ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๘. อัญญติตถิยสูตร
ว่าด้วยพวกอัญเดียรถีย์
[๖๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ คือ (๑) ราคะ(ความกำหนัด) (๒) โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) (๓) โมหะ(ความหลง) ท่านทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล ธรรม ๓ ประการนี้มีความแปลกกันอย่างไร มีคำอธิบายอย่างไร มีความต่างกัน อย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๗๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๘. อัญญติตถิยสูตร

เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้ พึงตอบพวกเขาอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นหลัก มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เฉพาะพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะทรง อธิบายเนื้อความแห่งภาษิตนั้นให้แจ่มแจ้งได้ ภิกษุทั้งหลายฟังต่อจากพระผู้มีพระ ภาคแล้วจักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ ให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ ตรัสเรื่องนี้ว่า ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ นี้ คือ (๑) ราคะ (๒) โทสะ (๓) โมหะ ท่านทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล ธรรม ๓ ประการนี้มีความแปลกกันอย่างไร มีคำอธิบายอย่างไร มีความต่างกันอย่างไร เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงตอบพวกเขาอย่างนี้ว่า ราคะมีโทษน้อยแต่ คลายช้า โทสะมีโทษมากแต่คลายเร็ว โมหะมีโทษมากและคลายช้า ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ราคะ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น เธอทั้งหลายพึงตอบว่า “สุภนิมิต” เมื่อมนสิการสุภนิมิตโดยไม่แยบคาย ราคะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ราคะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อ ความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โทสะ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น เธอทั้งหลายพึงตอบว่า “ปฏิฆนิมิต” เมื่อมนสิการปฏิฆนิมิตโดยไม่แยบคาย โทสะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โทสะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อ ความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๗๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๘. อัญญติตถิยสูตร

ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โมหะ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น เธอทั้งหลายพึงตอบว่า “อโยนิโสมนสิการ” เมื่อมนสิการโดยไม่แยบคาย โมหะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โมหะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อ ความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ราคะ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ เธอทั้งหลายพึงตอบว่า “อสุภนิมิต” เมื่อมนสิการอสุภนิมิตโดยแยบคาย ราคะ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ราคะที่ ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โทสะ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ เธอทั้งหลายพึงตอบว่า “เมตตาเจโตวิมุตติ๑-” เมื่อมนสิการเมตตาเจโตวิมุตติ โดยแยบคาย โทสะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้โทสะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ ถ้าพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โมหะ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ เธอทั้งหลายพึงตอบว่า “โยนิโสมนสิการ” เมื่อมนสิการโดยแยบคาย โมหะ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โมหะ ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้
อัญญติตถิยสูตรที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๗ เอกกนิบาต หน้า ๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๗๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๗๒-๒๗๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=20&siri=113              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=5268&Z=5319                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=508              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=508&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=4862              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=508&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=4862                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i501-e.php#sutta8 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an03/an03.068.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/anguttara/03/an03-069.html https://suttacentral.net/an3.68/en/sujato https://suttacentral.net/an3.68/en/thanissaro



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :