ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๑๖. เอกธัมมบาลี
๓. ตติยวรรค
หมวดที่ ๓
[๓๐๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก เมื่อเกิดขึ้นใน โลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคล ผู้เป็นเอกคือใคร คือ บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริต บุคคลนั้นทำให้คน หมู่มากออกจากสัทธรรม๑- ให้ตั้งอยู่ในอสัทธรรม๒- บุคคลผู้เป็นเอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้น ในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (๑) [๓๐๙] บุคคลผู้เป็นเอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่ มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอกคือใคร คือ บุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริต บุคคลนั้นทำให้คนหมู่มากออกจากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ใน สัทธรรม บุคคลผู้เป็นเอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่คน หมู่มาก เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย (๒) @เชิงอรรถ : @ สัทธรรม ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๐๘/๔๒๕) @ อสัทธรรม ในที่นี้หมายถึงอกุศลกรรมบถ ๑๐ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๐๘/๔๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๓. ตติยวรรค

[๓๑๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่มีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฏฐินี้ โทษ ทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง (๓) [๓๑๑] เราไม่เห็นบุคคลอื่นแม้คนเดียวที่ปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหมือนโมฆบุรุษชื่อว่ามักขลินี้ โมฆบุรุษชื่อมักขลิเกิดขึ้นในโลก เป็นเหมือนลอบที่ดักมนุษย์ เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความเสื่อม เพื่อความพินาศแก่สัตว์เป็นอันมากเปรียบเหมือนบุคคล ดักลอบไว้ที่ปากอ่าว เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความเสื่อม เพื่อความพินาศแก่ ปลาเป็นอันมาก ฉะนั้น (๔) [๓๑๒] ผู้ชักชวน ผู้ถูกชักชวน ผู้ถูกชักชวนแล้วปฏิบัติตามคำชักชวน ในธรรม วินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี คนทั้งหมดนั้นย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ไม่ดี (๕) [๓๑๓] ผู้ชักชวน ผู้ถูกชักชวน ผู้ถูกชักชวนแล้วปฏิบัติตามคำชักชวน ในธรรม วินัยที่กล่าวไว้ดี คนทั้งหมดนั้นย่อมประสพบุญเป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ดี (๖) [๓๑๔] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี ทายก(ผู้ให้)พึงรู้จักประมาณ ปฏิคาหก (ผู้รับ)ไม่จำต้องรู้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ไม่ดี (๗) [๓๑๕] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี ปฏิคาหกพึงรู้จักประมาณ ทายกไม่จำต้องรู้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ดี (๘) [๓๑๖] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี ผู้ปรารภความเพียรย่อมอยู่เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ไม่ดี (๙) [๓๑๗] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี ผู้เกียจคร้านย่อมอยู่เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี (๑๐) [๓๑๘] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี ผู้เกียจคร้านย่อมอยู่เป็นสุข ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ไม่ดี (๑๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๖. เอกธัมมบาลี ๔. จตุตถวรรค

[๓๑๙] ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี ผู้ปรารภความเพียรย่อมอยู่เป็นสุข ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะธรรมที่กล่าวไว้ดี (๑๒) [๓๒๐] คูถ(อุจจาระ)แม้เพียงเล็กน้อยก็มีกลิ่นเหม็น แม้ฉันใด ภพแม้เพียงเล็กน้อย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่สรรเสริญโดยที่สุดแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว (๑๓) [๓๒๑] มูตร(ปัสสาวะ)แม้เพียงเล็กน้อยก็มีกลิ่นเหม็น ... น้ำลายแม้เพียงเล็ก น้อยก็มีกลิ่นเหม็น ... น้ำหนองแม้เพียงเล็กน้อยก็มีกลิ่นเหม็น ... เลือดแม้เพียงเล็ก น้อยก็มีกลิ่นเหม็นแม้ฉันใด ภพแม้เพียงเล็กน้อยก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่สรรเสริญ โดยที่สุดแม้ชั่วลัดนิ้วมือเดียว (๑๔)
ตติยวรรค จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๔๐-๔๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=20&siri=26              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=950&Z=1002                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=191              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=191&items=14              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=14&A=10152              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=191&items=14              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=14&A=10152                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i179-e.php#sutta3 https://suttacentral.net/an1.316-332/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :