ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. กุสินารวรรค ๔. ภรัณฑุกาลามสูตร

๔. ภรัณฑุกาลามสูตร
ว่าด้วยภรัณฑุดาบสกาลามโคตร
[๑๒๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล เสด็จถึงกรุง กบิลพัสดุ์ เจ้ามหานามศากยะได้ทราบข่าวว่า ‘พระผู้มีพระภาคเสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์ โดยลำดับแล้ว’ ครั้งนั้น เจ้ามหานามศากยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วได้ยืน ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับเจ้ามหานามศากยะ ดังนี้ว่า มหานามะ ไปเถิด เธอจงพิจารณาดูสถานที่พักในกรุงกบิลพัสดุ์ที่เราจะอยู่ ได้สักคืนหนึ่งในวันนี้ เจ้ามหานามศากยะทูลรับสนองพระดำรัสแล้วเข้าไปกรุงกบิลพัสดุ์ เที่ยวไปจนทั่วกรุงกบิลพัสดุ์ ไม่เห็นสถานที่พักที่พระผู้มีพระภาคพอจะประทับได้ สักคืนหนึ่ง ลำดับนั้น เจ้ามหานามศากยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในกรุงกบิลพัสดุ์ ไม่มี สถานที่พักที่พระผู้มีพระภาคพอจะประทับได้สักคืนหนึ่งในวันนี้ ภรัณฑุดาบส กาลามโคตรนี้เป็นเพื่อนพรหมจารีเก่าของพระผู้มีพระภาค ในวันนี้ขอพระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ในอาศรมของภรัณฑุดาบสนั้นสักคืนหนึ่ง” พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “จงไปปูเครื่องปูลาดเถิด มหานามะ” เจ้ามหานามศากยะทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว เข้าไปยังอาศรมของภรัณฑุ- ดาบสกาลามโคตร ปูเครื่องลาด จัดน้ำสำหรับล้างเท้าไว้ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าพระองค์ได้ปูเครื่องลาดแล้ว ได้จัดตั้งน้ำ สำหรับล้างพระบาทแล้ว บัดนี้ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงทราบกาลอันควรเถิด พระพุทธเจ้าข้า” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังอาศรมของภรัณฑุดาบสกาลามโคตร ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้วทรงล้างพระบาททั้งสอง ลำดับนั้น เจ้ามหานาม- ศากยะคิดว่า “วันนี้ไม่ใช่เวลาเหมาะที่จะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ทรงเหน็ดเหนื่อย ในวันพรุ่งนี้เราจักเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค” จึงถวายอภิวาท ทำประทักษิณแล้วหลีกไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๗๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๓. กุสินารวรรค ๔. ภรัณฑุกาลามสูตร

ครั้นพอล่วงราตรีนั้นไป เจ้ามหานามศากยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับเจ้ามหานามศากยะ นั้นดังนี้ว่า มหานามะ ศาสดา ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก ศาสดา ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ศาสดาบางท่านในโลกนี้บัญญัติการกำหนดรู้กาม ไม่บัญญัติการกำหนด รู้รูป ไม่บัญญัติการกำหนดรู้เวทนา ๒. ศาสดาบางท่านในโลกนี้บัญญัติการกำหนดรู้กามและบัญญัติการ กำหนดรู้รูป ไม่บัญญัติการกำหนดรู้เวทนา ๓. ศาสดาบางท่านในโลกนี้บัญญัติการกำหนดรู้กาม บัญญัติการกำหนด รู้รูป และบัญญัติการกำหนดรู้เวทนา มหานามะ ศาสดา ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก จุดมุ่งหมายของศาสดา ๓ จำพวกนี้เป็นอย่างเดียวกันหรือต่างกัน เมื่อพระ ผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภรัณฑุดาบสกาลามโคตรได้กล่าวกับเจ้ามหานามศากยะว่า “มหานามะ ท่านจงกราบทูลว่า ‘จุดมุ่งหมายของศาสดา ๓ จำพวกเป็นอย่างเดียว กัน” เมื่อภรัณฑุดาบสกล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับเจ้ามหานามศากยะ ว่า “มหานามะ เธอจงกล่าวว่า ‘(จุดมุ่งหมายของศาสดา ๓ จำพวก)ต่างกัน” แม้ในครั้งที่ ๒ ภรัณฑุดาบสกาลามโคตรได้กล่าวกับเจ้ามหานามศากยะว่า “มหานามะ ท่านจงกราบทูลว่า ‘เป็นอย่างเดียวกัน” แม้ในครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระ ภาคก็ได้ตรัสกับเจ้ามหานามศากยะว่า “มหานามะ เธอจงกล่าวว่า ‘ต่างกัน” แม้ ในครั้งที่ ๓ ภรัณฑุดาบสกาลามโคตรได้กล่าวกับเจ้ามหานามศากยะว่า “มหานามะ ท่านจงกราบทูลว่า ‘เป็นอย่างเดียวกัน” แม้ในครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับเจ้ามหานามศากยะว่า “มหานามะ เธอจงกล่าวว่า ‘ต่างกัน” ลำดับนั้น ภรัณฑุดาบสกาลามโคตรคิดว่า “เราถูกพระสมณโคดมรุกรานแล้ว ถึง ๓ ครั้งต่อหน้าเจ้ามหานามศากยะผู้มีศักดิ์ใหญ่ ทางที่ดี เราพึงหลีกไปเสียจาก กรุงกบิลพัสดุ์” ทีนั้น ภรัณฑุดาบสกาลามโคตรไปจากกรุงกบิลพัสดุ์ หนีห่างจาก กรุงกบิลพัสดุ์ ไม่หวนกลับมาอีกเลย
ภรัณฑุกาลามสูตรที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๗๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๗๔-๓๗๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=20&siri=171              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=7284&Z=7336                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=566              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=566&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6182              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=566&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6182                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i563-e.php#sutta4 https://suttacentral.net/an3.126/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :