ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

วิปลาส, พิปลาส กิริยาที่ถือโดยอาการวิปริตผิดจากความเป็นจริง, ความเห็นหรือความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากสภาพที่เป็นจริง มีดังนี้;
       ก. วิปลาสด้วยอำนาจจิตต์และเจตสิก ๓ ประการ คือ
           ๑. วิปลาสด้วยอำนาจสำคัญผิด เรียกว่า “สัญญาวิปลาส”
           ๒. วิปลาสด้วยอำนาจคิดผิด เรียกว่า “จิตตวิปลาส”
           ๓. วิปลาสด้วยอำนาจเห็นผิด เรียกว่า “ทิฏฐิวิปลาส”
       ข. วิปลาสด้วยสามารถวัตถุเป็นที่ตั้ง ๔ ประการ คือ
           ๑. วิปลาสในของที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง
           ๒. วิปลาสในของที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข
           ๓. วิปลาสในของที่ไม่ใช่ตน ว่าเป็นตน
           ๔. วิปลาสในของที่ไม่งาม ว่างาม


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ บรรทัดที่ ๒๙๔๑ - ๒๙๔๑.
http://84000.org/tipitaka/dic/v_line.php?A=2941&Z=2941

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]