ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ อกุศลมูล 3 ”             ผลการค้นหาพบ  3  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 3
[68] อกุศลมูล 3 (รากเหง้าของอกุศล, ต้นตอของความชั่ว — unwholesome roots; roots of bad actions)
       1. โลภะ (ความอยากได้ — greed)
       2. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย — hatred)
       3. โมหะ (ความหลง — delusion)

D.III.275;
It.45.
ที.ปา. 11/393/291;
ขุ.อิติ. 25/228/264.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 3
[85] ธรรม 3 (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ — states; things; phenomena; idea)
       1. กุศลธรรม (ธรรมที่เป็นกุศล, สภาวะที่ฉลาด ดีงาม เอื้อแก่สุขภาพจิต เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ ได้แก่กุศลมูล 3 ก็ดี นามขันธ์ 4 ที่สัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้นก็ดี กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่มีกุศลมูลเป็นฐาน ก็ดี กล่าวสั้นว่า กุศลในภูมิ 4 — skillful, wholesome, or profitable states; good things)
       2. อกุศลธรรม (ธรรมที่เป็นอกุศล, สภาวะที่ตรงข้ามกับกุศล ได้แก่ อกุศลมูล 3 และกิเลสอันมีฐานเดียวกับอกุศลมูลนั้น ก็ดี นามขันธ์ 4 ที่สัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น ก็ดี กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่มีอกุศลมูลเป็นสมุฏฐาน ก็ดี กล่าวสั้นว่าอกุศลจิตตุบาท 12 — unskillful, unwholesome or unprofitable states; bad things)
       3. อัพยากตธรรม (ธรรมที่เป็นอัพยากฤต, สภาวะที่เป็นกลางๆ ชี้ขาดลงมิได้ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล ได้แก่ นามขันธ์ 4 ที่เป็นวิบากแห่งกุศลและอกุศล เป็นกามาวจรก็ตาม รูปาวจรก็ตาม อรูปาวจรก็ตาม โลกุตตระก็ตาม อย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่เป็นกิริยา มิใช่กุศล มิใช่อกุศล มิใช่วิบากแห่งกรรม อย่างหนึ่ง รูปทั้งปวง อย่างหนึ่ง อสังขตธาตุ คือ นิพพาน อย่างหนึ่ง กล่าวสั้นคือ วิบากในภูมิ 4 กิริยาอัพยากฤต ในภูมิ 3 รูป และนิพพาน — the indeterminate; neither-good-nor-bad thing)

Dhs.91,180,234. อภิ.สํ. 34/1/1; 663/259; 878/340

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 3
[124] สิกขา 3 หรือ ไตรสิกขา (ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือ ฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน — the Threefold Learning; the Threefold Training)
       1. อธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง — training in higher morality)
       2. อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกหัดอบรมจิตเพื่อให้เกิดคุณธรรมเช่นสมาธิอย่างสูง — training in higher mentality)
       3. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง — training in higher wisdom)

       เรียกง่ายๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา (morality, concentration and wisdom)

D.III.220;
A.I.229.
ที.ปา. 11/228/231;
องฺ.ติก. 20/521/294.

[***] สุจริต 3 ดู [81] สุจริต 3.
[***] โสดาบัน 3 ดู [58] โสดาบัน 3.
[***] อกุศลมูล 3 ดู [68] อกุศลมูล 3.
[***] อกุศลวิตก 3 ดู [70] อกุศลวิตก 3.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อกุศลมูล_3&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%CD%A1%D8%C8%C5%C1%D9%C5_3&detail=on


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]