ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
๑๐. อปัณณกสูตร
ว่าด้วยการปฏิบัติไม่ผิด
พระพุทธเจ้าเสด็จโปรดชาวบ้านสาลา
[๙๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมกับภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ เสด็จถึงบ้านพราหมณ์ของชาวโกศลชื่อสาลา พราหมณ์และคหบดีชาวบ้าน สาลาได้สดับข่าวว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า ท่านพระสมณโคดมเป็นศากยบุตร เสด็จ ออกผนวชจากศากยตระกูล เสด็จจาริกอยู่ในแคว้นโกศล พร้อมกับภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่เสด็จถึงบ้านพราหมณ์ชื่อสาลาโดยลำดับ ท่านพระโคดมนั้นมีกิตติศัพท์ อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็น พระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๙๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๑๐. อปัณณกสูตร

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ พระองค์ทรงรู้แจ้ง โลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมี ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ทรงประกาศ พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน การได้พบ พระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนี้เป็นความดีอย่างแท้จริง” ครั้งนั้น พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านสาลาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ บางพวกถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกทูลสนทนาปราศรัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประนมมือ ไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับนั่งแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกประกาศชื่อและ โคตรในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร บางพวกก็นั่งนิ่งอยู่ ณ ที่ สมควร
ตรัสอปัณณกธรรม
[๙๓] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพราหมณ์และคหบดีชาวบ้านสาลาผู้นั่ง เรียบร้อยแล้วว่า “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ศาสดาองค์ใดองค์หนึ่งซึ่งเป็นที่ชอบใจของ ท่านทั้งหลาย เป็นเหตุให้ได้ศรัทธาที่มีเหตุผล มีอยู่หรือ” พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศาสดา องค์ใดองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นที่ชอบใจของข้าพระองค์ทั้งหลาย เป็นเหตุให้ได้ศรัทธาที่ มีเหตุผล ยังไม่มีเลย” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๙๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๑๐. อปัณณกสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลาย ยังไม่ได้ศาสดาเป็นที่ชอบใจ พึงสมาทานอปัณณกธรรม๑- นี้แล้วประพฤติตามเถิด เพราะว่า อปัณณกธรรมที่ท่านทั้งหลายสมาทานให้บริบูรณ์ จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อสุขแก่ท่านทั้งหลายตลอดกาลนาน อปัณณกธรรมนั้น เป็นอย่างไร
นัตถิกทิฏฐิกับอัตถิกทิฏฐิ
[๙๔] คือ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงก็ไม่มีผล ผลวิบาก แห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติก๒- สัตว์ก็ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และ โลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ก็ไม่มีในโลก’ สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งมีวาทะเป็นข้าศึกโดยตรงต่อสมณพราหมณ์เหล่านั้น พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล การเซ่นสรวงก็มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมี โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามีคุณ บิดามีคุณ โอปปาติกสัตว์มีอยู่ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และ โลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ก็มีอยู่ในโลก’ พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร สมณ- พราหมณ์เหล่านี้มีวาทะขัดแย้งกันโดยตรง มิใช่หรือ” พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้นกราบทูลว่า “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า” @เชิงอรรถ : @ อปัณณกธรรม หมายถึงธรรมที่ไม่ผิด ไม่เป็นสองแง่ เป็นเอกภาพ (ม.ม.อ. ๒/๙๓/๘๗) @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๙ (อัฏฐกนาครสูตร) หน้า ๒๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๙๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๑๐. อปัณณกสูตร

โทษแห่งการปฏิบัติผิด
[๙๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บรรดาสมณ- พราหมณ์ ๒ จำพวกนั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงก็ไม่มีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนให้ ผู้อื่นรู้แจ้ง ก็ไม่มีในโลก’ สมณพราหมณ์เหล่านั้น พึงหวังข้อนี้ได้ คือ จักเว้นกุศล- ธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายสุจริต (๒) วจีสุจริต (๓) มโนสุจริต จักสมาทาน อกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายทุจริต (๒) วจีทุจริต (๓) มโนทุจริต แล้วประพฤติอยู่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่เห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง แห่งอกุศลธรรม ไม่เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะอันเป็นฝ่ายผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรม อนึ่ง โลกหน้ามี แต่เขากลับเห็นว่า ‘โลกหน้าไม่มี’ ความเห็นนั้นของเขาจึงเป็น มิจฉาทิฏฐิ โลกหน้ามี แต่เขาดำริว่า ‘โลกหน้าไม่มี’ ความดำรินั้นของเขาจึงเป็น มิจฉาสังกัปปะ โลกหน้ามี แต่เขากล่าวว่า ‘โลกหน้าไม่มี’ วาจานั้นของเขาจึงเป็น มิจฉาวาจา โลกหน้ามี เขากล่าวว่า ‘โลกหน้าไม่มี’ ผู้นี้ย่อมทำตนเป็นข้าศึกต่อ พระอรหันต์ผู้รู้แจ้งโลกหน้า โลกหน้ามี เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ‘โลกหน้าไม่มี’ การที่ เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจเช่นนั้น เป็นการทำให้เข้าใจผิดจากความเป็นจริง และเขา ยังจะยกตนข่มผู้อื่น ด้วยการทำให้เข้าใจผิดจากความเป็นจริงนั้น โดยนัยนี้ เริ่มต้น เขาก็ละทิ้งความเป็นผู้มีศีลดีงามแล้วตั้งตนเป็นคนทุศีล เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกเหล่านี้ คือ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา ความเป็นข้าศึกกับพระอริยะ การทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดจากความเป็นจริง การยกตน การข่มผู้อื่น ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการอย่างนี้ พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วิญญูชน ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ถ้าโลกหน้าไม่มี เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้หลังจาก ตายแล้วจักทำตนให้มีความสวัสดีได้ ถ้าโลกหน้ามีจริง เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๙๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๑๐. อปัณณกสูตร

หลังจากตายแล้ว จักไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก๑- ถ้าโลกหน้าไม่มีจริง คำของ สมณพราหมณ์เหล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ช่างเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น บุรุษบุคคลนี้ย่อม ถูกวิญญูชน ติเตียนได้ในปัจจุบันว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้ทุศีล เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็น นัตถิกวาทะ’ ถ้าโลกหน้ามีจริง บุรุษบุคคลนี้จะได้รับโทษในโลกทั้ง ๒ คือ (๑) ในปัจจุบัน ถูกวิญญูชนติเตียนได้ (๒) หลังจากตายแล้วจักไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อย่างนี้ อปัณณกธรรมนี้ ที่บุคคลนั้นสมาทานให้บริบูรณ์ไม่ดี แพร่ดิ่งไปฝ่ายเดียว๒- ย่อมละเหตุที่เป็นกุศล ด้วยประการอย่างนี้
คุณแห่งการปฏิบัติชอบ
[๙๖] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์ ๒ จำพวกนั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ทานที่ให้แล้วมีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่ง เองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้แจ้ง มีอยู่ในโลก’ สมณพราหมณ์เหล่านั้นพึงหวังข้อนี้ได้ คือ จักเว้นอกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายทุจริต (๒) วจีทุจริต (๓) มโนทุจริต จักสมาทานกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายสุจริต (๒) วจีสุจริต (๓) มโนสุจริต แล้วประพฤติอยู่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นเห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่ง อกุศลธรรม เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะอันเป็นฝ่ายผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรม อนึ่ง โลกหน้ามี เขาเห็นว่า ‘โลกหน้ามีจริง’ ความเห็นนั้นของเขา จึงเป็น สัมมาทิฏฐิ โลกหน้ามีจริง เขาดำริว่า ‘โลกหน้ามีจริง’ ความดำรินั้นของเขาจึงเป็น สัมมาสังกัปปะ โลกหน้ามีจริง เขากล่าวว่า ‘โลกหน้ามีจริง’ วาจานั้นของเขาจึงเป็น @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๕ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๘ ในเล่มนี้ @ แพร่ดิ่งไปฝ่ายเดียว หมายถึงยึดถือวาทะของตนฝ่ายเดียว (ม.ม.อ. ๒/๙๕/๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๙๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๑๐. อปัณณกสูตร

สัมมาวาจา โลกหน้ามีจริง เขากล่าวว่า ‘โลกหน้ามีจริง’ ผู้นี้ชื่อว่าไม่ทำตนเป็นข้าศึก กับพระอรหันต์ผู้รู้แจ้งโลกหน้า โลกหน้ามี เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ‘โลกหน้ามีจริง’ การที่เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจเช่นนั้น เป็นการทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริง และเขา ย่อมไม่ยกตนข่มผู้อื่น ด้วยการทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริงนั้น โดยนัยนี้ เริ่มต้น เขาก็ละทิ้งความเป็นผู้ทุศีล แล้วตั้งตนเป็นคนมีศีลดีงาม เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย กุศลธรรมเป็นอเนกเหล่านี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา ความไม่ เป็นข้าศึกกับพระอริยะ การทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริง การไม่ยกตน การไม่ ข่มผู้อื่น ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการอย่างนี้ พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วิญญูชน ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ถ้าโลกหน้ามี เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้ หลังจาก ตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ ถ้าโลกหน้าไม่มีจริง คำของสมณพราหมณ์ เหล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ช่างเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น บุรุษบุคคลนี้ก็ย่อมได้รับคำสรรเสริญ จากวิญญูชนในปัจจุบันว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้มีศีล เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นอัตถิกวาทะ’ ถ้าโลกหน้ามีจริง บุรุษบุคคลนี้ก็จะได้รับคุณในโลกทั้ง ๒ คือ (๑) ในปัจจุบัน วิญญูชนย่อมสรรเสริญ (๒) หลังจากตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ อย่างนี้ อปัณณกธรรมนี้ ที่บุคคลนั้นสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว แพร่ดิ่งไปทั้งสองฝ่าย๑- ย่อมละเหตุที่เป็นอกุศลได้ ด้วยประการอย่างนี้
อกิริยทิฏฐิกับกิริยทิฏฐิ
[๙๗] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะ อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ตัดช่องย่องเบา ปล้นเรือนหลังเดียว ดักจี้ในทาง เปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น) ก็ไม่จัดว่าทำบาป @เชิงอรรถ : @ แพร่ดิ่งไปทั้งสองฝ่าย หมายถึงยึดถือวาทะทั้งของตนและของผู้อื่น (ม.ม.อ. ๒/๙๖/๘๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๐๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๑๐. อปัณณกสูตร

แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นดุจลาน ตากเนื้อ ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาปมา ถึงเขา แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาป มาถึงเขา แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา เขาย่อมไม่มีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบุญมาถึงเขา ไม่มีบุญที่เกิดจากการให้ทาน จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ ไม่มีบุญมาถึงเขา’ สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง มีวาทะขัดแย้งกันโดยตรงกับสมณพราหมณ์ เหล่านั้น พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ตัดช่องย่องเบา ปล้นเรือนหลังเดียว ดักจี้ในทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)จัดว่าทำบาป แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นดุจลาน ตากเนื้อ ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมมีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมมีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น มีบาป มาถึงเขา แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ ผู้อื่นบูชา เขาย่อมมีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น มีบุญมาถึงเขา ย่อมมีบุญที่เกิดจากการ ให้ทาน จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ มีบุญมาถึงเขา’ ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร สมณพราหมณ์เหล่านี้มีวาทะขัดแย้งกัน โดยตรง มิใช่หรือ” พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้นกราบทูลว่า “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๐๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๑๐. อปัณณกสูตร

โทษแห่งการปฏิบัติผิด
[๙๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บรรดาสมณ- พราหมณ์ ๒ จำพวกนั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่น เบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่น ทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขา ไม่ได้ให้ ตัดช่องย่องเบา ปล้นเรือนหลังเดียว ดักจี้ในทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น) ก็ไม่จัดว่าทำบาป แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ ในปฐพีนี้ให้เป็นดุจลาน ตากเนื้อ ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมไม่มีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น ไม่มีบาป มาถึงเขา แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ฯลฯ ไม่มีบุญที่ เกิดจากการให้ทาน จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ ไม่มีบุญมาถึงเขา’ สมณพราหมณ์เหล่านั้นพึงหวังข้อนี้ได้ คือ จักเว้นกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายสุจริต (๒) วจีสุจริต (๓) มโนสุจริต จักสมาทาน อกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายทุจริต (๒) วจีทุจริต (๓) มโนทุจริต แล้วประพฤติอยู่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่เห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง แห่งอกุศลธรรม ไม่เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะอันเป็นฝ่ายผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรม อนึ่ง การกระทำมีผล แต่เขากลับเห็นว่า ‘การกระทำไม่มีผล’ ความเห็นนั้น ของเขาจึงเป็นมิจฉาทิฏฐิ การกระทำมีผล แต่เขาดำริว่า ‘การกระทำไม่มีผล’ ความดำรินั้นของเขาจึงเป็นมิจฉาสังกัปปะ การกระทำมีผล แต่เขากล่าวว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๐๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๑๐. อปัณณกสูตร

‘การกระทำไม่มีผล’ วาจานั้นของเขาจึงเป็นมิจฉาวาจา การกระทำมีผล เขากล่าว ว่า ‘การกระทำไม่มีผล’ ผู้นี้ย่อมทำตนให้เป็นข้าศึกกับพระอรหันต์ ผู้เป็นกิริยวาทะ การกระทำมีผล เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ‘การกระทำไม่มีผล’ การที่เขาทำให้ผู้อื่น เข้าใจเช่นนั้น เป็นการทำให้เข้าใจผิดจากความเป็นจริง และเขายังจะยกตนข่มผู้อื่น ด้วยการทำให้เข้าใจผิดจากความเป็นจริงนั้น โดยนัยนี้ เริ่มต้นเขาก็ละทิ้งความเป็นผู้ มีศีลดีงามแล้วตั้งตนเป็นคนทุศีล เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย บาปอกุศลธรรมเป็น อเนกเหล่านี้ คือ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา ความเป็นข้าศึกกับ พระอริยะ การทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดจากความเป็นจริง การยกตน การข่มผู้อื่น ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการอย่างนี้ พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วิญญูชน ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ถ้าการกระทำไม่มีผล เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้ หลังจากตายแล้วจักทำตนให้มีความสวัสดีได้ ถ้าการกระทำมีผลจริง เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้ หลังจากตายแล้วจักไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’ ถ้าการกระทำ ไม่มีผลจริง คำของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ช่างเถิด เมื่อเป็น เช่นนั้น บุรุษบุคคลนี้ย่อมถูกวิญญูชนติเตียนได้ในปัจจุบันว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้ทุศีล เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นอกิริยวาทะ’ ถ้าการกระทำมีผลจริง บุรุษบุคคลผู้เจริญนี้จะได้รับ โทษในโลกทั้ง ๒ คือ (๑) ในปัจจุบันถูกวิญญูชนติเตียนได้ (๒) หลังจากตายแล้ว จักไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อย่างนี้ อปัณณกธรรมนี้ ที่บุคคลนั้นสมาทานให้บริบูรณ์ไม่ดี แพร่ดิ่งไปฝ่ายเดียว ย่อมละเหตุที่เป็นกุศล ด้วยประการอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๐๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๑๐. อปัณณกสูตร

คุณแห่งการปฏิบัติชอบ
[๙๙] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำให้เศร้าโศกเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบากเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ใช้ให้ ผู้อื่นทำให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ตัดช่องย่องเบา ปล้น เรือนหลังเดียว ดักจี้ในทางเปลี่ยว เป็นชู้ พูดเท็จ ผู้ทำ(เช่นนั้น)จัดว่าทำบาป แม้หากบุคคลใช้จักรมีคมดุจมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ให้เป็นดุจลาน ตากเนื้อ ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน เขาย่อมมีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลไปฝั่งขวาแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน เขาย่อมมีบาปที่เกิดจากกรรมนั้น มีบาป มาถึงเขา แม้หากบุคคลไปฝั่งซ้ายแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่น บูชา เขาย่อมมีบุญที่เกิดจากกรรมนั้น มีบุญมาถึงเขา ย่อมมีบุญที่เกิดจากการ ให้ทาน จากการฝึกอินทรีย์ จากการสำรวม จากการพูดคำสัตย์ มีบุญมาถึงเขา’ สมณพราหมณ์เหล่านั้นพึงหวังข้อนี้ได้ คือ จักเว้นอกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายทุจริต (๒) วจีทุจริต (๓) มโนทุจริต จักสมาทานกุศล ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายสุจริต (๒) วจีสุจริต (๓) มโนสุจริต แล้วประพฤติอยู่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น เห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่ง อกุศลธรรม เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะอันเป็นฝ่ายผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๐๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๑๐. อปัณณกสูตร

อนึ่ง การกระทำมีผล เขาเห็นว่า ‘การกระทำมีผลจริง’ ความเห็นนั้นของเขา จึงเป็นสัมมาทิฏฐิ การกระทำมีผลจริง เขาดำริว่า ‘การกระทำมีผลจริง’ ความ ดำรินั้นของเขาจึงเป็นสัมมาสังกัปปะ การกระทำมีผลจริง เขากล่าวว่า ‘การกระทำ มีผลจริง’ วาจานั้นของเขาจึงเป็นสัมมาวาจา การกระทำมีผลจริง เขากล่าวว่า ‘การกระทำมีผลจริง’ ผู้นี้ชื่อว่าไม่ทำตนเป็นข้าศึกกับพระอรหันต์ผู้เป็นกิริยวาทะ การกระทำมีผลจริง เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ‘การกระทำมีผลจริง’ การที่เขาทำให้ ผู้อื่นเข้าใจเช่นนั้น เป็นการทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริง และเขาย่อมไม่ยกตน ข่มผู้อื่น ด้วยการทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริงนั้น โดยนัยนี้ เริ่มต้นเขาก็ละทิ้ง ความเป็นผู้ทุศีลแล้วตั้งตนเป็นคนมีศีลดีงาม เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย กุศลธรรม เป็นอเนกเหล่านี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา ความไม่เป็นข้าศึก กับพระอริยะ การทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริง การไม่ยกตน การไม่ข่มผู้อื่น ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการอย่างนี้ พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วิญญูชน ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ถ้าการกระทำมีผลจริง เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้ หลังจากตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ถ้าการกระทำไม่มีผลจริง คำของ สมณพราหมณ์เหล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ช่างเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น บุรุษบุคคลนี้ก็ย่อม ได้รับคำสรรเสริญจากวิญญูชนในปัจจุบันว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้มีศีล เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นกิริยวาทะ’ ถ้าการกระทำมีผลจริง บุรุษบุคคลนี้ก็จะได้รับคุณในโลกทั้ง ๒ คือ (๑) ในปัจจุบันวิญญูชนย่อมสรรเสริญ (๒) หลังจากตายแล้ว จักไปเกิดในสุคติ โลกสวรรค์ อย่างนี้ อปัณณกธรรม ที่บุคคลนั้นสมาทานให้บริบูรณ์ดีแล้ว แพร่ดิ่งไปทั้งสองฝ่าย ย่อมละเหตุที่เป็นอกุศลได้ ด้วยประการอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๐๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๑๐. อปัณณกสูตร

เหตุกทิฏฐิกับอเหตุกทิฏฐิ
[๑๐๐] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลาย เศร้าหมองเอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลาย บริสุทธิ์เอง ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีความสามารถของมนุษย์ ไม่มีความ พยายามของมนุษย์ สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะ๑- ทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มี ความเพียร ผันแปรไปตามโชคชะตา ตามสถานภาพทางสังคมและตามลักษณะ เฉพาะตน ย่อมเสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติ๒- ทั้ง ๖’ พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง มีวาทะขัดแย้งโดย ตรงกับสมณพราหมณ์เหล่านั้น พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ความเศร้าหมองของสัตว์ ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองเอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย มีเหตุ มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์เอง มีกำลัง มีความเพียร มีความสามารถของ มนุษย์ มีความพยายามของมนุษย์ สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะทั้งปวง ไม่ใช่ไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ผันแปรไปตามโชคชะตา ตามสถานภาพทางสังคมและ ตามลักษณะเฉพาะตน เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖’ ท่านทั้งหลายเข้าใจความ ข้อนั้นว่าอย่างไร สมณพราหมณ์เหล่านี้มีวาทะขัดแย้งกันโดยตรง มิใช่หรือ” พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้นกราบทูลว่า “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า” @เชิงอรรถ : @ สัตว์ หมายถึงสัตว์ทุกจำพวก เช่น อูฐ โค ลา ปาณะ หมายถึงสัตว์ที่มี ๑ อินทรีย์ ๒ อินทรีย์ เป็นต้น @ภูตะ หมายถึงสัตว์ทุกจำพวกทั้งที่เกิดจากฟองไข่และเกิดในครรภ์มารดาชีวะ หมายถึงพวกพืชทุกชนิด @(ที.สี.อ. ๑/๑๖๘/๑๔๖) @ อภิชาติทั้ง ๖ ได้แก่ @๑. กัณหาภิชาติ (ผู้มีชาติดำ) หมายถึงผู้ทำงานน่ากลัว เช่น เป็นโจร เป็นเพชฌฆาต @๒. นีลาภิชาติ (ผู้มีชาติเขียว) หมายถึงภิกษุผู้เป็นนักบวชพวกหนึ่ง ผู้เลือกกินแต่เนื้อปลา @๓. โลหิตาภิชาติ (ผู้มีชาติแดง) หมายถึงนิครนถ์ผู้ถือผ้าผืนเดียวเป็นวัตร @๔. หลิททาภิชาติ (ผู้มีชาติเหลือง) หมายถึงคฤหัสถ์ผู้เป็นสาวกของชีเปลือย ผู้ประเสริฐกว่าพวกนิครนถ์ @๕. สุกกาภิชาติ (ผู้มีชาติขาว) หมายถึงเจ้าลัทธิชื่อ นันทะ วัจฉะ สังกิจจะ ดีกว่า ๔ จำพวกข้างต้น @๖. ปรมสุกกาภิชาติ (ผู้มีชาติขาวที่สุด) หมายถึงพวกอาชีวกผู้มีลัทธิดีกว่า ๕ จำพวกข้างต้น @(ม.ม.อ. ๒/๑๐๐/๙๐, ที.สี.อ. ๑/๑๖๘/๑๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๐๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๑๐. อปัณณกสูตร

โทษแห่งการปฏิบัติผิด
[๑๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของ สมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองเอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์เอง ไม่มี กำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีความสามารถของมนุษย์ ไม่มีความพยายามของมนุษย์ สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ผันแปรไป ตามโชคชะตา ตามสถานภาพทางสังคมและตามลักษณะเฉพาะตน ย่อมเสวยสุขและ ทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖’ สมณพราหมณ์เหล่านั้นพึงหวังข้อนี้ได้ คือ จักเว้นกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายสุจริต (๒) วจีสุจริต (๓) มโนสุจริต จักสมาทาน อกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายทุจริต (๒) วจีทุจริต (๓) มโนทุจริต แล้ว ประพฤติอยู่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่เห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง แห่งอกุศลธรรม ไม่เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะอันเป็นฝ่ายผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรม อนึ่ง เหตุมีอยู่ แต่เขากลับเห็นว่า ‘เหตุไม่มี’ ความเห็นนั้นของเขาจึงเป็นมิจฉา- ทิฏฐิ เหตุมีอยู่ แต่เขาดำริว่า ‘เหตุไม่มี’ ความดำรินั้นของเขาจึงเป็นมิจฉาสังกัปปะ เหตุมีอยู่ แต่เขากล่าวว่า ‘เหตุไม่มี’ วาจานั้นของเขาจึงเป็นมิจฉาวาจา ‘เหตุมีอยู่’ เขากล่าวว่า ‘เหตุไม่มี’ ผู้นี้ย่อมทำตนให้เป็นข้าศึกกับพระอรหันต์ผู้เป็นเหตุกวาทะ เหตุมีอยู่ เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ‘เหตุไม่มี’ การที่เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจเช่นนั้น เป็นการทำให้เข้าใจผิดจากความเป็นจริง และเขายังจะยกตนข่มผู้อื่นด้วยการทำให้ เข้าใจผิดจากความเป็นจริงนั้น โดยนัยนี้ เริ่มต้นเขาก็ละทิ้งความเป็นผู้มีศีลดีงามแล้ว ตั้งตนเป็นคนทุศีล เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกเหล่านี้ คือ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา ความเป็นข้าศึกกับพระอริยะ การทำให้ ผู้อื่นเข้าใจผิดจากความเป็นจริง การยกตน การข่มผู้อื่น ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการ อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๐๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๑๐. อปัณณกสูตร

พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วิญญูชน ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ถ้าเหตุไม่มี เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้ หลังจาก ตายแล้ว จักทำตนให้มีความสวัสดีได้ ถ้าเหตุมีอยู่จริง เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษ บุคคลนี้ หลังจากตายแล้ว จักไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก’ ถ้ายอมรับว่า เหตุไม่มีจริง คำของสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ช่างเถิด เมื่อเป็น เช่นนั้น บุรุษบุคคลนี้ย่อมถูกวิญญูชนติเตียนได้ในปัจจุบันว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้ทุศีล เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นอเหตุกวาทะ’ ถ้าเหตุมีอยู่จริง บุรุษบุคคลนี้จะได้รับโทษในโลก ทั้ง ๒ คือ (๑) ในปัจจุบันถูกวิญญูชนติเตียนได้ (๒) หลังจากตายแล้ว จักไปเกิด ในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อย่างนี้ อปัณณกธรรมนี้ ที่บุคคลนั้นสมาทานให้บริบูรณ์ไม่ดี แพร่ดิ่งไปฝ่ายเดียว ย่อมละ เหตุที่เป็นกุศล ด้วยประการอย่างนี้
คุณแห่งการปฏิบัติชอบ
[๑๐๒] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความเศร้าหมองของสัตว์ ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายจึงเศร้าหมอง ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย มีเหตุ มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายจึงบริสุทธิ์ มีกำลัง มีความเพียร มีความสามารถของ มนุษย์ มีความพยายามของมนุษย์ สัตว์ ปาณะ ภูตะ ชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ผันแปรไปตามโชคชะตา ตามสถานภาพทางสังคมและ ตามลักษณะเฉพาะของตน ย่อมไม่ได้เสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖’ สมณพราหมณ์ เหล่านั้นพึงหวังข้อนี้ได้ คือ จักเว้นอกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายทุจริต (๒) วจีทุจริต (๓) มโนทุจริต จักสมาทานกุศลธรรม ๓ ประการนี้ ได้แก่ (๑) กายสุจริต (๒) วจีสุจริต (๓) มโนสุจริต แล้วประพฤติอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๐๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๑๐. อปัณณกสูตร

ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น เห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่ง อกุศลธรรม เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะอันเป็นฝ่ายผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรม อนึ่ง เหตุมีอยู่ เขาเห็นว่า เหตุมีอยู่จริง’ ความเห็นนั้นของเขาจึงเป็นสัมมาทิฏฐิ เหตุมีอยู่จริง เขาดำริว่า ‘เหตุมีอยู่จริง’ ความดำรินั้นของเขาจึงเป็นสัมมาสังกัปปะ เหตุมีอยู่จริง เขากล่าวว่า ‘เหตุมีอยู่จริง’ วาจานั้นของเขาจึงเป็นสัมมาวาจา เหตุมี อยู่จริง เขากล่าวว่า ‘เหตุมีอยู่จริง’ ผู้นี้ชื่อว่าไม่ทำตนให้เป็นข้าศึกกับพระอรหันต์ผู้ เป็นเหตุกวาทะ เหตุมีอยู่จริง เขาทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า ‘เหตุมีอยู่จริง’ การที่เขาทำให้ ผู้อื่นเข้าใจเช่นนั้น เป็นการทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริง และเขาย่อมไม่ยกตน ข่มผู้อื่น ด้วยการทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริงนั้น โดยนัยนี้ เริ่มต้นเขาก็ละทิ้ง ความเป็นผู้ทุศีลแล้วตั้งตนเป็นคนมีศีลดีงาม เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย กุศลธรรม เป็นอเนกเหล่านี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา ความไม่เป็นข้าศึก กับพระอริยะ การทำให้เข้าใจถูกตามความเป็นจริง การไม่ยกตน การไม่ข่มผู้อื่น ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการอย่างนี้ พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วิญญูชน ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘ถ้าเหตุมีอยู่ เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้ หลังจาก ตายแล้ว จักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ถ้ายอมรับว่าเหตุไม่มีจริง คำของสมณพราหมณ์ เหล่านั้นจะจริงหรือไม่ก็ช่างเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น บุรุษบุคคลนี้ก็ย่อมได้รับคำสรรเสริญ จากวิญญูชนในปัจจุบันว่า ‘เป็นบุรุษบุคคลผู้มีศีล มีสัมมาทิฏฐิ เป็นเหตุกวาทะ’ ถ้าเหตุมีอยู่จริง บุรุษบุคคลนี้ ก็จะได้รับคุณในโลกทั้ง ๒ คือ (๑) ในปัจจุบันวิญญูชน ย่อมสรรเสริญ (๒) หลังจากตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ อย่างนี้ อปัณณกธรรมนี้ ที่บุคคลนั้นสมาทานให้บริบูรณ์ดีแล้วอย่างนี้ แพร่ดิ่งไปทั้ง สองฝ่าย ย่อมละเหตุที่เป็นอกุศลได้ ด้วยประการอย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๐๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๑๐. อปัณณกสูตร

ความขัดแย้งกันเรื่องอรูปพรหม
[๑๐๓] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อรูปพรหมไม่มีโดยประการทั้งปวง’ สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง มีวาทะขัดแย้งโดยตรงกับสมณพราหมณ์เหล่านั้น พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘อรูปพรหม มีอยู่โดยประการทั้งปวง’ ท่านทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร สมณพราหมณ์ เหล่านี้มีวาทะขัดแย้งกันโดยตรง มิใช่หรือ” “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า” “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์พวกนั้น วิญญูชน ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘การที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ อย่างนี้ว่า ‘อรูปพรหมไม่มีโดยประการทั้งปวง’ เราไม่เห็นด้วย แม้การที่สมณพราหมณ์ ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อรูปพรหมมีอยู่โดยประการทั้งปวง’ เราก็ไม่รับรู้ด้วย ส่วนเราเอง เมื่อไม่รู้ ไม่เห็น จะพึงถือเอาฝ่ายเดียว กล่าวว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ข้อนั้นไม่เป็นการสมควรแก่เราเลย ถ้าคำของสมณ- พราหมณ์ทั้งหลาย ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อรูปพรหมไม่มีโดยประการ ทั้งปวง’ เป็นคำจริงแล้ว เป็นไปได้ที่เราจักเกิดในเหล่าเทพผู้มีรูปสำเร็จด้วยใจ ซึ่งไม่ ถือว่าผิด ถ้าคำของสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘อรูปพรหมมีอยู่โดยประการทั้งปวง’ เป็นคำจริงแล้ว เป็นไปได้ที่เราจักเกิดในเหล่าเทพ ผู้ไม่มีรูปสำเร็จด้วยสัญญาซึ่งไม่ถือว่าผิด อนึ่ง การถือท่อนไม้ การถือศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การพูดขึ้นเสียงว่า ‘เจ้า เจ้า’ การพูดส่อเสียด และการพูดเท็จซึ่งมีรูปเป็นเหตุย่อมปรากฏ แต่ข้อนี้ย่อมไม่มีในอรูปพรหมโดย ประการทั้งปวง’ วิญญูชนนั้นครั้นพิจารณาดังนี้แล้วย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับแห่งรูปอย่างเดียว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๑๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๑๐. อปัณณกสูตร

ความขัดแย้งเรื่องภพ
[๑๐๔] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพ๑- ไม่มีโดยประการทั้งปวง’ สมณพราหมณ์ อีกพวกหนึ่ง มีวาทะขัดแย้งโดยตรงกับสมณพราหมณ์เหล่านั้น พวกเขากล่าว อย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพมีอยู่โดยประการทั้งปวง’ ท่านทั้งหลายเข้าใจความ ข้อนั้นว่าอย่างไร สมณพราหมณ์เหล่านี้มีวาทะขัดแย้งกันโดยตรง มิใช่หรือ” “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า” “พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น วิญญูชน ย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘การที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ อย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพไม่มีโดยประการทั้งปวง’ เราไม่เห็นด้วย แม้การที่ สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพ มีอยู่โดยประการทั้งปวง’ เราก็ไม่รับรู้ด้วย ส่วนเราเอง เมื่อไม่รู้ ไม่เห็น จะถือเอา ฝ่ายเดียวแล้วกล่าวว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ข้อนั้นไม่เป็นการสมควร แก่เราเลย ถ้าคำของสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพไม่มีโดยประการทั้งปวง’ เป็นคำจริงแล้ว เป็นไปได้ที่เรา จักเกิดในเหล่าเทพผู้ไม่มีรูปสำเร็จด้วยสัญญาซึ่งไม่ถือว่าผิด อนึ่ง ถ้าคำของสมณ- พราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพมีอยู่โดย ประการทั้งปวง’ เป็นคำจริงแล้ว เป็นไปได้ที่เราจักปรินิพพานในปัจจุบัน ความเห็น ของสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพ ไม่มีโดยประการทั้งปวง’ นี้ใกล้ต่อธรรมที่ยังมีความกำหนัด ใกล้ต่อธรรมที่ยังมี สังโยชน์ ใกล้ต่อธรรมที่ยังมีความเพลิดเพลิน ใกล้ต่อธรรมที่มีความจดจ่อ ใกล้ต่อ @เชิงอรรถ : @ ความดับสนิทแห่งภพ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ม.ม.อ. ๒/๑๐๔/๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๑๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๑๐. อปัณณกสูตร

ธรรมที่ยังมีความถือมั่น ส่วนความเห็นของสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ความดับสนิทแห่งภพมีอยู่โดยประการทั้งปวง’ นี้ใกล้ต่อธรรมที่ ไม่มีความกำหนัด ใกล้ต่อธรรมที่ไม่มีสังโยชน์ ใกล้ต่อธรรมที่ไม่มีความเพลิดเพลิน ใกล้ต่อธรรมที่ไม่มีความจดจ่อ ใกล้ต่อธรรมที่ไม่มีความถือมั่น วิญญูชนนั้น ครั้นพิจารณาดังนี้แล้วย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ แห่งภพอย่างเดียว
บุคคล ๔ ประเภท๑-
[๑๐๕] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บุคคล ๔ ประเภทนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ ประเภท ไหนบ้าง คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ๑. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน ๒. เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ๓. เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ๔. เป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้ เดือดร้อน บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนนั้น เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน @เชิงอรรถ : @ ดูความพิสดารจากกันทรกสูตรข้อ ๔-๙ หน้า ๕-๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๑๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๑๐. อปัณณกสูตร

[๑๐๖] บุคคลเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้ เดือดร้อน เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นอเจลก(ประพฤติเปลือยกาย) ไม่มีมารยาท เลียมือ ฯลฯ๑- ถือการย่างและอบกายหลายรูปแบบอยู่ ด้วยประการอย่างนี้ พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน บุคคลเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ฆ่าแพะ ฆ่าสุกร ฯลฯ๒- หรือบางพวกเป็นผู้ทำการ ทารุณ พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน บุคคลเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วก็ดี ฯลฯ๓- เหล่าชนผู้เป็นทาสก็ดี เป็นคนรับใช้ก็ดี เป็นคนงานก็ดี ของพระราชานั้น ถูกอาชญาคุกคาม ถูกภัยคุกคาม มีน้ำตานองหน้า ร้องไห้ไปทำงานไป @เชิงอรรถ : @ ดูเนื้อความเต็มข้อ ๗ (กันทรกสูตร) หน้า ๗-๘ ในเล่มนี้ @ ดูเนื้อความเต็มข้อ ๘ (กันทรกสูตร) หน้า ๘ ในเล่มนี้ @ ดูเนื้อความเต็มข้อ ๙ (กันทรกสูตร) หน้า ๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๑๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๑๐. อปัณณกสูตร

พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่น ประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการ ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน บุคคลเป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน เป็นอย่างไร คือ ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ ฯลฯ๑- ภิกษุนั้นครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต เป็นเครื่อง ทอนกำลังปัญญาแล้ว สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุ ทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้วบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่
วิชชา ๓
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ฯลฯ๒- เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ ชีวประวัติอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ ดูเนื้อความเต็มข้อ ๑๐-๑๓ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๐-๑๖ ในเล่มนี้ @ ดูเนื้อความเต็มข้อ ๑๔ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๑๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

๑๐. อปัณณกสูตร

เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้า หมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป เพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ๑- รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม อย่างนี้แล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิต ไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้อาสวนิโรธคามินี- ปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และ อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่น ประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน จึงเป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน”
ชาวบ้านสาลาแสดงตนเป็นอุบาสก
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์และคหบดีชาวบ้านสาลาได้ กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรง ประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ @เชิงอรรถ : @ ดูเนื้อความเต็มข้อ ๑๕ (กันทรกสูตร) หน้า ๑๗-๑๘ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๑๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๑. คหปติวรรค]

รวมพระสูตรที่มีในวรรค

เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตา ดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์ทั้งหลายนี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้งพระธรรมและ พระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ทั้งหลายว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล
อปัณณกสูตรที่ ๑๐ จบ
คหปติวรรคที่ ๑ จบบริบูรณ์
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กันทรกสูตร ๒. อัฏฐกนาครสูตร ๓. เสขปฏิปทาสูตร ๔. โปตลิยสูตร ๕. ชีวกสูตร ๖. อุปาลิวาทสูตร ๗. กุกกุรวติกสูตร ๘. อภยราชกุมารสูตร ๙. พหุเวทนิยสูตร ๑๐. อปัณณกสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๑๑๖}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๙๕-๑๑๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=13&siri=10              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=1833&Z=2382                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=103              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=13&item=103&items=22              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=9&A=2181              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=13&item=103&items=22              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=9&A=2181                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/13i103-e1.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.060.than.html https://suttacentral.net/mn60/en/sujato https://suttacentral.net/mn60/en/horner https://suttacentral.net/mn60/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :