ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ วิญญาณ ”             ผลการค้นหาพบ  3  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 3
[268] วิญญาณ 6 (ความรู้แจ้งอารมณ์ — consciousness; sense-awareness)
       1. จักขุวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางตา รู้รูปด้วยตา, เห็น — eye-consciousness)
       2. โสตวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางหู คือ รู้เสียงด้วยหู, ได้ยิน — ear-consciousness)
       3. ฆานวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางจมูก คือ รู้กลิ่นด้วยจมูก, ได้กลิ่น — nose-consciousness)
       4. ชิวหาวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางลิ้น คือ รู้รสด้วยลิ้น, รู้รส — tongue-consciousness)
       5. กายวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางกาย คือ รู้โผฏฐัพพะด้วยกาย, รู้สึกสัมผัส — body-consciousness)
       6. มโนวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ คือ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ, รู้ความนึกคิด — mind-consciousness)

D.III.243;
Vbh.180.
ที.ปา. 11/306/255;
อภิ.วิ. 35/120/105

[***] เวทนา 6 ดู [113] เวทนา 6.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 3
[284] วิญญาณฐิติ 7 (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ — abodes or supports of consciousness)
       1. สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางเหล่า วินิปาติกะ (เปรต) บางเหล่า (beings different in body and in perception)
       2. สัตว์บางพวก มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น เหล่าเทพจำพวกพรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน (beings different in body, but equal in perception)
       3. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพอาภัสสระ (beings equal in body, but different in perception)
       4. สัตว์บางพวก มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพสุภกิณหะ (beings equal in body and in perception)
       5. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ (beings reborn in the sphere of Boundless Space)
       6. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ (beings reborn in the sphere of Boundless Consciousness)
       7. สัตว์บางพวก ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ (beings reborn in the sphere of Nothingness)

D.III.253;
A.IV.39.
ที.ปา. 11/335/265;
องฺ.สตฺตก. 23/41/41

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 3
[343] กิจ หรือ วิญญาณกิจ 14 (กิจของวิญญาณ, หน้าที่ของจิต — functions of consciousness; psychic functions)
       1. ปฏิสนธิ (หน้าที่สืบต่อภพใหม่ ได้แก่จิต 19 คือ อุเบกขาสันตีรณะ 2 มหาวิบาก 8 รูปวิบาก 5 อรูปวิบาก 4 — re-linking; rebirth-linking)
       2. ภวังคะ (หน้าที่เป็นองค์ของภพ ได้แก่จิต 19 อย่างเดียวกับปฏิสนธิ — life-continuum; factor for being)
       3. อาวัชชนะ (หน้าที่คำนึงอารมณ์ใหม่ ได้แก่ จิต 2 คือ ปัญจทวาราวัชชนะ และมโนทวาราวัชชนะ — apprehending; adverting)
       4. ทัสสนะ (หน้าที่เห็นรูป ได้แก่ จักขุวิญญาณ 2 — seeing)
       5. สวนะ (หน้าที่ได้ยินเสียง ได้แก่ โสตวิญญาณ 2 — hearing)
       6. ฆายนะ (หน้าที่รู้กลิ่น ได้แก่ ฆานวิญญาณ 2 — smelling)
       7. สายนะ (หน้าที่ลิ้มรส ได้แก่ ชิวหาวิญญาณ 2 — tasting)
       8. ผุสนะ (หน้าที่ถูกต้องโผฏฐัพพะ ได้แก่ กายวิญญาณ 2 — contacting; touching)
       9. สัมปฏิจฉนะ (หน้าที่รับอารมณ์ ได้แก่ สัมปฏิจฉนะ 2 — receiving)
       10. สันตีรณะ (หน้าที่พิจารณาอารมณ์ ได้แก่ สันตีรณะ 3 — investigating)
       11. โวฏฐัพพนะ หรือ โวฏฐปนะ (หน้าที่ตัดสินอารมณ์ ได้แก่ มโนทวาราวัชชนะ 1 — determining)
       12. ชวนะ (หน้าที่แล่นเสพอารมณ์ อันเป็นช่วงที่ทำกรรม ได้แก่ จิต 55 คือ กุศลจิต 21, อกุศลจิต 12, กิริยาจิต 18 คือเว้นอาวัชชนะทั้งสอง โลกุตตรผลจิต 4 — apperception; impulsion)
       13. ตทาลัมพนะ (หน้าที่รับอารมณ์ต่อจากชวนะก่อนตกภวังค์ ได้แก่ จิต 11 คือ มหาวิบาก 8 สันตีรณะ 3 — retention; registration)
       14. จุติ (หน้าที่เคลื่อนจากภพปัจจุบัน ได้แก่ จิต 19 อย่างเดียวกับในปฏิสนธิ — decease; death; shifting)

       จัดโดยฐานที่จิตทำกิจ 14 นี้ มี 10 คือ รวมข้อ 4-5-6-7-8 เป็นข้อเดียว คือ ปัญจวิญญาณฐาน (fivefold sense-impressions) นอกนั้นคงชื่อเดิม
       กิจ 14 นี้ ในวิสุทธิมรรคเรียกว่า วิญญาณปวัตติ หรือ วิญญาณปวัตติอาการ (อาการที่วิญญาณเป็นไป — modes of occurrence of consciousness)

       ดู [356] จิต 89.

Vism.457;
Comp 114.
วิสุทฺธิ. 3/29;
สงฺคห. 15.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิญญาณ
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%C7%D4%AD%AD%D2%B3


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]