ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]

๔. จูฬเวทัลลสูตร

๔. จูฬเวทัลลสูตร
ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปัญญา สูตรเล็ก
สักกายทิฏฐิ
[๔๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน๑- เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น อุบาสกชื่อวิสาขะเข้าไปหาภิกษุณีชื่อธัมมทินนาถึงที่อยู่ น้อมไหว้แล้วนั่ง ณ ที่สมควร แล้วได้ถามธัมมทินนาภิกษุณีว่า “แม่เจ้าขอรับ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘สักกายะ สักกายะ’ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ‘สักกายะ” ธัมมทินนาภิกษุณีตอบว่า “ท่านวิสาขะ อุปาทานขันธ์๒- ๕ ประการ คือ ๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป) ๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา) ๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา) ๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร) ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ) ท่านวิสาขะ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ‘สักกายะ” วิสาขอุบาสกชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของธัมมทินนาภิกษุณีว่า “ดีละ แม่เจ้า” แล้วได้ถามปัญหาต่อไปว่า “แม่เจ้าขอรับ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘สักกายสมุทัย สักกายสมุทัย’ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ‘สักกายสมุทัย” “ท่านวิสาขะ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความ กำหนัด มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ‘สักกายสมุทัย” @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒๕๒ (รถวินีตสูตร) หน้า ๒๗๓ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๙๑ (สัมมาทิฏฐิสูตร) หน้า ๘๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๕๐๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]

๔. จูฬเวทัลลสูตร

“พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘สักกายนิโรธ สักกายนิโรธ’ ธรรมอะไรที่พระผู้มี พระภาคตรัสเรียกว่า ‘สักกายนิโรธ” “ความดับตัณหาไม่เหลือด้วยวิราคะ ความสละ ความสละคืน ความพ้น ความไม่อาลัยในตัณหานั้น นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ‘สักกายนิโรธ” “พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ‘สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา สักกายนิโรธคามินี- ปฏิปทา’ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ‘สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา” “อริยมรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ‘สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา” “แม่เจ้าขอรับ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ เป็นอันเดียวกัน หรือต่างกัน” “ท่านวิสาขะ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ ทั้งไม่เป็นอันเดียวกัน ทั้งไม่ต่างกัน ความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ ๕ ก็คืออุปาทานนั้นเอง” [๔๖๑] “แม่เจ้าขอรับ สักกายทิฏฐิมีได้อย่างไร” “ท่านวิสาขะ ปุถุชนในโลกนี้ผู้ยังไม่ได้สดับ ไม่ได้พบพระอริยะทั้งหลาย ไม่ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้พบ สัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของ สัตบุรุษ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในรูปบ้าง พิจารณาเห็นเวทนา ฯลฯ พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ พิจารณาเห็นสังขารทั้งหลาย ฯลฯ พิจารณา เห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง พิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง สักกายทิฏฐิ มีได้ อย่างนี้แล” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๕๐๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]

๔. จูฬเวทัลลสูตร

“แม่เจ้าขอรับ สักกายทิฏฐิไม่มีได้อย่างไร” “ท่านวิสาขะ พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ผู้ได้สดับแล้ว ได้พบพระอริยะ ทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับคำแนะนำดีแล้วในธรรมของพระอริยะ พบสัตบุรุษทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับคำแนะนำดีแล้วในธรรมของ สัตบุรุษ ไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูป บ้าง ไม่พิจารณาเห็นรูปในอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่พิจารณาเห็น เวทนา ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นสัญญา ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นสังขารทั้งหลาย ฯลฯ ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาว่ามี วิญญาณบ้าง ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่พิจารณาเห็นอัตตาใน วิญญาณบ้าง สักกายทิฏฐิไม่มีได้ อย่างนี้แล”
มรรคมีองค์ ๘ กับขันธ์ ๓
[๔๖๒] “แม่เจ้าขอรับ อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นอย่างไร” “ท่านวิสาขะ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ ๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ ๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ ๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ” “อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตธรรม๑- หรือเป็นอสังขตธรรม๒-” “อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตธรรม” “พระผู้มีพระภาคทรงจัดขันธ์ ๓ ประการ เข้าในอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือว่า ทรงจัดอริยมรรคมีองค์ ๘ เข้าในขันธ์ ๓ ประการ” @เชิงอรรถ : @ สังขตธรรม หมายถึงธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ ขันธ์ ๕ (อภิ.สงฺ.(แปล) ๓๔/๑๐๘๙/๒๗๗) @ อสังขตธรรม หมายถึงธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน (อภิ.สงฺ.(แปล) ๓๔/๑๐๙๐/๒๗๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๕๐๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]

๔. จูฬเวทัลลสูตร

“พระผู้มีพระภาคไม่ทรงจัดขันธ์ ๓ ประการ เข้าในอริยมรรคมีองค์ ๘ แต่ ทรงจัดอริยมรรคมีองค์ ๘ เข้าในขันธ์ ๓ ประการ คือ ๑. สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ ทรงจัดเข้าในสีลขันธ์ ๒. สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ทรงจัดเข้าในสมาธิขันธ์ ๓. สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ ทรงจัดเข้าในปัญญาขันธ์”
สมาธิและสังขาร
“แม่เจ้าขอรับ ธรรมชนิดใดเป็นสมาธิ ธรรมเหล่าใดเป็นนิมิตของสมาธิ ธรรมเหล่าใดเป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ การเจริญสมาธิ เป็นอย่างไร” “ท่านวิสาขะ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเป็นสมาธิ สติปัฏฐาน ๔ เป็น นิมิตของสมาธิ สัมมัปปธาน ๔ เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ การเสพ๑- การเจริญ การทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้นนั่นแล เป็นการเจริญสมาธิ” [๔๖๓] “แม่เจ้าขอรับ สังขารมีเท่าไร” “ท่านวิสาขะ สังขารมี ๓ ประการ คือ (๑) กายสังขาร๒- (๒) วจีสังขาร๓- (๓) จิตตสังขาร๔-” “ก็กายสังขารเป็นอย่างไร วจีสังขารเป็นอย่างไร จิตตสังขารเป็นอย่างไร” “ลมอัสสาสะ(ลมหายใจเข้า) และลมปัสสาสะ(ลมหายใจออก) เป็นกายสังขาร วิตกและวิจารเป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนาเป็นจิตตสังขาร” @เชิงอรรถ : @ การเสพ ในที่นี้หมายถึงการเสพที่เป็นไปชั่วขณะจิตเดียว (ม.มู.อ. ๒/๔๖๒/๒๗๑) @ กายสังขาร หมายถึงสภาพปรุงแต่งการกระทำทางกาย ได้แก่ลมหายใจ (ม.มู.อ. ๒/๔๖๓/๒๗๒, @องฺ.ติก.อ. ๒/๒๓/๑๐๑) @ วจีสังขาร หมายถึงสภาพปรุงแต่งการกระทำทางวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร หรือวจีสัญเจตนา คือความ @จงใจทางวาจา (ม.มู.อ. ๒/๔๖๓/๒๗๒, องฺ.ติก.อ. ๒/๒๓/๑๐๑) @ จิตตสังขาร หมายถึงสภาพปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา หรือมโนสัญเจตนา คือ @ความจงใจทางใจ (ม.มู.อ. ๒/๔๖๓/๒๗๒, องฺ.ติก.อ. ๒/๒๓/๑๐๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๕๐๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]

๔. จูฬเวทัลลสูตร

“แม่เจ้าขอรับ เพราะเหตุไร ลมอัสสาสะและลมปัสสาสะจึงเป็นกายสังขาร วิตกและวิจารจึงเป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนาจึงเป็นจิตตสังขาร” “ท่านวิสาขะ ลมอัสสาสะและลมปัสสาสะเหล่านี้เป็นธรรมที่มีอยู่คู่กาย เนื่อง กับกาย ฉะนั้น ลมอัสสาสะและลมปัสสาสะจึงเป็นกายสังขาร บุคคลตรึกและตรอง ก่อนแล้วจึงเปล่งวาจา ฉะนั้น วิตกและวิจารจึงเป็นวจีสังขาร สัญญาและเวทนา เป็นธรรมที่มีอยู่คู่จิต เนื่องกับจิต ฉะนั้น สัญญาและเวทนาจึงเป็นจิตตสังขาร”
สัญญาเวทยิตนิโรธ
[๔๖๔] “แม่เจ้าขอรับ การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นอย่างไร” “ท่านวิสาขะ ภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มิได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เรา จักเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ เรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ หรือเราเข้าสัญญา- เวทยิตนิโรธแล้ว’ ที่แท้ จิตที่ท่านอบรมไว้ในเบื้องต้นอย่างนั้น ย่อมนำเข้าไปใน ภาวะนั้นได้เอง” “เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ธรรมเหล่าไหนที่ดับไปก่อน กายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขาร” “เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ วจีสังขารดับไปก่อน จากนั้นกายสังขารจึงดับ ส่วนจิตตสังขารดับทีหลัง” “การออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เป็นอย่างไร” “ภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มิได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เรา จักออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เรากำลังออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ หรือเราออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว’ ที่แท้ จิตที่ท่านอบรมไว้ในเบื้อง ต้นอย่างนั้น ย่อมนำเข้าไปในภาวะนั้นได้เอง” “เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมเหล่าไหนเกิดขึ้นก่อน กายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขาร” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๕๐๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]

๔. จูฬเวทัลลสูตร

“เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตตสังขารเกิดขึ้นก่อน จากนั้น กายสังขารก็เกิดขึ้น ส่วนวจีสังขารเกิดขึ้นทีหลัง” “ผัสสะเท่าไร ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ” “ผัสสะ ๓ อย่าง คือ (๑) ผัสสะชื่อสุญญตะ(ว่าง) (๒) ผัสสะชื่อ อนิมิตตะ(ไม่มีนิมิต) (๓) ผัสสะชื่ออัปปณิหิตะ(ไม่มีที่ตั้ง) ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออก จากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ” “แม่เจ้าขอรับ ภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติมีจิตน้อมไปใน ธรรมอะไร โน้มไปในธรรมอะไร และโอนไปในธรรมอะไร” “ท่านวิสาขะ ภิกษุผู้ออกแล้วจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ มีจิตน้อมไปใน วิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวก”
เวทนา
[๔๖๕] “แม่เจ้าขอรับ เวทนามีเท่าไร” “ท่านวิสาขะ เวทนามี ๓ ประการ คือ (๑) สุขเวทนา (๒) ทุกขเวทนา (๓) อทุกขมสุขเวทนา” “สุขเวทนาเป็นอย่างไร ทุกขเวทนาเป็นอย่างไร อทุกขมสุขเวทนาเป็นอย่างไร” “การเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข สำราญทางกาย หรือทางใจ นี้เป็นสุขเวทนา การเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์ ไม่สำราญทางกาย หรือทางใจ นี้เป็นทุกขเวทนา การเสวยอารมณ์ที่มิใช่ความสำราญและที่มิใช่ความไม่สำราญทางกายหรือทางใจ นี้เป็น อทุกขมสุขเวทนา” “สุขเวทนาเป็นสุขเพราะอะไร เป็นทุกข์เพราะอะไร ทุกขเวทนาเป็นสุขเพราะ อะไร เป็นทุกข์เพราะอะไร อทุกขมสุขเวทนาเป็นสุขเพราะอะไร เป็นทุกข์เพราะอะไร” “สุขเวทนาเป็นสุขเพราะตั้งอยู่ เป็นทุกข์เพราะแปรไป ทุกขเวทนาเป็นทุกข์ เพราะตั้งอยู่ เป็นสุขเพราะแปรไป อทุกขมสุขเวทนาเป็นสุขเพราะรู้ เป็นทุกข์เพราะไม่รู้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๕๐๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]

๔. จูฬเวทัลลสูตร

“อนุสัยชนิดไหนนอนเนื่องอยู่ในสุขเวทนา อนุสัยชนิดไหนนอนเนื่องอยู่ใน ทุกขเวทนา อนุสัยชนิดไหนนอนเนื่องอยู่ในอทุกขมสุขเวทนา” “ราคานุสัย(กิเลสที่นอนเนื่องคือความกำหนัด) นอนเนื่องอยู่ในสุขเวทนา ปฏิฆานุสัย(กิเลสที่นอนเนื่องคือความขัดเคือง) นอนเนื่องอยู่ในทุกขเวทนา อวิชชานุสัย(กิเลสที่นอนเนื่องคือความไม่รู้จริง) นอนเนื่องอยู่ในอทุกขมสุขเวทนา” “ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ในสุขเวทนาทั้งหมดหรือ ปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ใน ทุกขเวทนาทั้งหมดหรือ อวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ในอทุกขมสุขเวทนาทั้งหมดหรือ” “ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ในสุขเวทนาทั้งหมดหามิได้ ปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ ในทุกขเวทนาทั้งหมดหามิได้ อวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ในอทุกขมสุขเวทนาทั้งหมด หามิได้” “ธรรมอะไรจะพึงละได้ในสุขเวทนา ธรรมอะไรจะพึงละได้ในทุกขเวทนา ธรรมอะไรจะพึงละได้ในอทุกขมสุขเวทนา” “ราคานุสัยจะพึงละได้ในสุขเวทนา ปฏิฆานุสัยจะพึงละได้ในทุกขเวทนา อวิชชานุสัยจะพึงละได้ในอทุกขมสุขเวทนา” “แม่เจ้าขอรับ ราคานุสัยจะพึงละได้ในสุขเวทนาทั้งหมดหรือ ปฏิฆานุสัยจะ พึงละได้ในทุกขเวทนาทั้งหมดหรือ อวิชชานุสัยจะพึงละได้ในอทุกขมสุขเวทนา ทั้งหมดหรือ” “ท่านวิสาขะ ราคานุสัยจะพึงละได้ในสุขเวทนาทั้งหมดหามิได้ ปฏิฆานุสัยจะ พึงละได้ในทุกขเวทนาทั้งหมดหามิได้ อวิชชานุสัยจะพึงละได้ในอทุกขมสุขเวทนา ทั้งหมดหามิได้ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ย่อมละราคะได้ด้วย ปฐมฌานนั้น ราคานุสัยมิได้นอนเนื่องอยู่ในปฐมฌานนั้น อนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นอยู่ว่า ‘เมื่อไร เราจะได้บรรลุ อายตนะ ที่พระอริยะทั้งหลายบรรลุแล้ว ดำรงอยู่ในบัดนี้’ เมื่อภิกษุนั้นตั้งความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๕๐๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]

๔. จูฬเวทัลลสูตร

ปรารถนาในวิโมกข์ทั้งหลายอันเป็นอนุตตรธรรม๑- อย่างนี้ โทมนัสย่อมเกิดขึ้นเพราะ ความปรารถนาเป็นปัจจัย ท่านละปฏิฆะได้ด้วยโทมนัสนั้น ปฏิฆานุสัยมิได้นอน เนื่องอยู่ในโทมนัสนั้น อนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับ ไปก่อนแล้ว ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติ บริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ย่อมละอวิชชาได้ด้วยจตุตถฌานนั้น อวิชชานุสัยมิได้ นอนเนื่องอยู่ในจตุตถฌานนั้น” [๔๖๖] “แม่เจ้าขอรับ อะไรเป็นคู่เปรียบ๒- แห่งสุขเวทนา” “ท่านวิสาขะ ทุกขเวทนาเป็นคู่เปรียบแห่งสุขเวทนา” “อะไรเป็นคู่เปรียบแห่งทุกขเวทนา” “สุขเวทนาเป็นคู่เปรียบแห่งทุกขเวทนา” “อะไรเป็นคู่เปรียบแห่งอทุกขมสุขเวทนา” “อวิชชาเป็นคู่เปรียบแห่งอทุกขมสุขเวทนา” “อะไรเป็นคู่เปรียบแห่งอวิชชา” “วิชชาเป็นคู่เปรียบแห่งอวิชชา” “อะไรเป็นคู่เปรียบแห่งวิชชา” “วิมุตติเป็นคู่เปรียบแห่งวิชชา” “อะไรเป็นคู่เปรียบแห่งวิมุตติ” “นิพพานเป็นคู่เปรียบแห่งวิมุตติ” “แม่เจ้าขอรับ อะไรเป็นคู่เปรียบแห่งนิพพาน” “ท่านวิสาขะ ท่านก้าวเลยปัญหาไปเสียแล้ว ไม่อาจกำหนดที่สุดแห่งปัญหาได้ เพราะพรหมจรรย์มีนิพพานเป็นที่หยั่งลง มีนิพพานเป็นจุดหมาย มีนิพพานเป็นที่สุด ถ้าท่านยังหวังอยู่ก็ควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลถามเนื้อความนี้เถิด พระผู้มี- พระภาคทรงตอบแก่ท่านอย่างไร ท่านควรทรงจำคำตอบไว้อย่างนั้นเถิด” @เชิงอรรถ : @ อนุตตรธรรม หมายถึงมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ (อภิ.สงฺ.(แปล) ๓๔/๑๓๐๐/๓๒๘) @ คู่เปรียบ ในที่นี้มี ๒ ความหมาย (๑) หมายถึงคู่เปรียบที่ขัดแย้งกัน เช่น สุขกับทุกข์ (๒) หมายถึง @คู่เปรียบที่คล้อยตามกันคือวิมุตติและนิพพานอันเป็นโลกุตตรธรรม (ม.มู.อ. ๒/๔๖๖/๒๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๕๐๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๕. จูฬยมกวรรค]

๕. จูฬธัมมสมาทานสูตร

ทรงสรรเสริญธัมมทินนาภิกษุณี
[๔๖๗] ลำดับนั้น วิสาขอุบาสกชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของธัมมทินนา- ภิกษุณีแล้ว ลุกจากอาสนะ น้อมไหว้ธัมมทินนาภิกษุณี กระทำประทักษิณแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ กราบทูลเรื่องที่ตนสนทนาธรรมีกถากับธัมมทินนาภิกษุณีให้ทรงทราบทุกประการ เมื่อวิสาขอุบาสกกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า “วิสาขะ ธัมมทินนาภิกษุณีเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก หากเธอจะพึงสอบถามเนื้อความนั้น กับเรา แม้เราก็จะพึงตอบเนื้อความนั้นเหมือนอย่างที่ธัมมทินนาภิกษุณีตอบแล้ว เนื้อความแห่งคำตอบนั้นเป็นดังนั้นนั่นแล ท่านควรทรงจำไว้อย่างนั้นเถิด” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว วิสาขอุบาสกมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
จูฬเวทัลลสูตรที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๕๐๐-๕๐๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=12&siri=44              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=9420&Z=9601                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=505              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=12&item=505&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=8&A=6750              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=12&item=505&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=8&A=6750                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/12i505-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/12i505-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.044.than.html http://www.buddha-vacana.org/sutta/majjhima/mn044.html https://suttacentral.net/mn44/en/sujato https://suttacentral.net/mn44/en/horner https://suttacentral.net/mn44/en/anandajoti



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :