ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๔. รถวินีตสูตร
ว่าด้วยราชรถ ๗ ผลัด
ภิกษุยกย่องพระปุณณมันตานีบุตร
[๒๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน๑- เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุผู้มีถิ่นกำเนิดเดียวกันจำนวนมาก จำพรรษาในท้องถิ่น (ของตน)แล้ว ได้มาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปไหนหนอที่ภิกษุเพื่อนพรหมจารีในท้องถิ่นยกย่อง อย่างนี้ว่า ‘ตนเองเป็นผู้มักน้อย๒- และกล่าวอัปปิจฉกถา(เรื่องความมักน้อย) แก่ภิกษุทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ กลันทกนิวาปสถาน หมายถึงเป็นสถานที่สำหรับพระราชทานเหยื่อแก่กระแต (ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๔๑-๔๒) @ เป็นผู้มักน้อย หมายถึงความมักน้อย ๔ ประการ คือ (๑) เป็นผู้มักน้อยในปัจจัย ๔ (๒) เป็นผู้มักน้อยใน @ธุดงค์ ได้แก่ ไม่ประสงค์ให้ผู้อื่นรู้ความที่ตนสมาทานธุดงค์ (๓) เป็นผู้มักน้อยในการเล่าเรียน ได้แก่ @ไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นรู้ความที่ตนเป็นพหูสูต (๔) เป็นผู้มักน้อยในการบรรลุธรรม ได้แก่ ไม่ปรารถนาให้ @ผู้อื่นรู้ความที่ตนเป็นพระโสดาบัน เป็นต้น (ม.มู.อ. ๒/๑๕๒/๔๗-๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๗๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๔. รถวินีตสูตร

ตนเองเป็นผู้สันโดษ๑- และกล่าวสันตุฏฐิกถา(เรื่องความสันโดษ) แก่ภิกษุทั้งหลาย ตนเองเป็นผู้สงัด๒- และกล่าวปวิเวกกถา(เรื่องความสงัด) แก่ภิกษุทั้งหลาย ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลี๓- และกล่าวอสังสัคคกถา(เรื่องความไม่คลุกคลี) แก่ภิกษุ ทั้งหลาย ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร๔- และกล่าววิริยารัมภกถา(เรื่องการปรารภความ เพียร) แก่ภิกษุทั้งหลาย ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล๕- และกล่าวสีลสัมปทากถา(เรื่องความสมบูรณ์ ด้วยศีล) แก่ภิกษุทั้งหลาย ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ๖- และกล่าวสมาธิสัมปทากถา(เรื่องความสมบูรณ์ ด้วยสมาธิ) แก่ภิกษุทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ เป็นผู้สันโดษ หมายถึงความสันโดษ ๓ ประการ คือ (๑) ยถาลาภสันโดษ เป็นผู้สันโดษตามมีตามได้ @ทั้งดีและไม่ดี (๒) ยถาพลสันโดษ เป็นผู้สันโดษตามกำลังทั้งกำลังของตนและของทายก (๓) ยถาสารุปป- @สันโดษ เป็นผู้สันโดษตามสมควรแก่สมณภาวะ @สันโดษ ๓ ประการ ในปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร จึงเป็น @สันโดษ ๑๒ (ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๔๘-๕๐) @ เป็นผู้สงัด หมายถึงมีวิเวก ๓ ประการ คือ (๑) กายวิเวก สงัดกาย ได้แก่ อยู่ผู้เดียวทุกอิริยาบถ @(๒) จิตตวิเวก ได้แก่ ได้สมาบัติ ๘ (๓) อุปธิวิเวก ได้แก่ บรรลุนิพพาน (ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๕๐) @ เป็นผู้ไม่คลุกคลี หมายถึงไม่คลุกคลีด้วยการคลุกคลี ๕ ประการ คือ (๑) การคลุกคลีด้วยการฟัง @(๒) การคลุกคลีด้วยการเห็น (๓) การคลุกคลีด้วยการสนทนาปราศรัย (๔) การคลุกคลีด้วยการอยู่ร่วมกัน @(๕) การคลุกคลีทางกาย (ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๕๑) @ เป็นผู้ปรารภความเพียร หมายถึงการทำความเพียรทางกายและทางจิตให้บริบูรณ์ (ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๕๔) @ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล คำว่า ศีล ในที่นี้หมายถึงปาริสุทธิศีล ๔ ประการ [คือ (๑) ศีลคือการสังวรในพระ @ปาติโมกข์ (๒) ศีลคือการสำรวมอินทรีย์ ๖ (๓) ศีลคือการพิจารณาใช้สอยปัจจัย ๔ (๔) ศีลคือการเลี้ยง @ชีวิตด้วยความบริสุทธิ์] (ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๕๔) @ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ คำว่า สมาธิ ในที่นี้หมายถึงสมาบัติ ๘ คือ รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ @อันเป็นบาทแห่งวิปัสสนา (ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๕๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๗๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๔. รถวินีตสูตร

ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา และกล่าวปัญญาสัมปทากถา(เรื่องความสมบูรณ์ ด้วยปัญญา) แก่ภิกษุทั้งหลาย ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ และกล่าววิมุตติสัมปทากถา(เรื่องความสมบูรณ์ ด้วยวิมุตติ) แก่ภิกษุทั้งหลาย ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และกล่าววิมุตติญานทัสสนสัมปทา- กถา(เรื่องความสมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ) แก่ภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้ให้โอวาท แนะนำ ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้ อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง” ภิกษุท้องถิ่นเหล่านั้นกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระปุณณ- มันตานีบุตรเป็นผู้ที่พวกภิกษุเพื่อนพรหมจารีท้องถิ่นยกย่องอย่างนี้ว่า ตนเองเป็นผู้มักน้อย และกล่าวอัปปิจฉกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย ตนเองเป็นผู้สันโดษ ... ตนเองเป็นผู้สงัด ... ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลี ... ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร ... ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ... ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิ ... ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา ... ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติ ... ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และกล่าววิมุตติญาณทัสสน- สัมปทากถาแก่ภิกษุทั้งหลาย เป็นผู้ให้โอวาท แนะนำ ชี้แจงให้เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้ อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๗๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๔. รถวินีตสูตร

[๒๕๓] ขณะนั้น ท่านพระสารีบุตรได้นั่งเฝ้าพระผู้มีพระภาคอยู่ ณ ที่ใกล้ ได้มีความคิดว่า “เป็นลาภของท่านพระปุณณมันตานีบุตร ท่านพระปุณณมันตานี- บุตรได้ดีแล้ว ที่พวกภิกษุเพื่อนพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนเลือกเฟ้น กล่าวยกย่อง พรรณนาคุณเฉพาะพระพักตร์ของพระศาสดา และพระศาสดาก็ทรงอนุโมทนาการ กระทำนั้น บางทีเราคงได้พบกับท่านพระปุณณมันตานีบุตรแล้ว สนทนาปราศรัย กันสักครั้งหนึ่ง” [๒๕๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กรุงราชคฤห์ตามพระอัธยาศัย แล้วจึงเสด็จจาริกไปโดยลำดับจนถึงกรุงสาวัตถี ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ท่านพระปุณณมันตานีบุตรทราบข่าวว่า “ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึงกรุงสาวัตถี แล้วประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี”
พระปุณณมันตานีบุตรเข้าเฝ้าพระพุทธองค์
[๒๕๕] ครั้งนั้น ท่านพระปุณณมันตานีบุตรจึงเก็บงำเสนาสนะ ถือบาตรและ จีวรจาริกไปโดยลำดับตามทางที่จะไปยังกรุงสาวัตถีถึงพระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถีแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาค จึงทรงชี้แจงพระปุณณมันตานีบุตรให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ลำดับนั้น ท่านพระปุณณมันตานีบุตร เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้ อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วย ธรรมีกถาแล้ว ได้ชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ แล้วเข้าไปสู่ป่าอันธวัน เพื่อพักผ่อนในเวลากลางวัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๗๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๔. รถวินีตสูตร

[๒๕๖] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า “ท่านพระสารีบุตร พระปุณณมันตานีบุตรที่ท่านสรรเสริญอยู่เนืองๆ นั้น (บัดนี้) พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ท่านก็ชื่นชม ยินดีพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ แล้วหลีก ไปสู่ป่าอันธวันเพื่อพักผ่อนในเวลากลางวัน” ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรรีบถือผ้านิสีทนะ(ผ้ารองนั่ง) แล้วติดตามท่าน พระปุณณมันตานีบุตรไปข้างหลังๆ พอที่จะแลเห็นศีรษะกัน ครั้งนั้น ท่านพระ ปุณณมันตานีบุตร เข้าไปในป่าอันธวัน แล้วนั่งพักผ่อนในเวลากลางวันอยู่ที่โคนไม้ แห่งหนึ่ง แม้ท่านพระสารีบุตรเข้าไปสู่ป่าอันธวัน แล้วก็นั่งพักผ่อนในเวลากลางวัน อยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่งเหมือนกัน
เป้าหมายแห่งพรหมจรรย์ตามลำดับวิสุทธิ ๗
ครั้นในเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้น๑- แล้วเข้าไปหาท่าน พระปุณณมันตานีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระปุณณมันตานีบุตรว่า [๒๕๗] “ท่านผู้มีอายุ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคของเราหรือ” ท่านพระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า “ขอรับ ท่านผู้มีอายุ” “ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อสีลวิสุทธิ (ความหมดจด แห่งศีล) หรือ” “ข้อนี้ หามิได้” @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๘๑ (สัลเลขสูตร) หน้า ๗๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๗๗}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๔. รถวินีตสูตร

“ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อจิตตวิสุทธิ (ความ หมดจดแห่งจิต) หรือ” “ข้อนี้ หามิได้” “ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อทิฏฐิวิสุทธิ (ความ หมดจดแห่งทิฏฐิ) หรือ” “ข้อนี้ หามิได้” “ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกังขาวิตรณวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย) หรือ” “ข้อนี้ หามิได้” “ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อมัคคามัคคญาณ- ทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง) หรือ” “ข้อนี้ หามิได้” “ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อปฏิปทาญาณทัสสน- วิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นทางดำเนิน) หรือ” “ข้อนี้ หามิได้” “ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ) หรือ” “ข้อนี้ หามิได้” “เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อสีลวิสุทธิ หรือ’ ท่านก็ตอบผมว่า ‘ข้อนี้ หามิได้’ เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อจิตต- วิสุทธิหรือ’ ท่านก็ตอบผมว่า ‘ข้อนี้ หามิได้’ เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อทิฏฐิ- วิสุทธิหรือ’ ท่านก็ตอบผมว่า ‘ข้อนี้ หามิได้’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๗๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๔. รถวินีตสูตร

เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อกังขา- วิตรณวิสุทธิหรือ’ ท่านก็ตอบผมว่า ‘ข้อนี้หามิได้’ ... เพื่อมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ’ ... ... เพื่อปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือ’ ... เมื่อผมถามท่านว่า ‘ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อญาณ- ทัสสนวิสุทธิหรือ’ ท่านก็ตอบผมว่า ‘ข้อนี้ หามิได้’ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่ออะไรกันเล่า” “ท่านผู้มีอายุ ผมประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่ออนุปาทา- ปรินิพพาน๑-” “สีลวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ” “ข้อนี้ หามิได้” “จิตตวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ” “ข้อนี้ หามิได้” “ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ” “ข้อนี้ หามิได้” “กังขาวิตรณวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ” “ข้อนี้ หามิได้” “มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ” “ข้อนี้ หามิได้” @เชิงอรรถ : @ อนุปาทาปรินิพพาน หมายถึงปรินิพพานที่หาปัจจัยปรุงแต่งมิได้ แต่ในที่นี้ พระเถระหมายเอาสภาวะ @เป็นที่สุด เป็นเงื่อนปลาย เป็นที่จบการประพฤติพรหมจรรย์ของท่านผู้ถืออปัจจยปรินิพพาน @(ม.มู.อ. ๒/๒๕๘/๖๓-๖๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๗๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๔. รถวินีตสูตร

“ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ” “ข้อนี้ หามิได้” “ญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ” “ข้อนี้ หามิได้” “ธรรมนอกจากธรรมเหล่านี้ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ” พระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า “ข้อนี้ หามิได้ ท่านผู้มีอายุ” ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ เมื่อผมถามท่านว่า ‘สีลวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ’ ท่านก็ตอบผมว่า ‘ข้อนี้ หามิได้’ เมื่อผมถามท่านว่า ‘จิตตวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ’ ท่านก็ตอบ ผมว่า ‘ข้อนี้ หามิได้’ ... ‘ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ’ ... ... ‘กังขาวิตรณวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ’ ... ... ‘มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ’ ... ... ‘ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ’ ... เมื่อผมถามท่านว่า ‘ญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ’ ท่าน ก็ตอบว่า ‘ข้อนี้ หามิได้’ เมื่อผมถามท่านว่า ‘ธรรมนอกจากธรรมเหล่านี้ เป็นอนุปาทาปรินิพพานหรือ’ ท่านก็ตอบผมว่า ‘ข้อนี้ หามิได้’ (เมื่อเป็นเช่นนี้) จะพึงเห็นเนื้อความของคำที่ท่านกล่าวแล้วนี้ได้อย่างไร” [๒๕๘] ท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ ถ้าพระผู้มี พระภาคทรงบัญญัติสีลวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่าพึงบัญญัติธรรมที่ ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ถ้าทรงบัญญัติจิตตวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่าพึงบัญญัติธรรม ที่ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๘๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๔. รถวินีตสูตร

ถ้าทรงบัญญัติทิฏฐิวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่าพึงบัญญัติธรรมที่ ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ถ้าทรงบัญญัติกังขาวิตรณวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่าพึงบัญญัติ ธรรมที่ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ถ้าทรงบัญญัติมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่า พึงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ถ้าทรงบัญญัติปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่า พึงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ถ้าทรงบัญญัติญาณทัสสนวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ก็ชื่อว่าพึง บัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทานว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน ท่านผู้มีอายุ ถ้าธรรมนอกจากธรรมเหล่านี้ จักเป็นอนุปาทาปรินิพพานแล้ว ปุถุชนก็จะพึงปรินิพพาน เพราะว่าปุถุชนเว้นจากธรรมเหล่านี้ ผมจะเปรียบเทียบ ให้ท่านฟัง คนฉลาดบางพวกในโลกนี้ย่อมเข้าใจความหมายแห่งถ้อยคำได้ด้วย อุปมาโวหาร
เปรียบเทียบวิสุทธิด้วยรถ ๗ ผลัด
[๒๕๙] ท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือนพระเจ้าปเสนทิโกศลกำลังประทับอยู่ที่ กรุงสาวัตถี มีพระราชกรณียกิจด่วนบางประการเกิดขึ้นที่เมืองสาเกต และใน ระหว่างกรุงสาวัตถีกับเมืองสาเกตนั้นจะต้องต่อรถถึงเจ็ดผลัด ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จออกจากกรุงสาวัตถี ทรงรถพระที่นั่งผลัด ที่หนึ่ง ที่ประตูพระราชวัง เสด็จไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่สอง จึงทรงสละรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่ง ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สอง เสด็จไปถึงรถ พระที่นั่งผลัดที่สาม จึงทรงสละรถพระที่นั่งผลัดที่สอง ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สาม เสด็จไปถึงรถ พระที่นั่งผลัดที่สี่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๘๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๔. รถวินีตสูตร

จึงทรงสละรถพระที่นั่งผลัดที่สาม ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ เสด็จไปถึงรถ พระที่นั่งผลัดที่ห้า จึงทรงสละรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า เสด็จไปถึงรถ พระที่นั่งผลัดที่หก จึงทรงสละรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่หก เสด็จไปถึงรถ พระที่นั่งผลัดที่เจ็ด จึงทรงสละรถพระที่นั่งผลัดที่หก ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด เสด็จไปถึงประตู เมืองสาเกตด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด ถ้าพวกมิตรอำมาตย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์จะพึงทูลถามพระองค์ว่า ‘ขอเดชะ มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จจากกรุงสาวัตถีถึงประตูเมืองสาเกตด้วยรถพระที่นั่งผลัด นี้ผลัดเดียวหรือ’ ท่านผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะตรัสตอบอย่างไร จึงจะจัดว่าตรัสตอบ อย่างถูกต้อง” ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะต้องตรัส ตอบอย่างนี้ จึงจัดว่าตรัสตอบอย่างถูกต้อง คือตรัสว่า ‘เมื่อฉันกำลังอยู่ใน กรุงสาวัตถีนั้น มีกรณียกิจด่วนบางประการเกิดขึ้นในเมืองสาเกต ระหว่างกรุง สาวัตถีกับเมืองสาเกตนั้น จะต้องใช้รถถึงเจ็ดผลัด ครั้งนั้นแล ฉันออกจากกรุงสาวัตถีขึ้นรถผลัดที่หนึ่ง ที่ประตูวัง ไปถึงรถผลัด ที่สอง สละรถผลัดที่หนึ่ง ขึ้นรถผลัดที่สอง ไปถึงรถผลัดที่สาม สละรถผลัดที่สอง ขึ้นรถผลัดที่สาม ไปถึงรถผลัดที่สี่ สละรถผลัดที่สาม ขึ้นรถผลัดที่สี่ ไปถึงรถผลัด ที่ห้า สละรถผลัดที่สี่ ขึ้นรถผลัดที่ห้า ไปถึงรถผลัดที่หก สละรถผลัดที่ห้า ขึ้นรถ ผลัดที่หก ไปถึงรถผลัดที่เจ็ด สละรถผลัดที่หก ขึ้นรถผลัดที่เจ็ด ไปถึงประตูเมือง สาเกตด้วยรถผลัดที่เจ็ด’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๘๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๔. รถวินีตสูตร

ท่านผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะต้องตรัสตอบอย่างนี้แล จึงจัดว่าตรัสตอบ อย่างถูกต้อง” ท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สีลวิสุทธิมีจิตตวิสุทธิเป็นเป้าหมาย จิตตวิสุทธิมีทิฏฐิวิสุทธิเป็นเป้าหมาย ทิฏฐิวิสุทธิ มีกังขาวิตรณวิสุทธิเป็นเป้าหมาย กังขาวิตรณวิสุทธิมีมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นเป้าหมาย มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิมีปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิเป็นเป้าหมาย ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิมีญาณทัสสนวิสุทธิเป็นเป้าหมาย ญาณทัสสนวิสุทธิมี อนุปาทาปรินิพพานเป็นเป้าหมาย ท่านผู้มีอายุ ผมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่ออนุปาทา- ปรินิพพานโดยแท้”
พระเถระทั้ง ๒ รูปกล่าวสรรเสริญคุณของกันและกัน
[๒๖๐] เมื่อท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตร จึงถามว่า “ท่านผู้มีอายุ ท่านชื่ออะไร และเพื่อนพรหมจารีรู้จักท่านว่าอย่างไร” ท่านพระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ผมชื่อว่าปุณณะ แต่เพื่อน พรหมจารีทั้งหลายรู้จักผมว่า มันตานีบุตร” ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏปัญหา อันลึกซึ้งที่ท่านพระปุณณมันตานีบุตรเลือกเฟ้น นำมากล่าวแก้ด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง ตามเยี่ยงอย่างพระสาวกผู้ได้สดับแล้ว รู้ทั่วถึงคำสอนของพระศาสดาโดยถ่องแท้ จะพึงกล่าวแก้ฉะนั้น เป็นลาภอย่างมากของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย เพื่อนพรหมจารี ทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่ได้พบเห็น ได้นั่งใกล้ท่านปุณณมันตานีบุตร แม้หากเพื่อน พรหมจารีทั้งหลายจะเทิดทูนท่านปุณณมันตานีบุตรไว้บนศีรษะเหมือนเทริดผ้า จึงจะ ได้พบเห็น ได้นั่งใกล้ แม้ข้อนั้นก็นับว่าเป็นลาภมากของท่านเหล่านั้น ท่านเหล่านั้น ได้ดีแล้ว อนึ่ง นับว่าเป็นลาภอย่างมากของผมด้วย ผมได้ดีแล้วด้วย ที่ได้พบเห็น ได้นั่งใกล้ท่านปุณณมันตานีบุตร” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๘๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๕. นิวาปสูตร

เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระปุณณมันตานีบุตรจึงถามว่า “ท่านผู้มีอายุ ท่านชื่ออะไร และเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายรู้จักท่านว่าอย่างไร” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ ผมชื่อว่าอุปติสสะ แต่เพื่อน พรหมจารีทั้งหลายรู้จักผมว่า ‘สารีบุตร” ท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ผมกำลังพูดอยู่กับท่าน ผู้เป็นสาวก ผู้ทรงคุณคล้ายกับพระบรมศาสดา มิได้ทราบเลยว่า ‘ท่านชื่อว่า สารีบุตร’ ถ้าผมทราบว่า ‘ท่านชื่อสารีบุตร’ คำเปรียบเทียบเท่านี้ คงไม่จำเป็น สำหรับกระผม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ปัญหาอันลึกซึ้งที่ท่านสารีบุตร เลือกเฟ้นมาถามแล้วด้วยปัญญาอันลึกซึ้งตามอย่างพระสาวกผู้ได้สดับแล้ว รู้ทั่วถึง คำสอนของพระบรมศาสดาโดยถ่องแท้จะพึงถามฉะนั้น เป็นลาภอย่างมากของ เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายได้ดีแล้วที่ได้พบเห็น ได้นั่งใกล้ ท่านพระสารีบุตร แม้หากเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายจะเทิดทูนท่านพระสารีบุตรไว้ บนศีรษะเหมือนเทริดผ้า จึงจะได้พบเห็น ได้นั่งใกล้ แม้ข้อนั้นก็เป็นลาภอย่างมาก ของท่านเหล่านั้น ท่านเหล่านั้นได้ดีแล้ว อนึ่ง นับว่าเป็นลาภอย่างมากของผมด้วย ผมได้ดีแล้วด้วย ที่ได้พบเห็น ได้นั่งใกล้ท่านสารีบุตร” พระมหานาคทั้ง ๒ รูปนั้นต่างชื่นชมภาษิตของกันและกัน ดังนี้แล
รถวินีตสูตรที่ ๔ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๒๗๓-๒๘๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=12&siri=24              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=4938&Z=5108                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=292              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=12&item=292&items=9              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=8&A=1058              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=12&item=292&items=9              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=8&A=1058                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/12i292-e1.php# https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/12i292-e2.php# https://accesstoinsight.org/tipitaka/mn/mn.024.than.html https://suttacentral.net/mn24/en/sujato https://suttacentral.net/mn24/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :