ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ฉา ”             ผลการค้นหาพบ  40  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 40
กาเมสุมิจฉาจาร ความประพฤติผิดในกามทั้งหลาย, ความผิดประเวณี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 40
กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม, เว้นการล่วงประเวณี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 40
ขลุปัจฉาภัตติกังคะ องค์แห่งผู้ถือห้ามภัตที่เขานำมาถวายภายหลัง คือ เมื่อลงมือฉันแล้วมีผู้นำอาหารมาถวายอีก ก็ไม่รับ
       (ข้อ ๗ ในธุดงค์ ๑๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 40
ฉายา
       1. เงา, อาการที่เป็นเงาๆ คือ ไม่ชัดออกไป, อาการเคลือบแฝง
       2. ชื่อที่พระอุปัชฌายะตั้งให้แก่ผู้ขอบวชเป็นภาษาบาลี เรียกว่า ชื่อฉายา
           ที่เรียกเช่นนี้เพราะเดิมเมื่อเสร็จการบวชแล้ว ต้องมีการวัดฉายา คือเงาแดด ด้วยการสืบเท้าว่าเงาหดหรือเงาขยายแค่ไหน ชั่วกี่สืบเท้า การวัดเงาด้วยเท้านั้นเป็นมาตรานับเวลา เรียกว่า บาท เมื่อวัดแล้วจดเวลาไว้และจดสิ่งอื่นๆ เช่น ชื่อพระอุปัชฌายะ พระกรรมวาจาจารย์ จำนวนสงฆ์ และชื่อผู้อุปสมบท ทั้งภาษาไทยและมคธ ลงในนั้นด้วย ชื่อใหม่ที่จดลงตอนวัดฉายานั้น จึงเรียกว่า ชื่อฉายา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 40
ฉายาปาราชิก “เงาแห่งปาราชิก”
       คือ ประพฤติตนในฐานะที่ล่อแหลมต่อปาราชิก อาจเป็นปาราชิกได้ แต่จับไม่ถนัด เรียกว่า ฉายาปาราชิก เป็นผู้ที่สงฆ์รังเกียจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 40
ดิรัจฉาน สัตว์มีร่างกายเจริญโดยขวาง, สัตว์เว้นจากมนุษย์;
       เดียรัจฉาน ก็ใช้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 40
ดิรัจฉานกถา ดู ติรัจฉานกถา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 40
ดิรัจฉานวิชา ความรู้ที่ขวางต่อทางพระนิพพาน
       เช่น รู้ในการทำเสน่ห์ รู้ในการทำให้ถึงวิบัติ รู้เรื่องภูตผี รู้ในทางทำนาย เช่นหมอดู เป็นต้น
       เมื่อเรียนหรือใช้ปฏิบัติ ตนเองก็หลงเพลินหมกมุ่น ทั้งทำผู้อื่นให้ลุ่มหลง งมงาย ไม่เป็นอันปฏิบัติกิจหน้าที่และประกอบการตามเหตุผล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 40
เดียรฉาน, เดียรัจฉาน สัตว์อื่นจากมนุษย์, สัตว์ผู้มีร่างกายเจริญขวางออกไป คือไม่เจริญตั้งขึ้นไปเหมือนคนหรือต้นไม้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 40
ติรัจฉานกถา ถ้อยคำอันขวางต่อทางนิพพาน,
       เรื่องราวที่ภิกษุไม่ควรนำมาเป็นข้อถกเถียงสนทนา โดยไม่เกี่ยวกับการพิจารณาสั่งสอนแนะนำทางธรรม อันทำให้คิดฟุ้งเฟ้อและพากันหลงเพลินเสียเวลา เสียกิจหน้าที่ที่พึงปฏิบัติตามธรรม เช่น
           ราชกถา สนทนาเรื่องพระราชา ว่าราชาพระองค์นั้นโปรดของอย่างนั้น พระองค์นี้โปรดของอย่างนี้
           โจรกถา สนทนาเรื่องโจรว่า โจรหมู่นั้นปล้นที่นั่นได้เท่านั้นๆ ปล้นที่นี่ได้เท่านี้ๆ เป็นต้น
       (ท่านแสดงไว้ ๒๘ อย่าง หรือแยกย่อยได้ ๓๓ อย่าง)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 40
ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน (ข้อ ๒ ในอบาย ๔);
       ดู คติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 40
ติรัจฉานวิชา ดู ดิรัจฉานวิชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 40
ธรรมสากัจฉา การสนทนาธรรม, การสนทนากันในทางธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 40
ปริปุจฉา การสอบถาม, การค้นคว้า, การสืบค้นหาความรู้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 40
ปัจฉาภัต ทีหลังฉัน, เวลาหลังอาหาร หมายถึงเวลาเที่ยงไปแล้ว;
       เทียบ ปุเรภัต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 40
ปัจฉาสมณะ พระตามหลัง, พระผู้ติดตาม เช่น พระพุทธเจ้ามักทรงมีพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ
       เป็นศัพท์คู่กับ ปุเรสมณะ พระนำหน้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 40
ปุจฉา ถาม, คำถาม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 40
มาตุจฉา พระน้านาง, น้าผู้หญิง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 40
มิจฉา ผิด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 40
มิจฉากัมมันตะ ทำการผิด ได้แก่กายทุจริต ๓ คือ
       ๑. ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์
       ๒. อทินนาทาน ลักทรัพย์
       ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
       (ข้อ ๔ ในมิจฉัตตะ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 40
มิจฉาจริยา, มิจฉาจาร ความประพฤติผิด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 40
มิจฉาชีพ การหาเลี้ยงชีพในทางผิด;
       ดู มิจฉาอาชีวะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 40
มิจฉาญาณ รู้ผิด เช่น ความรู้ในการคิดอุบายทำความชั่วให้สำเร็จ
       (ข้อ ๙ ในมิจฉัตตะ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 40
มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิด, ความเห็นที่ผิดจากคลองธรรม เช่นเห็นว่าทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี มารดาบิดาไม่มี เป็นต้น และความเห็นที่ไม่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
       (พจนานุกรมเขียน มิจฉาทิฐิ);
       (ข้อ ๑ ในมิจฉัตตะ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 40
มิจฉาวณิชชา การค้าขายไม่ชอบธรรม, การค้าขายที่ผิดศีลธรรม
       หมายถึง อกรณียวณิชชา (การค้าขายที่ อุบาสกไม่ควรทำ) ๕ อย่าง คือ
           ๑. สัตถวณิชชา ค้าอาวุธ
           ๒. สัตตวณิชชา ค้ามนุษย์
           ๓. มังสวณิชชา ค้าสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร
           ๔. มัชชวณิชชา ค้าของเมา
           ๕. วิสวณิชชา ค้ายาพิษ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 40
มิจฉาวาจา วาจาผิด, เจรจาผิด ได้แก่
       ๑. มุสาวาท พูดปด
       ๒. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด
       ๓. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
       ๔. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ
       (ข้อ ๓ ในมิจฉัตตะ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 40
มิจฉาวายามะ พยายามผิด ได้แก่ พยายามทำบาป พยายามทำอกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เป็นต้น
       (ข้อ ๖ ในมิจฉัตตะ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 40
มิจฉาวิมุตติ พ้นผิด เช่นการระงับกิเลสบาปธรรมได้ชั่วคราว เพราะกลัวอำนาจพระเจ้าผู้สร้างโลก การระงับกิเลสนั้นดี แต่การระงับเพราะกลัวอำนาจพระเจ้าสร้างโลกนั้น ผิดทาง ไม่ทำให้พ้นทุกข์ได้จริง
       (ข้อ ๑๐ ในมิจฉัตตะ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 40
มิจฉาสติ ระลึกผิด ได้แก่ ระลึกถึงการอันจะยั่วให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ
       (ข้อ ๗ ในมิจฉัตตะ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 40
มิจฉาสมาธิ ตั้งใจผิด ได้แก่ จดจ่อ ปักใจ แน่วในกามราคะ ในพยาบาท เป็นต้น
       (ข้อ ๘ ในมิจฉัตตะ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 40
มิจฉาสังกัปปะ ดำริผิด ได้แก่ ดำริแส่ไปในกาม ดำริพยาบาท ดำริเบียดเบียนเขา
       (ข้อ ๒ ในมิจฉัตตะ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 40
มิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพผิด ได้แก่ หาเลี้ยงชีพในทางทุจริตผิดวินัยหรือผิดศีลธรรม เช่น หลอกลวงเขา เป็นต้น
       (ข้อ ๕ ในมิจฉัตตะ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 40
มุจฉา ลมจับ, สลบ, สวิงสวาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 40
วิจิกิจฉา ความลังเลไม่ตกลงได้, ความไม่แน่ใจ, ความสงสัย, ความเคลือบแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย, ความลังเลเป็นเหตุไม่แน่ใจในปฏิปทาเครื่องดำเนินของตน
       (ข้อ ๕ ในนิวรณ์ ๕, ข้อ ๕ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม, ข้อ ๔ ในอนุสัย ๗)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 40
สเตกิจฉา อาบัติที่ยังพอเยียวยาหรือแก้ไขได้
       ได้แก่ อาบัติอย่างกลางและอย่างเบา คือตั้งแต่สังฆาทิเสสลงมา;
       คู่กับ อเตกิจฉา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 40
สากัจฉา การพูดจา, การสนทนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 40
สีมามีฉายาเป็นนิมิต สีมาที่ทำเงาอย่างใดอย่างหนึ่ง มีเงาภูเขาเป็นต้น เป็นนิมิต
       (มติสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่า สีมาที่ถือเงาเป็นแนวนิมิต)
       จัดเป็นสีมาวิบัติอย่างหนึ่ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 40
อเตกิจฉา แก้ไขไม่ได้, เยียวยาไม่ได้
       หมายถึงอาบัติมีโทษหนักถึงที่สุด ต้องแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ คือ อาบัติปาราชิก;
       คู่กับ สเตกิจฉา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 40
อาปุจฉา บอกกล่าว, ถามเชิงขออนุญาต เป็นการแสดงความเอื้อเฟื้อ, แจ้งให้ทราบ
       เช่น ภิกษุอ่อนพรรษาจะแสดงธรรม ต้องอาปุจฉาภิกษุผู้มีพรรษามากกว่าก่อน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 40
อิจฉา ความปรารถนา, ความอยากได้;
       ไทยมักใช้ในความหมายว่า ริษยา


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ฉา
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%A9%D2


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]