ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ลก ”             ผลการค้นหาพบ  10  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 10
[23] ธรรมคุ้มครองโลก 2 (ธรรมที่ช่วยให้โลกมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่เดือดร้อนและสับสนวุ่นวาย - virtues that protect the world)
       1. หิริ (ความละอาย, ละอายใจต่อการทำความชั่ว - moral shame; conscience)
       2. โอตตัปปะ (ความกลัวบาป, เกรงกลัวต่อความชั่ว - moral dread)

A.I. 51;
It. 36.
องฺ.ทุก. 20/255/655;
ขุ.อิติ. 25/220/257

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 10
[102] โลก 3 (ประดาสภาวธรรมหรือหมู่สัตว์ กำหนดโดยขอบเขตบ้าง ไม่กำหนดบ้าง — the world; the earth; sphere; universe)
       1. สังขารโลก (โลกคือสังขาร ได้แก่สภาวธรรมทั้งปวงที่มีการปรุงแต่งตามเหตุปัจจัย — the world of formations)
       2. สัตวโลก (โลกคือหมู่สัตว์ — the world of beings)
       3. โอกาสโลก (โลกอันกำหนดด้วยโอกาส, โลกอันมีในอวกาศ, จักรวาล — the world of location; the world in space; the universe)

Vism.204;
DA.I.173;
MA.I.397.
วิสุทธิ. 1/262;
ที.อ. 1/215;
ม.อ. 2/269.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 10
[103] โลก 3 (โลกคือหมู่สัตว์, สัตว์โลก — the world of beings)
       1. มนุษยโลก (โลกคือหมู่มนุษย์ — the world of man)
       2. เทวโลก (โลกคือหมู่เทพ, สวรรค์ชั้นกามาวจรทั้ง 6 — the heavenly world)
       3. พรหมโลก (โลกคือหมู่พรหม, สวรรค์ชั้นพรหม — the Brahma world)

       โลก 3 ในหมวดนี้ ท่านจำแนกออกมาจาก ข้อ 2 คือสัตวโลก ในหมวดก่อน [101]

DA.I.173;
MA.I.397.
ที.อ. 1/215;
ม.อ. 2/269.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 10
[104] โลก 3 (โลกอันเป็นที่อยู่ของสัตว์ — the world; sphere) คือ กามโลก — the world of sense-desire; รูปโลก — the world of form; อรูปโลก — the formless world; เป็นชื่อที่บางแห่งใช้เรียก ภพ 3 แต่ไม่นิยม

       ดู [98] ภพ 3.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 10
[296] โลกธรรม 8 (ธรรมดาของโลก, เรื่องของโลก, ความเป็นไปตามคติธรรมดาซึ่งหมุนเวียนมาหาสัตว์โลกและสัตวโลกก็หมุนเวียนตามมันไป — worldly conditions; worldly vicissitudes)
       1. ลาภ (ได้ลาภ, มีลาภ — gain)
       2. อลาภ (เสื่อมลาภ, สูญเสีย — loss)
       3. ยส (ได้ยศ, มียศ — fame; rank; dignity)
       4. อยส (เสื่อมยศ — obscurity)
       5. นินทา (ติเตียน — blame)
       6. ปสังสา (สรรเสริญ — praise)
       7. สุข (ความสุข — happiness)
       8. ทุกข์ (ความทุกข์ — pain)

       โดยสรุปเป็น 2 คือ ข้อ 1-3-6-7 เป็น อิฏฐารมณ์ คือ ส่วนที่น่าปรารถนา; ข้อที่เหลือเป็น อนิฏฐารมณ์ คือ ส่วนที่ไม่น่าปรารถนา
       โลกธรรมเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นทั้งแก่ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ และแก่อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ ต่างกันแต่ว่า คนพวกแรกย่อมไม่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง ลุ่มหลง ยินดียินร้าย ปล่อยให้โลกธรรมเข้าครอบงำย่ำยีจิต ฟูยุบเรื่อยไปไม่พ้นจากทุกข์ มีโสกะ ปริเทวะ เป็นต้น ส่วนอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ พิจารณาเห็นตามเป็นจริง ว่าสิ่งเหล่านี้อย่างใดก็ตามที่เกิดขึ้นแก่ตน ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไม่หลงใหลมัวเมาเคลิ้มไปตามอิฏฐารมณ์ ไม่ขุ่นมัวหม่นหมอง คลุ้มคลั่งไปในเพราะอนิฏฐารมณ์ มีสติดำรงอยู่ เป็นผู้ปราศจากทุกข์ มีโสกะ ปริเทวะ เป็นต้น

A.IV.157. องฺ.อฏฺฐก. 23/96/159

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 10
[310] โลกุตตรธรรม 9 (ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก, สภาวะพ้นโลก — supermundane states) (+ โพธิปักขิยธรรม 37 = 46 : ขุ. ปฏิ. 31/620/535; Ps.II.166)
       มรรค 4 (the Four Paths)
       ผล 4 (the Four Fruitions)
       นิพพาน หรือ อสังขตธาตุ 1 (the Unconditioned State)

       ดู [27] นิพพาน 2; [164] มรรค 4; [165] ผล 4.

Dhs.1094. อภิ.สํ. 34/706/278; 911/355.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 10
[319] กุศลกรรมบถ 10 (ทางแห่งกุศลกรรม, ทางทำความดี, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติ — wholesome course of action) ว่าโดยหัวข้อย่อ ดังนี้
       ก. กายกรรม 3 (การกระทำทางกาย — bodily action)
           1. ปาณาติปาตา เวรมณี* (เว้นจากปลงชีวิต — abstention from killing)
*เวรมณี แปลว่า เจตนาที่ทำให้เว้น หรือ เจตนาที่ตรงข้าม เมื่อจะแปลให้เต็มความ จึงควรแปลว่า การกระทำที่ว่างจากการคิดเบียดเบียน หรือ การทำดีที่ตรงข้ามกับการเบียดเบียนชีวิต ดังนี้เป็นต้น

           2. อทินนาทานา เวรมณี (เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้โดยอาการขโมย — abstention from taking what is not given)
           3. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี (เว้นจากประพฤติผิดในกาม — abstention from sexual misconduct)

       ข. วจีกรรม 4 (การกระทำทางวาจา — verbal action)
           4. มุสาวาทา เวรมณี (เว้นจากพูดเท็จ — abstention from false speech)
           5. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี (เว้นจากพูดส่อเสียด — abstention from tale-bearing)
           6. ผรุสาย วาจาย เวรมณี (เว้นจากพูดคำหยาบ — abstention from harsh speech)
           7. สัมผัปปลาปา เวรมณี (เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ — abstention from vain talk or gossip)

       ค. มโนกรรม 3 (การกระทำทางใจ — mental action)
           8. อนภิชฌา (ความไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้ของเขา — non-covetousness)
           9. อพยาบาท (ความไม่คิดร้ายผู้อื่น — non-illwill)
           10. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ ถูกต้องตามคลองธรรม — right view)

D.III.269, 290. ที.ปา. 11/360/284; 471/337.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 10
[320] กุศลกรรมบถ 10 (ทางแห่งกุศลกรรม, ทางทำความดี, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่ความสุขความเจริญหรือสุคติ — wholesome course of action) ว่าโดยข้อธรรมสมบูรณ์ (แปลตัดเอาแต่ใจความ) ดังนี้
       ก. กายกรรม 3 (การกระทำทางกาย — bodily action)
           1. ปาณาติปาตํ ปหาย ฯเปฯ สพฺพปาณภูตหิตานุกมฺปี โหติ (ละการฆ่าการเบียดเบียน มีเมตตากรุณาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน — to avoid the destruction of life and be anxious for the welfare of all lives)
           2. อทินฺนาทานํ ปหาย ฯเปฯ อทินฺนํ เถยฺยสงฺขาตํ อนาทาตา โหติ (ละอทินนาทาน เคารพกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น — to avoid stealing, not violating the right to private property of others)
           3. กาเมสุมิจฺฉาจารํ ปหาย ฯเปฯ น จาริตฺตํ อาปชฺชิตา โหติ (ละการประพฤติผิดในกาม ไม่ล่วงละเมิดประเพณีทางเพศ — to avoid sexual misconduct, not transgressing sex morals)

       ข. วจีกรรม 4 (การกระทำทางวาจา — verbal action)
           4. มุสาวาทํ ปหาย ฯเปฯ น สมฺปชานมุสา ภาสิตา โหติ (ละการพูดเท็จ ไม่ยอมกล่าวเท็จ เพราะเหตุตนเอง ผู้อื่น หรือเพราะเห็นแก่ผลประโยชน์ใดๆ — to avoid lying, not knowingly speaking a lie for the sake of any advantage)
           5. ปิสุณํ วาจํ ปหาย ฯลฯ สมคฺคกรณี วาจํ ภาสิตา โหติ (ละการพูดคำส่อเสียด ช่วยสมานคนที่แตกร้าวกัน ส่งเสริมคนที่สมัครสมานกัน ชอบกล่าวถ้อยคำที่สร้างสามัคคี — to avoid malicious speech, unite the discordant, encourage the united and utter speech that makes for harmony)
           6. ผรุสํ วาจํ ปหาย ฯเปฯ พหุชนมนาปา ตถารูปี วาจํ ภาสิตา โหติ (ละคำหยาบ พูดแต่คำสุภาพอ่อนหวาน — to avoid harsh language and speak gentle, loving, courteous, dear and agreeable words)
           7. สมฺผปฺปลาปํ ปหาย ฯเปฯ กาลวาที ภูตวาที อตฺถวาที ธมฺมวาที วินยวาที นิธานวตึ วาจํ ภาสิตา โหติ ฯเปฯ (ละการพูดเพ้อเจ้อ พูดแต่คำจริงมีเหตุผล มีสารประโยชน์ ถูกกาลเทศะ — to avoid frivolous talk; to speak at the right time, in accordance with facts, what is useful, moderate and full of sense)

       ค. มโนกรรม 3 (การกระทำทางใจ — mental action)
           8. อนภิชฺฌาลุ โหติ ฯเปฯ (ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น — to be without covetousness)
           9. อพฺยาปนฺนจิตฺโต โหติ ฯเปฯ สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตูติ (ไม่มีจิตคิดร้าย คือปรารถนาแต่ว่า ขอให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีเวร ไม่เบียดเบียน ไม่มีทุกข์ ครองตนอยู่เป็นสุขเถิด — to be free from illwill, thinking, ‘Oh, that these beings were free fron hatred and illwill, and would lead a happy life from trouble.’)
           10. สมฺมาทิฏฺฐิโก โหติ ฯเปฯ สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทนฺตีติ (มีความเห็นชอบ เช่นว่า ทานมีผล การบูชามีผล ผลวิบากกรรมดีกรรมชั่วมี เป็นต้น — to posses right view such as that gifts, donations and offerings are not fruitless and that there are results of wholesome and unwholesome actions)

       กุศลกรรมบถหมวดนี้ ในบาลีเรียกชื่อหลายอย่าง เช่นว่า ธรรมจริยา (ความประพฤติธรรม -- righteous conduct) บ้าง โสไจย (ความสะอาดหรือเครื่องชำระตัว -- cleansing) บ้าง อริยธรรม (อารยธรรม, ธรรมของผู้เจริญ -- virtues of a noble or civilized man) บ้าง อริยมรรค (มรรคาอันประเสริฐ -- the noble path) บ้าง สัทธรรม (ธรรมดี, ธรรมแท้ -- good law; true law) บ้าง สัปปุริสธรรม (ธรรมของสัตบุรุษ -- qualities of a good man) บ้าง ฯลฯ

M.I.287;
A.V.266, 275-278.
ม.มู. 12/485/523;
องฺ.ทสก. 24/165/287; 168-181/296-300.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 10
[321] อกุศลกรรมบถ 10 (ทางแห่งอกุศลกรรม, ทางทำความชั่ว, กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ความเสื่อม ความทุกข์ หรือทุคติ — unwholesome course of action)
       ก. กายกรรม 3 (การกระทำทางกาย — bodily action)
           1. ปาณาติบาต (การทำชีวิตให้ตกล่วง, ปลงชีวิต — destruction of life; killing)
           2. อทินนาทาน (การถือเอาของที่เขามิได้ให้ โดยอาการขโมย, ลักทรัพย์ — taking what is not given; stealing)
           3. กาเมสุมิจฉาจาร (ความประพฤติผิดในกาม — sexual misconduct)

       ข. วจีกรรม 4 (การกระทำทางวาจา — verbal action)
           4. มุสาวาท (การพูดเท็จ — false speech)
           5. ปิสุณาวาจา (วาจาส่อเสียด — tale-bearing; malicious speech)
           6. ผรุสวาจา (วาจาหยาบ — harsh speech)
           7. สัมผัปปลาปะ (คำพูดเพ้อเจ้อ — frivolous talk; vain talk; gossip)

       ค. มโนกรรม 3 (การกระทำทางใจ — mental action)
           8. อภิชฌา (เพ่งเล็งอยากได้ของเขา — covetousness; avarice)
           9. พยาบาท (คิดร้ายผู้อื่น — illwill)
           10. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิดจากคลองธรรม — false view; wrong view)

D.III 269, 290;
A.V.264.
ที.ปา. 11/359/284; 470/337;
องฺ.ทสก. 24/165/285.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 10
[351] ภูมิ 4 หรือ 31 (ชั้นแห่งจิต, ระดับจิตใจ, ระดับชีวิต — planes of existence; planes of life)
       1. อบายภูมิ 4 (ภูมิที่ปราศจากความเจริญ — planes of loss and woe; unhappy planes)
           1) นิรยะ (นรก — woeful state; hell)
           2) ติรัจฉานโยนิ (กำเนิดดิรัจฉาน — animal kingdom)
           3) ปิตติวิสัย (แดนเปรต — ghost-sphere)
           4) อสุรกาย (พวกอสูร — host of demons)

       2. กามสุคติภูมิ 7 (กามาวจรภูมิที่เป็นสุคติ, ภูมิที่เป็นสุคติซึ่งยังเกี่ยวข้องกับกาม — sensuous blissful planes)
           1) มนุษย์ (ชาวมนุษย์ — human realm)
           2) จาตุมมหาราชิกา (สวรรค์ชั้นที่ท้าวมหาราช 4 ปกครอง — realm of the Four Great Kings)
           3) ดาวดึงส์ (แดนแห่งเทพ 33 มีท้าวสักกะเป็นใหญ่ — realm of the Thirty-three Gods)
           4) ยามา (แดนแห่งเทพผู้ปราศจากความทุกข์ — realm of the Yama gods)
           5) ดุสิต (แดนแห่งเทพผู้เอิบอิ่มด้วยสิริสมบัติของตน — realm of satisfied gods)
           6) นิมมานรดี (แดนแห่งเทพผู้ยินดีในการเนรมิต — realm of the gods who rejoice in their own creations)
           7) ปรนิมมิตวสวัตดี (แดนแห่งเทพผู้ยังอำนาจให้เป็นไปในสมบัติที่ผู้อื่นนิรมิตให้ — realm of gods who lord over the creation of others)

       ภูมิทั้ง 11 ใน 2 หมวดนี้ รวมเป็น กามาวจรภูมิ 11 (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในกาม — sensuous planes)

       3. รูปาวจรภูมิ 16 (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป, ชั้นรูปพรหม — form-planes)
       ก. ปฐมฌานภูมิ 3 (ระดับปฐมฌาน — first-Jhana planes)
           1) พรหมปาริสัชชา (พวกบริษัทบริวารมหาพรหม — realm of great Brahmas’ attendants)
           2) พรหมปุโรหิตา (พวกปุโรหิตมหาพรหม — realm of great Brahmas’ ministers)
           3) มหาพรหม (พวกท้าวมหาพรหม — realm of great Brahmas)

       ข. ทุติยฌานภูมิ 3 (ระดับทุติยฌาน — second-Jhana planes)
           4) ปริตตาภา (พวกมีรัศมีน้อย — realm of Brahmas with limited lustre)
           5) อัปปมาณาภา (พวกมีรัศมีประมาณไม่ได้ — realm of Brahmas with infinite lustre)
           6) อาภัสสรา (พวกมีรัศมีสุกปลั่งซ่านไป — realm of Brahmas with radiant lustre)

       ค. ตติยฌานภูมิ 3 (ระดับตติยฌาน — third-Jhana planes)
           7) ปริตตสุภา (พวกมีลำรัศมีงามน้อย — realm of Brahmas with limited aura)
           8) อัปปมาณสุภา (พวกมีลำรัศมีงามประมาณหามิได้ — realm of Brahmas with infinite aura)
           9) สุภกิณหา (พวกมีลำรัศมีงามกระจ่างจ้า — realm of Brahmas with steady aura)

       ง. จตุตถฌานภูมิ 3—7 (ระดับจตุตถฌาน — fourth-Jhana planes)
           10) เวหัปผลา (พวกมีผลไพบูลย์ — realm of Brahmas with abundant reward)
           11) อสัญญีสัตว์ (พวกสัตว์ไม่มีสัญญา — realm of non-percipient beings)

       (*) สุทธาวาส 5 (พวกมีที่อยู่อันบริสุทธิ์ หรือ ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์ คือ ที่เกิดของพระอนาคามี — pure abodes) คือ
           12) อวิหา (เหล่าท่านผู้ไม่เสื่อมจากสมบัติของตน หรือผู้ไม่ละไปเร็ว, ผู้คงอยู่นาน — realm of Brahmas who do not fall from prosperity)
           13) อตัปปา (เหล่าท่านผู้ไม่ทำความเดือดร้อนแก่ใคร หรือผู้ไม่เดือดร้อนกับใคร — realm of Brahmas who are serene)
           14) สุทัสสา (เหล่าท่านผู้งดงามน่าทัศนา — realm of Brahmas who are beautiful)
           15) สุทัสสี (เหล่าท่านผู้มองเห็นชัดเจนดี หรือผู้มีทัศนาแจ่มชัด — realm of Brahmas who are clear-sighted)
           16) อกนิฏฐา (เหล่าท่านผู้ไม่มีความด้อยหรือเล็กน้อยกว่าใคร, ผู้สูงสุด — realm of the highest or supreme Brahmas)

       4. อรูปาวจรภูมิ 4 (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป, ชั้นอรูปพรหม — formless planes)
           1) อากาสานัญจายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีอากาศไม่มีที่สุด — realm of infinite space)
           2) วิญญาณัญจายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีวิญญาณไม่มีที่สุด — realm of infinite consciousness)
           3) อากิญจัญญายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะไม่มีอะไร — realm of nothingness)
           4) เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ — realm of neither perception nor non-perception)

       ปุถุชน พระโสดาบัน และพระสกทาคามี ย่อมไม่เกิดในสุทธาวาสภูมิ; พระอริยะไม่เกิดในอสัญญีภพ และในอบายภูมิ; ในภูมินอกจากนี้ ย่อมมีทั้งพระอริยะ และมิใช่อริยะไปเกิด.
       ในพระไตรปิฎก ไม่พบที่ใดแสดงรายชื่อภูมิทั้งหลายไว้ทั้งหมดในที่เดียว บาลีแสดงรายชื่อภูมิมากที่สุด (มีเฉพาะชั้นสุคติภูมิ) พบที่ ม.อุ. 14/318-332/216-225 (M.III. 99-103) กล่าวตั้งแต่มนุษย์ขึ้นไปจนถึงอรูปาวจรภูมิ.
       ในบาลีแห่งทีฆนิกาย เป็นต้น* แสดงคติ (ที่ไปเกิดของสัตว์, แบบการดำเนินชีวิต — destiny; course of existence) ว่ามี 5 คือ นิรยะ ติรัจฉานโยนิ เปตติวิสัย มนุษย์ และเทพ (พวกเทพ — heavenly world ได้แก่ภูมิ 26 ตั้งแต่จาตุมหาราชิกาขึ้นไปทั้งหมด) จะเห็นว่าภูมิ 31 สงเคราะห์ลงได้ในคติ 5 ทั้งหมด ขาดแต่อสุรกาย อย่างไรก็ดีในอรรถกถาแห่งอิติวุตตกะ** ท่านกล่าวว่า อสูร สงเคราะห์ลงในเปตตวิสัยด้วย จึงเป็นอันสงเคราะห์ลงได้บริบูรณ์ และในคติ 5 นั้น 3 คติแรกจัดเป็นทุคติ (woeful courses) 2 คติหลังเป็นสุคติ (happy courses).
* ที.ปา. 11/281/246; ม.มู 12/170/148; องฺ.นวก. 23/272/450 (D.III.234; M.I.73; A.IV.459)
** อุ.อ. 174; อิติ.อ. 168 (approx., UdA.140; ItA.101)

       อนึ่ง พึงเทียบภูมิ 4 หรือ ภูมิ 31 ข้อนี้ กับ [162] ภูมิ 4 ที่มาในพระบาลีด้วย กล่าวคือ ภูมิ 4 หรือ 31 ชุดนี้ จัดเข้าในภูมิ 3 ข้อต้นใน [162] ภูมิ 4 ดังนี้ อบายภูมิ 4 และกามสุคติภูมิ 7 รวมเข้าเป็นกามาวจรภูมิ (11) ส่วนรูปาวจรภูมิ (16) และ อรูปาวจรภูมิ (4) ตรงกัน รวมภูมิทั้งหมด 31 นี้ เป็นโลกียภูมิ พ้นจากนี้ไปเป็นโลกุตตรภูมิ

       ดู [162] ภูมิ 4; [198] อบาย 4; [207] อรูป 4; [270] สวรรค์ 6.

Comp.137. สงฺคห. 25.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ลก
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%C5%A1


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]