ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๗. มหาจัตตารีสกสูตร
ว่าด้วยธรรมบรรยายชื่อมหาจัตตารีสกะ
[๑๓๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียก ภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิ๑- อันเป็นอริยะ๒- ที่มีอุปนิสะ๓- บ้าง มีปริขาร๔- บ้าง แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังสัมมาสมาธิอันเป็นอริยะนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) อันเป็นอริยะ ที่มีอุปนิสะ มีปริขาร เป็น อย่างไร คือ สัมมาทิฏฐิ(เห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ(ดำริชอบ) สัมมาวาจา(เจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ(กระทำชอบ) สัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ) สัมมาวายามะ(พยายาม @เชิงอรรถ : @ สัมมาสมาธิ ในที่นี้หมายถึงสมาธิในองค์มรรค (ม.อุ.อ. ๓/๑๓๖/๙๒) @ อันเป็นอริยะ หมายถึงไม่มีโทษ ได้แก่โลกุตตรธรรม (ม.อุ.อ. ๓/๑๓๖/๙๒) @ ที่มีอุปนิสะ หมายถึงมีเหตุปัจจัย (ม.อุ.อ. ๓/๑๓๖/๙๒) @ มีปริขาร หมายถึงมีองค์ประกอบ (ม.อุ.อ. ๓/๑๓๖/๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๗๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๗. มหาจัตตารีสกสูตร

ชอบ) สัมมาสติ(ระลึกชอบ) สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว แวดล้อมด้วยองค์ ๗ นี้ เราเรียกว่า ‘สัมมาสมาธิอันเป็นอริยะ ที่มีอุปนิสะ’ บ้าง เรียกว่า ‘สัมมาสมาธิ อันเป็นอริยะ มีปริขาร’ บ้าง บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า๑- สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร คือ ภิกษุรู้ชัดมิจฉาทิฏฐิ๒- ว่า ‘เป็นมิจฉาทิฏฐิ’ รู้ชัดสัมมาทิฏฐิว่า ‘เป็น สัมมาทิฏฐิ’ ความรู้ของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิ เป็นอย่างไร คือ ความเห็นว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวง ที่เซ่นสรวงแล้วไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะก็ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่ง เองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ก็ไม่มีในโลก’๓- นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างไร คือ เรากล่าวสัมมาทิฏฐิว่ามี ๒ ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ ๒. สัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์ แห่งมรรค @เชิงอรรถ : @ สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า ในที่นี้หมายถึงสัมมาทิฏฐิ ๒ คือ (๑) วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ ที่กำหนดพิจารณา @สังขารที่เป็นไปในไตรภูมิโดยเป็นสิ่งไม่เที่ยงเป็นต้น (๒) มัคคสัมมาทิฏฐิ ที่ถอนสังขารขึ้นด้วยไม่ให้เป็นไป @อีกเพื่อการกำหนดพิจารณา เพราะเป็นสิ่งไม่เที่ยงเป็นต้นเกิดขึ้น (ม.อุ.อ. ๓/๑๓๖/๙๓) @ รู้ชัดมิจฉาทิฏฐิ หมายความว่า รู้ชัดมิจฉาทิฏฐิโดยความเป็นอารมณ์ เพราะแทงตลอดลักษณะว่า @ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วรู้ชัดสัมมาทิฏฐิ โดยความเป็นหน้าที่ เพราะไม่หลงงมงาย @(ม.อุ.อ. ๓/๑๓๖/๙๓) @ ดูเทียบ ที.สี. (แปล) ๙/๑๗๑/๕๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๗๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๗. มหาจัตตารีสกสูตร

สัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ เป็นอย่างไร คือ ความเห็นว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงที่ เซ่นสรวงแล้วมีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติ ชอบทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งก็มีอยู่ในโลก’ นี้เป็นสัมมาทิฏฐิที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ สัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค เป็นอย่างไร คือ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สัมมาทิฏฐิ องค์แห่งมรรคของภิกษุผู้มีจิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ เพียบพร้อมด้วย อริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็น โลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฏฐิ ยัง สัมมาทิฏฐิให้ถึงพร้อม ความพยายามของภิกษุนั้น เป็นสัมมาวายามะ ภิกษุนั้น มีสติ ละมิจฉาทิฏฐิ มีสติเข้าถึงสัมมาทิฏฐิอยู่ สติของภิกษุนั้นเป็นสัมมาสติ ธรรม ๓ นี้ คือ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาวายามะ (๓) สัมมาสติ ย่อม ห้อมล้อมคล้อยตามสัมมาทิฏฐิของภิกษุนั้นไป ด้วยประการฉะนี้ [๑๓๗] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร คือ ภิกษุรู้ชัดมิจฉาสังกัปปะว่า ‘เป็นมิจฉาสังกัปปะ’ รู้ชัดสัมมาสังกัปปะว่า ‘เป็นสัมมาสังกัปปะ’ ความรู้ของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ เป็นอย่างไร คือ ความดำริในกาม ความดำริในความพยาบาท ความดำริในการเบียดเบียน นี้เป็นมิจฉาสังกัปปะ สัมมาสังกัปปะ เป็นอย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๗๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๗. มหาจัตตารีสกสูตร

คือ เรากล่าวสัมมาสังกัปปะว่ามี ๒ ได้แก่ ๑. สัมมาสังกัปปะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ ๒. สัมมาสังกัปปะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็น องค์แห่งมรรค สัมมาสังกัปปะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ เป็นอย่างไร คือ ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความ ดำริในการไม่เบียดเบียน นี้เป็นสัมมาสังกัปปะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ ผลคืออุปธิ สัมมาสังกัปปะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่ง มรรค เป็นอย่างไร คือ ความตรึก ความวิตก ความดำริ ความแน่วแน่ ความแนบแน่น ความปักใจ ความปรุงแต่งคำ ของภิกษุผู้มีจิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ เพียบพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมาสังกัปปะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อ ละมิจฉาสังกัปปะ ยังสัมมาสังกัปปะให้ถึงพร้อม ความพยายามของภิกษุนั้นเป็น สัมมาวายามะ ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาสังกัปปะ มีสติเข้าถึงสัมมาสังกัปปะอยู่ สติของภิกษุนั้นเป็นสัมมาสติ ธรรม ๓ นี้ คือ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาวายามะ (๓) สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อมคล้อยตามสัมมาสังกัปปะของภิกษุนั้นไป ด้วยประการ ฉะนี้ [๑๓๘] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร คือ ภิกษุรู้ชัดมิจฉาวาจาว่า ‘เป็นมิจฉาวาจา’ รู้ชัดสัมมาวาจาว่า ‘เป็น สัมมาวาจา’ ความรู้ของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ มิจฉาวาจา เป็นอย่างไร คือ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ นี้เป็น มิจฉาวาจา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๗๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๗. มหาจัตตารีสกสูตร

สัมมาวาจา เป็นอย่างไร คือ เรากล่าวสัมมาวาจาว่ามี ๒ ได้แก่ ๑. สัมมาวาจาที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ ๒. สัมมาวาจาอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์ แห่งมรรค สัมมาวาจาที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ เป็นอย่างไร คือ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเท็จ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูด ส่อเสียด เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดคำหยาบ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการ พูดเพ้อเจ้อ นี้เป็นสัมมาวาจาที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ สัมมาวาจาอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค เป็นอย่างไร คือ การงด การเว้น การเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากวจีทุจริต ๔ ของภิกษุผู้มีจิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ เพียบพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมาวาจาอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค ภิกษุย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาวาจา ยังสัมมาวาจาให้ถึงพร้อม อยู่ ความพยายามของภิกษุนั้นเป็นสัมมาวายามะ ภิกษุนั้นมีสติ ละมิจฉาวาจา มีสติเข้าถึงสัมมาวาจาอยู่ สติของภิกษุนั้นเป็นสัมมาสติ ธรรม ๓ นี้ คือ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาวายามะ (๓) สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อมคล้อยตาม สัมมาวาจาของภิกษุนั้นไป ด้วยประการฉะนี้ [๑๓๙] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร คือ ภิกษุรู้ชัดมิจฉากัมมันตะว่า ‘เป็นมิจฉากัมมันตะ’ รู้ชัดสัมมากัมมันตะว่า ‘เป็นสัมมากัมมันตะ’ ความรู้ของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๗๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๗. มหาจัตตารีสกสูตร

มิจฉากัมมันตะ เป็นอย่างไร คือ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม นี้เป็นมิจฉากัมมันตะ สัมมากัมมันตะ เป็นอย่างไร คือ เรากล่าวสัมมากัมมันตะว่ามี ๒ ได้แก่ ๑. สัมมากัมมันตะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ ๒. สัมมากัมมันตะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็น องค์แห่งมรรค สัมมากัมมันตะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ เป็นอย่างไร คือ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการ ลักทรัพย์ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม นี้เป็นสัมมากัมมันตะ ที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ สัมมากัมมันตะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค เป็นอย่างไร คือ การงด การเว้น การเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากกายทุจริต ๓ ของภิกษุผู้มีจิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ เพียบพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมากัมมันตะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉากัมมันตะ ยังสัมมากัมมันตะ ให้ถึงพร้อม ความพยายามของเธอนั้นเป็นสัมมาวายามะ ภิกษุนั้นมีสติละ มิจฉากัมมันตะ มีสติเข้าถึงสัมมากัมมันตะอยู่ สติของเธอนั้นเป็นสัมมาสติ ธรรม ๓ นี้ คือ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาวายามะ (๓) สัมมาสติ ย่อม ห้อมล้อมคล้อยตามสัมมากัมมันตะของภิกษุนั้นไป ด้วยประการฉะนี้ [๑๔๐] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร คือ ภิกษุรู้ชัดมิจฉาอาชีวะว่า ‘เป็นมิจฉาอาชีวะ’ รู้ชัดสัมมาอาชีวะว่า ‘เป็น สัมมาอาชีวะ’ ความรู้ของภิกษุนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๗๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๗. มหาจัตตารีสกสูตร

มิจฉาอาชีวะ เป็นอย่างไร คือ การพูดหลอกลวง การเลียบเคียง การหว่านล้อม การพูดและเล็ม การใช้ลาภต่อลาภ นี้เป็นมิจฉาอาชีวะ สัมมาอาชีวะ เป็นอย่างไร คือ เรากล่าวสัมมาอาชีวะว่ามี ๒ ได้แก่ ๑. สัมมาอาชีวะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ ๒. สัมมาอาชีวะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์ แห่งมรรค สัมมาอาชีวะที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ นี้เป็นสัมมาอาชีวะ ที่ยังมีอาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลคืออุปธิ สัมมาอาชีวะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค เป็นอย่างไร คือ การงด การเว้น การเว้นขาด เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากมิจฉาอาชีวะ ของภิกษุผู้มีจิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ เพียบพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมาอาชีวะอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาอาชีวะ ยังสัมมาอาชีวะให้ ถึงพร้อม ความพยายามของภิกษุนั้นเป็นสัมมาวายามะ ภิกษุนั้นมีสติละ มิจฉาอาชีวะ มีสติเข้าถึงสัมมาอาชีวะอยู่ สติของภิกษุนั้นเป็นสัมมาสติ ธรรม ๓ นี้ คือ (๑) สัมมาทิฏฐิ (๒) สัมมาวายามะ (๓) สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อมคล้อยตามสัมมาอาชีวะของภิกษุนั้นไป ด้วยประการฉะนี้ [๑๔๑] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร คือ ผู้มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสังกัปปะ สัมมา วาจาก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมากัมมันตะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๘๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๗. มหาจัตตารีสกสูตร

สัมมาอาชีวะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะก็มีพอเหมาะ ผู้มี สัมมาวายามะ สัมมาสติก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสติ สัมมาสมาธิก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติก็มี พอเหมาะ ภิกษุทั้งหลาย พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ผู้ประกอบ ด้วยองค์ ๑๐ (แม้ในบรรดาองค์เหล่านั้น บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกไปปราศแล้ว ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนาโดยสัมมาญาณะ) ด้วยประการฉะนี้ [๑๔๒] ภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ ๗ นั้น สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้า เป็นอย่างไร คือ สัมมาทิฏฐิ ย่อมทำลายมิจฉาทิฏฐิได้ และบาปอกุศลธรรมเป็นอเนก อันมีมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็เป็นอันถูกสัมมาทิฏฐินั้นทำลายแล้ว กุศลธรรมเป็น อเนกอันมีสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่ สัมมาสังกัปปะ ย่อมทำลายมิจฉาสังกัปปะได้ ... สัมมาวาจา ย่อมทำลายมิจฉาวาจาได้ ... สัมมากัมมันตะ ย่อมทำลายมิจฉากัมมันตะได้ ... สัมมาอาชีวะ ย่อมทำลายมิจฉาอาชีวะได้ ... สัมมาวายามะ ย่อมทำลายมิจฉาวายามะได้ ... สัมมาสติ ย่อมทำลายมิจฉาสติได้ ... สัมมาสมาธิ ย่อมทำลายมิจฉาสมาธิได้ ... สัมมาญาณะ ย่อมทำลายมิจฉาญาณะได้ ... สัมมาวิมุตติ ย่อมทำลายมิจฉาวิมุตติได้ และบาปอกุศลธรรมเป็นอเนก อัน มีมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย ก็เป็นอันถูกสัมมาวิมุตตินั้นทำลายแล้ว กุศลธรรมเป็น อเนกอันมีสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๘๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๗. มหาจัตตารีสกสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เราจึงประกาศธรรมบรรยายชื่อว่ามหาจัตตารีสกะฝ่ายกุศล ๒๐ ประการ ฝ่ายอกุศล ๒๐ ประการ ที่สมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกยังประกาศไม่ได้ไว้ ด้วยประการฉะนี้ [๑๔๓] ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเข้าใจธรรม บรรยายชื่อว่ามหาจัตตารีสกะ๑- นี้ ว่าตนควรติเตียน หรือคัดค้าน คำกล่าวเช่นนั้น และคำที่กล่าวต่อๆ กันมา ๑๐ ประการนี้ของสมณะหรือพราหมณ์นั้น จะเป็น เหตุให้ถูกตำหนิได้ในปัจจุบันทีเดียว คือ ๑. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาทิฏฐิ ท่านผู้เจริญก็ต้องบูชาสรรเสริญ สมณพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ๒. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาสังกัปปะ ท่านผู้เจริญก็ต้องบูชา สรรเสริญสมณพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาสังกัปปะ ๓. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาวาจา ฯลฯ ๔. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมากัมมันตะ ... ๕. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาอาชีวะ ... ๖. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาวายามะ ... ๗. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาสติ ... ๘. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาสมาธิ ... ๙. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาญาณะ ... ๑๐. ถ้าท่านผู้เจริญติเตียนสัมมาวิมุตติ ท่านผู้เจริญก็ต้องบูชาสรรเสริญ สมณพราหมณ์ผู้เป็นมิจฉาวิมุตติ ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง พึงเข้าใจธรรม บรรยายชื่อว่ามหาจัตตารีสกะนี้ ว่าตนควรติเตียนหรือควรคัดค้าน คำกล่าวเช่นนั้น และคำที่กล่าวต่อๆ กันมา ๑๐ ประการนี้ของสมณะหรือพราหมณ์นั้น จะเป็น เหตุให้ถูกตำหนิได้ในปัจจุบันทีเดียว @เชิงอรรถ : @ มหาจัตตารีสกะ หมายถึงธรรมบรรยาย ๔๐ ประการ ที่เป็นฝ่ายกุศลและฝ่ายอกุศล มีผลมากที่ @พระผู้มีพระภาคทรงประกาศไว้แล้ว (ม.อุ.อ. ๓/๑๔๒/๙๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๘๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

๘. อานาปานัสสติสูตร

ภิกษุทั้งหลาย แม้พวกวัสสะและพวกภัญญะชาวโอกกลชนบท ผู้เป็น อเหตุกวาทะ๑- อกิริยวาทะ๒- นัตถิกวาทะ๓- เหล่านั้น ก็ยังเข้าใจธรรมบรรยายชื่อ ว่ามหาจัตตารีสกะ ว่าไม่ควรติเตียน ไม่ควรคัดค้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกลัวการนินทา การว่าร้าย และการแข่งดี” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
มหาจัตตารีสกสูตรที่ ๗ จบ
๘. อานาปานัสสติสูตร
ว่าด้วยวิธีเจริญอานาปานสติ
[๑๔๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมาตา ใน บุพพาราม เขตกรุงสาวัตถี พร้อมด้วยพระสาวกผู้เป็นเถระ มีชื่อเสียงหลายรูป ด้วยกัน คือ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสปะ ท่านพระมหากัจจายนะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ท่านพระมหากัปปินะ ท่านพระ มหาจุนทะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และพระสาวก ผู้เป็นเถระที่มีชื่อเสียงรูปอื่นๆ ก็สมัยนั้น พระเถระทั้งหลายสั่งสอน พร่ำสอน๔- ภิกษุใหม่ทั้งหลาย คือ ภิกษุผู้เป็นเถระบางพวกสั่งสอน พร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บางพวกสั่งสอน @เชิงอรรถ : @ อเหตุกวาทะ หมายถึงผู้มีลัทธิว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย @(ม.อุ.อ. ๓/๑๔๓/๙๗) @ อกิริยวาทะ หมายถึงผู้มีลัทธิว่า เมื่อทำบาป บาปก็ไม่เป็นอันทำ (ม.อุ.อ. ๓/๑๔๓/๙๗) @ นัตถิกวาทะ หมายถึงผู้มีลัทธิว่า ทานที่ให้แล้วย่อมไม่มีผล (ม.อุ.อ. ๓/๑๔๓/๙๗) @ สั่งสอน พร่ำสอน หมายความว่า สงเคราะห์ด้วยอามิสและธรรมแล้วจึงสั่งสอน พร่ำสอนเกี่ยวกับ @กัมมัฏฐานต่อไป (ม.อุ.อ. ๓/๑๔๔/๙๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๘๓}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๑๗๔-๑๘๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=14&siri=17              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=3724&Z=3923                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=252              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=14&item=252&items=30              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=10&A=2368              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=14&item=252&items=30              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=10&A=2368                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/14i252-e.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/14i252-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.117.than.html https://suttacentral.net/mn117/en/sujato https://suttacentral.net/mn117/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :