ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ชนกกรรม ”             ผลการค้นหาพบ  5  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 5
กรรม ๑๒ กรรมจำแนกตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผล พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ ๑๒ อย่างคือ
       หมวดที่ ๑ ว่าด้วยปากกาล คือ จำแนกตามเวลาที่ให้ผล ได้แก่
           ๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้
           ๒. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า
           ๓. อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อๆไป
           ๔. อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล
       หมวดที่ ๒ ว่าโดยกิจ คือจำแนกการให้ผลตามหน้าที่ ได้แก่
           ๕. ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด หรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด
           ๖. อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน คือเข้าสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม
           ๗. อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น คือเข้ามาบีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้นให้แปรเปลี่ยนทุเลาเบาบางหรือสั้นเข้า
           ๘. อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน คือกรรมแรงฝ่ายตรงข้ามที่เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรม ๒ อย่างนั้นให้ขาดหรือหยุดไปทีเดียว
       หมวดที่ ๓ ว่าโดยปากทานปริยาย คือจำแนกตามลำดับความแรงในการให้ผล ได้แก่
           ๙. ครุกกรรม กรรมหนัก ให้ผลก่อน
           ๑๐. พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม กรรมทำมากหรือกรรมชิน ให้ผลรองลงมา
           ๑๑. อาสันนกรรม กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย ถ้าไม่มี ๒ ข้อก่อนก็จะให้ผลก่อนอื่น
           ๑๒. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม กรรมสักว่าทำ คือเจตนาอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้น ให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 5
ชนกกรรม กรรมที่นำให้เกิด, กรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศลก็ตามที่เป็นตัวแต่งสัตว์ให้เกิด คือชักนำให้ถือปฏิสนธิในภพใหม่ เมื่อสิ้นชีวิตจากภพนี้
       (ข้อ ๕ ในกรรม ๑๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 5
อุปฆาตกรรม กรรมตัดรอน ได้แก่ กรรมที่เป็นกุศลดี ที่เป็นอกุศลก็ดี ซึ่งมีกำลังแรง เข้าตัดรอนการให้ผลของชนกกรรม หรืออุปัตถัมภกกรรม ที่ตรงข้ามกับตนเสีย แล้วให้ผลแทนที่
       (ข้อ ๘ ในกรรม ๑๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 5
อุปปีฬกกรรม “กรรมบีบคั้น” ได้แก่ กรรมที่เป็นกุศลก็ดี อกุศลก็ดี ซึ่งบีบคั้นการให้ผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรม ที่ตรงข้ามกับตน ให้แปรเปลี่ยนไป
       เช่น ถ้าเป็นกรรมดีก็บีบคั้นให้อ่อนลง ไม่ให้ได้รับผลเต็มที่ ถ้าเป็นกรรมชั่วก็เกียดกันให้ทุเลา
       (ข้อ ๗ ในกรรม ๑๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 5
อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน ได้แก่ กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลที่เข้าช่วยสนับสนุนซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม เหมือนแม่นมเลี้ยงทารกที่เกิดจากผู้อื่น
       ถ้ากรรมดีก็สนับสนุนให้ดีขึ้น ถ้ากรรมชั่วก็ซ้ำเติมให้เลวลงไปอีก
       (ข้อ ๖ ในกรรม ๑๒)


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ชนกกรรม&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%AA%B9%A1%A1%C3%C3%C1&detail=on


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]