ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
๗. ปิยชาติกสูตร
ว่าด้วยทุกข์เกิดจากสิ่งเป็นที่รัก
ลูกชายคนเดียวของคหบดีตาย
[๓๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ลูกชายคนเดียวซึ่งเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของ คหบดีคนหนึ่งเสียชีวิตลง เพราะการเสียชีวิตของลูกชายคนเดียวนั้น การงานก็ไม่ เป็นอันทำ อาหารก็ไม่เป็นอันกิน คหบดีนั้นได้ไปยังป่าช้า คร่ำครวญถึงลูกชายว่า “ลูกโทน เจ้าอยู่ที่ไหน ลูกโทน เจ้าอยู่ที่ไหน” จากนั้น คหบดีนั้นได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มี พระภาคแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับคหบดีนั้นว่า @เชิงอรรถ : @ ธรรมอันประเสริฐสุด ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ม.ม.อ. ๒/๓๕๒/๒๔๙) @ วิชชา ๓ ในที่นี้หมายถึง (๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ (๒) ทิพพจักขุ @การได้ทิพยจักษุ (๓) อาสวักขยปัญญา การมีปัญญาเครื่องทำลายอาสวะกิเลสให้สิ้นไป @(ม.ม.อ. ๒/๓๕๒/๒๔๙) @ ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๘๗๑-๘๘๖/๔๘๓-๔๘๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๓๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

๗. ปิยชาติกสูตร

“คหบดี ใจของท่านไม่มีอินทรีย์๑- ไว้ยึดเหนี่ยว อินทรีย์(ร่างกาย) ของท่านก็ หมองคล้ำไป” คหบดีนั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทำไม อินทรีย์ของข้าพระองค์ จะไม่หมองคล้ำไปเล่า เพราะลูกชายคนเดียวซึ่งเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของข้าพระองค์ ได้เสียชีวิตลง เพราะการเสียชีวิตของลูกชายคนเดียวนั้น การงานก็ไม่เป็นอันทำ อาหารก็ไม่เป็นอันกิน ข้าพระองค์ไปป่าช้า คร่ำครวญถึงลูกชายนั้นว่า ‘ลูกโทน เจ้าอยู่ที่ไหน ลูกโทน เจ้าอยู่ที่ไหน” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ข้อนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี ข้อนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี เพราะว่า โสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความคับแค้นใจ) เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา จากสิ่งอันเป็นที่รัก” คหบดีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รักนั้น จักเป็นอย่างนั้นไป ได้อย่างไร แท้จริง ความยินดีและโสมนัส(ความดีใจ) เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา จากสิ่งอันเป็นที่รักต่างหาก” จากนั้น คหบดีไม่ยินดีไม่คัดค้านพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากที่นั่ง แล้วจากไป [๓๕๔] สมัยนั้น นักเลงสะกาเป็นอันมากเล่นสะกากันอยู่ในที่ไม่ไกลจาก พระผู้มีพระภาค ขณะนั้นเอง คหบดีนั้นเข้าไปหานักเลงสะกาเหล่านั้นแล้วเล่าเรื่อง ให้ฟังว่า “พ่อมหาจำเริญ ขอโอกาส ข้าพเจ้าได้เข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระสมณโคดมแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระสมณโคดมได้ตรัสกับข้าพเจ้า ว่า ‘คหบดี ใจของท่านไม่มีอินทรีย์ไว้ยึดเหนี่ยว อินทรีย์ของท่านก็หมองคล้ำไป’ @เชิงอรรถ : @ อินทรีย์ ในที่นี้หมายถึงสภาวธรรมทั้งหลายที่จะพึงรู้แจ้งทางใจ (ม.ม.อ. ๒/๓๕๓/๒๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๓๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

๗. ปิยชาติกสูตร

เมื่อพระสมณโคดมตรัสอย่างนี้แล้ว ข้าพเจ้าได้กราบทูลพระสมณโคดมว่า ‘ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ทำไมอินทรีย์ของข้าพระองค์จะไม่หมองคล้ำไปเล่า เพราะลูกชาย คนเดียวซึ่งเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของข้าพระองค์ได้เสียชีวิตลง เพราะการเสียชีวิต ของลูกชายคนเดียวนั้น การงานก็ไม่เป็นอันทำ อาหารก็ไม่เป็นอันกิน ข้าพระองค์ไป ป่าช้าคร่ำครวญถึงลูกชายนั้นว่า ‘ลูกโทน เจ้าอยู่ที่ไหน ลูกโทน เจ้าอยู่ที่ไหน’ พระสมณโคดมได้ตรัสว่า ‘ข้อนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี ข้อนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี เพราะว่าโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจาก สิ่งอันเป็นที่รัก’ ข้าพเจ้าได้กราบทูลว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รักนั้น จักเป็นอย่างนั้นไป ได้อย่างไร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แท้จริง ความยินดีและโสมนัส เกิดจากสิ่งอันเป็น ที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รักนั้นต่างหาก’ พ่อมหาจำเริญ จากนั้น ข้าพเจ้าไม่ยินดีไม่คัดค้านพระภาษิตของพระสมณโคดม ลุกจากที่นั่งแล้วจากมา” นักเลงสะกาเหล่านั้นได้พูดเสริมว่า “ข้อนี้เป็นอย่างนั้น คหบดี ข้อนี้เป็น อย่างนั้น คหบดี เพราะความยินดีและโสมนัส ย่อมเกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจาก สิ่งอันเป็นที่รัก” ขณะนั้น คหบดีนั้นคิดว่า “ความเห็นของเราตรงกันกับพวกนักเลงสะกา” แล้วจากไป ต่อมา เรื่องที่พูดกันนี้ ได้แพร่เข้าไปถึงพระราชวังโดยลำดับ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๓๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

๗. ปิยชาติกสูตร

ทุกข์ย่อมเกิดจากของอันเป็นที่รัก
[๓๕๕] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้รับสั่งเรียกพระนางมัลลิกาเทวีมา ตรัสว่า “มัลลิกา คำว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอัน เป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ พระสมณโคดมของเธอตรัสไว้หรือ” พระนางมัลลิกาเทวีกราบทูลว่า “ข้าแต่มหาราช ถ้าพระดำรัสนั้นพระผู้มีพระภาค ตรัสไว้จริง พระดำรัสนั้นก็เป็นอย่างนั้น เพคะ” พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “พระนางมัลลิกานี้คล้อยตามพระดำรัสที่พระ- สมณโคดมตรัสเท่านั้นว่า ‘ข้าแต่มหาราช ถ้าพระดำรัสนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสไว้จริง พระดำรัสนั้นก็เป็นอย่างนั้น’ ศิษย์คล้อยตามคำที่อาจารย์กล่าวว่า ‘ข้อนี้เป็น อย่างนั้น ท่านอาจารย์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ท่านอาจารย์’ ฉันใด เธอก็ฉันนั้น เหมือนกัน คล้อยตามพระดำรัสที่พระสมณโคดมตรัสเท่านั้นว่า ‘ข้าแต่มหาราช ถ้าพระดำรัสนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสไว้จริง พระดำรัสนั้นก็เป็นอย่างนั้น’ มัลลิกา เธอจงหลบหน้าไปให้พ้น จงพินาศเสีย” ลำดับนั้น พระนางมัลลิกาเทวีรับสั่งเรียกพราหมณ์ชื่อนาฬิชังฆะมาตรัสว่า “มาเถิด ท่านพราหมณ์ ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท พระยุคลบาททั้งสองของพระองค์ด้วยเศียรเกล้า แล้วทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมี พระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ ตามคำ ของฉันว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางมัลลิกาเทวีขอถวายอภิวาทพระยุคลบาท ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ’ และท่านจงทูลถามอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระดำรัสนี้ว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ พระผู้มีพระภาคตรัสจริงหรือ’ เธอ ควรจำพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสให้ดีแล้วมาบอกฉัน ธรรมดาพระตถาคตทั้งหลาย ย่อมตรัสไม่ผิดพลาดแน่” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๓๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

๗. ปิยชาติกสูตร

นาฬิชังฆพราหมณ์รับพระราชเสาวนีย์แล้วได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระนางมัลลิกาเทวีขอถวายอภิวาทพระยุคลบาท ของท่านพระโคดมด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงพระสุขภาพ ความมีพระโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพระพลานามัยสมบูรณ์ อยู่สำราญ แล้วรับสั่งทูลถามอย่างนี้ว่า ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระดำรัสนี้ว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทนมัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้จริงหรือ” [๓๕๖] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ข้อนี้เป็นอย่างนั้น พราหมณ์ ข้อนี้ เป็นอย่างนั้น พราหมณ์ เพราะว่าโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รักได้อย่างไร ท่านพึง ทราบโดยอธิบายนี้ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงสาวัตถีนี้แล มารดาของหญิงคนหนึ่งได้ตายไป เพราะความตายของมารดานั้น หญิงนั้นจึงเป็นบ้า มีจิตเลื่อนลอย เข้าสู่ถนนทุกถนน เข้าสู่ตรอกทุกตรอกแล้วได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านได้พบมารดาของฉันบ้างไหม พวกท่านได้พบมารดาของฉันบ้างไหม’ การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา จากสิ่งอันเป็นที่รักได้อย่างไร ท่านพึงทราบโดยอธิบายนี้ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงสาวัตถีนี้แล บิดาของหญิงคนหนึ่งได้ตายไป ... พี่ชาย น้องชาย ... พี่สาวน้องสาว ... บุตร ... ธิดา ... สามีของหญิงคนหนึ่งได้ตายไป เพราะความตายของสามีนั้น หญิงนั้นจึงเป็นบ้า มีจิตเลื่อนลอย เข้าสู่ถนนทุกถนน เข้าสู่ตรอกทุกตรอกแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านได้พบสามีของฉันบ้างไหม พวกท่าน ได้พบสามีของฉันบ้างไหม’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๓๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

๗. ปิยชาติกสูตร

การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา จากสิ่งอันเป็นที่รักได้อย่างไร ท่านพึงทราบโดยอธิบายนี้ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงสาวัตถีนี้แล มารดาของชายคนหนึ่งตายไป เพราะ ความตายของมารดานั้น ชายคนนั้นจึงเป็นบ้า มีจิตเลื่อนลอย เข้าสู่ถนนทุกถนน เข้าสู่ตรอกทุกตรอกแล้วได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านได้พบมารดาของข้าพเจ้าบ้างไหม พวกท่านได้พบมารดาของข้าพเจ้าบ้างไหม’ การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา จากสิ่งอันเป็นที่รักได้อย่างไร ท่านพึงทราบโดยอธิบายนี้ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงสาวัตถีนี้แล บิดาของชายคนหนึ่งตายไป ... พี่ชายน้อง ชาย ... พี่สาวน้องสาว ... บุตร ... ธิดา ... ภรรยาของชายคนหนึ่งตายไป เพราะความ ตายของภรรยานั้น ชายคนนั้นจึงเป็นบ้า มีจิตเลื่อนลอย เข้าสู่ถนนทุกถนน เข้าสู่ ตรอกทุกตรอก แล้วได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านได้พบภรรยาของข้าพเจ้าบ้างไหม พวกท่านได้พบภรรยาของข้าพเจ้าบ้างไหม’ การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา จากสิ่งอันเป็นที่รักได้อย่างไร ท่านพึงทราบโดยอธิบายนี้ พราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในกรุงสาวัตถีนี้แล หญิงคนหนึ่งได้ไปยังตระกูล ของญาติ พวกญาติของหญิงนั้น ต้องการจะพรากสามีของนางแล้วยกนางให้แก่ชายอื่น แต่หญิงนั้นไม่ปรารถนาชายคนนั้น ต่อมา หญิงนั้นได้บอกสามีว่า ‘พี่ พวกญาติของ ดิฉันต้องการจะพรากท่านแล้วยกดิฉันให้แก่ชายอื่น แต่ดิฉันไม่ปรารถนาชายคนนั้น’ ต่อจากนั้น สามีได้ฟันภรรยาขาดสองท่อนแล้วจึงฆ่าตัวตายตาม ด้วยคิดว่า ‘เราทั้งสอง จะไม่พรากจากกัน’ การที่โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมา จากสิ่งอันเป็นที่รักได้อย่างไร ท่านพึงทราบโดยอธิบายนี้เถิด” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๓๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

๗. ปิยชาติกสูตร

[๓๕๗] ครั้งนั้น นาฬิชังฆพราหมณ์ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค แล้วลุกจากที่นั่งได้เข้าไปเฝ้าพระนางมัลลิกาเทวีถึงที่ประทับ ได้กราบทูลถึงเรื่องการ สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคทั้งหมดแก่พระนางมัลลิกาเทวี ลำดับนั้น พระนาง มัลลิกาเทวีได้เข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลถึงที่ประทับแล้ว ได้ทูลถามพระเจ้า ปเสนทิโกศลว่า “ข้าแต่มหาราช ทูลกระหม่อมเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พระกุมารี พระนามว่าวชิรี เป็นที่รักของทูลกระหม่อมใช่ไหม เพคะ” พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสตอบว่า “ใช่แล้ว มัลลิกา วชิรีกุมารีเป็นที่รักของเรา” “ทูลกระหม่อมเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร เพราะวชิรีกุมารีต้องมีอันแปร ผันเป็นอย่างอื่นไป๑- โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จะพึงเกิดขึ้นแก่ทูล กระหม่อมหรือไม่ เพคะ” “มัลลิกา เพราะวชิรีกุมารีแปรผันเป็นอย่างอื่นไป แม้ชีวิตของเราก็ต้องแปรผัน เป็นอย่างอื่นไปด้วย ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจักไม่เกิดขึ้น แก่เราเล่า” “ข้อนี้แลที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมุ่งหมาย จึงตรัสว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่ง อันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ เพคะ ทูลกระหม่อมเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พระนางวาสภขัตติยาเป็นที่รัก ของทูลกระหม่อมใช่ไหมเพคะ” “ใช่แล้ว มัลลิกา พระนางวาสภขัตติยาเป็นที่รักของเรา” @เชิงอรรถ : @ แปรผันเป็นอย่างอื่นไป ในที่นี้หมายถึงความตาย หรือการหนีตามไปกับใครๆ (ม.ม.อ. ๒/๓๕๗/๒๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๓๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

๗. ปิยชาติกสูตร

“ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร เพราะพระนางวาสภ- ขัตติยาแปรผันเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจะพึงเกิด ขึ้นแก่ทูลกระหม่อมหรือไม่ เพคะ” “มัลลิกา เพราะพระนางวาสภขัตติยาแปรผันเป็นอย่างอื่นไป แม้ชีวิตของเรา ก็ต้องแปรผันเป็นอย่างอื่นไปด้วย ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จักไม่เกิดขึ้นแก่เราเล่า” “ข้อนี้แลที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมุ่งหมาย จึงตรัสว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอัน เป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ เพคะ ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร เสนาบดีชื่อวิทูฑภะเป็นที่รัก ของทูลกระหม่อมใช่ไหมเพคะ” “ใช่แล้ว มัลลิกา เสนาบดีชื่อวิทูฑภะเป็นที่รักของเรา” “ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร เพราะเสนาบดีชื่อ วิทูฑภะแปรผันเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจะพึงเกิด ขึ้นแก่ทูลกระหม่อมหรือไม่ เพคะ” “มัลลิกา เพราะเสนาบดีชื่อวิทูฑภะ แปรผันเป็นอย่างอื่นไป แม้ชีวิตของเรา ก็ต้องแปรผันเป็นอย่างอื่นไปด้วย ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จักไม่เกิดขึ้นแก่เราเล่า” “ข้อนี้แลที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมุ่งหมาย จึงตรัสว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่ง อันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ เพคะ ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร หม่อมฉันเป็นที่รักของ ทูลกระหม่อมใช่ไหม เพคะ” “ใช่แล้ว มัลลิกา เธอเป็นที่รักของเรา” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๔๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

๗. ปิยชาติกสูตร

“ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร เพราะหม่อมฉันแปรผัน เป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จะพึงเกิดขึ้นแก่ ทูลกระหม่อมหรือไม่ เพคะ” “มัลลิกา เพราะเธอแปรผันเป็นอย่างอื่นไป แม้ชีวิตของเราก็ต้องแปรผันเป็น อย่างอื่นไปด้วย ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจักไม่เกิดขึ้น แก่เราเล่า” “ข้อนี้แลที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมุ่งหมาย จึงตรัสว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่ง อันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่งอันเป็นที่รัก’ เพคะ ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร แคว้นกาสีและแคว้นโกศล เป็นที่รักของทูลกระหม่อมใช่ไหม เพคะ” “ใช่แล้ว มัลลิกา แคว้นกาสีและแคว้นโกศลเป็นที่รักของเรา เพราะอานุภาพ แห่งแคว้นกาสีและแคว้นโกศล เราจึงใช้สอยแก่นจันทน์ที่เกิดจากแคว้นกาสี ได้ทัด ทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้” “ทูลกระหม่อมทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร เพราะแคว้นกาสีและ แคว้นโกศลแปรผันเป็นอย่างอื่นไป๑- โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จะพึงเกิดขึ้นแก่ทูลกระหม่อมหรือไม่ เพคะ” “มัลลิกา เพราะแคว้นกาสีและแคว้นโกศลแปรผันเป็นอย่างอื่นไป แม้ชีวิต ของเราก็ต้องแปรผันเป็นอย่างอื่นไปด้วย ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาสจักไม่เกิดขึ้นแก่เราเล่า” พระนางมัลลิกาเทวีกราบทูลว่า “ข้าแต่มหาราช ข้อนี้แลที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมุ่งหมาย จึงตรัสว่า ‘โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เกิดจากสิ่งอันเป็นที่รัก มีมาจากสิ่ง อันเป็นที่รัก เพคะ” @เชิงอรรถ : @ แปรผันเป็นอย่างอื่นไป ในที่นี้หมายถึงการทอดทิ้งหรือการตกไปในเงื้อมมือของพระราชาฝ่ายตรงกันข้าม @(ม.ม.อ. ๒/๓๕๗/๒๕๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๔๔๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๔. ราชวรรค]

๘. พาหิติกสูตร

พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า “มัลลิกา น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ที่พระผู้มี พระภาคพระองค์นั้นจะทรงเห็นชัด แทงตลอดด้วยพระปัญญาแล้ว มาเถิด มัลลิกา ช่วยล้างมือให้ทีเถิด” จากนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงลุกขึ้นจากที่ประทับ ทรงห่มพระภูษาเฉวียงบ่า ประนมพระหัตถ์ไปทางทิศที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้ว ทรงเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า “ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น” ดังนี้แล
ปิยชาติกสูตรที่ ๗ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๔๓๓-๔๔๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=13&siri=37              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=8452&Z=8627                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=535              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=13&item=535&items=14              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=9&A=6294              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=13&item=535&items=14              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=9&A=6294                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/13i535-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/13i535-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.087.than.html https://suttacentral.net/mn87/en/sujato https://suttacentral.net/mn87/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :