ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

ศิลปศาสตร์ ตำราว่าด้วยวิชาความรู้ต่างๆ มี ๑๘ ประการ เช่นตำราว่าด้วยการคำนวณ ตำรายิงธนู เป็นต้น อันได้มีการเรียนการสอนกันมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล;
       ๑๘ ประการนั้น มีหลายแบบ ยกมาดูแบบหนึ่งจากคัมภีร์โลกนิติ และธรรมนิติ ได้แก่
           ๑. สุติ ความรู้ทั่วไป
           ๒. สัมมุติ ความรู้กฎธรรมเนียม
           ๓. สังขยา คำนวณ
           ๔. โยคา การช่างการยนตร์
           ๕. นีติ การปกครอง (คือความหมายเดิมของ นิติศาสตร์ ในชมพูทวีป)
           ๖. วิเสสิกา ความรู้การอันให้เกิดมงคล
           ๗. คันธัพพา การร้องรำ
           ๘. คณิกา การบริหารร่างกาย
           ๙. ธนุพเพธา การยิงธนู (ธนุพเพทา ก็ว่า)
           ๑๐. ปุราณา การบูรณะ
           ๑๑. ติกิจฉา การบำบัดโรค (แพทยศาสตร์)
           ๑๒. อิติหาส ตำนานหรือประวัติศาสตร์
           ๑๓. โชติ ความรู้เรื่องสิ่งส่องสว่างในท้องฟ้า (ดาราศาสตร์)
           ๑๔. มายา ตำราพิชัยสงคราม
           ๑๕. ฉันทสา การประพันธ์
           ๑๖. เกตุ การพูด
           ๑๗. มันตา การเวทมนตร์
           ๑๘. สัททา หลักภาษาหรือไวยากรณ์,
       ทั้ง ๑๘ อย่างนี้โบราณเรียกรวมว่า สิปปะ หรือศิลปะ ไทยแปลออกเป็น ศิลปศาสตร์ (ตำราว่าด้วยศิลปะต่างๆ);
       แต่ในสมัยปัจจุบัน ได้แยกความหมายศิลปะ กับ ศาสตร์ ออกจากกัน คือ
           ศิลปะ หมายถึง วิทยาการที่มีวัตถุประสงค์ตรง ความงาม
               เช่น ดุริยางคศิลป์ นาฏศิลป์ และจิตรกรรม เป็นต้น
           ศาสตร์ หมายถึง วิทยาการที่มีวัตถุประสงค์ตรง ความจริง
               เช่น คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อิติหาส&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CD%D4%B5%D4%CB%D2%CA&detail=on

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]