ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ปฏิปทา ”             ผลการค้นหาพบ  11  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 11
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หมายถึงมรรคมีองค์แปด
       เรียกสั้นๆ ว่า มรรค
       เรียกเต็มว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 11
ปฏิปทา ทางดำเนิน, ความประพฤติ, ข้อปฏิบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 11
ปฏิปทา ๔ การปฏิบัติของท่านผู้ได้บรรลุธรรมพิเศษ มี ๔ ประเภท คือ
       ๑. ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า
       ๒. ทุกฺขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา ปฏิบัติยาก แต่รู้โดยเร็ว
       ๓. สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺญา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า
       ๔. สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺญา ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 11
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ
       ได้แก่ วิปัสสนาญาณ ๙
       (ข้อ ๖ ในวิสุทธิ ๗)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 11
ปฏิปทานุตตริยะ การปฏิบัติอันยอดเยี่ยม
       ได้แก่ การปฏิบัติธรรมที่ได้เห็นแล้วในข้อทัสสนานุตตริยะ ทั้งส่วนที่จะพึงละและพึงบำเพ็ญ;
       ดู อนุตตริยะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 11
ปรมัตถปฏิปทา ข้อปฏิบัติมีประโยชน์อันยิ่ง, ทางดำเนินให้ถึงปรมัตถ์, ข้อปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงประโยชน์สูงสุดคือบรรลุนิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 11
มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง,
       ข้อปฏิบัติเป็นกลางๆ ไม่หย่อนจนเกินไป และไม่ตึงจนเกินไป ไม่ข้องแวะที่สุด ๒ อย่างคือ กามสุขัลลิกานุโยค และ อัตตกิลมถานุโยค,
       ทางแห่งปัญญา (เริ่มด้วยปัญญา, ดำเนินด้วยปัญญา นำไปสู่ปัญญา) อันพอดีที่จะให้ถึงจุดหมาย คือ ความดับกิเลสและความทุกข์ หรือความหลุดพ้นเป็นอิสระสิ้นเชิง ได้แก่มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น สัมมาสมาธิเป็นที่สุด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 11
สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ทางที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ ทั้งสุคติ ทุคติ และทางแห่งนิพพาน
       (ข้อ ๓ ในทศพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 11
เสขปฏิปทา ทางดำเนินของพระเสขะ, ข้อปฏิบัติของพระเสขะ ได้แก่ จรณะ ๑๕

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 11
อนุปุพพปฏิปทา ข้อปฏิบัติโดยลำดับ, การปฏิบัติตามลำดับ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 11
อปัณณกปฏิปทา ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด, ทางดำเนินที่ไม่ผิด มี ๓ คือ
       ๑. อินทรียสังวร การสำรวมอินทรีย์
       ๒. โภชเนมัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค
       ๓. ชาคริยานุโยค การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปฏิปทา
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%BB%AF%D4%BB%B7%D2


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]