ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๒. ภยสูตร

๒. ภยสูตร
ว่าด้วยภัย
[๖๓] ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมเรียกภัย ๓ อย่างนี้ว่า “อมาตาปุตติกภัย” ภัย ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สมัยที่เกิดไฟไหม้ใหญ่มีอยู่ เมื่อเกิดไฟไหม้ใหญ่แล้ว แม้หมู่บ้านก็ถูกไฟ เผา ตำบลก็ถูกไฟเผา เมืองก็ถูกไฟเผา เมื่อหมู่บ้านถูกไฟเผาอยู่ เมื่อ ตำบลถูกไฟเผาอยู่ เมื่อเมืองถูกไฟเผาอยู่ ในที่นั้น แม้มารดาก็ไม่ได้พบ บุตร แม้บุตรก็ไม่ได้พบมารดา ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับเรียกภัยที่ ๑ นี้ว่า “อมาตาปุตติกภัย๑-” ๒. สมัยที่มหาเมฆตั้งเค้ามีอยู่ เมื่อมหาเมฆตั้งเค้าขึ้นแล้ว ฝนตกลงมา ย่อมเกิดห้วงน้ำใหญ่ เมื่อเกิดห้วงน้ำใหญ่แล้ว แม้หมู่บ้านก็ถูกน้ำพัด ไป ตำบลก็ถูกน้ำพัดไป เมืองก็ถูกน้ำพัดไป เมื่อหมู่บ้านถูกน้ำพัดไปอยู่ เมื่อตำบลถูกน้ำพัดไปอยู่ เมื่อเมืองถูกน้ำพัดไปอยู่ ในที่นั้น แม้มารดา ก็ไม่ได้พบบุตร แม้บุตรก็ไม่ได้พบมารดา ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับเรียกภัยที่ ๒ นี้ว่า “อมาตาปุตติกภัย” ๓. สมัยที่ภัยคือโจรป่าปล้นสะดม พวกชาวบ้านต่างพากันขึ้นยานหนีไป มีอยู่ เมื่อมีภัยคือโจรป่าปล้นสะดม เมื่อชาวบ้านพากันขึ้นยานหนีไป ในที่นั้น แม้มารดาก็ไม่ได้พบบุตร แม้บุตรก็ไม่ได้พบมารดา ปุถุชนผู้ไม่ ได้สดับเรียกภัยที่ ๓ นี้ว่า “อมาตาปุตติกภัย” ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมเรียกอมาตาปุตติกภัยทั้ง ๓ อย่างนี้แล ว่า “อมาตาปุตติกภัย” แต่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับเรียกสมาตาปุตติกภัยทั้ง ๓ อย่างนี้แลว่า “อมาตา- ปุตติกภัย” @เชิงอรรถ : @ อมาตาปุตติกภัย หมายถึงภัยที่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มารดาและบุตรไม่สามารถจะเป็นที่พึ่งแก่กันได้ @ไม่สามารถจะพบเห็นกันได้ (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๓/๑๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๔๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๒. ภยสูตร

สมาตาปุตติกภัย ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สมัยที่เกิดไฟไหม้ใหญ่มีอยู่ เมื่อเกิดไฟไหม้ใหญ่แล้ว แม้หมู่บ้านก็ถูก ไฟเผา ตำบลก็ถูกไฟเผา เมืองก็ถูกไฟเผา เมื่อหมู่บ้านถูกไฟเผาอยู่ เมื่อตำบลถูกไฟเผาอยู่ เมื่อเมืองถูกไฟนั้นเผาอยู่ สมัยที่มารดาได้พบ บุตร แม้บุตรก็ได้พบมารดา เป็นบางครั้งบางคราวมีอยู่ ปุถุชนผู้ไม่ได้ สดับเรียกสมาตาปุตติกภัยที่ ๑ นี้แลว่า “อมาตาปุตติกภัย” ๒. สมัยที่มหาเมฆตั้งเค้าขึ้นมีอยู่ เมื่อมหาเมฆตั้งเค้าขึ้นแล้ว ฝนตกลงมา ย่อมเกิดห้วงน้ำใหญ่ เมื่อเกิดห้วงน้ำใหญ่แล้ว แม้หมู่บ้านก็ถูกน้ำพัดไป ตำบลก็ถูกน้ำพัดไป เมืองก็ถูกน้ำพัดไป เมื่อหมู่บ้านถูกน้ำพัดไปอยู่ เมื่อตำบลถูกน้ำพัดไปอยู่ เมื่อเมืองถูกน้ำพัดไปอยู่ สมัยที่มารดาได้พบ บุตร แม้บุตรก็ได้พบมารดาเป็นบางครั้งบางคราวมีอยู่ ปุถุชนผู้ไม่ได้ สดับเรียกสมาตาปุตติกภัยที่ ๒ นี้แลว่า “อมาตาปุตติกภัย” ๓. สมัยที่ภัยคือโจรป่าปล้นสะดม พวกชาวบ้านต่างพากันขึ้นยานหนีไป มีอยู่ เมื่อภัยคือโจรป่าปล้นสะดม เมื่อชาวบ้านต่างพากันขึ้นยานหนีไป มีอยู่ สมัยที่มารดาได้พบบุตร แม้บุตรก็ได้พบมารดาเป็นบางครั้งบาง คราวมีอยู่ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับเรียกสมาตาปุตติกภัยที่ ๓ นี้แลว่า “อมาตาปุตติกภัย” ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับเรียกสมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้แลว่า “อมาตาปุตติกภัย” ภิกษุทั้งหลาย อมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้ อมาตาปุตติกภัย ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ชราภัย๑- (ภัยที่เกิดขึ้นเพราะความแก่) ๒. พยาธิภัย (ภัยที่เกิดขึ้นเพราะความเจ็บ) ๓. มรณภัย (ภัยที่เกิดขึ้นเพราะความตาย) เมื่อบุตรแก่ มารดาย่อมไม่ได้ดังใจหวังอย่างนี้ว่า “เราจงแก่ บุตรของเราอย่าได้ แก่” หรือเมื่อมารดาแก่ บุตรย่อมไม่ได้ดังใจหวังอย่างนี้ว่า “เราจงแก่ มารดาของเรา อย่าได้แก่” @เชิงอรรถ : @ ภัย ในที่นี้หมายถึงความกลัว ความสะดุ้งหวั่นไหว (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๓/๑๘๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๔๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๒. มหาวรรค ๓. เวนาคปุรสูตร

เมื่อบุตรเจ็บไข้ มารดาย่อมไม่ได้ดังใจหวังอย่างนี้ว่า “เราจงเจ็บไข้ บุตรของเรา อย่าได้เจ็บไข้” หรือเมื่อมารดาเจ็บไข้ บุตรย่อมไม่ได้ดังใจหวังอย่างนี้ว่า “เราจงเจ็บไข้ มารดาของเราอย่าได้เจ็บไข้” เมื่อบุตรกำลังจะตาย มารดาย่อมไม่ได้ดังใจหวังอย่างนี้ว่า “เราจงตาย บุตร ของเราอย่าได้ตาย” หรือเมื่อมารดากำลังจะตาย บุตรย่อมไม่ได้ดังใจหวังอย่างนี้ว่า เราจงตาย มารดาของเราอย่าได้ตาย” อมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้แล มรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละ เพื่อก้าวล่วงสมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้ และ อมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้มีอยู่ มรรคปฏิปทา เป็นอย่างไร คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ ๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ ๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ ๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ ย่อมเป็นไปเพื่อละ เพื่อก้าวล่วงสมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้ และอมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย มรรคปฏิปทานี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละ เพื่อก้าวล่วงสมาตา- ปุตติกภัย ๓ อย่างนี้ และอมาตาปุตติกภัย ๓ อย่างนี้
ภยสูตรที่ ๒ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๔๔-๒๔๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=20&siri=107              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=4687&Z=4738                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=502              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=502&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=4225              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=502&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=4225                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i501-e.php#sutta2 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an03/an03.062.than.html https://suttacentral.net/an3.62/en/sujato https://suttacentral.net/an3.62/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :