ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๗. กัมมันตสูตร
ว่าด้วยความวิบัติแห่งการงาน
[๑๒๐] ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ ประการนี้ วิบัติ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กัมมันตวิบัติ (ความวิบัติแห่งการงาน) ๒. อาชีววิบัติ (ความวิบัติแห่งอาชีพ) ๓. ทิฏฐิวิบัติ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ) กัมมันตวิบัติ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ พูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า กัมมันตวิบัติ อาชีววิบัติ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีอาชีพผิด เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาอาชีวะ(เลี้ยงชีพผิด) นี้เรียกว่า อาชีววิบัติ ทิฏฐิวิบัติ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า “ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้ แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก” นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ ประการนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๖๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๒. อาปายิกวรรค ๘. ปฐมโสเจยยสูตร

สัมปทา ๓ ประการนี้ สัมปทา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กัมมันตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการงาน) ๒. อาชีวสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยอาชีพ) ๓. ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ) กัมมันตสัมปทา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ การพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า กัมมันตสัมปทา อาชีวสัมปทา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้มีอาชีพชอบ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพ ชอบ) นี้เรียกว่า อาชีวสัมปทา ทิฏฐิสัมปทา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริตว่า “ทานที่ให้ แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้ง โลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก” นี้เรียกว่า ทิฏฐิสัมปทา ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ ประการนี้แล
กัมมันตสูตรที่ ๗ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๖๕-๓๖๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=20&siri=164              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=7118&Z=7141                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=559              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=559&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=559&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i553-e.php#sutta7 https://suttacentral.net/an3.119/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :