ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ิต ”             ผลการค้นหาพบ  12  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 12
กายทุจริต ประพฤติชั่วด้วยกาย, ประพฤติชั่วทางกายมี ๓ อย่างคือ
       ๑. ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์
       ๒. อทินนาทาน ลักทรัพย์
       ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
           ดู ทุจริต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 12
กายสุจริต ประพฤติชอบด้วยกาย, ประพฤติชอบทางกาย มี ๓ อย่าง คือ
       เว้นจากฆ่าสัตว์
       เว้นจากลักทรัพย์
       เว้นจากประพฤติผิดในกาม
           ดู กายทุจริต, สุจริต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 12
จริต ความประพฤติ, พื้นนิสัย หรือพื้นเพแห่งจิตของคนทั้งหลายที่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างกันไปคือ
       ๑. ราคจริต ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางรักสวยรักงาม มักติดใจ)
       ๒. โทสจริต ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางใจร้อนขี้หงุดหงิด)
       ๓. โมหจริต ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางเหงาซึม งมงาย)
       ๔. สัทธาจริต ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางน้อมใจเชื่อ)
       ๕. พุทธิจริต ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดพิจารณา)
       ๖. วิตกจริต ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดจับจดฟุ้งซ่าน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 12
ญาณจริต คนที่มีพื้นนิสัยหนักในความรู้ มักใช้ความคิด พึงส่งเสริมด้วย แนะนำให้ใช้ความคิดในทางที่ชอบ
       (เป็นอีกชื่อหนึ่งของพุทธิจริต)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 12
ทุจริต ความประพฤติชั่ว, ความประพฤติไม่ดีมี ๓ คือ
       ๑. กายทุจริต ประพฤติชั่วด้วยกาย
       ๒. วจีทุจริต ประพฤติชั่วด้วยวาจา
       ๓. มโนทุจริต ประพฤติชั่วด้วยใจ;
       เทียบ สุจริต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 12
นิคคหิต อักขระที่ว่ากดเสียง,
       อักขระที่ว่าหุบปากกดกรณ์ไว้ไม่ปล่อย มีรูปเป็นจุดกลวง เช่น สงฺฆํ อุปสมฺปทํ;
       บัดนี้นิยมเขียน นิคหิต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 12
นิมิต
       1. เครื่องหมาย ได้แก่วัตถุอันเป็นเครื่องหมายแห่งสีมา,
           วัตถุที่ควรใช้เป็นนิมิตมี ๘ อย่าง ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ น้ำ
       2. (ในคำว่าทำนิมิต) ทำอาการเป็นเชิงชวนให้เขาถวาย, ขอเขาโดยวิธีให้รู้โดยนัย ไม่ขอตรงๆ
       3. เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญกรรมฐาน,
           ภาพที่เห็นในใจของผู้เจริญกรรมฐาน,
           ภาพที่เป็นอารมณ์กรรมฐาน มี ๓ คือ
               ๑. บริกรรมนิมิต นิมิตแห่งบริกรรม หรือนิมิตตระเตรียม ได้แก่สิ่งที่เพ่ง หรือกำหนดนึกเป็นอารมณ์กรรมฐาน
               ๒. อุคคหนิมิต นิมิตที่ใจเรียน หรือนิมิตติดตาติดใจ ได้แก่ สิ่งที่เพ่งหรือนึกนั้นเอง ที่แม่นในใจ จนหลับตามองเห็น
               ๓. ปฏิภาคนิมิต นิมิตเสมือน หรือนิมิตเทียบเคียง ได้แก่ อุคคหนิมิตนั้น เจนใจจนกลายเป็นภาพที่เกิดจากสัญญา เป็นของบริสุทธิ์ จะนึกขยาย หรือย่อส่วนก็ได้ตามปรารถนา
       4. สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นก่อนเสด็จออกบรรพชา ๔ อย่าง;
           ดู เทวทูต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 12
มโนทุจริต ความประพฤติชั่วด้วยใจ, ความทุจริตทางใจมี ๓ อย่าง
       ๑. อภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้จ้องจะเอาของเขา
       ๒. พยาบาท ความขัดเคืองคิดร้าย
       ๓. มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดจากคลองธรรม
       (ข้อ ๓ ในทุจริต ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 12
มโนสุจริต ความประพฤติชอบด้วยใจ, ความสุจริตทางใจ มี ๓ อย่าง คือ
       ๑. อนภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา
       ๒. อพยาบาท ไม่พยาบาทปองร้ายเขา
       ๓. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม
       (ข้อ ๓ ในสุจริต ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 12
วจีทุจริต ประพฤติชั่วด้วยวาจา, ประพฤติชั่วทางวาจามี ๔ อย่างคือ
       ๑. มุสาวาท พูดเท็จ
       ๒. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด
       ๓. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
       ๔. สัมผัปปลาป พูดเพ้อเจ้อ
       ดู ทุจริต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 12
วจีสุจริต ประพฤติชอบด้วยวาจา, ประพฤติชอบทางวาจา มี ๔ อย่าง คือ
       เว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียด เว้นจากพูดคำหยาบ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ;
       ดู สุจริต; เทียบ วจีทุจริต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 12
สุจริต ประพฤติดี, ประพฤติชอบ,
       ประพฤติถูกต้องตามคลองธรรม มี ๓ คือ
           ๑. กายสุจริต ประพฤติชอบด้วยกาย
           ๒. วจีสุจริต ประพฤติชอบด้วยวาจา
           ๓. มโนสุจริต ประพฤติชอบด้วยใจ;
       เทียบ ทุจริต


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ิต_
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D4%B5_


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]