ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
             [๒๔๖] ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรจีวร
เสด็จเข้าพระนครโกสัมพีเพื่อบิณฑบาต เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในพระนครโกสัมพีแล้ว ครั้น
เวลาบ่าย เสด็จกลับจากบิณฑบาต ทรงเก็บเสนาสนะถือบาตรจีวร ประทับยืนท่ามกลางพระสงฆ์
ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ ว่าดังนี้:-
เวรุปสมคาถา
[๒๔๗] ภิกษุมีเสียงดังเป็นเสียงเดียวกัน จะได้สำคัญตัวว่า เป็นพาล ไม่มีเลยสักรูปเดียว ยิ่งเมื่อสงฆ์แตกกัน ก็ไม่ได้ สำคัญเหตุอื่น ภิกษุทั้งหลายลืมสติ สำคัญตัวว่าเป็นบัณฑิต ช่างพูด เจ้าคารม พูดไปตามที่ตนปรารถนา จะยื่นปากพูด ไม่รู้สึกว่าความทะเลาะเป็นเหตุชักพาไป ก็คนเหล่าใดจองเวรไว้ว่า คนโน้นด่าเรา ตีเรา ชนะเรา ได้ลักสิ่งของของเราไป เวรของคนเหล่านั้นย่อมไม่สงบ ส่วนคนเหล่าใดไม่จองเวรไว้ว่า คนโน้นด่าเรา ตีเรา ชนะเรา ได้ลักสิ่งของของเราไป เวรของคนเหล่านั้นย่อมสงบ แต่ไหนแต่ไรมา เวรทั้งหลายในโลกนี้ย่อมไม่ระงับ เพราะเวรเลย แต่ย่อมระงับ เพราะไม่จองเวร ธรรมนี้ เป็นของเก่า ก็คนเหล่าอื่นไม่รู้สึกว่า พวกเรากำลังยับเยิน ณ ท่าม กลางสงฆ์นี้ ส่วนคนเหล่าใดในท่ามกลางสงฆ์นั้น รู้สึก เพราะความรู้สึกของคนเหล่านั้น ความหมายมั่นย่อมระงับ คนเหล่าใดบั่นกระดูก ผลาญชีวิต ลักทรัพย์ คือ โค และม้า คนเหล่านั้นถึงช่วงชิงแว่นแคว้นกัน ก็ยังคบหา สมาคมกันได้ เหตุไฉนพวกเธอจึงคบหาสมาคมกันไม่ได้เล่า ถ้าบุคคลพึงได้สหายมีปัญญา เที่ยวไปด้วยกัน เป็น- *นักปราชญ์คอยช่วยเหลือกัน เขาครอบงำอันตรายทั้งปวง เสียได้ พึงพอใจ มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น ถ้าไม่ได้ สหายมีปัญญา เที่ยวไปด้วยกัน เป็นนักปราชญ์คอยช่วย เหลือกัน พึงเที่ยวไปคนเดียว ดุจพระราชาทรงสละแว่น- *แคว้น คือราชอาณาจักร และดุจช้างมาตังคะ ละฝูงเที่ยวไป ในป่า ฉะนั้น การเที่ยวไปคนเดียวดีกว่า เพราะคุณเครื่อง เป็นสหายไม่มีในคนพาล พึงเที่ยวไปคนเดียว และไม่พึง ทำบาป ดุจช้างมาตังคะ มีความขวนขวายน้อย เที่ยวไป ในป่าแต่ลำพัง ฉะนั้น.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๖๓๖๐-๖๓๙๒ หน้าที่ ๒๖๒-๒๖๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=5&A=6360&Z=6392&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=5&siri=61              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=243              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [246-247] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=5&item=246&items=2              The Pali Tipitaka in Roman :- [246-247] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=5&item=246&items=2              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd10/en/brahmali#pli-tv-kd10:2.3.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd10/en/horner-brahmali#Kd.10.2.3

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :