ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๘. อภยราชกุมารสูตร

๘. อภยราชกุมารสูตร
ว่าด้วยพระราชกุมารพระนามว่าอภัย
[๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล พระราชกุมารพระนามว่าอภัยเสด็จเข้าไปหานิครนถ์ นาฏบุตรถึงที่อยู่ ทรงไหว้นิครนถ์ นาฏบุตรแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร นิครนถ์ นาฏบุตรได้ทูลอภัยราชกุมารว่า “เสด็จไปเถิด พระราชกุมาร เชิญพระองค์เสด็จไปโต้วาทะกับพระสมณ- โคดมเถิด เมื่อพระองค์ทรงโต้วาทะกับพระสมณโคดมอย่างนี้แล้ว กิตติศัพท์อันงาม ของพระองค์จักระบือไปว่า ‘อภัยราชกุมารทรงโต้วาทะกับพระสมณโคดมผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้” อภัยราชกุมารตรัสถามว่า “ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะโต้วาทะกับพระสมณโคดม ผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ได้อย่างไร” นิครนถ์ นาฏบุตรทูลตอบว่า “มาเถิดพระราชกุมาร เชิญพระองค์เสด็จเข้า ไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ แล้วตรัสถามพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระ องค์ผู้เจริญ มีบ้างไหมที่พระตถาคตตรัสวาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของ คนอื่น’ ถ้าพระสมณโคดมถูกถามอย่างนี้แล้วจะทรงตอบว่า ‘ราชกุมาร มีบ้างที่ ตถาคตกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น’ พระองค์พึงทูลถามพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็น เช่นนั้น การกระทำของพระองค์จะต่างอะไรจากปุถุชน๑- เพราะปุถุชนก็กล่าววาจา อันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น’ ถ้าพระสมณโคดมถูกถามอย่างนี้แล้ว @เชิงอรรถ : @ ปุถุชน หมายถึงคนที่ยังมีกิเลสหนา ที่เรียกเช่นนี้เพราะบุคคลประเภทนี้ยังมีเหตุก่อให้เกิดกิเลสอย่างหนา @นานัปการ ปุถุชนมี ๒ ประเภท คือ (๑)อันธปุถุชน คนที่ไม่ได้รับการศึกษาอบรมทางจิต (๒)กัลยาณ- @ปุถุชน คนที่ได้รับการศึกษาอบรมทางจิตแล้ว (ม.มู.อ. ๑/๒/๒๒, ที.สี.อ. ๑/๗/๕๘-๕๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๘๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๘. อภยราชกุมารสูตร

จะทรงตอบว่า ‘ราชกุมาร ตถาคตไม่กล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของ คนอื่น’ พระองค์พึงทูลถามพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็น เช่นนั้น เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงพยากรณ์พระเทวทัตว่า ‘เทวทัตจักเกิดในอบาย จักเกิดในนรก ดำรงอยู่สิ้น ๑ กัป เป็นผู้ที่ใครๆ เยียวยาไม่ได้ เพราะวาจาของ พระองค์นั้น พระเทวทัตโกรธ เสียใจ’ พระราชกุมาร พระสมณโคดมถูกพระองค์ทูลถามปัญหา ๒ เงื่อนนี้แล้วจะทรง กลืนไม่เข้า คายไม่ออก กระจับเหล็กติดอยู่ในลำคอของบุรุษ บุรุษนั้นไม่อาจกลืน เข้าไป ไม่อาจคายออก แม้ฉันใด พระสมณโคดมก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกพระองค์ ทูลถามปัญหา ๒ เงื่อนนี้แล้วก็จะทรงกลืนไม่เข้า คายไม่ออก” อภัยราชกุมารทรงรับคำนิครนถ์ นาฏบุตรแล้วเสด็จลุกจากที่ประทับทรงไหว้ นิครนถ์ นาฏบุตร กระทำประทักษิณแล้วเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร [๘๔] อภัยราชกุมารประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้วทรงแหงนดูดวงอาทิตย์ ทรงดำริว่า “วันนี้ไม่ใช่เวลาสมควรที่จะโต้วาทะกับพระผู้มีพระภาค วันพรุ่งนี้เถิด เราจะโต้วาทะกับพระผู้มีพระภาคในวังของเรา” จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคมีพระองค์เป็นที่ ๔ ๑- โปรดทรงรับภัตตาหารของ ข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้เถิด” พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ลำดับนั้น อภัยราชกุมารทรงทราบอาการที่พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงเสด็จลุกจากที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคทรงกระทำประทักษิณแล้ว เสด็จจากไป @เชิงอรรถ : @ มีพระองค์เป็นที่ ๔ หมายถึงนิมนต์พระผู้มีพระภาคพร้อมกับภิกษุอื่นอีก ๓ รูป (ม.ม.อ. ๒/๘๔/๘๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๘๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๘. อภยราชกุมารสูตร

เมื่อล่วงราตรีนั้นไป เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือบาตร และจีวร เสด็จเข้าไปยังวังของอภัยราชกุมาร ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ต่อมา อภัยราชกุมารทรงอังคาสพระผู้มีพระภาคให้อิ่มหนำสำราญด้วยของเคี้ยว ของฉันอันประณีตด้วยพระองค์เอง เมื่อพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จทรงวางพระหัตถ์แล้ว อภัยราชกุมารจึงทรงเลือกประทับนั่ง ณ ที่สมควร ที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า
ถ้อยคำอันไม่เป็นที่รัก
[๘๕] อภัยราชกุมารประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระตถาคต๑- จะพึงตรัสวาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ ของคนอื่นบ้างหรือหนอ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราชกุมาร ในปัญหาข้อนี้ จะวิสัชนาโดยส่วน เดียวมิได้” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะปัญหาข้อนี้ พวกนิครนถ์ฉิบหายแล้ว” “ราชกุมาร เหตุไฉน พระองค์จึงตรัสอย่างนี้เล่า” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะปัญหาข้อนี้ พวกนิครนถ์ได้ฉิบหายแล้ว ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส หม่อมฉันเข้าไปหานิครนถ์ นาฏบุตรถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร นิครนถ์ นาฏบุตรได้บอกว่า ‘เสด็จไปเถิดพระราชกุมาร เชิญพระองค์เสด็จไปโต้วาทะกับพระสมณโคดมเถิด เมื่อพระองค์ทรงโต้วาทะกับพระ สมณโคดมอย่างนี้ กิตติศัพท์อันงามของพระองค์จักระบือไปว่า ‘อภัยราชกุมารทรง โต้วาทะกับพระสมณโคดมผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้’ เมื่อนิครนถ์ นาฏบุตรกล่าวอย่างนี้ ข้าพระองค์ได้ถามว่า ‘ท่านขอรับ ข้าพเจ้า จะโต้วาทะกับท่านพระสมณโคดมผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ ได้อย่างไร’ นิครนถ์ นาฏบุตรตอบว่า ‘มาเถิดพระราชกุมาร เชิญพระองค์เสด็จเข้าไปเฝ้าพระสมณ- โคดมถึงที่ประทับแล้วทูลถามอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบ้างไหมที่พระตถาคต @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๐ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๘๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๘. อภยราชกุมารสูตร

ตรัสวาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น’ ถ้าพระสมณโคดมถูกถามอย่างนี้ แล้วจะทรงตอบว่า ‘ราชกุมาร มีบ้างที่ตถาคตกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ ของคนอื่น’ พระองค์พึงทูลถามพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็น เช่นนั้น การกระทำของพระองค์จะต่างอะไรจากปุถุชน เพราะปุถุชนก็กล่าววาจาอัน ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น’ ถ้าพระสมณโคดมถูกพระองค์ทูลถามอย่างนี้ แล้วจะทรงตอบอย่างนี้ว่า ‘ราชกุมาร ตถาคตไม่กล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็น ที่ชอบใจของคนอื่น’ พระองค์พึงทูลถามพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็น เช่นนั้น เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงพยากรณ์พระเทวทัตว่า ‘เทวทัตจักเกิดในอบาย จักเกิดในนรก ดำรงอยู่สิ้น ๑ กัป เป็นผู้ที่ใครๆ เยียวยาไม่ได้’ เพราะวาจาของ พระองค์นั้น พระเทวทัตโกรธ เสียใจ’ พระราชกุมาร พระสมณโคดมถูกพระองค์ทูลถามปัญหา ๒ เงื่อนนี้แล้วจะ ทรงกลืนไม่เข้า คายไม่ออก กระจับเหล็กติดอยู่ในลำคอของบุรุษ บุรุษนั้นไม่อาจ กลืนเข้าไปได้ ไม่อาจคลายออก แม้ฉันใด พระสมณโคดมก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกพระองค์ทูลถามปัญหา ๒ เงื่อนนี้แล้วจะทรงกลืนไม่เข้า คายไม่ออก”
เกณฑ์ในการตรัสวาจาของพระพุทธเจ้า
[๘๖] ขณะนั้นเอง กุมารน้อยยังนอนหงายอยู่บนพระเพลาของอภัยราชกุมาร ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอภัยราชกุมารว่า “ราชกุมาร พระองค์เข้าพระทัย ความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้ากุมารน้อยนี้อาศัยความประมาทของพระองค์หรือของหญิง พี่เลี้ยง พึงนำไม้หรือก้อนกรวดมาใส่ปาก พระองค์จะพึงปฏิบัติกับกุมารน้อยนั้นอย่างไร” อภัยราชกุมารกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันจะนำออกเสีย ถ้าหม่อมฉันไม่อาจจะนำออกแต่ทีแรกได้ หม่อมฉันก็จะเอามือซ้ายประคองศีรษะ แล้วงอนิ้วมือขวา ล้วงเอาไม้หรือก้อนกรวดพร้อมด้วยเลือดออกเสีย ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะหม่อมฉันมีความเอ็นดูในกุมารน้อย” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๘๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๘. อภยราชกุมารสูตร

“ราชกุมาร ตถาคตก็อย่างนั้นเหมือนกัน รู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าว วาจานั้น อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาที่จริง ที่แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้น ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น ตถาคตรู้วาจาที่จริง ที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นไม่เป็น ที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ในข้อนั้น ตถาคตรู้กาลที่จะกล่าววาจานั้น ตถาคตรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น ตถาคตรู้วาจาที่จริง ที่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาที่จริง ที่แท้ ที่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้น เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ในข้อนั้น ตถาคตรู้กาลที่จะกล่าววาจานั้น ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะตถาคตมีความเอ็นดูในหมู่สัตว์ทั้งหลาย”
พุทธปฏิภาณ
[๘๗] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี พราหมณ์ผู้เป็น บัณฑิตก็ดี คหบดีผู้เป็นบัณฑิตก็ดี สมณะผู้เป็นบัณฑิตก็ดี ตั้งปัญหาแล้วเข้ามา เฝ้าพระตถาคต ทูลถามปัญหานั้น การตอบปัญหาของบัณฑิตเหล่านั้น พระผู้มี พระภาคทรงตรึกด้วยพระหทัยก่อนว่า ‘บัณฑิตทั้งหลายจักเข้ามาหาเราแล้วทูลถาม ปัญหาอย่างนี้ เราเมื่อบัณฑิตเหล่านั้นทูลถามอย่างนี้แล้ว จักตอบอย่างนี้’ หรือ ว่าคำตอบนั้นปรากฏแก่พระตถาคตโดยทันที” “ราชกุมาร ถ้าเช่นนั้น ในข้อนี้ ตถาคตจักถามพระองค์บ้าง ข้อนี้พระองค์ เห็นควรอย่างไร พระองค์พึงตอบอย่างนั้น พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้น ว่าอย่างไร พระองค์เป็นผู้ชำนาญในองค์ประกอบน้อยใหญ่ของรถ มิใช่หรือ” “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า หม่อมฉันเป็นผู้ชำนาญในองค์ประกอบน้อยใหญ่ของรถ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๘๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๘. อภยราชกุมารสูตร

“ราชกุมาร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ชนทั้งหลายเข้า ไปเฝ้าพระองค์แล้วทูลถามอย่างนี้ว่า ‘องค์ประกอบน้อยใหญ่ของรถคันนี้ชื่ออะไร’ การตอบปัญหาของชนเหล่านั้น พระองค์ตรึกด้วยพระทัยก่อนว่า ‘ชนทั้งหลายเข้า มาหาเราแล้วจักถามอย่างนี้ เราเมื่อถูกชนเหล่านั้นถามอย่างนี้ จักตอบอย่างนี้’ หรือว่าคำตอบนั้นปรากฏแก่พระองค์โดยทันที” “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะหม่อมฉันเป็นผู้เชี่ยวชาญรู้จักรถเป็นอย่างดี ชำนาญในองค์ประกอบน้อยใหญ่ของรถ องค์ประกอบน้อยใหญ่ของรถทั้งหมด หม่อมฉันทราบดีแล้ว ฉะนั้นการตอบปัญหานั้นปรากฏแก่หม่อมฉันโดยทันที” “ราชกุมาร กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี คหบดี ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี สมณะผู้เป็นบัณฑิตก็ดี ตั้งปัญหาแล้วจักเข้ามาหาตถาคต ถาม ปัญหานั้น การตอบปัญหานั้นปรากฏแก่ตถาคตโดยทันทีเหมือนกัน ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะธรรมธาตุ๑- นั้น ตถาคตแทงตลอดดีแล้ว การตอบปัญหานั้นปรากฏ แก่ตถาคตโดยทันที”
อภัยราชกุมารแสดงตนเป็นอุบาสก
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อภัยราชกุมารได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาค ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดี จักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่ วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล
อภยราชกุมารสูตรที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ ธรรมธาตุ ในที่นี้หมายถึงสภาวธรรม เป็นชื่อของพระสัพพัญญุตญาณ (ม.ม.อ. ๒/๘๗/๘๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๘๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๘๔-๘๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=13&siri=8              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=1607&Z=1725                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=91              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=13&item=91&items=6              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=9&A=2034              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=13&item=91&items=6              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=9&A=2034                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/13i091-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/13i091-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.058.than.html https://suttacentral.net/mn58/en/sujato https://suttacentral.net/mn58/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :