ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
อ่านข้อแรกอ่านข้อก่อนนี้อ่านข้อถัดไปอ่านข้อสุดท้าย
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

[353] มงคล 38 (สิ่งที่ทำให้มีโชคดี, ธรรมอันนำมาซึ่งความสุขความเจริญ — blessings; เรียกเต็มว่า อุดมมงคล คือมงคลอันสูงสุด — highest blessings)
       คาถาที่ 1
       1. อเสวนา จ พาลานํ (ไม่คบคนพาล — not to associate with fools; to dissociate from the wicked)
       2. ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา (คบบัณฑิต — to associate with the wise)
       3. ปูชา จ ปูชนียานํ (บูชาคนที่ควรบูชา — to honor those who are worthy of honor)

       คาถาที่ 2
       4. ปฏิรูปเทสวาโส จ (อยู่ในปฏิรูปเทศ, อยู่ในถิ่นมีสิ่งแวดล้อมดี — living in a suitable region; good environment)
       5. ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา (ได้ทำความดีให้พร้อมไว้ก่อน, ทำความดีเตรียมพร้อมไว้แต่ต้น — having formerly done meritorious deeds)
       6. อตฺตสมฺมาปณิธิ จ (ตั้งตนไว้ชอบ — setting oneself in the right course; right direction in self-guidance; perfect self-adjustment)

       คาถาที่ 3
       7. พาหุสจฺจญฺจ (เล่าเรียนศึกษามาก, ทรงความรู้กว้างขวาง, ใส่ใจสดับตรับฟัง ค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ — great learning; extensive learning)
       8. สิปฺปญฺจ (มีศิลปวิทยา, ชำนาญในวิชาชีพของตน — skill; knowledge of the arts and sciences)
       9. วินโย จ สุสิกฺขิโต (มีระเบียบวินัย, ได้ฝึกอบรมตนไว้ดี — highly trained discipline)
       10. สุภาสิตา จ ยา วาจา (วาจาสุภาษิต, รู้จักใช้วาจาพูดให้เป็นผลดี — well-spoken speech)

       คาถาที่ 4
       11. มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ (บำรุงมารดาบิดา — support of mother and father)
       12/13. ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห = ปุตฺตสงฺคห (สงเคราะห์บุตร — cherishing of children) และ ทารสงฺคห (สงเคราะห์ภรรยา — cherishing of wife)
       14. อนากุลา จ กมฺมนฺตา (การงานไม่อากูล — a livelihood which is free from complications)
ท่านอธิบายว่า ได้แก่ อาชีพการงาน ที่ทำด้วยความขยันหมั่นเพียร เอาธุระ รู้จักกาล ไม่คั่งค้าง ย่อหย่อน -- spheres of work which are free from such unprofitableness as dilatoriness and tardiness. (ขุทฺทก.อ. 153; KhA.139).

       คาถาที่ 5
       15. ทานญฺจ (รู้จักให้, เผื่อแผ่แบ่งปัน, บริจาคสงเคราะห์และบำเพ็ญประโยชน์ — charity; liberality; generosity)
       16. ธมฺมจริยา จ (ประพฤติธรรม, ดำรงอยู่ในศีลธรรม — righteous conduct)
       17. ญาตกานญฺจ สงฺคโห (สงเคราะห์ญาติ — rendering aid to relations)
       18. อนวชฺชานิ กมฺมานิ (การงานที่ไม่มีโทษ, กิจกรรมที่ดีงาม เป็นประโยชน์ ซึ่งไม่เป็นทางเสียหาย — blameless actions; unexceptionable or beneficial activities)
ท่านยกตัวอย่างไว้ เช่น การสมาทานอุโบสถ การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ สร้างสวน ปลูกป่า สร้างสะพาน เป็นต้น (ขุทฺทก.อ. 156; KhA.141)

       คาถาที่ 6
       19. อารตี วิรตี ปาปา (เว้นจากความชั่ว — abstaining from evils and avoiding them)
       20. มชฺชปานา จ สญฺญโม (เว้นจากการดื่มน้ำเมา — abstinence from intoxicants)
       21. อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ (ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย — diligence in virtue; perseverance in virtuous acts)

       คาถาที่ 7
       22. คารโว จ (ความเคารพ, การแสดงออกที่แสดงถึงความเป็นผู้รู้จักคุณค่าของบุคคล สิ่งของ หรือกิจการนั้นๆ และรู้จักให้ความสำคัญและความใส่ใจเอื้อเฟื้อโดยเหมาะสม — reverence; respect; appreciative action)
       23. นิวาโต จ (ความสุภาพอ่อนน้อม, ถ่อมตน — humility; courtesy; politeness)
       24. สนฺตุฏฺฐี จ (ความสันโดษ, ความเอิบอิ่มพึงพอใจในผลสำเร็จที่ได้สร้างขึ้น หรือในปัจจัยลาภที่แสวงหามาได้ ด้วยเรี่ยวแรงความเพียรพยายามของตนเองโดยทางชอบธรรม — contentment)
       25. กตญฺญุตา (มีความกตัญญู — gratitude)
       26. กาเลน ธมฺมสฺสวนํ (ฟังธรรมตามกาล, หาโอกาสแสวงหาความรู้เกี่ยวกับหลักความจริง ความดีงาม และเรื่องที่เป็นประโยชน์ — the opportune hearing of the Doctrine; listening to good advice and the teaching of Truth on due occasions)

       คาถาที่ 8
       27. ขนฺตี จ (มีความอดทน — patience; forbearance; tolerance)
       28. โสวจสฺสตา (เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย, พูดกันง่าย ฟังเหตุผล — amenability to correction; obedience)
       29. สมณานญฺจ ทสฺสนํ (พบเห็นสมณะ, เยี่ยมเยียนเข้าหาท่านผู้สงบกิเลส — seeing the holy men)
       30. กาเลน ธมฺมสากจฺฉา (สนทนาธรรมตามกาล, หาโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นกันเกี่ยวกับหลักความจริงความดีงามและเรื่องที่เป็นประโยชน์ — religious discussion at due seasons; regular or opportune discussion of Truth)

       คาถาที่ 9
       31. ตโป จ (มีความเพียรเผากิเลส, รู้จักบังคับควบคุมตน ไม่ปรนเปรอตามใจอยาก — self-control; simple life)
       32. พฺรหฺมจริยญฺจ (ประพฤติพรหมจรรย์, ดำเนินตามอริยมรรค, การรู้จักควบคุมตนในทางเพศ หรือถือเมถุนวิรัตตามควร* — a holy life)
* พรหมจรรย์ในที่นี้ มุ่งเอาอัฏฐังคิกมรรคเป็นหลัก แต่จะตีความแคบหมายถึงเมถุนวิรัติก็ได้ ความหมายอย่างหย่อนสำหรับคฤหัสถ์ คือ ถือพรหมจรรย์ในบุคคลที่มิใช่คู่ครอง หรือถือเด็ดขาดในวันอุโบสถ เป็นต้น

       33. อริยสจฺจาน ทสฺสนํ (เห็นอริยสัจ, เข้าใจความจริงของชีวิต — discernment of the Noble Truths)
       34. นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ (ทำพระนิพพานให้แจ้ง, บรรลุนิพพาน — realization of Nibbana)

       คาถาที่ 10
       35. ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ (ถูกโลกธรรม จิตไม่หวั่นไหว — to have a mind which is not shaken when touched by worldly vicissitudes)
       36. อโสกํ (จิตไร้เศร้า — to have the mind which is free from sorrow)
       37. วิรชํ (จิตปราศจากธุลี — to have the mind which is undefiled)
       38. เขมํ (จิตเกษม — to have the mind which is secure)

       แต่ละคาถามีบทสรุปว่า “เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ” (นี้เป็นมงคลอันอุดม — this is the highest blessing)
       มีคาถาสรุปท้ายมงคลทั้ง 38 นี้ว่า
           “เอตาทิสานิ กตฺวานสพฺพตฺถมปราชิตา
           สพฺพตฺถ โสตฺถี คจฺฉนฺติตนฺเตสํ มงฺคลมุตฺตมนฺติ.”
       แปลว่า “เทวะมนุษย์ทั้งหลายกระทำมงคลเช่นนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ปราชัยในที่ทุกสถาน ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง นี้คืออุดมมงคลของเทวะมนุษย์เหล่านั้น.” (Those who have done these things see no defeat and go in safety everywhere. To them these are the highest blessings.)

Kh.V.3;
Sn.259-268.
ขุ.ขุ. 25/5/3;
ขุ.สุ. 25/317/376.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=353

อ่านข้อแรกอ่านข้อก่อนนี้อ่านข้อถัดไปอ่านข้อสุดท้าย

บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]