ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ลป ”             ผลการค้นหาพบ  11  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 11
กัป, กัลป์ กาลกำหนด, ระยะเวลายาวนานเหลือเกิน ที่กำหนดว่าโลกคือสกลจักรวาฬประลัยครั้งหนึ่ง (ศาสนาฮินดูว่าเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของพระพรหม)
       ท่านให้เข้าใจด้วยอุปมาว่าเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูงด้านละ ๑ โยชน์ ทุก ๑๐๐ ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวนานกว่านั้น;
       กำหนดอายุของโลก;
       กำหนดอายุ เรียกเต็มว่า อายุกัป เช่นว่า อายุกัปของคนยุคนี้ ประมาณ ๑๐๐ ปี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 11
กัลป์ ดู กัป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 11
กัลปนา
       1. ที่หรือสิ่งอื่นซึ่งเจ้าของอุทิศผลประโยชน์ให้แก่วัด
       2. ส่วนบุญที่ผู้ทำอุทิศให้แก่ผู้ตาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 11
กุลปสาทกะ ผู้ยังตระกูลให้เลื่อมใส

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 11
จูฬปันถกะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง ในอสีติมหาสาวก
       เป็นบุตรของธิดาเศรษฐีกรุงราชคฤห์ และเป็นน้องชายของมหาปันถกะ ออกบวชในพระพุทธศาสนา
       ปรากฏว่า มีปัญญาทึบอย่างยิ่ง พี่ชายมอบคาถาเพียง ๑ คาถาให้ ท่องตลอดเวลา ๔ เดือน ก็ท่องไม่ได้จึงถูกพี่ชายขับไล่ เสียใจคิดจะสึก พอดีพอพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสปลอบแล้วประทานผ้าขาวบริสุทธิ์ให้ไปลูบคลำพร้อมทั้งบริกรรมสั้นๆ ว่า “รโชหรณํๆๆ” ผ้านั้นหมองเพราะมือคลำอยู่เสมอ ทำให้มองเห็นไตรลักษณ์ และได้สำเร็จพระอรหัต
       ท่านมีความชำนาญแคล่วคล่องในอภิญญา ๖
       ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏฏ์;
       ชื่อท่านเรียกว่าง่ายๆ ว่าจูฬบันถก, บางแห่งเขียนเป็นจุลลบันถก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 11
มัลลปาโมกข์ มัลลกษัตริย์ชั้นหัวหน้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 11
ศิลปะ ฝีมือ, ความฉลาดในฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การแสดงออกมาให้ปรากฏอย่างงดงามน่าชม, วิชาที่ใช้ฝีมือ, วิชาชีพต่างๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 11
ศิลปวิทยา ศิลปะและวิทยาการ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 11
ศิลปศาสตร์ ตำราว่าด้วยวิชาความรู้ต่างๆ มี ๑๘ ประการ เช่นตำราว่าด้วยการคำนวณ ตำรายิงธนู เป็นต้น อันได้มีการเรียนการสอนกันมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล;
       ๑๘ ประการนั้น มีหลายแบบ ยกมาดูแบบหนึ่งจากคัมภีร์โลกนิติ และธรรมนิติ ได้แก่
           ๑. สุติ ความรู้ทั่วไป
           ๒. สัมมุติ ความรู้กฎธรรมเนียม
           ๓. สังขยา คำนวณ
           ๔. โยคา การช่างการยนตร์
           ๕. นีติ การปกครอง (คือความหมายเดิมของ นิติศาสตร์ ในชมพูทวีป)
           ๖. วิเสสิกา ความรู้การอันให้เกิดมงคล
           ๗. คันธัพพา การร้องรำ
           ๘. คณิกา การบริหารร่างกาย
           ๙. ธนุพเพธา การยิงธนู (ธนุพเพทา ก็ว่า)
           ๑๐. ปุราณา การบูรณะ
           ๑๑. ติกิจฉา การบำบัดโรค (แพทยศาสตร์)
           ๑๒. อิติหาสา ตำนานหรือประวัติศาสตร์
           ๑๓. โชติ ความรู้เรื่องสิ่งส่องสว่างในท้องฟ้า (ดาราศาสตร์)
           ๑๔. มายา ตำราพิชัยสงคราม
           ๑๕. ฉันทสา การประพันธ์
           ๑๖. เกตุ การพูด
           ๑๗. มันตา การเวทมนตร์
           ๑๘. สัททา หลักภาษาหรือไวยากรณ์,
       ทั้ง ๑๘ อย่างนี้โบราณเรียกรวมว่า สิปปะ หรือศิลปะ ไทยแปลออกเป็น ศิลปศาสตร์ (ตำราว่าด้วยศิลปะต่างๆ);
       แต่ในสมัยปัจจุบัน ได้แยกความหมายศิลปะ กับ ศาสตร์ ออกจากกัน คือ
           ศิลปะ หมายถึง วิทยาการที่มีวัตถุประสงค์ตรง ความงาม
               เช่น ดุริยางคศิลป์ นาฏศิลป์ และจิตรกรรม เป็นต้น
           ศาสตร์ หมายถึง วิทยาการที่มีวัตถุประสงค์ตรง ความจริง
               เช่น คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 11
ศุกลปักษ์ “ฝ่ายขาว, ฝ่ายสว่าง” หมายถึง ข้างขึ้น;
       ชุณหปักษ์ ก็เรียก;
       ตรงข้ามกับ กัณหปักษ์ หรือ กาฬปักษ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 11
อาลปนะ คำร้องเรียก


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ลป
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C5%BB


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]