ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
อ่านข้อแรกอ่านข้อก่อนนี้อ่านข้อถัดไปอ่านข้อสุดท้าย
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

[322] เถรธรรม 10 (คุณธรรมที่ทำให้พระเถระอยู่สำราญในที่ทุกสถาน — qualities which make for happy living of an elder monk)
       1. เถโร รัตตัญญู (เป็นผู้ใหญ่ บวชนาน รู้เห็นกิจการ ทรงจำเรื่องราวไว้ได้มาก — to be an elder monk of long experience)
       2. สีลวา (มีศีล เคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย — to be virtuous; to have good conduct)
       3. พหุสสุโต (เป็นพหูสูตทรงความรู้ — to be much learned)
       4. สวาคตปาฏิโมกโข (ทรงปาติโมกข์ รู้หลักแห่งวินัย แคล่วคล่อง ชำนิชำนาญ สามารถวินิจฉัยได้ด้วยดี — to be well versed in the codes of discipline)
       5. อธิกรณสมุปปาทวูปสมกุสโล (ฉลาดในการระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้น — to be skilled in setting a legal question that has arisen)
       6. ธัมมกาโม (เป็นผู้ใคร่ธรรม รักความรู้ รักความจริง รู้จักรับฟังและรู้จักพูดทำให้เป็นที่ชื่นชมสนิทสนมสบายใจ น่าเข้าไปปรึกษาสนทนา และชอบศึกษา ยินดีปรีดาในหลักธรรมหลักวินัยที่ยิ่งๆ ขึ้นไป — to love the Doctrine, be pleasant to consult and converse with, and find joy in the advanced teaching of both the Doctrine and the Discipline)
       7. สันตุฏโฐ (เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยสี่ตามมีตามได้ — to be content with whatsoever supply of the four requisites he may get)
       8. ปาสาทิโก (จะไปจะมา มีอาการกิริยาน่าเลื่อมใส แม้เข้าไปในละแวกบ้าน ก็สำรวมเป็นอันดี — to be charming and perfectly composed in his goings out and comings and in sitting in the house)
       9. ฌานลาภี (ได้แคล่วคล่องในฌาน 4 ที่เป็นเครื่องอยู่สุขสบายในปัจจุบัน — to be able to gain pleasure of the Four Absorptions)
       10. อนาสวเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ (บรรลุเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ สิ้นอาสวะ — to have gained the Deliverance)

A.V.201. องฺ.ทสก. 24/98/215.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=322

อ่านข้อแรกอ่านข้อก่อนนี้อ่านข้อถัดไปอ่านข้อสุดท้าย

บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]