ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ สมมติ ”             ผลการค้นหาพบ  6  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 6
วุฏฐานสมมติ มติอนุญาตให้ออกจากความเป็นสิกขมานาเพื่ออุปสมบทเป็นภิกษุณี,
       นางสิกขมานาผู้สมาทานสิกขาบท ๖ ข้อ ตั้งแต่ปาณาติปาตา เวรมณี ถึงวิกาลโภชนา เวรมณี โดยมิได้ขาด ครบเวลา ๒ ปีแล้ว จึงมีสิทธิขอวุฏฐานสมมติ เพื่ออุปสมบทเป็นภิกษุณีต่อไป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 6
สมมติ การร่วมกัน, การตกลงกัน, การมีมติร่วมกัน หรือยอมรับร่วมกัน;
       การที่สงฆ์ประชุมกันตกลงมอบหมาย หรือแต่งตั้งภิกษุให้ทำกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าที่ในเรื่องอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สมมติภิกษุเป็นผู้ให้โอวาทภิกษุณี สมมติภิกษุเป็นภัตตุเทศก์ เป็นต้น;
       ในภาษาไทย ใช้ในความหมายว่า ตกลงกันว่า ต่างว่า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 6
สมมติเทพ เทวดาโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหรือยอมรับร่วมกันของมนุษย์ ได้แก่พระราชา พระราชเทวี พระราชกุมาร
       (ข้อ ๑ ในเทพ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 6
สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ คือ โดยความตกลงหมายรู้ร่วมกันของมนุษย์
       เช่น นาย ก. นาย ข. ช้าง ม้า มด โต๊ะ หนังสือ พ่อ แม่ ลูก เพื่อน เป็นต้น
       ซึ่งเมื่อกล่าวตามสภาวะ หรือโดยปรมัตถ์แล้ว ก็เป็นเพียงสังขาร หรือนามรูป หรือขันธ์ ๕ เท่านั้น;
       ตรงข้ามกับ ปรมัตถสัจจะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 6
สิกขาสมมติ ความตกลงยินยอมของภิกษุณีสงฆ์ที่จะให้สามเณรีผู้มีอายุ ๑๘ ปีเต็มแล้ว เริ่มรักษาสิกขาบท ๖ ประการ ตลอดเวลา ๒ ปี ก่อนที่จะได้อุปสมบท,
       เมื่อภิกษุณีสงฆ์ให้สิกขาสมมติแล้ว สามเณรีนั้นได้ชื่อว่าเป็น สิกขมานา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 6
เสกขสมมต ผู้ได้รับสมมติเป็นเสขะ หมายถึง ครอบครัวที่สงฆ์ประชุมตกลงแต่งตั้งให้เป็นเสขะ ภิกษุใดไม่เจ็บไข้และเขาไม่ได้นิมนต์ไว้ ไปรับเอาอาหารจากครอบครัวนั้นมาขบฉัน ต้องอาบัติเป็นปาฏิเทสนียะ สิกขาบทที่ ๓


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สมมติ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%C1%C1%B5%D4


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]