ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ ปริวาร
กฐินเภท
ว่าด้วยกฐินไม่เป็นอันกรานเป็นต้น
[๑๑๒๔] กฐินใครไม่ได้กราน? กฐินใครได้กราน? กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการ อย่างไร? กฐินเป็นอันกรานด้วยอาการอย่างไร?
กฐินไม่เป็นอันกราน
[๑๑๒๕] คำว่า กฐินใครไม่ได้กราน นั้น ความว่า กฐิน บุคคล ๒ พวก คือ ภิกษุผู้ไม่ได้กราน ๑ ภิกษุผู้ไม่อนุโมทนา ๑ ไม่เป็นอันกรานกฐิน บุคคล ๒ พวกนี้ ไม่เป็น อันกราน.
กฐินเป็นอันกราน
[๑๑๒๖] คำว่า กฐินใครได้กราน นั้น ความว่า กฐิน บุคคล ๒ พวกนี้ คือ ภิกษุผู้กราน ๑ ภิกษุผู้อนุโมทนา ๑ เป็นอันกราน กฐิน บุคคล ๒ พวกนี้ เป็นอันกราน.
เหตุที่กฐินไม่เป็นอันกราน
[๑๑๒๗] คำว่า กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการอย่างไร นั้น คือ กฐินไม่เป็น อันกรานด้วยอาการ ๒๔ คือ:- ๑. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงขีดรอย ๒. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงซักผ้า ๓. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงกะผ้า ๔. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงตัดผ้า ๕. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงเนาผ้า ๖. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงเย็บด้น ๗. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงทำลูกดุม ๘. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงทำรังดุมให้มั่น ๙. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงประกอบผ้าอนุวาต ๑๐. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงประกอบผ้าอนุวาตด้านหน้า ๑๑. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงดามผ้า ๑๒. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงย้อมเป็นสีหม่น ๑๓. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงผ้าที่ทำนิมิตได้มา ๑๔. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่พูดเลียบเคียงได้มา ๑๕. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ยืมเขามา ๑๖. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่เก็บไว้ค้างคืน ๑๗. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่เป็นนิสสัคคิยะ ๑๘. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยผ้าที่มิได้ทำกัปปะพินทุ ๑๙. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นผ้าสังฆาฏิ ๒๐. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นผ้าอุตราสงค์ ๒๑. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นผ้าอันตรวาสก ๒๒. กฐินไม่เป็นอันกราน เว้นจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกินกว่า ๕ ซึ่งตัดดีแล้ว ทำให้มี มณฑล เสร็จในวันนั้น ๒๓. กฐินไม่เป็นอันกราน นอกจากบุคคลกราน ๒๔. กฐินไม่เป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุผู้อยู่นอกสีมา อนุโมทนากฐินนั้น กฐินไม่เป็นอันกราน แม้ด้วยอาการอย่างนี้.
อธิบายเหตุที่ไม่ได้กรานบางข้อ
[๑๑๒๘] ที่ชื่อว่า ทำนิมิต คือ ภิกษุทำนิมิตว่า เราจักกรานกฐินด้วยผ้าผืนนี้. ที่ชื่อว่า พูดเลียบเคียง คือ ภิกษุพูดเลียบเคียงด้วยคิดว่า จักยังผ้ากฐินให้เกิดด้วย การพูดเลียบเคียงนี้. ผ้าที่ทายกไม่ได้หยิบยกให้เรียกว่าผ้ายืมเขามา. ที่ชื่อว่า ผ้าเก็บไว้ค้างคืน มี ๒ อย่าง คือ ผ้าทำค้างคืน ๑ ผ้าเก็บไว้ค้างคืน ๑. ที่ชื่อว่า ผ้าเป็นนิสสัคคิยะ คือ ภิกษุกำลังทำอยู่ อรุณขึ้นมา. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการ ๒๔ อย่างนี้.
เหตุที่กฐินเป็นอันกราน
[๑๑๒๙] คำว่า กฐินเป็นอันกราน ด้วยอาการอย่างไร นั้น ความว่า กฐิน ย่อมเป็นอันกรานด้วยอาการ ๑๗ อย่าง ดังต่อไปนี้ ๑. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าใหม่ ๒. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าเทียมใหม่ ๓. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าเก่า ๔. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าบังสุกุล ๕. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าตกตามร้าน ๖. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้ทำนิมิตได้มา ๗. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้พูดเลียบเคียงได้มา ๘. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่ไม่ได้ยืมเขามา ๙. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่มิได้เก็บไว้ค้างคืน ๑๐. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าที่มิได้เป็นนิสสัคคิยะ ๑๑. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าทำกัปปะพินทุแล้ว ๑๒. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าสังฆาฏิ ๑๓. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าอุตราสงค์ ๑๔. กฐินเป็นอันกราน ด้วยผ้าอันตรวาสก ๑๕. กฐินเป็นอันกราน ด้วยจีวรมีขันธ์ ๕ หรือเกินกว่า ซึ่งตัดดีแล้วทำให้มีมณฑล เสร็จในวันนั้น ๑๖. กฐินเป็นอันกราน เพราะบุคคลกราน ๑๗. กฐินเป็นอันกรานโดยชอบ ถ้าภิกษุผู้อยู่ในสีมา อนุโมทนากฐินนั้น กฐินเป็นอันกราน แม้ด้วยอาการอย่างนี้ กฐินเป็นอันกราน ด้วยอาการ ๑๗ อย่างนี้.
ธรรมที่เกิดพร้อมกัน
[๑๑๓๐] ถามว่า ธรรมเท่าไร ย่อมเกิดพร้อมกับการกรานกฐิน? ตอบว่า ธรรม ๑๕ อย่าง ย่อมเกิดพร้อมกับการกรานกฐิน คือ มาติกา ๘ ปลิโพธ ๒ อานิสงส์ ๕ ธรรม ๑๕ อย่างนี้ ย่อมเกิดพร้อมกับการกรานกฐิน.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๑๐๑๐๐-๑๐๑๗๓ หน้าที่ ๓๘๗-๓๙๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=8&A=10100&Z=10173&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=8&siri=104              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1124              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [1124-1130] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=8&item=1124&items=7              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=3&A=11497              The Pali Tipitaka in Roman :- [1124-1130] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=8&item=1124&items=7              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=3&A=11497              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-pvr16/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-pvr16/en/horner-brahmali

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :