ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
อ่านข้อแรกอ่านข้อก่อนนี้อ่านข้อถัดไปอ่านข้อสุดท้าย
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

ทสกะ - หมวด 10
Groups of Ten
(including related groups)
[314] กถาวัตถุ 10 (เรื่องที่ควรพูด, เรื่องที่ควรนำมาสนทนากันในหมู่ภิกษุ — Subjects for talk among the monks)
       1. อัปปิจฉกถา (เรื่องความมักน้อย, ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย ไม่มักมากอยากเด่น — talk about or favorable to wanting little)
       2. สันตุฏฐิกถา (เรื่องความสันโดษ, ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ ไม่ชอบฟุ้งเฟ้อหรือปรนปรือ — talk about or favorable to contentment)
       3. ปวิเวกกถา (เรื่องความสงัด, ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกายใจ — talk about or favorable to seclusion)
       4. อสังสัคคกถา (เรื่องความไม่คลุกคลี, ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ — talk about or favorable to not mingling together)
       5. วิริยารัมภกถา (เรื่องการปรารภความเพียร, ถ้อยคำที่ชักนำให้มุ่งมั่นทำความเพียร — talk about or favorable to strenuousness)
       6. สีลกถา (เรื่องศีล, ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล — talk about or favorable to virtue or good conduct)
       7. สมาธิกถา (เรื่องสมาธิ, ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น — talk about or favorable to concentration)
       8. ปัญญากถา (เรื่องปัญญา, ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา — talk about or favorable to deliverance)
       9. วิมุตติกถา (เรื่องวิมุตติ, ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์ — talk about or favorable to deliverance)
       10. วิมุตติญาณทัสสนกถา (เรื่องความรู้ความเห็นในวิมุตติ, ถ้อยคำที่ชักนำให้สนใจและเข้าใจเรื่องความรู้ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ — talk about or favorable to the knowledge and vision of deliverance)

M.I.145; III.113;
A.V.12.
ม.มู. 12/292/287;
ม.อุ. 14/348/239;
องฺ. ทสก. 24/69/138.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=314

อ่านข้อแรกอ่านข้อก่อนนี้อ่านข้อถัดไปอ่านข้อสุดท้าย

บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]