ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๘. มหาตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นตัณหา สูตรใหญ่
ทิฏฐิของสาติภิกษุ
[๓๙๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าสาติบุตรชาวประมง มีทิฏฐิ๑- ชั่วเช่นนี้เกิดขึ้นว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้ นั่นแลมิใช่อื่น ท่องเที่ยวไป แล่นไป” ลำดับนั้น ภิกษุเป็นอันมากได้ฟังว่า “สาติภิกษุบุตรชาวประมง มีทิฏฐิชั่ว เช่นนี้เกิดขึ้นว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้ @เชิงอรรถ : @ ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงสัสสตทิฏฐิ (ม.มู.อ. ๒/๓๙๖/๒๑๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๒๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

นั่นแลมิใช่อื่น ท่องเที่ยวไป แล่นไป” จึงเข้าไปหาสาติภิกษุแล้วถามว่า “ท่านสาติ ทราบว่า ท่านมีทิฏฐิชั่วเช่นนี้เกิดขึ้นว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแลมิใช่อื่น ท่องเที่ยวไป แล่นไป’ จริงหรือ” สาติภิกษุตอบว่า “จริง ท่านทั้งหลาย ผมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแลมิใช่อื่น ท่องเที่ยวไป แล่นไป” ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาที่จะปลดเปลื้องสาติภิกษุบุตรชาวประมงจากทิฏฐิชั่ว นั้นจึงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนว่า “ท่านสาติ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ท่านอย่าได้ กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเป็นการไม่ดีเลย เพราะพระผู้มี พระภาคมิได้ตรัสอย่างนี้เลย ท่านสาติ วิญญาณอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาค ตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนกว่า ‘ปราศจากปัจจัย ก็ไม่มีความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ” สาติภิกษุบุตรชาวประมงถูกภิกษุเหล่านั้นซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่แม้อย่างนี้ ก็ยังยึดมั่นถือมั่นทิฏฐิชั่วนั้นอย่างรุนแรง กล่าวอยู่ว่า “ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแลมิใช่อื่น ท่องเที่ยวไป แล่นไป”
เพื่อนภิกษุไม่อาจเปลี่ยนทิฏฐิของท่านสาติ
[๓๙๗] ภิกษุเหล่านั้นเมื่อไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุบุตรชาวประมงจาก ทิฏฐิชั่วนั้นได้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควรแล้วกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุมีทิฏฐิชั่วเช่นนี้เกิดขึ้นว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า วิญญาณนี้นั่นแลมิใช่อื่น ท่องเที่ยวไป แล่นไป’ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้สดับมาว่า ‘สาติภิกษุมีทิฏฐิชั่วเช่นนี้ เกิดขึ้นว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า วิญญาณนี้นั่นแล มิใช่อื่น ท่องเที่ยวไป แล่นไป’ ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายเข้าไปหาสาติภิกษุ แล้วถามว่า ‘ท่านสาติ ทราบว่า ท่านมีทิฏฐิชั่วเช่นนี้เกิดขึ้นว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแลมิใช่อื่น ท่องเที่ยวไป แล่นไป จริงหรือ’ เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลายถามอย่างนี้ สาติภิกษุได้ตอบข้าพระองค์ทั้งหลาย ว่า ‘จริง ท่านทั้งหลาย ผมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณ นี้นั่นแลมิใช่อื่น ท่องเที่ยวไป แล่นไป’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๒๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

ลำดับนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายปรารถนาจะปลดเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิชั่ว นั้น จึงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนว่า ‘ท่านสาติ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ท่าน อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเป็นการไม่ดีเลย เพราะ พระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนี้เลย ท่านสาติ วิญญาณอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น พระ ผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนกว่า ‘ปราศจากปัจจัย ก็ไม่มีความเกิดขึ้น แห่งวิญญาณ’ สาติภิกษุถูกข้าพระองค์ทั้งหลายซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่แม้ อย่างนี้ ก็ยังยึดมั่นถือมั่นทิฏฐิชั่วนั้นอย่างรุนแรง กล่าวอยู่ว่า ‘จริง ท่านทั้งหลาย ผมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแลมิใช่อื่น ท่อง เที่ยวไป แล่นไป’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลายไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุ จากทิฏฐิชั่วนั้น จึงมากราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาค”
พระพุทธเจ้าทรงกำราบท่านสาติ
[๓๙๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า “มาเถิด ภิกษุ เธอจงไปเรียกสาติภิกษุบุตรชาวประมงมาตามคำของเราว่า ‘ท่าน สาติ พระศาสดาตรัสเรียกท่าน” ภิกษุรูปนั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้วจึงเข้าไปหา สาติภิกษุแล้วบอกว่า “ท่านสาติ พระศาสดาตรัสเรียกท่าน” สาติภิกษุรับคำภิกษุนั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคตรัสถามเธอว่า “สาติ ได้ยินว่า เธอมีทิฏฐิชั่วเช่นนี้เกิดขึ้นว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแลมิใช่อื่น ท่องเที่ยวไป แล่นไป จริงหรือ” สาติภิกษุทูลตอบว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมตามที่ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้แลมิใช่อื่น ท่องเที่ยวไป แล่นไป” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “สาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๒๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

สาติภิกษุทูลตอบว่า “สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ เสวยวิบากแห่งกรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนดีและส่วนชั่วในที่นั้นๆ เป็นวิญญาณ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแล้วแก่ใครเล่า วิญญาณอาศัยปัจจัยจึงเกิดขึ้น เรากล่าวไว้แล้วโดยปริยายเป็นอเนกว่า ‘ปราศจาก ปัจจัย ก็ไม่มีความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ’ ก็เมื่อเป็นดังนี้ เธอชื่อว่ากล่าวตู่เรา ขุดตน เองและจะประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก เพราะทิฏฐิที่ตนถือผิด โมฆบุรุษ ความ เห็นของเธอนั้นจักเป็นไปเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนาน”
ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งวิญญาณ
[๓๙๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร สาติภิกษุบุตรชาวประมงนี้จะเป็นผู้ทำ ความเจริญในธรรมวินัยนี้ได้บ้างหรือไม่” ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “จะพึงมีอย่างไรได้ ข้อนี้มีไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า” เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลอย่างนี้ สาติภิกษุบุตรชาวประมงจึงนั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ จากนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าสาติภิกษุบุตรชาวประมงเป็นผู้นิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณแล้ว จึงตรัสกับเธอว่า “โมฆบุรุษ เธอจักปรากฏด้วยทิฏฐิชั่วของตนนั้น เราจักสอบถามภิกษุทั้งหลายในที่นี้” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้ว เหมือนที่สาติภิกษุกล่าวตู่เรา ขุดตนเอง และจะประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก เพราะทิฏฐิที่ตนถือผิดหรือ” ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า “ข้อนี้มีไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า เพราะวิญญาณ อาศัยปัจจัยจึงเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายโดยปริยาย เป็นอเนกว่า ‘ปราศจากปัจจัย ก็ไม่มีความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๓๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ดีละ ดีละ เธอทั้งหลายรู้ทั่วถึง ธรรมตามที่เราแสดงแล้ว วิญญาณอาศัยปัจจัยจึงเกิดขึ้น เรากล่าวไว้แล้วโดย ปริยายเป็นอเนกว่า ‘ปราศจากปัจจัย ก็ไม่มีความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ’ แต่สาติภิกษุ บุตรชาวประมงนี้กล่าวตู่เรา ขุดตนเองและจะประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือผิด ความเห็นอย่างนั้นของโมฆบุรุษนั้น จักเป็นไปเพื่อ สิ่งมิใช่ประโยชน์ และเพื่อความทุกข์ตลอดกาลนาน [๔๐๐] ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยปัจจัยใดๆ ก็ นับว่า ‘วิญญาณ’ ตามปัจจัยนั้นๆ วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุและรูปารมณ์ ก็นับว่า ‘จักขุวิญญาณ’ วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยโสตะและสัททารมณ์ก็นับว่า ‘โสตวิญญาณ’ วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยฆานะและคันธารมณ์ก็นับว่า ‘ฆาน- วิญญาณ’ วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยชิวหาและรสารมณ์ก็นับว่า ‘ชิวหาวิญญาณ’ วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพารมณ์ก็นับว่า ‘กายวิญญาณ’ วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์ก็นับว่า ‘มโนวิญญาณ’ ภิกษุทั้งหลาย ไฟที่ติดขึ้นเพราะอาศัยเชื้อใดๆ ก็นับว่า ‘ไฟ’ ตามเชื้อนั้นๆ ไฟที่ติดขึ้นเพราะอาศัยไม้ก็นับว่า ‘ไฟไม้’ ไฟที่ติดขึ้นเพราะอาศัยป่าก็นับว่า ‘ไฟป่า’ ไฟที่ติดขึ้นเพราะอาศัยหญ้าก็นับว่า ‘ไฟหญ้า’ ไฟที่ติดขึ้นเพราะอาศัยมูลโค ก็นับว่า ‘ไฟมูลโค’ ไฟที่ติดขึ้นเพราะอาศัยแกลบก็นับว่า ‘ไฟแกลบ’ ไฟที่ติดขึ้น เพราะอาศัยหยากเยื่อก็นับว่า ‘ไฟหยากเยื่อ’ แม้ฉันใด วิญญาณก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยใดๆ ก็นับว่า ‘วิญญาณ’ ตามปัจจัยนั้นๆ วิญญาณที่ เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุและรูปารมณ์ก็นับว่า ‘จักขุวิญญาณ’ วิญญาณที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยโสตะและสัททารมณ์ก็นับว่า ‘โสตวิญญาณ’ วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะ อาศัยฆานะและคันธารมณ์ก็นับว่า ‘ฆานวิญญาณ’ วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะอาศัย ชิวหาและรสารมณ์ก็นับว่า ‘ชิวหาวิญญาณ’ วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายและ โผฏฐัพพารมณ์ก็นับว่า ‘กายวิญญาณ’ วิญญาณที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนและ ธรรมารมณ์ก็นับว่า ‘มโนวิญญาณ’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๓๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งขันธ์ ๕
[๔๐๑] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นว่า ‘ขันธ์ ๕ เกิดขึ้นแล้วหรือ” “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “เธอทั้งหลายเห็นว่า ‘ขันธ์ ๕ นั้นเกิดขึ้นเพราะอาหารหรือ” “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “เธอทั้งหลายเห็นว่า ‘ขันธ์ ๕ นั้นมีความดับเป็นธรรมดาเพราะความดับ แห่งอาหารนั้นหรือ” “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “ความสงสัยเกิดขึ้นเพราะความเคลือบแคลงว่า ‘ขันธ์ ๕ นี้มีหรือไม่” “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “ความสงสัยเกิดขึ้นเพราะความเคลือบแคลงว่า ‘ขันธ์ ๕ เกิดขึ้นเพราะ อาหารนั้นมีหรือไม่” “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “ความสงสัยเกิดขึ้นเพราะความเคลือบแคลงว่า ‘ขันธ์ ๕ นั้นมีความดับเป็น ธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้นมีหรือไม่” “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “บุคคลเห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบว่า ‘ขันธ์ ๕ นี้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้นได้หรือ” “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “บุคคลเห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบว่า ‘ขันธ์ ๕ เกิดขึ้นเพราะ อาหารนั้น’ ย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้นได้หรือ” “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๓๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

“บุคคลเห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบว่า ‘ขันธ์ ๕ นั้น มีความ ดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้นย่อมละความสงสัยที่เกิดขึ้นได้หรือ” “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อว่า ‘ขันธ์ ๕ นี้เกิดขึ้นแล้วแม้ดังนี้หรือ” “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อว่า ‘ขันธ์ ๕ เกิดขึ้นเพราะอาหารนั้นแม้ ดังนี้หรือ” “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “เธอทั้งหลายหมดความสงสัยในข้อว่า ‘ขันธ์ ๕ นั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้นแม้ดังนี้หรือ” “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “เธอทั้งหลายเห็นดีแล้วตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบว่า ‘ขันธ์ ๕ นี้ เกิดขึ้นแล้วดังนี้หรือ” “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “เธอทั้งหลายเห็นดีแล้วตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบว่า ‘ขันธ์ ๕ เกิดขึ้นเพราะอาหารนั้นดังนี้หรือ” “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “เธอทั้งหลายเห็นดีแล้วตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบว่า ‘ขันธ์ ๕ นั้น มีความดับเป็นธรรมดา เพราะความดับแห่งอาหารนั้นดังนี้หรือ” “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “หากเธอทั้งหลายจะพึงติดอยู่ เพลิดเพลินอยู่ ปรารถนาอยู่ ยึดถืออยู่ซึ่ง ทิฏฐิอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ว่า เป็นของเรา เธอทั้งหลายจะพึงรู้ทั่วถึงธรรมที่เปรียบ ด้วยแพ ซึ่งเราแสดงแล้วเพื่อประโยชน์แก่การสลัดออก มิใช่แสดงเพื่อประโยชน์แก่ การยึดถือหรือ” “ข้อนี้ไม่เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๓๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

“หากเธอทั้งหลายไม่ติดอยู่ ไม่เพลิดเพลินอยู่ ไม่ปรารถนาอยู่ ไม่ยึดถืออยู่ ซึ่งทิฏฐิอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ว่า เป็นของเรา เธอทั้งหลายจะพึงรู้ทั่วถึงธรรมที่ เปรียบด้วยแพ ซึ่งเราแสดงแล้วเพื่อประโยชน์แก่การสลัดออก มิใช่แสดงเพื่อ ประโยชน์แก่การยึดถือหรือ” “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
ปฏิจจสมุปบาท : กระบวนการเกิด
[๔๐๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ ชนิดนี้ มี เพื่อความดำรงอยู่แห่งสัตว์ที่เกิดแล้วบ้าง เพื่อความอนุเคราะห์เหล่าสัตว์ที่แสวงหา ภพที่เกิดบ้าง อาหาร ๔ ชนิด อะไรบ้าง คือ ๑. กวฬิงการาหาร(อาหารคือคำข้าว) หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง ๒. ผัสสาหาร(อาหารคือการสัมผัส) ๓. มโนสัญเจตนาหาร(อาหารคือความจงใจ) ๔. วิญญาณาหาร(อาหารคือวิญญาณ) อาหาร ๔ ชนิดนี้มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นที่เกิด มีอะไรเป็นแดนเกิด อาหาร ๔ ชนิด นี้มีตัณหาเป็นต้นเหตุ มีตัณหาเป็นเหตุเกิด มีตัณหาเป็นที่เกิด มีตัณหาเป็นแดนเกิด ตัณหานี้มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นที่เกิด มีอะไรเป็น แดนเกิด ตัณหานี้มีเวทนาเป็นต้นเหตุ มีเวทนาเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นที่เกิด มีเวทนา เป็นแดนเกิด เวทนานี้มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นที่เกิด มีอะไรเป็น แดนเกิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๓๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

เวทนานี้มีผัสสะเป็นต้นเหตุ มีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีผัสสะเป็นที่เกิด มีผัสสะ เป็นแดนเกิด ผัสสะนี้มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นที่เกิด มีอะไรเป็น แดนเกิด ผัสสะนี้มีสฬายตนะเป็นต้นเหตุ มีสฬายตนะเป็นเหตุเกิด มีสฬายตนะเป็นที่ เกิด มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด สฬายตนะนี้มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นที่เกิด มีอะไร เป็นแดนเกิด สฬายตนะนี้มีนามรูปเป็นต้นเหตุ มีนามรูปเป็นเหตุเกิด มีนามรูปเป็นที่เกิด มีนามรูปเป็นแดนเกิด นามรูปนี้มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นที่เกิด มีอะไรเป็น แดนเกิด นามรูปนี้มีวิญญาณเป็นต้นเหตุ มีวิญญาณเป็นเหตุเกิด มีวิญญาณเป็นที่เกิด มีวิญญาณเป็นแดนเกิด วิญญาณนี้มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นที่เกิด มีอะไร เป็นแดนเกิด วิญญาณนี้มีสังขารเป็นต้นเหตุ มีสังขารเป็นเหตุเกิด มีสังขารเป็นที่เกิด มี สังขารเป็นแดนเกิด สังขารทั้งหลายเหล่านี้มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นที่เกิด มีอะไรเป็นแดนเกิด สังขารทั้งหลายเหล่านี้มีอวิชชาเป็นต้นเหตุ มีอวิชชาเป็นเหตุเกิด มีอวิชชา เป็นที่เกิด มีอวิชชาเป็นแดนเกิด เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๓๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้ [๔๐๓] ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ‘เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี’ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมีใช่หรือไม่ หรือว่าในเรื่องนี้เป็นอย่างไร” ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ‘เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี’ เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมีใช่หรือไม่ หรือว่าในเรื่องนี้ เป็นอย่างไร” “เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็น เป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ‘เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี’ เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย ภพจึงมีใช่หรือไม่ หรือว่าในเรื่องนี้ เป็นอย่างไร” “เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความ เห็นเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” “เรากล่าวแล้วว่า ‘เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี’ เพราะตัณหาเป็น ปัจจัย อุปาทานจึงมีใช่หรือไม่ หรือว่าในเรื่องนี้ เป็นอย่างไร” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๓๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

“เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมี ความเห็นเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ‘เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี’ เพราะเวทนา เป็นปัจจัย ตัณหาจึงมีใช่หรือไม่ หรือว่าในเรื่องนี้ เป็นอย่างไร” “เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความ เห็นเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ‘เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี’ เพราะผัสสะเป็น ปัจจัย เวทนาจึงมีใช่หรือไม่ หรือว่าในเรื่องนี้ เป็นอย่างไร” “เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความ เห็นเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ‘เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี’ เพราะ สฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมีใช่หรือไม่ หรือว่าในเรื่องนี้ เป็นอย่างไร” “เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลาย มีความเห็นเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ‘เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี’ เพราะนาม- รูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมีใช่หรือไม่ หรือว่าในเรื่องนี้ เป็นอย่างไร” “เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลาย มีความเห็นเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ‘เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี’ เพราะ วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมีใช่หรือไม่ หรือว่าในเรื่องนี้ เป็นอย่างไร” “เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลาย มีความเห็นเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ‘เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี’ เพราะสังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมีใช่หรือไม่ หรือว่าในเรื่องนี้ เป็นอย่างไร” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๓๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

“เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความ เห็นเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ‘เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี’ ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมีใช่หรือไม่ หรือว่าในเรื่องนี้ เป็นอย่างไร” “เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความ เห็นเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” [๔๐๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้นถูกต้องแล้ว เธอทั้งหลายกล่าวอย่างนั้น แม้เราก็กล่าวอย่างนั้น เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่ง นี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๓๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

ปฏิจจสมุปบาท : กระบวนการดับ
เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ๑- สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้ [๔๐๕] ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ‘เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ’ เพราะ ชาติดับ ชราและมรณะจึงดับใช่หรือไม่ หรือว่าในเรื่องนี้ เป็นอย่างไร” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ‘เพราะภพดับ ชาติจึงดับ’ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ ใช่หรือไม่ หรือว่าในเรื่องนี้ เป็นอย่างไร” “เพราะภพดับ ชาติจึงดับ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็นเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ‘เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ’ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับใช่หรือไม่ หรือว่าในเรื่องนี้ เป็นอย่างไร” @เชิงอรรถ : @ วิราคะ ในที่นี้หมายถึงมรรค (ม.มู.อ. ๒/๔๐๔/๒๑๖, วิ.อ. ๓/๑/๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๓๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

“เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็น เป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ‘เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ’ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับใช่หรือไม่ หรือว่าในเรื่องนี้ เป็นอย่างไร” “เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความ เห็นเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ‘เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ’ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับใช่หรือไม่ หรือว่าในเรื่องนี้ เป็นอย่างไร” “เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็น เป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ‘เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ’ เพราะผัสสะดับ เวทนา จึงดับใช่หรือไม่ หรือว่าในเรื่องนี้ เป็นอย่างไร” “เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็น เป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ‘เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ’ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับใช่หรือไม่ หรือว่าในเรื่องนี้ เป็นอย่างไร” “เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความ เห็นเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ‘เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ’ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับใช่หรือไม่ หรือว่าในเรื่องนี้ เป็นอย่างไร” “เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความ เห็นเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ‘เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ’ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับใช่หรือไม่ หรือว่าในเรื่องนี้ เป็นอย่างไร” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๔๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

“เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความ เห็นเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ‘เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ’ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับใช่หรือไม่ หรือว่าในเรื่องนี้ เป็นอย่างไร” “เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็น เป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า ‘เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ’ ภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาดับสังขารจึงดับใช่หรือไม่ หรือว่าในเรื่องนี้ เป็นอย่างไร” “เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเห็น เป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าข้า” [๔๐๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้นถูกต้องแล้ว เธอทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ แม้เราก็กล่าวอย่างนี้ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะ สิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๔๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

พระธรรมคุณ
[๔๐๗] “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเมื่อรู้เห็นอย่างนี้จะพึงกลับระลึกถึง๑- ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ในอดีตกาลว่า ‘ในอดีตกาลยาวนาน เราได้มีแล้วหรือ หรือมิได้มี แล้วหนอ เราได้เป็นอะไรมาหนอ เราได้เป็นอย่างไรมาหนอ เราได้เป็นอะไรแล้วจึง มาเป็นอะไรอีกหนอ’ บ้างหรือไม่” “ข้อนี้ไม่เป็นดังนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “เธอทั้งหลายเมื่อรู้เห็นอย่างนี้จะพึงกลับระลึกถึงขันธ์ ธาตุ อายตนะในอนาคต ว่า ‘ในอนาคตกาลยาวนาน เราจักมีหรือ หรือจักไม่มีหนอ เราจักเป็นอะไรหนอ เราจักเป็นอย่างไรหนอ เราจักเป็นอะไรแล้วไปเป็นอะไรอีกหนอ’ บ้างหรือไม่” “ข้อนี้ไม่เป็นดังนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “เธอทั้งหลายเมื่อรู้เห็นอย่างนี้ จะพึงมีความสงสัยภายในตนปรารภปัจจุบันกาล ในบัดนี้ว่า ‘เราเป็นอยู่หรือ หรือไม่เป็นอยู่หนอ เราเป็นอะไรหนอ เราเป็นอย่างไรหนอ สัตว์นี้มาจากไหนหนอ และเขาจักไปไหนกันหนอ’ บ้างหรือไม่” “ข้อนี้ไม่เป็นดังนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “เธอทั้งหลายเมื่อรู้เห็นอย่างนี้จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระศาสดาเป็นครูของเรา ทั้งหลาย เราทั้งหลายต้องกล่าวอย่างนี้ด้วยความเคารพต่อพระศาสดา’ บ้างหรือไม่” “ข้อนี้ไม่เป็นดังนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “เธอทั้งหลายเมื่อรู้เห็นอย่างนี้จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระสมณะตรัสอย่างนี้ และเราทั้งหลายผู้ชื่อว่าเป็นสมณะ ก็กล่าวอย่างนี้’ บ้างหรือไม่” “ข้อนี้ไม่เป็นดังนั้น พระพุทธเจ้าข้า” @เชิงอรรถ : @ กลับระลึกถึง หมายถึงการแล่นไปตามอำนาจตัณหาและทิฏฐิด้วยอำนาจวิจิกิจฉา ที่ทรงมุ่งจะตรัสถามว่า @เมื่อรู้เห็นถึงปัจจัยแห่งการเกิดครบองค์ ๑๒ แล้ว มีความสงสัยอยู่อีกหรือไม่ (ม.มู.อ. ๒/๔๐๗/๒๑๖, @ม.มู.ฏีกา ๒/๔๐๗/๒๗๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๔๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

“เธอทั้งหลายเมื่อรู้เห็นอย่างนี้ จะพึงยกย่องศาสดาอื่นบ้างหรือไม่” “ข้อนี้ไม่เป็นดังนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “เธอทั้งหลายเมื่อรู้เห็นอย่างนี้จะพึงเชื่อถือข้อวัตร การตื่นลัทธิ และการถือ มงคล๑- ของพวกสมณพราหมณ์ปุถุชน โดยเชื่อว่าเป็นแก่นสารบ้างหรือไม่” “ข้อนี้ไม่เป็นดังนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “สิ่งใดที่เธอทั้งหลายรู้เอง เห็นเอง ทราบเองแล้ว เธอทั้งหลายจะพึงกล่าว ถึงเฉพาะสิ่งนั้นมิใช่หรือ” “เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กล่าวนั้นถูกต้องแล้ว เรานำเธอทั้งหลายเข้าไป (ถึงนิพพาน)แล้วด้วยธรรมนี้ ซึ่งผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วย กาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด ด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน พึงรู้เฉพาะตน’ เราจึงกล่าวไว้อย่างนี้”
องค์ประกอบแห่งการเกิดในครรภ์
[๔๐๘] ภิกษุทั้งหลาย เพราะปัจจัย ๓ ประการประชุมพร้อมกัน การถือ กำเนิดในครรภ์จึงมีได้ ในสัตว์โลกนี้ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน แต่มารดายังไม่มีระดู และคันธัพพะ๒- ยังไม่ปรากฏ การถือกำเนิดในครรภ์ก็ยังมีไม่ได้ @เชิงอรรถ : @ ข้อวัตร ในที่นี้หมายถึงวัตรเป็นคนใบ้ วัตรเยี่ยงช้าง วัตรเยี่ยงม้า วัตรเยี่ยงโค เป็นต้น (ดู ขุ.ม. (แปล) @๒๙/๒๗/๑๑๑) การตื่นลัทธิ หมายถึงความยึดมั่นความเห็นของตนว่า “นี้จริง อย่างอื่นไม่จริง” การถือ @มงคล หมายถึงการยึดถือรูปหรือเสียง เป็นต้นว่าเป็นมงคล (ม.มู.อ. ๒/๔๐๗/๒๑๖-๒๑๗, @ม.มู.ฏีกา ๒/๔๐๗/๒๗๗) @ คันธัพพะ ในที่นี้หมายถึงสัตว์ผู้จะมาเกิดในครรภ์นั้น (ปฏิสนธิวิญญาณ) (ม.มู.อ. ๒/๔๐๘/๒๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๔๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

ในสัตว์โลกนี้ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน มารดามีระดู แต่คันธัพพะยังไม่ปรากฏ การถือกำเนิดในครรภ์ก็ยังมีไม่ได้ แต่เมื่อใด มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน มารดามีระดู และคันธัพพะก็ปรากฏ เมื่อนั้น เพราะปัจจัย ๓ ประการประชุมพร้อมกันอย่างนี้ การถือกำเนิดในครรภ์จึงมีได้ มารดาย่อมรักษาทารกในครรภ์นั้น ๙ เดือนบ้าง ๑๐ เดือนบ้าง จึงคลอด ทารกผู้เป็นภาระหนักนั้นด้วยความกังวลใจมาก และเลี้ยงทารกผู้เป็นภาระหนักนั้น ซึ่งเกิดแล้วด้วยโลหิตของตนด้วยความห่วงใยมาก น้ำนมของมารดานับเป็นโลหิตในอริยวินัย กุมารนั้นอาศัยความเจริญและ ความเติบโตแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ย่อมเล่นด้วยเครื่องเล่นสำหรับกุมาร คือ ไถเล็กๆ ตีไม้หึ่ง หกคะเมน เล่นกังหัน ตวงทราย รถเล็ก ธนูเล็ก ภิกษุทั้งหลาย กุมารนั้นอาศัยความเจริญและความเติบโตแห่งอินทรีย์ ทั้งหลาย อิ่มเอิบ พร้อมพรั่ง บำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ ประการ คือ ๑. รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ๒. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ... ๓. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ... ๔. รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ... ๕. โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด [๔๐๙] กุมารนั้นเห็นรูปทางตาแล้วกำหนัด๑- ในรูปที่น่ารัก ขัดเคืองในรูปที่ ไม่น่ารัก เป็นผู้มีสติในกายไม่ตั้งมั่น และมีจิตเป็นกามาวจร๒- อยู่ ไม่รู้ชัดถึงเจโตวิมุตติ @เชิงอรรถ : @ กำหนัด ในที่นี้หมายถึงให้เกิดราคะขึ้น (ม.มู.อ. ๒/๔๐๙/๒๑๘) @ จิตเป็นกามาวจร ในที่นี้หมายถึงจิตฝ่ายอกุศล (ม.มู.อ. ๒/๔๐๙/๒๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๔๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรมตามความเป็นจริง เขาเป็นผู้ สมบูรณ์ด้วยความยินดีและความยินร้าย๑- อย่างนี้ เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ย่อมเพลิดเพลิน บ่นถึง๒- ติดใจเวทนานั้น เมื่อกุมารนั้นเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลาย เป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้วกำหนัดในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ขัดเคืองในธรรมารมณ์ ที่ไม่น่ารัก ย่อมเป็นผู้มีสติในกายไม่ตั้งมั่น และมีจิตเป็นกามาวจรอยู่ ไม่รู้ชัดถึง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรมตามความเป็นจริง เขาเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยความยินดีและความยินร้ายอย่างนี้ เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ย่อมเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนา นั้นอยู่ เมื่อกุมารนั้นเพลิดเพลิน บ่นถึง ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินก็เกิดขึ้น ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลาย เป็นอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงมี ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ ความยินดี (อนุโรธะ) หมายถึงราคะ ความยินร้าย (วิโรธะ) หมายถึงโทสะ (ม.มู.อ. ๒/๔๐๙/๒๑๘) @ เพลิดเพลิน หมายถึงมีตัณหาทะยานอยาก บ่นถึง หมายถึงพร่ำเพ้อว่า “สุขหนอๆ” (ม.มู.อ. ๒/๔๐๙/๒๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๔๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

พระพุทธคุณ
[๔๑๐] ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย ตนเองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค ตถาคตนั้นรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยตนเองแล้ว จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน คหบดี บุตรคหบดี หรืออนุชน(คนผู้เกิดภายหลัง)ในตระกูลใด ตระกูลหนึ่งย่อมฟังธรรมนั้น ฟังธรรมนั้นแล้วได้ศรัทธาในตถาคต เมื่อมีศรัทธา แล้วย่อมตระหนักว่า ‘การอยู่ครองเรือนเป็นเรื่องอึดอัด เป็นทางแห่งธุลี การบวช เป็นทางปลอดโปร่ง การที่ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ครบถ้วนดุจสังข์ขัด มิใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี เราควรโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้า กาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต’ ต่อมา เขาละทิ้งกองโภคสมบัติน้อย ใหญ่ และเครือญาติน้อยใหญ่ โกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจาก เรือนบวชเป็นบรรพชิต
สิกขาและสาชีพของภิกษุ
[๔๑๑] เขาเมื่อบวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพเสมอด้วย ภิกษุทั้งหลาย คือ ๑. ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ มีความ ละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ ๒. ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับเอาแต่ของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของ ที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๔๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

๓. ละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นห่างไกลจากเมถุนธรรม๑- อันเป็นกิจของชาวบ้าน ๔. ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์ มี ถ้อยคำเป็นหลัก เชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก ๕. ละเว้นขาดจากการพูดส่อเสียด คือ ฟังความจากฝ่ายนี้แล้วไม่ไป บอกฝ่ายโน้นเพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วไม่มา บอกฝ่ายนี้เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน ส่งเสริม คนที่ปรองดองกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน พูดแต่ ถ้อยคำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี ๖. ละเว้นขาดจากการพูดคำหยาบ คือ พูดแต่คำไม่มีโทษ ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ ๗. ละเว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดแต่คำจริง พูดอิงประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่ อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะแก่เวลา ๘. เว้นขาดจากการพรากพืชคาม๒- และภูตคาม๓- ๙. ฉันมื้อเดียว ไม่ฉันตอนกลางคืน เว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล๔- ๑๐. เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการละเล่น ที่เป็นข้าศึกแก่กุศล ๑๑. เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับ ตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ ของหอม และเครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัว ๑๒. เว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่ ๑๓. เว้นขาดจากการรับทองและเงิน ๑๔. เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ๕- @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๒๙๒ (จูฬหัตถิปโทปมสูตร) หน้า ๓๒๓ ในเล่มนี้ @๒-๕ ดูเชิงอรรถที่ ๑-๔ ข้อ ๒๙๓ (จูฬหัตถิปโทปมสูตร) หน้า ๓๒๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๔๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

๑๕. เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ ๑๖. เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี ๑๗. เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย ๑๘. เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ ๑๙. เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร ๒๐. เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา ๒๑. เว้นขาดจากการรับเรือกสวน ไร่นา และที่ดิน ๒๒. เว้นขาดจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร ๒๓. เว้นขาดจากการซื้อการขาย ๒๔. เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วยเครื่องตวงวัด ๒๕. เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง ๒๖. เว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว การปล้น และการขู่กรรโชก ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกาย และบิณฑบาตพออิ่มท้อง จะไป ณ ที่ใดๆ ก็ไปได้ทันที นกมีปีกจะบินไป ณ ที่ใดๆ ก็มีแต่ปีกของมันเป็นภาระบินไป แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกายและ บิณฑบาตพออิ่มท้อง จะไป ณ ที่ใดๆ ก็ไปได้ทันที ภิกษุนั้นประกอบด้วย อริยสีลขันธ์นี้แล้ว ย่อมเสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน ภิกษุนั้นเห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อความสำรวม จักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและ โทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๔๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อความ สำรวมมนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา และโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุนั้น ประกอบด้วยอริยอินทรียสังวร ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคนกับกิเลสในภายใน ภิกษุนั้นทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวร การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง
การทำจิตให้บริสุทธิ์
[๔๑๒] ภิกษุนั้นประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวรและอริยสติ- สัมปชัญญะนี้แล้วพักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าทึบ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันภัตตาหาร เสร็จแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอละอภิชฌา (ความ เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น)ในโลก มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้ บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละพยาบาทและความมุ่งร้าย มีจิตไม่พยาบาท มุ่งประโยชน์ เกื้อกูลสรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากพยาบาทและความมุ่งร้าย ละถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม) ปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่างมีสติสัมปชัญญะอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและความรำคาญ ใจ) เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มีวิจิกิจฉาในกุศลธรรมอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๔๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

๘. มหาตัณหาสังขยสูตร

[๔๑๓] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต และเป็นเหตุทำปัญญาให้อ่อนกำลังได้แล้ว สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจาร สงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ๑- บรรลุ จตุตถฌาน ฯลฯ๒- อยู่
ความดับแห่งกองทุกข์
[๔๑๔] ภิกษุนั้นเห็นรูปทางตาแล้วไม่กำหนัดในรูปที่น่ารัก ไม่ขัดเคืองในรูป ที่น่าชัง ย่อมเป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้๓- อยู่ ทราบชัดถึง เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรมตามความเป็นจริง เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ตาม ทุกข์ ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้น เมื่อ ภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนา ทั้งหลายจึงดับไป เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสของภิกษุนั้นจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... @เชิงอรรถ : @๑-๒ ดูเนื้อความเต็มในข้อ ๕๑ (ภยเภรวสูตร) หน้า ๔๑ ในเล่มนี้ @ มีจิตหาประมาณมิได้ หมายถึงผู้มีโลกุตตรจิตหาประมาณมิได้ คือผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรคจิต @(ม.มู.อ. ๒/๔๑๔/๒๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๕๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๔. มหายมกวรรค]

๙. มหาอัสสปุรสูตร

รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่ยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ไม่ขัดเคือง ในธรรมารมณ์ที่น่าชัง ย่อมเป็นผู้มีสติในกายตั้งมั่น และมีจิตหาประมาณมิได้อยู่ ทราบชัดถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไม่เหลือแห่งบาปอกุศลธรรม ตามความเป็นจริง เธอละความยินดียินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาอย่างใดอย่าง หนึ่ง สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ก็ไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ ติดใจเวทนานั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่บ่นถึง ไม่ติดใจเวทนานั้นอยู่ ความเพลิดเพลินในเวทนาทั้งหลายจึงดับไป เพราะความเพลิดเพลินดับ อุปาทาน จึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสของภิกษุนั้นจึงดับ ความดับ แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีได้อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำตัณหาสังขยวิมุตติ๑- โดยย่อของเรานี้ อนึ่ง เธอทั้งหลายจงทรงจำสาติภิกษุบุตรชาวประมงว่า เป็นผู้ติดอยู่ในข่ายคือ ตัณหาและกองแห่งตัณหาใหญ่” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชม พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
มหาตัณหาสังขยสูตรที่ ๘ จบ
๙. มหาอัสสปุรสูตร
ว่าด้วยเหตุการณ์ในอัสสปุรนิคม สูตรใหญ่
ข้อปฏิบัติของสมณะ
[๔๑๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่อัสสปุรนิคมของพระราชกุมารชาวอังคะ ในแคว้นอังคะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส เรื่องนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ ตัณหาสังขยวิมุตติ หมายถึงเทศนาเป็นเหตุหลุดพ้นเพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา (ม.มู.อ. ๒/๔๑๔/๒๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๔๕๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๔๒๗-๔๕๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=12&siri=38              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=8041&Z=8506                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=440              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=12&item=440&items=19              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=8&A=5435              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=12&item=440&items=19              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=8&A=5435                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/12i440-e1.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.038.than.html https://suttacentral.net/mn38/en/sujato https://suttacentral.net/mn38/en/horner https://suttacentral.net/mn38/en/bodhi



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :