ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
๗. สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๖
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๖๕๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พวกพ่อค้าเกวียนต่างหมู่หนึ่งประสงค์จะเดิน ทางจากพระนครราชคฤห์ ไปสู่ชนบททางทิศตะวันตก ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกะพ่อค้าพวกนั้นว่า แม้อาตมาจักขอเดินทางไปร่วมกับพวกท่าน. พวกพ่อค้าเกวียนต่างกล่าวว่า พวกกระผมจักหลบหนีภาษีขอรับ. ภิกษุนั้นพูดว่า ท่านทั้งหลายจงรู้กันเองเถิด. เจ้าพนักงานศุลกากรทั้งหลายได้ทราบข่าวว่า พวกพ่อค้าเกวียนต่างจักหลบหนีภาษี จึง คอยซุ่มอยู่ที่หนทาง ครั้นพวกเจ้าพนักงานเหล่านั้นจับพ่อค้าเกวียนต่างหมู่นั้น ริบของต้องห้ามไว้ ได้แล้ว ได้กล่าวกะภิกษุพวกนั้นว่า พระคุณเจ้ารู้อยู่เหตุไรจึงได้เดินทางร่วมกับพ่อค้าเกวียนต่างผู้ ลักซ่อนของต้องห้ามเล่า? เจ้าหน้าที่ไต่สวนแล้วปล่อยภิกษุนั้นไป ครั้นภิกษุรูปนั้นไปถึงพระนคร สาวัตถีแล้ว ได้เล่าเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุรู้อยู่ จึงได้ชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกันกับพวกพ่อค้าผู้เป็นโจร เล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรภิกษุ ข่าวว่า เธอรู้อยู่ชักชวนแล้ว เดินทางสายเดียวกันกับพวกเกวียน พวกต่างผู้เป็นโจร จริงหรือ? ภิกษุรูปนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ ไฉน เธอรู้อยู่จึงได้ชักชวนแล้ว เดินทางไกลสายเดียวกันกับพวกเกวียน พวกต่างผู้เป็นโจรเล่า? การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็น ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใส แล้ว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๑๕. ๖. อนึ่ง ภิกษุใด รู้อยู่ ชักชวนแล้ว เดินทางไกลสายเดียวกัน กับ พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๖๕๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ รู้เอง หรือคนอื่นบอกแก่เธอ หรือเจ้าตัวบอก. ที่ชื่อว่า พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ได้แก่พวกโจรผู้ทำโจรกรรมมาก็ดี ไม่ได้ทำ มาก็ดี ผู้ที่ลักของหลวงก็ดี ผู้ที่หลบซ่อนของเสียภาษีก็ดี. บทว่า กับ คือร่วมกัน. บทว่า ชักชวนแล้ว ความว่า ชักชวนกันว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราไปกันเถิด ไปซิ ขอรับ จงไปกันเถิดขอรับ ไปซิ ท่านทั้งหลาย พวกเราไปกันวันนี้ ไปกันพรุ่งนี้ หรือไปกัน มะรืนนี้ ดังนี้เป็นต้น ต้องอาบัติทุกกฏ. บทว่า โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ความว่า ในตำบลบ้านกำหนดชั่วไก่บินถึง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ ระยะบ้าน ในป่าหาบ้านมิได้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ ระยะกึ่ง โยชน์.
บทภาชนีย์
[๖๕๖] พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ภิกษุสำคัญว่าพวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ชัก ชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกัน โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์. พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ภิกษุมีความสงสัย ชักชวนแล้วเดินทางไกลสายเดียวกัน โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ. พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ภิกษุสำคัญว่ามิใช่พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ชักชวน แล้วเดินทางไกลสายเดียวกัน โดยที่สุดแม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง ไม่ต้องอาบัติ. ภิกษุชักชวน คนทั้งหลายมิได้ชักชวน ต้องอาบัติทุกกฏ. มิใช่พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ภิกษุสำคัญว่า พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ... ต้อง อาบัติทุกกฏ. มิใช่พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ภิกษุมีความสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ. มิใช่พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ภิกษุสำคัญว่ามิใช่พวกเกวียนพวกต่างผู้เป็นโจร ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๖๕๗] ภิกษุไม่ได้ชักชวนกันไป ๑ คนทั้งหลายชักชวน ภิกษุมิได้ชักชวน ๑ ไปผิด วันผิดเวลา ๑ มีอันตราย ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สัปปาณกวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๒๘๖๙-๑๒๙๒๙ หน้าที่ ๕๕๐-๕๕๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=2&A=12869&Z=12929&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=2&siri=102              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=654              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [654-657] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=2&item=654&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=9768              The Pali Tipitaka in Roman :- [654-657] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=2&item=654&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=9768              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc66/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc66/en/horner

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :