรรมดาของชีวิตมิให้ประมาท @ได้แก่ ความแก่ ความเจ็บ และความตาย ปรากฏเสมือนเทวดาทรงเครื่องประดับมายืนในอากาศ เตือนว่า @“วันโน้นท่านจะตาย” (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๖/๑๓๒) @ นายนิรยบาล หมายถึงผู้ทำหน้าที่ลงโทษสัตว์นรก (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๖/๑๓๓) @ พญายม หมายถึงพญาเวมานิกเปรต ซึ่งบางครั้งเสวยสมบัติในวิมานทิพย์ บางคราวเสวยวิบากแห่งกรรม @และพญายมนั้นมิใช่มีตนเดียว แต่มีถึง ๔ ตน ประจำประตูนรก ๔ ประตู (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๖/๑๓๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๙๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๖. เทวทูตสูตร

ภิกษุทั้งหลาย พญายมสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๑ ว่า “เจ้า ไม่เคยเห็นเทวทูตที่ ๑ ปรากฏในหมู่มนุษย์บ้างหรือ” เขาตอบว่า “ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า” พญายมถามเขาว่า “ในหมู่มนุษย์ สตรีหรือบุรุษมีอายุ ๘๐ ปี ... ๙๐ ปี ... หรือ ๑๐๐ ปี ... เป็นคนชรา มีซี่โครงคด หลังโกง หลังค่อม ถือไม้เท้า เดินงกๆ เงิ่นๆ เก้ๆ กังๆ หมดความเป็นหนุ่มสาว ฟันหัก ผมหงอก ศีรษะล้าน หนังเหี่ยว ตัวตกกระ เจ้าไม่เคยเห็นบ้างหรือ” เขาตอบว่า “เคยเห็น พระเจ้าข้า” พญายมถามเขาว่า “เจ้านั้นเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้คิดอย่างนี้เลย หรือว่า ‘ถึงตัวเราก็มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เอาเถอะ เราจะทำความดีทางกาย วาจา และใจ” เขาตอบว่า “ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า” พญายมถามเขาว่า “เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัว ประมาทอยู่ เอาเถอะ เขาจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนี้นั้น บิดามารดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิง มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต เทวดา สมณพราหมณ์ไม่ได้ทำให้เลย เจ้าทำเองแท้ๆ เจ้านั่นเองต้องรับผลของบาปกรรมนั้น” ๒. พญายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๑ แล้วจึงสอบสวน ซักไซ้ไล่เลียงถึงเทวทูตที่ ๒ ว่า “เจ้าไม่เคยเห็นเทวทูตที่ ๒ ปรากฏ ในหมู่มนุษย์บ้างหรือ” เขาตอบว่า “ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า” พญายมถามเขาว่า “ในหมู่มนุษย์ สตรีหรือบุรุษป่วย ประสพทุกข์ เป็นไข้หนัก นอนจมอยู่ในมูตรและกรีสของตน ผู้อื่นต้องช่วยพยุงให้ลุกขึ้นช่วยป้อนอาหาร เจ้า ไม่เคยเห็นบ้างหรือ” เขาตอบว่า “เคยเห็น พระเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๙๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๖. เทวทูตสูตร

พญายมถามเขาว่า “เจ้านั้นเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่เคยคิดบ้างหรือว่า ‘ถึงตัวเราก็ต้องป่วยไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความป่วยไข้ไปได้ เอาเถอะ เราจะ ทำความดีทางกาย วาจา และใจ” เขาตอบว่า “ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า” พญายมถามเขาว่า “เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัว ประมาทอยู่ เอาเถอะ เขาจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนั้น บิดามารดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิง มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต เทวดา สมณพราหมณ์ไม่ได้ทำให้เลย เจ้าทำเองแท้ๆ เจ้านั่นเองต้องรับผลของบาปกรรมนั้น” ๓. พญายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๒ แล้วจึงสอบสวน ซักไซ้ไล่เลียงถึงเทวทูตที่ ๓ ว่า “เจ้าไม่เคยเห็นเทวทูตที่ ๓ ที่ปรากฏในหมู่มนุษย์บ้างหรือ” เขาตอบว่า “ไม่เคยเห็น พระเจ้าข้า” พญายมถามเขาว่า “ในหมู่มนุษย์ สตรีหรือบุรุษที่ตายได้ ๑ วัน ๒ วัน หรือ ๓ วัน พองขึ้น เป็นสีเขียว มีน้ำเหลืองแตกซ่าน เจ้าไม่เคยเห็นบ้างหรือ” เขาตอบว่า “เคยเห็น พระเจ้าข้า” พญายมถามเขาว่า “เจ้าเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่เคยคิดบ้างหรือว่า ถึงตัวเราก็มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เอาเถอะ เราจะทำ ความดีทางกาย วาจา และใจ” เขาตอบว่า “ไม่เคยคิด เพราะมัวประมาทอยู่ พระเจ้าข้า” พญายมถามเขาว่า “เจ้าไม่ได้ทำความดีทางกาย วาจา และใจ เพราะมัว ประมาทอยู่ เอาเถอะ เขาจะลงโทษเจ้าตามฐานะที่ประมาท ก็บาปกรรมนั้น บิดามารดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิง มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต เทวดา สมณพราหมณ์ไม่ได้ทำให้เลย เจ้าทำเองแท้ๆ เจ้านั่นเองต้องรับผลของบาปกรรมนั้น” พญายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงเขาถึงเทวทูตที่ ๓ นั้นแล้วก็นิ่งเสีย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๙๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๗. ยมราชสูตร

นายนิรยบาลจึงทำกรรมกรณ์๑- ชื่อเครื่องพันธนาการ ๕ อย่าง คือ ตอก ตะปูเหล็กแดง ที่มือ ๒ ข้าง ที่เท้า ๒ ข้าง และที่กลางอก เขาเสวยทุกขเวทนา กล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน ณ ที่นั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป นายนิรยบาลฉุดลากเขาไป เอาขวานถาก เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อน ณ ที่นั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป นายนิรยบาลจับเขา เอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง เอามีดเฉือน ฯลฯ จับเขาเทียม รถแล่นกลับไปกลับมาบนพื้นอันร้อนลุกเป็นเปลวโชติช่วง ฯลฯ บังคับเขาขึ้นลงภูเขา ถ่านเพลิงลูกใหญ่ ที่ไฟลุกโชน ฯลฯ จับเขาเอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง ทุ่มลงในโลหกุมภี อันร้อนแดงลุกเป็นแสงไฟ เขาถูกต้มเดือดจนตัวพองในโลหกุมภีนั้น บางครั้งลอยขึ้น บางครั้งจมลง บางครั้งลอยขวาง เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนัก เผ็ดร้อนอยู่ ในโลหกุมภีอันร้อนแดงนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมยังไม่สิ้นไป นายนิรยบาลจึงทุ่มเขาลงในมหานรก ก็มหานรกนั้น มี ๔ มุม ๔ ประตู แบ่งออกเป็นส่วน มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วยฝาเหล็ก มีพื้นเป็นเหล็กลุกโชนโชติช่วง แผ่ไปไกลด้านละ ๑๐๐ โยชน์ตั้งอยู่ทุกเมื่อ
เทวทูตสูตรที่ ๖ จบ
๗. ยมราชสูตร
ว่าด้วยพญายม
[๓๗] ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พญายมได้มีความคิดดังนี้ว่า “ชน เหล่าใดทำบาปกรรมไว้ในโลก ชนเหล่านั้นถูกนายนิรยบาลทรมานด้วยวิธีการต่างๆ อย่างนี้ โอหนอ เราพึงได้ความเป็นมนุษย์ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พึงเสด็จอุบัติในโลก เราพึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พระผู้มีพระภาคพระ องค์นั้นพึงแสดงธรรมแก่เรา และเราพึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น” @เชิงอรรถ : @ เครื่องสำหรับลงอาญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๙๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวทูตวรรค ๘. จตุมหาราชสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เราได้ฟังข้อความนั้นต่อจากสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้วจึง กล่าวอย่างนี้ก็หาไม่ แต่เรากล่าวสิ่งที่เรารู้เอง เห็นเอง ทราบเองเท่านั้น มาณพเหล่าใดอันเทวทูตตักเตือนแล้ว ยังประมาทอยู่ มาณพเหล่านั้นเข้าถึงหมู่ที่เลว ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนาน ส่วนสัตบุรุษเหล่าใดเป็นผู้สงบในโลกนี้ อันเทวทูตตักเตือนแล้ว ไม่ประมาทในอริยธรรมในเวลาใดๆ เห็นภัยในความยึดมั่นถือมั่น ที่เป็นบ่อเกิดแห่งการเกิดและการตาย ย่อมหลุดพ้นในธรรมเป็นที่สิ้นการเกิดและการตาย เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น สัตบุรุษเหล่านั้นจึงถึงความเกษม มีความสุข ดับสนิทในปัจจุบัน ล่วงพ้นเวรและภัยทุกอย่าง ข้ามพ้นทุกข์ทั้งสิ้น
ยมราชสูตรที่ ๗ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๙๑-๑๙๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=20&siri=80              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=3629&Z=3716                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=475              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=475&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=2994              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=475&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=2994                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i470-e.php#sutta6 https://suttacentral.net/an3.36/en/sujato https://suttacentral.net/an3.36/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :