ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ญาณ ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  80  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 80
กตญาณ ปรีชากำหนดรู้ว่าได้ทำกิจเสร็จแล้ว คือ
       ทุกข์ ควรกำหนดรู้ได้ รู้แล้ว
       สมุทัย ควรละ ได้ละแล้ว
       นิโรธ ควรทำให้แจ้ง ได้ทำให้แจ้งแล้ว
       มรรค ควรเจริญ ได้เจริญ คือปฏิบัติหรือทำให้เกิดแล้ว
       (ข้อ ๓ ในญาณ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 80
กรรมวิปากญาณ ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม แม้จะมีกรรมต่างๆ ให้ผลอยู่มากมายซับซ้อน ก็สามารถแยกแยะ ล่วงรู้ได้ว่าอันใดเป็นผลของกรรมใด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 80
กายวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะโผฏฐัพพะกระทบกาย, โผฏฐัพพะกระทบกาย เกิดความรู้ขึ้น
       (ข้อ ๕ ในวิญญาณ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 80
กิจจญาณ ปรีชากำหนดรู้กิจที่ควรทำในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง
       คือรู้ว่า
           ทุกข์ ควรกำหนดรู้
           สมุทัย ควรละ
           นิโรธ ควรทำให้แจ้ง
           มรรค ควรทำให้เจริญ คือควรปฏิบัติ
       (ข้อ ๒ ในญาณ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 80
โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตร
       คือ ปัญญาที่อยู่ในลำดับจะถึงอริยมรรค หรืออยู่ในหัวต่อที่จะข้ามพ้นภาวะปุถุชนขึ้นสู่ภาวะเป็นอริยะ
       ดู ญาณ ๑๖

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 80
ฆานวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะกลิ่นกระทบจมูก, กลิ่นกระทบจมูกเกิดความรู้ขึ้น, ความรู้กลิ่น
       (ข้อ ๓ ในวิญญาณ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 80
จักขุวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะรูปกระทบตา, รูปกระทบตา เกิดความรู้ขึ้น, การเห็น
       (ข้อ ๑ ในวิญญาณ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 80
จุตูปปาตญาณ ปรีชารู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย,
       มีจักษุทิพย์มองเห็นสัตว์กำลังจุติบ้าง กำลังเกิดบ้าง มีอาการดีบ้าง เลวบ้างเป็นต้น ตามกรรมของตน
       เรียกอีกอย่างว่า ทิพพจักขุ
       (ข้อ ๒ ในญาณ ๓ หรือวิชชา ๓, ข้อ ๗ ในวิชชา ๘, ข้อ ๕ ในอภิญญา ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 80
เจโตปริยญาณ ปรีชากำหนดรู้ในผู้อื่นได้, รู้ใจผู้อื่นอ่านความคิดของเขาได้
       เช่น รู้ว่าเขากำลังคิดอะไรอยู่ ใจเขาเศร้าหมองหรือผ่องใส เป็นต้น
       (ข้อ ๕ ในวิชชา ๘, ข้อ ๓ ในอภิญญา ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 80
ชิวหาวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะรสกระทบลิ้น, รสกระทบลิ้นเกิดความรู้ขึ้น, การรู้รส
       (ข้อ ๔ ในวิญญาณ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 80
ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปรีชากำหนดรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว และการออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ตามความเป็นจริง
       (ข้อ ๗ ในทศพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 80
ญาณ ความรู้, ปรีชาหยั่งรู้, ปรีชากำหนดรู้;
       ญาณ ๓ หมวดหนึ่ง ได้แก่
           ๑. อตีตังสญาณ ญาณในส่วนอดีต
           ๒. อนาคตังสญาณ ญาณในส่วนอนาคต
           ๓. ปัจจุปปันนังสญาณ ญาณในส่วนปัจจุบัน;
       อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่
           ๑. สัจจญาณ หยั่งรู้อริยสัจแต่ละอย่าง
           ๒. กิจจญาณ หยั่งรู้กิจในอริยสัจ
           ๓. กตญาณ หยั่งรู้กิจอันได้ทำแล้วในอริยสัจ;
       อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ วิชชา ๓

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 80
ญาณ ๑๖ ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาโดยลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมาย คือมรรคผลนิพพาน ๑๖ อย่างคือ
       ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป
       ๒. (นามรูป) ปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป
       ๓. สัมมสนญาณ ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์
       ๔. - ๑๒. (ตรงกับวิปัสสนาญาณ ๙)
       ๑๓. โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตรคือหัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน
       ๑๔. มัคคญาณ ญาณในอริยมรรค
       ๑๕. ผลญาณ ญาณในอริยผล
       ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน;
       ญาณ ๑๖ นี้เรียกเลียนคำบาลีว่า โสฬสญาณ หรือ เรียกกึ่งไทยว่า ญาณโสฬส;
       ดู วิปัสสนาญาณ ๙

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 80
ญาณจริต คนที่มีพื้นนิสัยหนักในความรู้ มักใช้ความคิด พึงส่งเสริมด้วย แนะนำให้ใช้ความคิดในทางที่ชอบ
       (เป็นอีกชื่อหนึ่งของพุทธิจริต)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 80
ญาณทัศนะ, ญาณทัสสนะ การเห็นกล่าวคือการหยั่งรู้, การเห็นที่เป็นญาณ หรือเห็นด้วยญาณ อย่างต่ำสุดหมายถึง วิปัสสนาญาณ
       นอกนั้นในที่หลายแห่งหมายถึง ทิพพจักขุญาณบ้าง มรรคญาณบ้าง และในบางกรณีหมายถึง ผลญาณบ้าง ปัจจเวกขณญาณบ้าง สัพพัญญุตญาณบ้าง ก็มี ทั้งนี้สุดแต่ข้อความแวดล้อมในที่นั้นๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 80
ญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณทัศนะ ได้แก่ ญาณในอริยมรรค ๔;
       ดู วิสุทธิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 80
ญาณวิปปยุต ปราศจากญาณ, ไม่ประกอบด้วยปัญญา, ปราศจากปรีชาหยั่งรู้, ขาดความรู้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 80
ญาณสังวร สำรวมด้วยญาณ
       (ข้อ ๓ ในสังวร ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 80
ฐานาฐานญาณ ปรีชากำหนดรู้ฐานะ คือสิ่งที่เป็นไปได้ เช่นทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น และอฐานะ คือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เช่น ทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี เป็นต้น
       (ข้อ ๑ ในทสพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 80
ทศพลญาณ ดู ทสพลญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 80
ทสพลญาณ พระญาณเป็นกำลังของพระพุทธเจ้า ๑๐ ประการ เรียกตามบาลีว่า ตถาคตพลญาณ (ญาณเป็นกำลังของพระตถาคต) ๑๐ คือ
       ๑. ฐานาฐานญาณ
       ๒. กรรมวิปากญาณ
       ๓. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ
       ๔. นานาธาตุญาณ
       ๕. นานาธิมุตติกญาณ
       ๖. อินทริยปโรปริยัตตญาณ
       ๗. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ
       ๘. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ
       ๙. จุตูปปาตญาณ
       ๑๐. อาสวักขยญาณ;
           นิยมเขียน ทศพลญาณ;
           ดู ญาณ ชื่อนั้นๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 80
ทิพพจักขุญาณ ญาณ คือทิพพจักขุ, ความรู้ดุจดวงอาทิตย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 80
นานาธาตุญาณ ปรีชาหยั่งรู้ธาตุต่างๆ คือรู้จักแยกสมมติออกเป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุต่างๆ
       (ข้อ ๔ ในทศพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 80
นานาธิมุตติกญาณ ปรีชาหยั่งรู้อัธยาศัยของสัตว์ ที่โน้มเอียง เชื่อถือ สนใจ พอใจต่างๆ กัน
       (ข้อ ๕ ในทศพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 80
นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป,
       ญาณหยั่งรู้ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นแต่เพียงนามและรูป และกำหนดจำแนกได้ว่าสิ่งใดเป็นรูป สิ่งใดเป็นนาม
       (ข้อ ๑ ในญาณ ๑๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 80
นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป,
       ญาณหยั่งรู้ที่กำหนดจับได้ซึ่งปัจจัยแห่งนามและรูป โดยอาการที่เป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น
       (ข้อ ๒ ในญาณ ๑๖)
       เรียกกันสั้นๆ ว่า ปัจจัยปริคคหญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 80
นิพพิทาญาณ ความรู้ที่ทำให้เบื่อหน่ายในกองทุกข์, ปรีชาหยั่งเห็นสังขาร ด้วยความหน่าย;
       ดู วิปัสสนาญาณ

นิพพิทานุปัสสนาญาณ ปรีชาคำนึงถึงสังขารด้วยความหน่าย เพราะมีแต่โทษมากมาย แต่ไม่ใช่ทำลายตนเองเพราะเบื่อสังขาร
       เรียกสั้นว่า นิพพิทาญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 80
บุพเพนิวาสานุสติญาณ ดู ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 80
ปฏิญาณ การให้คำมั่นโดยสุจริตใจ, การยืนยัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 80
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ
       ได้แก่ วิปัสสนาญาณ ๙
       (ข้อ ๖ ในวิสุทธิ ๗)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 80
ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง,
       ปรีชาคำนึงพิจารณาสังขาร เพื่อหาทางเป็นเครื่องพ้นไปเสีย;
       ดู วิปัสสนาญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 80
ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน,
       ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวนตรวจตรามรรคผล กิเลสที่ยังเหลืออยู่ และนิพพาน (เว้นพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่);
       ญาณนี้เกิดแก่ผู้บรรลุมรรคผลแล้ว คือ ภายหลังจากผลญาณ;
       ดู ญาณ ๑๖

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 80
ปัจจัยปริคคหญาณ ดู นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 80
ปัจจุปปันนังสญาณ ญาณหยั่งรู้ส่วนปัจจุบัน,
       ปรีชากำหนดรู้เหตุปัจจัยของเรื่องที่เป็นไปอยู่ รู้ว่าควรทำอย่างไร ในเมื่อมีเหตุหรือผลเกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นต้น
       (ข้อ ๓ ในญาณ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 80
ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน, ระลึกชาติได้
       (ข้อ ๑ ในวิชชา ๓, ข้อ ๔ ในอภิญญา ๖, ข้อ ๖ ในวิชชา ๘, ข้อ ๘ ในทศพลญาณ)
       เขียนอย่างรูปเดิมในภาษาบาลีเป็น ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ;
       ใช้ว่า บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 80
ผลญาณ ญาณในอริยผล, ญาณที่เกิดขึ้นในลำดับ ต่อจากมัคคญาณ และเป็นผลแห่งมัคคญาณนั้น ซึ่งผู้บรรลุแล้ว ได้ชื่อว่าเป็นพระอริยบุคคลขั้นนั้นๆ มีโสดาบัน เป็นต้น;
       ดู ญาณ ๑๖

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 80
โพธิญาณ ญาณคือความตรัสรู้, ญาณคือปัญญาตรัสรู้, มรรคญาณทั้งสี่มีโสตาปัตติมัคคญาณ เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 80
ภยตูปัฏฐานญาณ ปรีชาหยั่งเห็นสังขารปรากฏโดยอาการเป็นของน่ากลัว เพราะสังขารทั้งปวงนั้นล้วนแต่จะต้องแตกสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น
       (ข้อ ๓ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 80
ภังคญาณ ปัญญาหยั่งเห็นความย่อยยับ คือ เห็นความดับแห่งสังขาร
       ภังคานุปัสสนาญาณ ก็เรียก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 80
ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความสลาย, ปรีชาหยั่งเห็นเฉพาะความดับของสังขารเด่นชัดขึ้นมาว่า สังขารทั้งปวงล้วนจะต้องแตกสลายไปทั้งหมด
       (ข้อ ๒ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 80
มโนวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะธรรมารมณ์เกิดกับใจ, ธรรมเกิดกับใจ เกิดความรู้ขึ้น, ความรู้อารมณ์ทางใจ
       (ข้อ ๖ ในวิญญาณ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 80
มัคคญาณ ญาณในอริยมรรค, ปัญญาสูงสุดที่กำจัดกิเลสเป็นเหตุให้บรรลุความเป็นพระอริยบุคคลชั้นหนึ่งๆ;
       ดู ญาณ ๑๖

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 80
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง
       (ข้อ ๕ ในวิสุทธิ ๗)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 80
มิจฉาญาณ รู้ผิด เช่น ความรู้ในการคิดอุบายทำความชั่วให้สำเร็จ
       (ข้อ ๙ ในมิจฉัตตะ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 80
มุจจิตุกัมยตาญาณ ดู มุญจิตุกัมยตาญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 80
มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย,
       ความหยั่งรู้ที่ทำให้ต้องการจะพ้นไปเสีย คือ ต้องการจะพ้นไปเสียจากสังขารที่เบื่อหน่ายแล้ว ด้วยนิพพิทานุปัสสนาญาณ
       (ข้อ ๖ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 80
ยถาภูตญาณ ความรู้ความเป็นจริง, รู้ตามที่มันเป็น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 80
ยถาภูตญาณทัสสนะ ความรู้ความเห็นตามเป็นจริง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 80
วิจารณญาณ ปัญญาที่ไตร่ตรองพิจารณาเหตุผล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 80
วิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์, จิต,
       ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกัน
       เช่น รูปอารมณ์ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตา เป็นต้น
       ได้แก่ การเห็น การได้ยิน เป็นอาทิ;
       วิญญาณ ๖ คือ
           ๑. จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา (เห็น)
           ๒. โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู (ได้ยิน)
           ๓. ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก (ได้กลิ่น)
           ๔. ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น (รู้รส)
           ๕. กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย (รู้สิ่งต้องกาย)
           ๖. มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ (รู้เรื่องในใจ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 80
วิญญาณฐิติ ภูมิเป็นที่ตั้งของวิญญาณ มี ๗ คือ
       ๑. สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ พวกเทพบางหมู่ พวกวินิปาติกะ บางหมู่
       ๒. สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพผู้อยู่ในจำพวกพรหมผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน
       ๓. สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพอาภัสสระ
       ๔. สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพสุภกิณหะ
       ๕. สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ
       ๖. สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ
       ๗. สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจายตนะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 80
วิญญาณธาตุ ธาตุรู้, ความรู้แจ้ง, ความรู้อะไรได้
       (ข้อ ๖ ในธาตุ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 80
วิญญาณัญจายตนะ ฌานอันกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้
       (ข้อ ๒ ในอรูป ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 80
วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ, วิญญาณเป็นอาหาร คือเป็นปัจจัยอุดหนุนหล่อเลี้ยงให้เกิดนามรูป
       (ข้อ ๔ ในอาหาร ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 80
วิปัสสนาญาณ ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนามี ๙ อย่าง คือ
       ๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป
       ๒. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา
       ๓. ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
       ๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ
       ๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย
       ๖. มุจจิตุกัมยตาญาณ ญาณหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย
       ๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง
       ๘. สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร
       ๙. สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 80
วิปากญาณ ปรีชาหยั่งรู้ผลแห่งกรรม คือ รู้จักแยกได้ว่า บรรดาผลที่สัตว์ทั้งหลายได้รับอันซับซ้อน อันใดเป็นผลของกรรมดีหรือกรรมชั่วอย่างใดๆ เรียกเต็มว่า กรรมวิปากญาณ
       (ข้อ ๒ ในทสพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 80
วิมุตติญาณทัสสนะ ความรู้ความเห็นในวิมุตติ, ความรู้เห็นว่าจิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 80
วิมุตติญาณทัสสนกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในความที่ใจพ้นจากกิเลส
       (ข้อ ๑๐ ในกถาวัตถุ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 80
วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ กองวิมุตติญาณทัสสนะ,
       หมวดธรรมว่าด้วย ความรู้ความเห็นว่า จิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ
       เช่น ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ
       (ข้อ ๕ ในธรรมขันธ์ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 80
เวสารัชชญาณ พระปรีชาญาณอันทำให้พระพุทธเจ้าทรงมีความแกล้วกล้าไม่ครั่นคร้าม ด้วยไม่ทรงเห็นว่าจะมีใครท้วงพระองค์ได้โดยชอบธรรม ในฐานะทั้ง ๔ คือ
       ๑. ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ ท่านยังไม่รู้แล้ว
       ๒. ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ อาสวะนี้ของท่านยังไม่สิ้นแล้ว
       ๓. ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง
       ๔. ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางนำผู้ทำตามให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบได้จริง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 80
สยัมภูญาณ ญาณของพระสยัมภู, ปรีชาหยั่งรู้ของพระสยัมภู

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 80
สวิญญาณกะ สิ่งที่มีวิญญาณ ได้แก่ สัตว์ต่างๆ เช่น แพะ แกะ สุกร โค กระบือ เป็นต้น;
       เทียบ อวิญญาณกะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 80
สังขารุเปกขาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ถึงขั้นเกิดความวางเฉยในสังขาร,
       ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ รู้เท่าทันสภาวะของสังขารว่า ที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นต้นนั้น มันเป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงเลิกเบื่อหน่าย เลิกคิดหาทางแต่จะหนี วางใจเป็นกลางต่อมันได้ เลิกเกี่ยวเกาะและให้ญาณแล่นมุ่งสู่นิพพานอย่างเดียว
       (ข้อ ๘ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 80
สัจจญาณ ปรีชากำหนดรู้ความจริง, ความหยั่งรู้สัจจะ
       คือ รู้อริยสัจจ์ ๔ แต่ละอย่างตามภาวะที่เป็นจริง ว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย เป็นต้น
       (ข้อ ๑ ในญาณ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 80
สัจจานุโลมญาณ ดู สัจจานุโลมิกญาณ

สัจจานุโลมิกญาณ ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่การกำหนดรู้อริยสัจจ์,
       ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจจ์;
       อนุโลมญาณ ก็เรียก
       (ข้อ ๙ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 80
สัพพัญญุตญาณ ญาณคือความเป็นพระสัพพัญญู,
       พระปรีชาญาณหยั่งรู้สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 80
สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ทางที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ ทั้งสุคติ ทุคติ และทางแห่งนิพพาน
       (ข้อ ๓ ในทศพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 80
สัมมสนญาณ ญาณหยั่งรู้ด้วยพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์,
       ญาณที่พิจารณาหรือตรวจตรานามรูปหรือสังขาร มองเห็นตามแนวไตรลักษณ์
       คือ รู้ว่า ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน
       (ข้อ ๓ ในญาณ ๑๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 80
สัมมาญาณะ รู้ชอบ ได้แก่ผลญาณ คือ ญาณอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากมรรคญาณ เช่น โสดาปัตติผล เป็นต้น และปัจจเวกขณญาณ
       (ข้อ ๙ ในสัมมัตตะ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 80
สัมมาสัมโพธิญาณ ญาณเป็นเครื่องตรัสรู้เองโดยชอบ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 80
โสตวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะเสียงกระทบหู, เสียงกระทบหู เกิดความรู้ขึ้น, การได้ยิน
       (ข้อ ๒ ในวิญญาณ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 80
อญาณตา อาการที่จะต้องอาบัติด้วยไม่รู้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 80
อตีตานาคตังสญาณ ญาณเป็นเครื่องรู้ถึงเรื่องที่ล่วงมาแล้ว และเรื่องที่ยังไม่มาถึง,
       ญาณหยั่งรู้ทั้งอดีตและอนาคต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 80
อตีตังสญาณ ญาณหยั่งรู้ส่วนอดีต, ปรีชากำหนดรู้เหตุการณ์ที่ล่วงไปแล้ว อันเป็นเหตุให้ได้รับผลในปัจจุบัน
       (ข้อ ๑ ในญาณ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  75 / 80
อนาคตังสญาณ ญาณหยั่งรู้ส่วนอนาคต, ปรีชากำหนดรู้คาดผลข้างหน้า อันสืบเนื่องจากเหตุในปัจจุบันหรือในอนาคตก่อนเวลานั้น
       (ข้อ ๒ ในญาณ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  76 / 80
อนาวรณญาณ ปรีชาหยั่งรู้ที่ไม่มีอะไรๆ มากั้นได้
       หมายความว่า รู้ตลอด, รู้ทะลุปรุโปร่ง เป็นพระปรีชาญาณเฉพาะของพระพุทธเจ้า ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  77 / 80
อวิญญาณกะ พัสดุที่ไม่มีวิญญาณ เช่น เงิน ทอง ผ้านุ่งห่ม และเครื่องใช้สอย เป็นต้น;
       เทียบ สวิญญาณกะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  78 / 80
อาทีนวญาณ ดู อาทีนวานุปัสสนาญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  79 / 80
อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นโทษ,
       ปรีชาคำนึงเห็นโทษของสังขารว่า มีข้อบกพร่อง ระคนด้วยทุกข์ เช่น เห็นสังขารปรากฏเหมือนเรือนถูกไฟไหม้
       (ข้อ ๔ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  80 / 80
อาสวักขยญาณ ความรู้เป็นเหตุสิ้นอาสวะ, ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย,
       ความตรัสรู้ (เป็นความรู้ที่พระพุทธเจ้าได้ในยามสุดท้ายแห่งราตรี วันตรัสรู้)
       (ข้อ ๓ ในญาณ ๓ หรือวิชชา ๓, ข้อ ๖ ในอภิญญา ๖, ข้อ ๘ ในวิชชา ๘, ข้อ ๑๐ ในทศพลญาณ)


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ญาณ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%AD%D2%B3


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]