ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๗. วัจฉโคตตสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อว่าวัจฉโคตร
[๕๘] ครั้งนั้น วัจฉโคตรปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๒๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๗. วัจฉโคตตสูตร

ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า “พึงให้ทานแก่เราเท่านั้น ไม่พึงให้ทานแก่ชนเหล่าอื่น พึงให้ทานแก่สาวกของเรา เท่านั้น ไม่พึงให้ทานแก่สาวกของชนเหล่าอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นจึงมีผลมาก ทานที่ให้แก่ชนเหล่าอื่นไม่มีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของเราเท่านั้นจึงมีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของชนเหล่าอื่นไม่มีผลมาก” ข้าแต่ท่านพระโคดม ชนเหล่าใด กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า “พึงให้ทานแก่เราเท่านั้น ไม่พึงให้ ทานแก่ชนเหล่าอื่น พึงให้ทานแก่สาวกของเราเท่านั้น ไม่พึงให้ทานแก่สาวกของ ชนเหล่าอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นจึงมีผลมาก ทานที่ให้แก่ชนเหล่าอื่นไม่มีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของเราเท่านั้นจึงมีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของชนเหล่าอื่นไม่มี ผลมาก” ชนเหล่านั้นชื่อว่าพูดตามที่ท่านพระโคดมตรัส ไม่กล่าวตู่ท่านพระโคดม ด้วยคำที่ไม่จริง และชื่อว่ากล่าวธรรมตามสมควรแก่ธรรม ก็การคล้อยตามคำพูดที่ ชอบธรรมบางอย่าง ย่อมไม่ถึงฐานะที่น่าติเตียนบ้างหรือ เพราะข้าพเจ้าทั้งหลายไม่ ประสงค์จะกล่าวตู่ท่านพระโคดม พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า วัจฉะ ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม ตรัสอย่างนี้ว่า พึงให้ทานแก่เราเท่านั้น ฯลฯ ทานที่ให้แก่สาวกของชนเหล่าอื่นไม่มี ผลมาก ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่พูดตามที่เราพูด และชนเหล่านั้นชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วย คำที่ไม่ดี ไม่เป็นจริง วัจฉะ ผู้ใดห้ามบุคคลอื่นที่ให้ทานอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าทำอันตราย แก่วัตถุ ๓ อย่าง เป็นโจรดักปล้นวัตถุ ๓ อย่าง วัตถุ ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ทำอันตรายแก่บุญของทายก(ผู้ให้) ๒. ทำอันตรายแก่ลาภของปฏิคาหก(ผู้รับ) ๓. ในเบื้องต้น ตัวเขาเองย่อมถูกกำจัดและถูกทำลาย วัจฉะ ผู้ใดห้ามบุคคลอื่นที่ให้ทานอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าทำอันตรายแก่วัตถุ ๓ อย่าง เป็นโจรดักปล้นวัตถุ ๓ อย่าง แต่เราเองกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ใดเทน้ำล้างภาชนะหรือน้ำล้างขันลงที่หมู่สัตว์ซึ่ง อาศัยอยู่ที่บ่อน้ำครำหรือที่บ่อโสโครกด้วยตั้งใจว่า หมู่สัตว์ที่อาศัยอยู่ในที่นั้นจงเลี้ยง ชีพด้วยน้ำล้างภาชนะเป็นต้นนั้น เรากล่าวกรรมที่มีการเทน้ำล้างภาชนะเป็นต้นเหตุว่า เป็นที่มาแห่งบุญ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงในหมู่มนุษย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๒๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๗. วัจฉโคตตสูตร

อีกประการหนึ่ง เรากล่าวถึงทานที่ให้แก่ผู้มีศีลว่า มีผลมาก ทานที่ให้แก่ผู้ ทุศีลย่อมไม่เป็นอย่างนั้น เพราะท่านผู้มีศีลนั้นเป็นผู้ละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ ท่านผู้มีศีลนั้นละองค์ ๕ อะไรบ้าง คือ ๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) ๒. พยาบาท (ความคิดร้าย) ๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) ๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ท่านผู้มีศีลละองค์ ๕ นี้ ท่านผู้มีศีลประกอบด้วยองค์ ๕ อะไรบ้าง คือ ๑. สีลขันธ์(กองศีล)ที่เป็นอเสขะ๑- ๒. สมาธิขันธ์(กองสมาธิ)ที่เป็นอเสขะ ๓. ปัญญาขันธ์(กองปัญญา)ที่เป็นอเสขะ ๔. วิมุตติขันธ์(กองวิมุตติ)ที่เป็นอเสขะ ๕. วิมุตติญาณทัสสนขันธ์๒- (กองวิมุตติญาณทัสสนะ)ที่เป็นอเสขะ ท่านผู้มีศีลประกอบด้วยองค์ ๕ นี้ เรากล่าวว่า ทานที่ให้ในท่านผู้มีศีลที่ละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมมี ผลมากด้วยประการฉะนี้ โคผู้ที่ฝึกแล้วเป็นโคใช้งานที่สมบูรณ์ด้วยกำลัง มีเชาว์ดี และเป็นสัตว์ที่ซื่อตรง จะเกิดในสีสันใดๆ คือ สีดำ สีขาว สีแดง สีเขียว สีด่าง สีตามธรรมชาติของตน @เชิงอรรถ : @ อเสขะ ในที่นี้หมายถึงธรรมระดับโลกุตตระของพระอเสขะ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๒/๓๒๐) @ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ หมายถึงปัจจเวกขณญาณที่จัดเป็นโลกิยะ ส่วนสีลขันธ์เป็นต้นนอกนี้จัดเป็น @โลกุตตระ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๒๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๗. วัจฉโคตตสูตร

สีเหมือนโคธรรมดา หรือสีเหมือนนกพิราบก็ตาม ชนทั้งหลายเทียมมันเข้าในแอก ไม่คำนึงถึงสีสันของมัน ฉันใด ผู้ที่ฝึกตนดีแล้ว มีความประพฤติดีงาม ตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล พูดแต่คำสัตย์ มีใจประกอบด้วยหิริ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะเกิดในหมู่มนุษย์ชาติใดๆ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และคนเทขยะก็ตาม ก็ละความเกิดและความตายได้ มีพรหมจรรย์บริบูรณ์ ปลงภาระได้แล้ว ไม่ประกอบด้วยกิเลส ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ รู้จบธรรมทุกอย่าง๑- ดับสนิทเพราะไม่ถือมั่น ในเขตที่ปราศจากธุลี๒- เช่นนั้นแล ทักษิณาย่อมมีผลมาก คนพาลไม่รู้แจ้ง๓- ไม่มีปัญญา ไม่ได้สดับรับฟัง ย่อมให้ทานภายนอก๔- ไม่เข้าไปหาสัตบุรุษ ส่วนเหล่าชนผู้มีศรัทธาหยั่งลงตั้งมั่นในพระสุคต ย่อมเข้าไปหาสัตบุรุษผู้มีปัญญา ที่เขายกย่องกันว่าเป็นนักปราชญ์ ท่านเหล่านั้นผู้เป็นบัณฑิต ย่อมไปสู่เทวโลก หรือไม่ก็เกิดในตระกูลดีในโลกนี้ และบรรลุนิพพานได้โดยลำดับ
วัจฉโคตตสูตรที่ ๗ จบ
@เชิงอรรถ : @ ธรรมทุกอย่าง ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๑) @ ปราศจากธุลี หมายถึงไม่มีธุลี คือราคะ โทสะ และโมหะ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๑) @ ไม่รู้แจ้ง ในที่นี้หมายถึงไม่รู้จักนาบุญหรือเขตบุญ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๑) @ ภายนอก ในที่นี้หมายถึงนอกพุทธศาสนา (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๘/๑๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๒๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๒๑-๒๒๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=20&siri=102              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=4227&Z=4284                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=497              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=497&items=1              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=15&A=3643              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=497&items=1              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=15&A=3643                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/20i491-e.php#sutta7 https://accesstoinsight.org/tipitaka/an/an03/an03.057.than.html https://suttacentral.net/an3.57/en/sujato https://suttacentral.net/an3.57/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :