ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ิบัต ”             ผลการค้นหาพบ  3  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 3
[174] วิธีปฏิบัติต่อทุกข์-สุข 4 (หลักการเพียรพยายามให้ได้ผลในการละทุกข์ลุสุข, การปฏิบัติที่ถูกต้องต่อความทุกข์และความสุข ซึ่งเป็นไปตามหลักพระพุทธศาสนา ที่แสดงว่า ความเพียรพยายามที่ถูกต้อง จะมีผลจนสามารถเสวยสุขที่ไร้ทุกข์ได้ - fruitful exertion to enjoy happiness)
       1. ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่มิได้ถูกทุกข์ท่วมทับ (Being not overwhelmed by suffering, one does not overwhelm oneself with suffering.)
       2. ไม่สละความสุขที่ชอบธรรม (One does not give up righteous happiness)
       3. ไม่สยบหมกมุ่น (แม้)ในสุขที่ชอบธรรมนั้น (One is not infatuated even with that righteous happiness.)
       4. เพียรพยายามทำเหตุแห่งทุกข์ให้หมดสิ้นไป (One strives in the right way to eradicate the cause of suffering.)

       ข้อที่ 4 อาจพูดอีกสำนวนหนึ่งว่า “เพียรปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความสุขที่ประณีตสูงขึ้นไป”

M.II.223. ม.อุ 14/12/13

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 3
[175] วิบัติ 4 (ความผิดพลาด, ความเคลื่อนคลาด, ความเสียหาย, ความบกพร่อง, ความใช้การไม่ได้ - failure; falling away)
       1. ศีลวิบัติ (วิบัติแห่งศีล, เสียศีล, สำหรับพระภิกษุ คือ ต้องอาบัติปาราชิก หรือ สังฆาทิเสส - falling away from moral habit; failure in morality)
       2. อาจารวิบัติ (วิบัติแห่งอาจาระ, เสียความประพฤติ จรรยามรรยาทไม่ดี, สำหรับพระภิกษุ คือ ต้องลหุกาบัติ แต่ถุลลัจจัย ถึง ทุพภาสิต - falling away from good behavior; failure in conduct)
       3. ทิฏฐิวิบัติ (วิบัติแห่งทิฏฐิ, ความเห็นคลาดเคลื่อน ผิดธรรมผิดวินัย - falling away from right view; failure in views)
       4. อาชีววิบัติ (วิบัติแห่งอาชีวะ, ประกอบมิจฉาชีพ หาเลี้ยงชีพในทางที่ผิด - falling away from right mode of livelihood; failure in livelihood)

Vin.II.87. วินย. 6/634/336.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 3
[176] วิบัติ 4 (ข้อเสีย, จุดอ่อน, ความบกพร่องแห่งองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งไม่อำนวยแก่การให้ผลของกรรมดี แต่เปิดช่องให้กรรมชั่วแสดงผล, ส่วนประกอบบกพร่อง เปิดช่องให้กรรมชั่ว - failure; defect; unfavorable factors affecting the ripening of Karma.)
       1. คติวิบัติ (วิบัติแห่งคติ, คติเสีย; ในช่วงยาวหมายถึง เกิดในกำเนิดต่ำทราม หรือที่เกิดอันไร้ความเจริญ
       ในช่วงสั้นหมายถึงที่อยู่ ที่ไป ทางดำเนินไม่ดี หรือทำไม่ถูกเรื่องไม่ถูกที่ คือ กรณีนั้น สภาพแวดล้อมนั้น สถานการณ์นั้น ถิ่นนั้น ตลอดถึงแนวทางดำเนินชีวิตขณะนั้น ไม่เอื้ออำนวยแก่การกระทำความดีหรือการเจริญงอกงามของความดี แต่กลับเปิดทางให้แก่ความชั่วและผลร้าย - failure as regards place of birth; unfavorable environment, circumstances or career)
       2. อุปธิวิบัติ (วิบัติแห่งร่างกาย, รูปกายเสีย; ในช่วงยาวหมายถึงร่างกายวิกล วิการ ไม่งดงาม บุคลิกภาพไม่ดี ในช่วงสั้นหมายถึงสุขภาพไม่ดี เจ็บป่วย มีโรคมาก - failure as regards the body; deformed or unfortunate body; unfavorable personality, health or physical conditions.)
       3. กาลวิบัติ (วิบัติแห่งกาล, กาลเสีย; ในช่วงยาวหมายถึง เกิดอยู่ในสมัยที่โลกไม่มีความเจริญ หรือบ้านเมืองมีแต่ภัยพิบัติ ผู้ปกครองไม่ดี สังคมเสื่อมจากศีลธรรม มีการกดขี่เบียดเบียนกันมาก ยกย่องคนชั่ว บีบคั้นคนดี ในช่วงสั้นหมายถึงทำผิดกาลผิดเวลา - failure as regards time; unfavorable or unfortunate time)
       4. ปโยควิบัติ (วิบัติแห่งการประกอบ, กิจการเสีย; ในช่วงยาวหมายถึงฝักใฝ่ในทางที่ผิด ประกอบกิจการงานที่ผิด หรือมีปกติชอบกระทำแต่ความชั่ว ในช่วงสั้นหมายถึงเมื่อกระทำกรรมดี ก็ไม่ทำให้ถึงขนาด ไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ ทำจับจด ใช้วิธีการไม่เหมาะกับเรื่อง หรือเมื่อประกอบความดีต่อเนื่องมา แต่กลับทำความชั่ว หักล้างเสียในระหว่าง - failure as regards undertaking; unfavorable, unfortunate or inadequate undertaking)

       วิบัติ 4 นี้ เป็นสิ่งที่จะต้องนำมาประกอบการพิจารณาในเรื่องการให้ผลของกรรม เพราะการปรากฏของวิบาก นอกจากอาศัยเหตุคือกรรมแล้ว ยังต้องอาศัยฐานคือ คติ อุปธิ กาละ และปโยคะ เป็นปัจจัยประกอบด้วย กล่าวคือ จะต้องพิจารณา กรรมนิยาม โดยสัมพันธ์กับปัจจัยทั้งหลายที่เป็นไปตามนิยามอื่นๆ ด้วย เพราะนิยาม หรือกฎธรรมชาตินั้นมีหลายอย่าง มิใช่มีแต่กรรมนิยามอย่างเดียว

       ดู [177] สมบัติ 4; [223] นิยาม 5.

Vbh. 338. อภิ.วิ. 35/840/458.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ิบัต
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%D4%BA%D1%B5


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]