ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
เรื่องคิลานสมัย
[๔๘๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ. ภิกษุอีกรูปหนึ่ง นำบิณฑบาตเข้าไปถวาย ภิกษุผู้อาพาธนั้น แล้วได้กล่าวว่า อาวุโส นิมนต์ฉันเถิด. ภิกษุอาพาธปฏิเสธว่า ไม่ต้อง อาวุโส ความหวังจะได้ภัตตาหารของผมมีอยู่. พอเวลาสาย ทายกนำบิณฑบาตมาถวายภิกษุอาพาธนั้น เธอฉันไม่ได้ตามที่คาดหมาย. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงอนุญาตให้ฉันโภชนะทีหลัง
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรก เกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุอาพาธฉันโภชนะ ทีหลังได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ ๑
๘๒. ๓. ข. เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ เพราะโภชนะทีหลัง. นี้สมัยใน เรื่องนั้น คือ คราวเป็นไข้, นี้สมัยในเรื่องนั้น. ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ ฉะนี้.
เรื่องคิลานสมัย จบ.
เรื่องจีวรทานสมัย
[๔๘๘] สมัยนั้นแล เป็นคราวที่ถวายจีวร ประชาชนพากันตกแต่งภัตตาหารพร้อม ด้วยจีวร แล้วนิมนต์ภิกษุทั้งหลายว่า พวกข้าพเจ้าจักนิมนต์ให้ท่านฉันแล้วจักให้ครองจีวร ภิกษุทั้งหลาย รังเกียจว่าไม่รับนิมนต์ด้วยอ้างว่า โภชนะทีหลังพระผู้มีพระภาคทรงห้ามแล้ว จีวรจึงเกิดขึ้นเล็กน้อย. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค ทรงอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในคราวที่ถวายจีวรกัน เราอนุญาตให้ฉันโภชนะทีหลังได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ ๒
๘๒. ๓. ค. เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ เพราะโภชนะทีหลัง. นี้สมัยใน เรื่องนั้น คือ คราวเป็นไข้ คราวที่ถวายจีวร, นี้สมัยในเรื่องนั้น. ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ ฉะนี้.
เรื่องจีวรทานสมัย จบ.
เรื่องจีวรกาลสมัย
[๔๘๙] ต่อมาอีก ประชาชนนิมนต์ภิกษุทั้งหลาย ผู้ทำจีวรฉันภัตตาหาร. ภิกษุทั้งหลาย รังเกียจไม่รับนิมนต์ด้วยอ้างว่าโภชนะทีหลัง พระผู้มีพระภาคทรงห้ามแล้ว. ภิกษุทั้งหลายกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในคราวที่ทำ จีวรกัน เราอนุญาตให้ฉันโภชนะทีหลังได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ ๓
๘๒. ๓. ง. เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ เพราะโภชนะทีหลัง. นี้สมัยใน เรื่องนั้น คือ คราวเป็นไข้ คราวที่ถวายจีวร คราวที่ทำจีวร, นี้สมัยในเรื่องนั้น. ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ ฉะนี้.
เรื่องจีวรกาลสมัย จบ.
เรื่องวิกัปภัตตาหารที่หวังว่าจะได้
[๔๙๐] ครั้งนั้นแลเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสกแล้ว ทรงบาตรจีวร มีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เสด็จเข้าสู่ตระกูลแห่งหนึ่ง ครั้นแล้วประทับนั่งเหนือ พุทธอาสน์ที่เขาปูลาดถวาย. จึงชาวบ้านเหล่านั้นได้ถวายโภชนาหารแด่พระผู้มีพระภาคและท่าน พระอานนท์ ท่านพระอานนท์รังเกียจ ไม่รับประเคน. พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า รับเถิด อานนท์. พระอานนท์กราบทูลว่า ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า, เพราะความหวังจะได้ภัตตาหารของ ข้าพระพุทธเจ้ามีอยู่. พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจึงวิกัปแล้วรับเถิด. ครั้นแล้วพระองค์ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้วิกัปภัตตาหารที่หวังว่าจะได้แล้ว ฉันโภชนะทีหลังได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงวิกัปอย่างนี้:-
คำวิกัปภัตตาหาร
ข้าพเจ้าให้ภัตตาหารที่หวังว่าจะได้ของข้าพเจ้า แก่ท่านผู้มีชื่อนี้.
เรื่องวิกัปภัตตาหารที่หวังว่าจะได้ จบ.

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๐๔๙๗-๑๐๕๕๓ หน้าที่ ๔๓๖-๔๓๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=2&A=10497&Z=10553&pagebreak=0              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=2&siri=69              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=486              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- [487-490] https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=2&item=487&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=8279              The Pali Tipitaka in Roman :- [487-490] https://84000.org/tipitaka/pali/roman_item_s.php?book=2&item=487&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=8279              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc33/en/brahmali

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :