ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ อธ ”             ผลการค้นหาพบ  29  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 29
จีวรอธิษฐาน จีวรครอง, ผ้าจำกัดจำนวน ๓ ผืนที่อธิษฐานคือ กำหนดไว้ใช้ประจำตัวตามที่พระวินัยอนุญาตไว้;
       ตรงข้ามกับ อติเรกจีวร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 29
เจ้าอธิการแห่งคลัง ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับคลังเก็บพัสดุของสงฆ์ มี ๒ อย่างคือ
       ผู้รักษาคลังที่เก็บพัสดุของสงฆ์ (ภัณฑาคาริก) และ
       ผู้จ่ายของเล็กน้อยให้แก่ภิกษุทั้งหลาย (อัปปมัตตวิสัชชกะ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 29
เจ้าอธิการแห่งจีวร คือ ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับจีวร ๓ อย่างคือ
       ผู้รับจีวร (จีวรปฏิคาหก)
       ผู้เก็บจีวร (จีวรนิทหก)
       ผู้แจกจีวร (จีวรภาชก)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 29
เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับเสนาสนะ แยกเป็น ๒ คือ
       ผู้แจกเสนาสนะให้ภิกษุถือ (เสนาสนคาหาปก) และ
       ผู้แต่งตั้งเสนาสนะ (เสนาสนปัญญาปก)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 29
เจ้าอธิการแห่งอาราม ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับงานวัด แยกเป็น ๓ คือ
       ผู้ใช้คนงานวัด (อารามิกเปสก)
       ผู้ใช้สามเณร (สามเณรเปสก) และ
       ผู้ดูแลปลูกสร้าง (นวกัมมิกะ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 29
เจ้าอธิการแห่งอาหาร ภิกษุผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับอาหาร มี ๔ อย่าง คือ
       ผู้จัดแจกภัต (ภัตตุเทสก์)
       ผู้แจกยาคู (ยาคุภาชก)
       ผู้แจกผลไม้ (ผลภาชก) และ
       ผู้แจกของเคี้ยว (ขัชชภาชก)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 29
บาตรอธิษฐาน บาตรที่พระพุทธเจ้าอนุญาตให้ภิกษุมีไว้ใช้ประจำตัวหนึ่งใบ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 29
อธรรม ไม่ใช่ธรรม, ไม่เป็นธรรม, ผิดธรรม, ชั่วร้าย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 29
อธรรมวาที ผู้กล่าวสิ่งที่มิใช่ธรรม, ผู้ไม่พูดตามหลักไม่พูดตามธรรม, ผู้พูดไม่เป็นธรรม, ผู้ไม่เป็นธรรมวาที

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 29
อธิกมาส เดือนที่เพิ่มขึ้นตามจันทรคติ (คือในปีนั้นมีเดือน ๘ สองหน รวมเป็น ๑๓ เดือน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 29
อธิกรณ์ เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ, เรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการ มี ๔ อย่าง คือ
       ๑. วิวาทาธิกรณ์ การเถียงกันเกี่ยวกับพระธรรมวินัย
       ๒. อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ
       ๓. อาปัตตาธิกรณ์ การต้องอาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวให้พ้นจากอาบัติ
       ๔. กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่างๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ เช่น ให้อุปสมบท ให้ผ้ากฐิน,
       ในภาษาไทยอธิกรณ์มีความหมายเลือนลางลงและแคบเข้า กลายเป็น คดีความ โทษ เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 29
อธิกรณสมถะ ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์, วิธีดำเนินการเพื่อระงับอธิกรณ์มี ๗ อย่าง คือ
       ๑. สัมมุขาวินัย วิธีระงับในที่พร้อมหน้า
       ๒. สติวินัย วิธีระงับโดยถือสติเป็นหลัก
       ๓. อมูฬหวินัย วิธีระงับสำหรับผู้หายจากเป็นบ้า
       ๔. ปฏิญญาตกรณะ การทำตามที่รับ
       ๕. ตัสสปาปิยสิกา การตัดสินลงโทษแก่ผู้ผิด (ที่ไม่รับ)
       ๖. เยภุยยสิกา การตัดสินตามคำของคนข้างมาก
       ๗. ติณวัตถารกวินัย วิธีดุจกลบไว้ด้วยหญ้า (ประนีประนอม)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 29
อธิกวาร วันที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติ (คือในปีนั้น เติมให้เดือนเจ็ดเป็นเดือนเต็ม มี ๓๐ วัน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 29
อธิกสุรทิน วันทางสุริยคติที่เพิ่มขึ้น (คือเพิ่มวันเข้าในเดือนกุมภาพันธ์อีกวันหนึ่ง เป็น ๒๙ วัน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 29
อธิการ
       1. เรื่อง, ตอน เช่น “ในอธิการนี้” หมายความว่า ในเรื่องนี้ ในตอนนี้
       2. อำนาจ, การปกครอง, บังคับบัญชา, ตำแหน่ง, หน้าที่, กิจการ, ภาระ, สิทธิ,
           เคยเรียกเจ้าอาวาสที่ไม่เป็นเปรียญและไม่มีสมณศักดิ์อย่างอื่นว่า พระอธิการ และ
           เรียกเจ้าอาวาสเช่นนั้นที่เป็นเจ้าคณะตำบลว่า เจ้าอธิการ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 29
อธิจิตตสิกขา การศึกษาในอธิจิตต์, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมจิตต์ เพื่อให้เกิดสมาธิอย่างสูง, การฝึกฝนอบรมจิต เพื่อให้เกิดสมาธิอย่างสูง, การฝึกฝนอบรมจิตในให้เข้มแข็งมั่นคงมีคุณธรรม เช่น ขันติ เมตตา กรุณา สดชื่น เบิกบาน เป็นสุข ผ่องใส เหมาะแก่การใช้ความคิดพิจารณา เป็นฐานแห่งการเจริญปัญญา
       (ข้อ ๒ ในสิกขา ๓ หรือไตรสิกขา)
       เรียกกันง่ายๆ ว่า สมาธิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 29
อธิบดี ใหญ่ยิ่ง, ผู้เป็นใหญ่, หัวหน้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 29
อธิบาย ไขความ, ขยายความ, ชี้แจง;
       ความประสงค์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 29
อธิปเตยยะ, อธิปไตย ความเป็นใหญ่ มี ๓ อย่าง คือ
       ๑. อัตตาธิปไตย ความมีตนเป็นใหญ่
       ๒. โลกาธิปไตย ความมีโลกเป็นใหญ่
       ๓. ธัมมาธิปไตย ความมีธรรมเป็นใหญ่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 29
อธิปัญญาสิกขา การศึกษาในอธิปัญญา,
       ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง จนจิตใจหลุดพ้นเป็นอิสระ ปราศจากกิเลสและความทุกข์
       (ข้อ ๓ ในสิกขา ๓ หรือไตรสิกขา)
       เรียกกันง่ายๆ ว่า ปัญญา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 29
อธิมุตติ อัธยาศัย, ความโน้มเอียง, ความคิดมุ่งไป, ความมุ่งหมาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 29
อธิโมกข์
       1. ความปลงใจ, ความตกลงใจ, ความปักใจในอารมณ์
       2. ความน้อมใจเชื่อ, ความซาบซึ้งศรัทธาหรือเลื่อมใสอย่างแรงกล้า ซึ่งทำให้จิตใจเจิดจ้าหมดความเศร้าหมอง แต่ไม่เป็นไปตามแนวทางแห่งเหตุผล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 29
อธิวาสนขันติ ความอดทนคือความอดกลั้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 29
อธิศีลสิกขา การศึกษาในอธิศีล, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง, การฝึกฝนอบรมความประพฤติทางกาย วาจา คือ ระเบียบวินัย การอยู่ร่วมกับผู้อื่นและในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ด้วยดี ให้เกื้อกูล ไม่เบียดเบียน ไม่ทำลาย เป็นพื้นฐานแห่งการฝึกอบรมจิตใจในอธิจิตตสิกขา
       (ข้อ ๑ ในสิกขา ๓ หรือไตรสิกขา),
       เขียนอย่างบาลีเป็น อธิสีลสิกขา และ เรียกกันง่ายๆ ว่า ศีล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 29
อธิษฐาน
       1. ในทางพระวินัย แปลว่า การตั้งเอาไว้หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ คือ ตั้งเอาไว้เป็นของนั้นๆ หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ว่าจะใช้เป็นของประจำตัวชนิดนั้นๆ
           เช่น ได้ผ้ามาผืนหนึ่ง ตั้งใจว่าจะใช้เป็นอะไร คือจะเป็นสังฆาฏิ อุตตราสงค์ อันตรวาสก ก็อธิษฐานเป็นอย่างนั้นๆ เมื่ออธิษฐานแล้ว ของนั้นเรียกว่าเป็นของอธิษฐาน เช่น เป็นสังฆาฏิอธิษฐาน จีวรอธิษฐาน (นิยมเรียกกันว่า จีวรครอง) ตลอดจนบาตรอธิษฐาน
           ส่วนของชนิดนั้น ที่ได้เพิ่มมาอีกหรือเกินจากนั้นไปก็เป็นอติเรก เช่น เป็นอติเรกจีวร อติเรกบาตร,
           คำอธิษฐาน เช่น “อิมํ สงฺฆาฏึ อธิฏฺฐามิ”
           (ถ้าอธิษฐานของอื่น ก็เปลี่ยนไปตามชื่อของนั้น เช่น เป็น อุตฺตราสงฺคํ, อนฺตรวาสกํ เป็นต้น)
       2. ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว, ความมั่นคง เด็ดเดี่ยว แน่วแน่ในทางดำเนินและจุดมุ่งหมายของตน (ข้อ ๘ ในบารมี ๑๐),
           ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่า ความตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ความตั้งจิตปรารถนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 29
อธิษฐานธรรม ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ,
       ธรรมเป็นที่มั่น มี ๔ อย่าง คือ
           ๑. ปัญญา
           ๒. สัจจะ
           ๓. จาคะ
           ๔. อุปสมะ (รู้จักหาความสงบใจ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 29
อธิษฐานพรรษา ความตั้งใจกำหนดลงไปว่าจะอยู่จำพรรษา ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดไตรมาส (๓ เดือน);
       ดู จำพรรษา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 29
อธิษฐานอุโบสถ อุโบสถที่ทำด้วยการอธิษฐาน ได้แก่ อุโบสถที่ภิกษุรูปเดียวทำ
       กล่าวคือ เมื่อในวัดมีภิกษุรูปเดียวถึงวันอุโบสถ เธอพึงอธิษฐานคือตั้งใจหรือกำหนดใจว่า
           “อชฺช เม อุโปสโถ” แปลว่า “วันนี้อุโบสถของเรา”
       เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปุคคลอุโบสถ (อุโบสถของบุคคล หรือทำโดยบุคคล);
       ดู อุโบสถ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 29
โอธานสโมธาน ชื่อปริวาสประเภทสโมธานปริวาสอย่างหนึ่ง
       ใช้สำหรับอาบัติสังฆาทิเสสที่ต้องหลายคราว แต่มีจำนวนวันที่ปิดไว้เท่ากัน
       เช่น ต้องอาบัติ ๒ คราว ปิดไว้คราวละ ๕ วัน ให้ขอปริวาสรวมอาบัติและราตรีเข้าด้วยกันเพื่ออยู่เพียง ๕ วันเท่านั้น;
       (แต่ตามนัยอรรถกถา ท่านแก้ว่า สำหรับอันตราบัติมีวันปิดที่ประมวลเข้ากับอาบัติเดิม);
       ดู สโมธานปริวาส


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อธ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CD%B8


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]