ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๕. วิปัตติสัมปทาสูตร
ว่าด้วยวิบัติ และสัมปทา
[๑๑๘] ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ ประการนี้ วิบัติ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สีลวิบัติ (ความวิบัติแห่งศีล) ๒. จิตตวิบัติ (ความวิบัตแห่งจิต) ๓. ทิฏฐิวิบัติ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ) สีลวิบัติ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สีลวิบัติ จิตตวิบัติ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา มีจิตพยาบาท นี้เรียกว่า จิตตวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า “ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและ ชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอัน ยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็ไม่มีในโลก” นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๖๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๒. อาปายิกวรรค ๕. วิปัตติสัมปทาสูตร

เพราะสีลวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต๑- นรก เพราะจิตตวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน อบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือเพราะทิฏฐิวิบัติเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจาก ตายแล้วจึงไปเกิดอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ ประการนี้แล สัมปทา ๓ ประการนี้ สัมปทา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) ๒. จิตตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยจิต) ๓. ทิฏฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ) สีลสัมปทา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ ผิดในกาม การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สีลสัมปทา จิตตสัมปทา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ไม่มีจิตพยาบาท นี้เรียกว่า จิตตสัมปทา ทิฏฐิสัมปทา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) มีความเห็นไม่วิปริตว่า “ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ ทำไว้ดีและชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ โอปปาติกสัตว์มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่ง เองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งมีอยู่ในโลก” นี้เรียกว่า ทิฏฐิสัมปทา @เชิงอรรถ : @ อบาย ทุคติ วินิบาต ทั้ง ๓ คำนี้เป็นไวพจน์ของนรก (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๓/๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๖๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๒. อาปายิกวรรค ๖. อปัณณกสูตร

เพราะสีลสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลก สวรรค์ เพราะจิตตสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึงไปเกิดใน สุคติโลกสวรรค์ หรือเพราะทิฏฐิสัมปทาเป็นเหตุ สัตว์ทั้งหลายหลังจากตายแล้วจึง ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ ประการนี้แล
วิปัตติสัมปทาสูตรที่ ๕ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๖๑-๓๖๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=20&siri=162              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=7050&Z=7083                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=557              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=557&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=6079              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=557&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=6079                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i553-e.php#sutta5 https://suttacentral.net/an3.117/en/sujato



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :