ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ูป ”             ผลการค้นหาพบ  6  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 6
ปิยรูป สาตรูป สภาวะที่น่ารักน่าชื่นใจ มุ่งเอาส่วนที่เป็นอิฏฐารมณ์ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งตัณหามี ๑๐ หมวดๆ ละ ๖ อย่าง คือ
       อายตนะภายใน ๖
       อายตนภายนอก ๖
       วิญญาณ ๖
       สัมผัส ๖
       เวทนา ๖
       สัญญา ๖
       สัญเจตนา ๖ มีรูปสัญเจตนา เป็นต้น
       ตัณหา ๖ มีรูปตัณหา เป็นต้น
       วิตก ๖ มีรูปวิตกเป็นต้น
       วิจาร ๖ มีรูปวิจาร เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 6
ภาวรูป รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ
       มี ๒ คือ อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และ ปุริสภาวะ ความเป็นชาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 6
มิตตปฏิรูป, มิตตปฏิรูปก์ คนเทียมมิตร, มิตรเทียม ไม่ใช่มิตรแท้ มี ๔ พวก ได้แก่
       ๑. คนปอกลอก มีลักษณะ ๔ คือ
           ๑. คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว
           ๒. ยอมเสียน้อยโดยหวังจะเอาให้มาก
           ๓. ตัวมีภัย จึงมาช่วยทำกิจของเพื่อน
           ๔. คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว
       ๒. คนดีแต่พูด มีลักษณะ ๔ คือ
           ๑. ดีแต่ยกของหมดแล้วมาปราศรัย
           ๒. ดีแต่อ้างของยังไม่มีมาปราศรัย
           ๓. สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้
           ๔. เมื่อเพื่อนมีกิจ อ้างแต่เหตุขัดข้อง
       ๓. คนหัวประจบ มีลักษณะ ๔ คือ
           ๑. จะทำชั่วก็เออออ
           ๒. จะทำดีก็เออออ
           ๓. ต่อหน้าสรรเสริญ
           ๔. ลับหลังนินทา
       ๔. คนชวนฉิบหาย มีลักษณะ ๔ คือ
           ๑. คอยเป็นเพื่อนดื่มน้ำเมา
           ๒. คอยเป็นเพื่อนเที่ยวกลางคืน
           ๓. คอยเป็นเพื่อนเที่ยวดูการเล่น
           ๔. คอยเป็นเพื่อนไปเล่นการพนัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 6
รูป
       1. สิ่งที่จะต้องสลายไปเพราะปัจจัยต่างๆ อันขัดแย้ง, สิ่งที่เป็นรูปร่างพร้อมทั้งลักษณะอาการของมัน, ส่วนร่างกาย
           จำแนกเป็น ๒๘ คือมหาภูต หรือธาตุ ๔ และอุปาทายรูป ๒๔ (=รูปขันธ์ในขันธ์ ๕)
       2. อารมณ์ที่รู้ได้ด้วยจักษุ, สิ่งที่ปรากฏแก่ตา (ข้อ ๑ ในอารมณ์ ๖ หรือในอายตนะภายนอก ๖)
       3. ลักษณนาม ใช้เรียกพระภิกษุสามเณร เช่น ภิกษุรูปหนึ่ง สามเณร ๕ รูป;
           ในภาษาพูดบางแห่งนิยมใช้ องค์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 6
อรูป ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ได้แก่ อรูปฌาน, ภพของสัตว์ผู้เข้าถืออรูปฌาน,
       ภพของอรูปพรหม มี ๔ คือ
           ๑. อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้ เป็นอารมณ์)
           ๒. วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ เป็นอารมณ์)
           ๓. อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์)
           ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 6
อุปาทายรูป รูปอาศัย, รูปที่เกิดสืบเนื่องจากมหาภูตรูป,
       อาการของมหาภูตรูป ตามหลักฝ่ายอภิธรรมว่า มี ๒๔ คือ
       ก. ประสาท หรือ ปสาทรูป ๕ ได้แก่
           จักขุ ตา, โสต หู, ฆานะ จมูก, ชิวหา ลิ้น, กาย
       ข. โคจรรูป หรือ วิสัยรูป (รูปที่เป็นอารมณ์) ๕ ได้แก่
           รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
           (โผฏฐัพพะ ไม่นับเข้าจำนวน เพราะตรงกับปฐวี เตโช วาโย ซึ่งเป็นมหาภูตรูป)
       ค. ภาวรูป ๒ ได้แก่
           อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และ
           ปุริสภาวะ ความเป็นชาย
       ง. หทัยรูป ๑ คือ หทัยวัตถุ หัวใจ
       จ. ชีวิตรูป ๑ คือ ชีวิตินทรีย์ ภาวะที่รักษารูปให้เป็นอยู่
       ฉ. อาหารรูป ๑ คือ กวฬิงการาหาร อาหารที่กินเกิดเป็นโอชา
       ช. ปริจเฉทรูป ๑ คือ อากาศธาตุ ช่องว่าง
       ญ. วิญญัติรูป ๒ คือ
           กายวิญญัติ ไหวกายให้รู้ความ
           วจีวิญญัติ ไหววาจาให้รู้ความ คือพูดได้
       ฎ. วิการรูป ๕ อาการดัดแปลงต่างๆ ได้แก่
           ลหุตา ความเบา,
           มุทุตา ความอ่อน,
           กัมมัญญตา ความควรแก่งาน,
           (อีก ๒ คือ วิญญัติรูป ๒ นั่นเอง ไม่นับอีก)
       ฏ. ลักขณรูป ๔ ได้แก่
           อุปจยะ ความเติบขึ้นได้,
           สันตติ สืบต่อได้,
           ชรตา ทรุดโทรมได้,
           อนิจจตา ความสลายไม่ยั่งยืน
       (นับโคจรรูปเพียง ๔ วิการรูป เพียง ๓ จึงได้ ๒๔);
       ดู มหาภูต ด้วย


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ูป_
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D9%BB_


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]